Skip to main content

 สมัชชา นิลปัทม์

มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับพี่น้องๆ ที่ทำงานอยู่ในสื่อกระแสหลักอยู่บ้าง พวกเขาสะท้อนถึงการความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ “คนทำงาน” สามารถสัมผัสได้จาก “ผู้อ่าน” ว่ามีพฤติกรรมการเสพข้อมูลที่เปลี่ยนไป

“ผมว่าเขาอ่านเรื่องเล่ายาวๆ ของเราน้อยลงนะพี่ ผมยังไม่รู้ว่าเพราะอะไร แต่เรายังอยากจะเขียนอะไรยาวๆ เพราะเรารู้สึกว่ามันมีคุณค่าสมกับที่เราฝึกฝนวิชาชีพมา แต่เราจะไปคะยั้นคะยอให้เราตรึงอยู่กับงานของเราได้อย่างไร มันไม่ง่ายนะพี่ ไม่ชอบเขาก็เลิกอ่าน”

“แต่ถ้าผมมีทักษะใช้ภาพเป็นนะพี่ ผมว่ายังพอจะเอาคนอ่านอยู่ ไม่ใช่แค่ภาพถ่ายหรือภาพประกอบ แต่อยากทำแผนผังทำกราฟิกเป็นเองไม่ต้องฝ่ายศิลป์ ผมกะว่าเอาให้ภาพเดียวอยู่ กวาดตาดูครั้งเดียวก็รู้เรื่องได้เลย”

“ผมว่าเราพวกที่ทำงานระหว่างรอยต่อ ต้องปรับตัวกันเยอะหน่อย” น้องๆ เพื่อนร่วมวิชาชีพกล่าวปรารภกับผม

เสียงพูดคุยของบรรดาน้องๆ เหล่านี้บอกอะไรกับกับเรา ผมคิดว่ามีประเด็นที่ชวนเราขบคิดอยู่ 2-3 ประการ

ประการแรก ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ พฤติกรรมและวัฒนธรรมของผู้รับสารในยุคติจิตอลกำลังจะเปลี่ยนไป ประเด็นการพูดคุยในฐานะผู้ผลิตสื่อ พวกเขาพอที่จะสัมผัสได้อยู่ว่าผู้รับสารเริ่มมีพฤติกรรม “การอ่าน” ที่ไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะ “ข่าว” ที่เขียนแบบยาวๆ ซึ่งอาจมีผลมาจากปริมาณข้อมูลข่าวสารอันท่วมท้นในยุคสารสนเทศ พวกเขาเริ่มตั้งข้อสังเกตว่า มีข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็น “คู่แข่ง” ที่พร้อมจะแย่งซีนในการจดจ่อการอ่านงานที่พวกเขาเขียนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเทคนิคก็แพรวพราวขึ้น เพราะข้อมูลข่าวสารปรากฏผ่านสื่อที่แสนหลากรูปแบบ ทั้งภาพทั้งเสียง เคลื่อนไหวได้ราวกับอยู่ในเหตุการณ์จริง มากไปกว่านั้นข้อมูลข่าวสารบนพื้นที่ดิจิตอลบีบให้ผู้รับสารไม่ชอบจดจ่อกับข่าวสารยาวๆ ซึ่งอาจเหมาได้ว่า “สมาธิ” ของผู้รับสารนั้น “สั้น” ลง

ต่อให้งานเขียนของพวกเขาเขียนได้ดีขนาดไหน แต่สภาวการณ์ของพวกเขา ธรรมชาติของสื่อที่เขาใช้ ถูกสภาพแวดล้อมใหม่ (Media Landscape) กดดันให้ตกไปอยู่ในสถานะที่ “ตั้งรับ” (Passive)

ฟังแล้วนึกถึงสิ่งที่ มาร์แชล แมคลูฮัน (M.McLuhan) เคยว่าไว้เรื่อง Medium is the Message ว่า “สื่อก็คือสาร” เมื่อ “สื่อ” เปลี่ยน รูปแบบของ “สาร” ก็ต้องปรับตัวตาม

Infographic: ข้อมูลที่แสนจะซับซ้อนของความรุนแรงในชายแดนใต้สามารถอธิบายได้ภายในภาพเดียว

ประการที่สอง อันที่จริงพวกเขารู้ตัวดีถึงสภาวะ “ตั้งรับ” ดังกล่าวนะครับ แต่จะให้ทำอย่างไรได้เล่า ในเมื่อการทำงานของพวกเขาในกองบรรณาธิการนั้น เป็นการจัดตั้งอยู่บนฐานคิดแบบองค์กรตามระบบอุตสาหกรรม ระบบนี้พบว่าการจะทำงานให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้อง “แบ่งงานกันทำ” (Division of labor) ที่ทุกคนมีบทบาทหน้าที่และเนื้อหารายละเอียดของงานอย่างชัดเจน จู่ๆ จะให้นักข่าวหรือคอลัมนิสต์ ลุกขึ้นมาถ่ายภาพเอง หรือทำกราฟิกประกอบเอง ยังเป็นภาพที่น่าจะ “โกลาหล” พอสมควรในกองบรรณาธิการ

ประเด็นนี้ไม่ใช่ระดับปัจเจกบุคคล (Agency) จะไม่รู้ปัญหาในการปรับตัวเหล่านี้นะครับ แต่เป็นปัญหาในระดับโครงสร้าง (Structure) ที่ซับซ้อน เกินกว่าที่พนักงานธรรมดาคนหนึ่งจะลุกขึ้นมาแก้ไขได้

ประการต่อมา อุตสาหกรรมข่าวสารโดยเฉพาะกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ อาจต้องปรับตัวรูปแบบเข้าสู่การรายงานข่าวด้วย “ภาพ” ให้มากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากวัฒนธรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารนั้นเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการเอา “ข้อมูล” (Data) มาแปลงไปสู่ “ภาพ” เพราะ “ภาพ” นั้นเล่าเรื่องได้

อันที่จริงในยุคดิจิตอลก็มีการพัฒนาการเล่าเรื่องด้วยข้อมูลและภาพอยู่เหมือน แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในบ้านเรากันมากนัก โดยเรียกสิ่งนี้ว่า อินโฟกราฟิก (infographics) หรือ อินฟอเมชันกราฟิก (information graphics) อธิบายอย่างย่อที่สุดก็คือ การแสดงผลของ none">ข้อมูลหรือ none">ความรู้โดยภาพที่อ่านและเข้าใจง่าย กราฟิกประเภทนี้นิยมใช้สำหรับข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้ง่ายขึ้นตัวอย่าง เช่น text-underline:none">ป้าย none">แผนที่ งานวิจัย โดยตัวอย่างการออกแบบอินโฟกราฟิกที่คลาสสิคที่สุดก็เห็นแผนที่รถไฟใต้ดินในมหานครลอนดอน

แผนที่เส้นทางรถไฟใต้ดินในกรุงลอนดอนเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ถือเป็นปฐมบทชิ้นสำคัญของอินโฟกราฟฟิคสมัยใหม่

อินโฟกราฟิก นั้นรวมถึงการแสดงผลของข้อมูล โดยใช้งานเครื่องมือต่างๆ เช่น none">แผนผัง none">แผนภูมิ color:windowtext;text-decoration:none;text-underline:none">กราฟ color:windowtext;text-decoration:none;text-underline:none">ตาราง color:windowtext;text-decoration:none;text-underline:none">ไดอะแกรม color:windowtext;text-decoration:none;text-underline:none">แผนที่ แผนภาพการพยากรณ์อากาศ และข้อมูลทางด้านสถิติ ที่ปรากฏตามสื่อสาธารณะ หรืออาจอยู่ในรูปของคลิปวีดีโอประเภท อินโฟกราฟิกผสมกับภาพเคลื่อนไหว ที่รู้จักกันดี คือ “ปลาวาฬ” ของกลุ่มจิตอาสา  text-decoration:none;text-underline:none">“รู้สู้ Flood”  ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารให้กับคนจำนวนมากให้เข้าใจถึงข้อมูลใน แบบภาพรวมของปัญหา แนวทางการรับมือและการเตรียมตัวเพื่อเอาชีวิตรอดจากน้ำท่วม

เทคนิคแบบนี้จึงเป็นเอาเรื่องยากๆ ซับซ้อน เอาไว้ในภาพๆ เดียว เรียกได้ว่า มองแวบเดียวก็ “เอาอยู่”

แต่การทำอินโฟกราฟฟิกๆ ดีนั้นไม่ง่าย ต้องใช้เวลา ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในข้อมูลและสารที่ต้องการจะสื่อ คนทำ (จะทำคนเดียวหรือเป็นทีมก็ตาม) ซึ่งต้องทวนถามตลอดเวลาว่า ดีไซน์ของอินโฟกราฟฟิกนี้ตอบโจทย์หรือไม่ สื่อสารหลักที่ต้องการจะสื่อจริงๆ หรือไม่

ในครั้งหน้าถ้ามีเวลาอีก คงได้คุยกันเพิ่มเติมเรื่องนี้กันอีกสักครั้ง ในขณะเดียวกันก็มีโจทย์สำหรับการเรียนการสอนอีกแล้วว่า

สำหรับโรงเรียนวารสารศาสตร์ การปรับตัวหลักๆ คงต้องฝึกให้นักศึกษา “เขียนข่าวด้วยภาพ”  กันแล้วล่ะครับ

 

color:#365F91">หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ “ข้างกำแพง” หนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ฉบัวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2555