ที่มาความคิดในการก่อตั้งสำนักพิมพ์อาวันบุ๊ค
จากสถานการณ์ของโลกที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมอย่างขนานใหญ่ ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมายตามมาในภายหลัง ถึงแม้ว่าในความเจริญทั้งหลายย่อมนำมาซึ่งผลดีอยู่บ้าง แต่ในอีกด้านหนึ่งที่เปรียบเสมือนเป็นผลร้ายต่อคุณค่าที่มีอยู่ในสังคมกลับที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางวัฒนธรรมประเพณีทั้งหลาย ที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามกระแสแห่งความเจริญอย่างมิทันได้หายใจ ที่นับวันดูเหมือนจะยิ่งทวีความรุนแรงและโหดร้ายมากยิ่งขึ้น โดยการกัดกร่อนทีละเล็กทีละน้อยอย่างไม่รู้ตัว จนกว่ารากฐานของคุณค่าแห่งอดีตจะพลอยสูญหายไปด้วยอย่างไม่มีทางเลือก
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
ด้วยความเจริญที่รุกคืบเข้ามาอย่างไม่ลดละ จนทำให้สังคมชนบทต้องปรับตัวไปตามความนิยมแห่งสมัย บางครั้งมันเป็นการก่อสงครามเชิงอัตลักษณ์อย่างเลือดเย็น และในบางครั้งทำให้สังคมต้องเสียความเป็นตัวตนอย่างไม่รู้ตัว วันละนิดวันละหน่อยคุณค่าทางอัตลักษณ์ก็พลอยถูกกลืนไปอย่างอัตโนมัติ ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแค่การทำลายอัตลักษณ์ที่มีอยู่ในสังคมนั้นๆ อย่างเดียวไม่ หากแต่เป็นการลบล้างคุณค่าทางอารยธรรมและประวัติศาสตร์ ตลอดจนความเป็นตัวตนของแต่ละชนเผ่าและชาติพันธุ์อีกด้วย
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่เข้าข่ายอยู่ในขั้นวิกฤติในเรื่องของการดิ้นรนเพื่อปกป้องรักษาตัวตนของตัวเอง เพื่อไม่ให้สลายไปกับกระแสแห่งกาลสมัย ที่นับวันดูเหมือนจะยิ่งมีความท้าทายเป็นอย่างมากในการที่จะป้องกันตนเองเพื่อให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าพายุจะโหมกระหนำอย่างรุนแรงแค่ไหน คนในสังคมจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีที่ตกทอดจากบรรพบุรุษในอดีตอย่างถึงที่สุด
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
ภาษาคืออัตลักษณ์อย่างหนึ่งที่แต่ละกลุ่มชนจะต้องรักษาไว้เพื่อความอยู่รอดของชาติพันธุ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังสามารถต่อยอดรับมรดกอันล้ำค่านี้ไปสู่ชนลูกหลานให้ได้ ความจริงในข้อนี้ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้แม้แต่น้อยไม่ว่ากลุ่มชนนั้นจะอยู่ในสถานะไหนก็แล้วแต่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝั่งความคิดเพื่อว่าคนรุ่นหลังนั้นจะได้ไม่ละเลยและเห็นคุณค่าเหมือนอย่างที่บรรพบุรุษของตนมีความห่วงแหนฉันใดก็ฉันนั้น และยิ่งกลุ่มชนที่ถูกกดทับมาอย่างช้านานจากระบอบการปกครองที่ค่อนข้างไม่ค่อยเปิดกว้างเท่าไหร่ก็ยิ่งสร้างแรงกดดันเป็นเท่าตัว ในการดิ้นรนพยายามที่จะค้ำจุนภาษาของตน เอง ทั้งภาษาพูดและทักษะในการเขียนเฉกเช่นสังคมปาตานี
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
จากระยะทางของประวัติศาสตร์ปาตานีที่ได้เดินทางมาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคน จากรุ่นสู่รุ่นสิ่งหนึ่งที่ได้ประจักษ์อย่างชัดแจ้งก็คือ การถูกปิดกั้นพื้นที่ให้กับภาษาของคนปาตานี การที่สังคมปาตานีไม่ได้มีสื่อเป็นของตัวเองอย่างสังคมอื่นที่มีอยู่ในบรรณพิภพแห่งนี้ ใช่ว่าสังคมปาตานีจะไร้ซึ่งปัญญาชน ใช่ว่าจะไม่มีนักคิดนักเขียนนักคิดค้นเพื่อทำหน้าที่ประคับประคองสังคมเพื่อให้อยู่ในครรลองคลองธรรมและเพื่อเป็นการพัฒนาความคิดของคนในสังคม ทว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มปัญญาชนดังกล่าว ที่มีแนวคิดจะพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ด้วยการผลิตสื่อวารสารเพื่อเป็นการประดับวงการการศึกษาและสังคมถูกคุกคามมาโดยตลอด ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้ปัญญาชนที่อยากจะช่วยสังคมด้วยวิธีดังกล่าวกลับต้องคิดหนัก จนในที่สุดไม่สามารถผลิตสื่ออะไรได้เลย นอกจากการเพ้อฝันอย่างสิ้นหวัง
major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi">
ด้วยเหตุและผลดังกล่าวทำให้สำนักพิมพ์เล็กๆ อย่างอาวันบุ๊ค ก็ได้ผุดขึ้นมาท่ามกลางความฝันที่ค่อนข้างจะมืดมิดไร้แสงแห่งความเป็นไปได้ก็ตาม แต่ด้วยความเป็นห่วงต่อสังคมปาตานีที่ไม่มีสื่อในแบบฉบับภาษาของตัวเอง และที่สำคัญคือ เป็นผลผลิตโดยคนปาตานีเอง ถึงแม้ว่าในเริ่มแรก ทางสนพ.จะได้ผลิตสื่อการ์ตูนสักเล่มสองเล่มก็ตาม แต่ด้วยความฝันและความเชื่อมั่นว่าสักวันหนึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่สังคมปาตานีควรที่จะต้องร่วมมือกันส่งเสริมและขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
สนพ.อาวันบุ๊คได้ก่อกำเนิดขึ้นมาอย่างเงียบๆ ท่ามกลางความไม่ปกติของสถานการณ์บ้านเมืองในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ต้นทุนที่มีอยู่เดิมนั่นก็คือแนวคิด ความฝันและนิ้วเปล่าทั้งสิบ จากต้นทุนดังกล่าวก็ได้ก้าวเดินไปอย่างช้าๆ เงียบๆ จากวันนั้นถึงวันนี้ได้ครบกำหนดหนึ่งปีเศษโดยประมาณ โดยมีแนวคิดหลักเพื่อต้องการรักษาอัตลักษณ์ทางภาษามลายูอักษรญาวีเพื่อให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญของภาษามลายูอักษรญาวีให้เป็นที่ประจักษ์ ที่ก่อนหน้านี้จะถูกสังคมมองข้ามอย่างไม่ใยดี โดยเฉพาะภาครัฐเอง ที่ไม่ยอมให้พื้นที่กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ เสมือนว่าเป็นภาษาที่แปลกหน้าและล้าหลัง
แต่ตรงกันข้ามเมื่อสังคมตกอยู่ภายใต้สภาวะแห่งความขัดแย้ง ภาษาที่ไม่เคยได้รับการยอมรับกลับถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับคนในพื้นที่อย่างน่าฉงน แต่ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งภาษาของคนปาตานีไม่เคยได้รับการยอมรับอย่างที่ควรจะเป็น นี่คือปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่เจอว่า รัฐเองคิดอย่างไรกันแน่กับภาษาของคนปาตานี หากไม่มีความสำคัญจริงไฉนเล่ารัฐจึงได้นำมาเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชนในสภาวะที่สังคมอยู่ในสภาพกึ่งสงครามกึ่งถูกกดทับ และเหตุใดภาษาของคนปาตานียังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเสียที เหมือนป้ายข้างถนนที่เสมือนว่ารัฐได้ให้การยอมรับโดยดุษฎีไปแล้วว่า การเปิดโอกาสให้กับภาษาของคนในพื้นที่นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้มีและเป็นรูปธรรมกันเสียที
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
โดยเป้าหมายในอนาคต จะขออาสาผลิตสื่อเพื่อให้สังคมปาตานีได้มีหนังสืออ่านที่เป็นภาษาญาวีที่นอกเหนือจากหนังสือที่มีอยู่ในตำราเรียน โดยขั้นแรกทาง สนพ.อาวันบุ๊คได้ประเดิมด้วยการจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูนระบายสีสำหรับเด็กๆ และการ์ตูนภาพประกอบโดยใช้อักษรญาวีในการเล่าเรื่อง เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้มีความคุ้นเคยกับภาษามลายูในรูปแบบของสาระบันเทิง เนื่องจากสังคมส่วนใหญ่ได้แต่เข้าใจว่าภาษามลายูอักษรญาวีนั้นเป็นแค่ตัวหนังสือจำพวกหนึ่งที่มีแต่ในตำราศาสนาอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ทางทีมงานได้ตระหนักถึงความจำเป็นว่า ได้เวลาแล้วที่จะต้องขับเคลื่อนในมิติดังกล่าว
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
ทาง สนพ.อาวันบุ๊ค ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนทางด้านภาษามลายูอักษรญาวีเพื่อสังคมปาตานี ถึงแม้ว่าอุปสรรคและขวากหนามจะอยากเย็นแสนเข็นแค่ไหนก็ตาม หากมีใครที่จะขอความร่วมมือในการขับเคลื่อนภาษามลายูอักษรญาวีเราพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและร่วมงานกับทุกฝ่ายแค่เอาความจริงใจเป็นที่ตั้ง เพียงแค่นี้หนทางอันยาวไกลจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับพวกเราทุกคนอีกต่อไป
major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi">
ด้วยความเคารพและนับถือ
สำนักพิมพ์อาวันบุ๊ค
major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi" dir="LTR">
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi" dir="LTR">