Skip to main content

 

แถลงการณ์ต่อกรณีชาวโรฮิงญา

 

จากกรณีที่ปรากฎข่าวว่าชาวโรฮิงญา ได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวตามพื้นที่ต่างๆในจังหวัดภาคใต้ และมีแนวโน้มว่าอาจพบตัวกลุ่มชาวโรฮิงญาตามสถานที่ต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลเบื้องต้นพบว่า กลุ่มคนเหล่านี้ได้หลบหนีภัยจากประเทศพม่า  และต้องการแสวงหาความเป็นอยู่และความปลอดภัยที่ดีกว่าเนื่องจากชาวโรฮิงญา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า อีกทั้งยังเป็นชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชากรส่วนอื่นๆ ที่นับถือศาสนาที่แตกต่าง อันเป็นการละเมิดสิทธิในการนับถือศาสนา และรัฐไม่ยอมรับว่าเป็นพลเมืองของรัฐ  เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ทำให้กลายเป็นปัญหาของการไร้สัญชาติ  จนนำมาสู่การเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง

ชาวโรฮิงญาส่วนหนึ่งหนีภัยการสู้รบและการปฏิบัติที่เลวร้ายไปยังประเทศ ต่างๆ รวมถึงประเทศไทย และหลายกรณีพบว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของ ขบวนการค้ามนุษย์ที่อาศัยความไร้สัญชาติของชาวโรฮิงญา  มาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์    ดังนี้การส่งตัวชาวโรฮิงญากลับในขณะนี้โดยเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศไทย อาจทำให้ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการประหัติประหาร

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็น ธรรม และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน  มีความรู้สึกเห็นใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญา ที่ขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย  และขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยที่ได้ปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาตามหลัก มนุษยธรรม และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ได้รับความ เดือดร้อน ทั้งนี้มูลนิธิขอเรียกร้องให้รัฐบาล รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาข้อเสนอดังต่อไปนี้

1.     ขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาหลักการตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และข้อที่ 3 แห่งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ในการยุตินโยบายการผลักดันชาวโรฮิงญากลับประเทศพม่า  หากยังมีข้อมูลปรากฏชัดเจนว่าการส่งกลุ่มคนดังกล่าวนี้กลับไป อาจจะมีความเสี่ยงต่อการถูกประหัติประหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชน  และอาจต้องเผชิญกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศพม่าอีก

2.     ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการ และภาคประชาชน ตระหนักกับปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทย โดยมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติของรัฐไทยต่อชาวโรฮิงญา โดยให้คำนึงถึงมนุษยธรรม ไม่แบ่งแยกเรื่องเชื้อชาติและศาสนา

3.     ในระหว่างการควบคุมตามสถานที่ต่าง ๆ นี้ ขอให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาในฐานะ ผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยสามารถปฏิบัติศาสนกิจและมีอาหารที่ถูกต้องตามหลัก ศาสนา  รวมทั้งไม่มีการพันธนาการและเอื้ออำนวยให้เข้าถืงปัจจัยพื้นฐานในการดำรง ชีวิตอย่างพอเพียง ทั้งการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม

4.     ขอให้รัฐบาลไทยมีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างจริงจังต่อผู้กระทำผิด ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 รวมทั้งให้มีการรณรงค์ให้ยุติการค้ามนุษย์ในประเทศไทยสำหรับกรณีของชาวโรฮิ งญาที่ตกเป็นเหยื่อในสถานการณ์นี้

5.     ขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการหารืออย่างเร่งด่วนกับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคร่วมกัน อันเป็นหลักการร่วมกันที่รัฐบาลในอาเซียนที่ต้องการเห็นสันติภาพ ความมั่นคง ปลอดภัยและเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้

 

หมายเหตุ: เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย ฟูอัด มาหะมะ  กลุ่มช่างภาพ PPS.