Skip to main content

 

เผยแพร่วันที่ 1 มี.ค. 56
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

 
สนับสนุนการเจรจาเพื่อสร้างบรรยากาศสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เสนอให้จัดทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี
 
color:#252525">เมื่อวันที่  1 มีนาคม พ.ศ. 2556มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่ทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเข้าถึงความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้รวมกับองคกรในพื้นที่ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรื่อง ขอสนับสนุนการเจรจาเพื่อสร้างบรรยากาศสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีข้อเสนอให้ให้ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีจัดทำแนวทางการเจรจาสันติภาพให้เป็นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจที่ตรงกันตามแนวทางดังกล่าว และจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมไทยเกี่ยวกับแนวทางสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งจะต้องสื่อสารกระบวนการสันติภาพและความคืบหน้าของการเจรจาไปยังประชาคมโลกถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในนำไปสู่การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในระดับนานาประเทศ
                 
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ     
นายสิทธิพงษ์ จันทร์วิโรจน์ 
ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
Tel. 089-8731626                                  
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม 
Tel. 02-2753954
 
โดยมีเนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก ดังนี้
 
จดหมายเปิดผนึก
 
วันที่ color:#222222">1 มีนาคม 2556
 
 
เรื่อง  ขอสนับสนุนการเจรจาเพื่อสร้างบรรยากาศสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เรียน  ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
color:#252525">เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการลงนามข้อตกลงร่วมกันสามฝ่ายระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทยหรือ สมช. ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลไทย กับ "ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี" หรือ"บีอาร์เอ็น" (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani) และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเลเซีย เพื่อนำไปสู่การเจรจาหาแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธที่ยืดเยื้อกว่า 10 ปี ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงไปกว่า 5,000 คน โดยมีเนื้อหาที่สำคัญคือ รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เลขาธิการสมช. เป็นหัวหน้ากลุ่มสนับสนุนการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้   และผู้ลงนามทั้งสามฝ่ายยินยอมร่วมกันว่าจะสนับสนุนการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย  ขณะที่ประเทศมาเลเซียจะเป็นผู้ทำหน้าที่อำนวยการเพื่อให้เกิดมาตรการความปลอดภัยสำหรับคณะทำงานร่วมทั้งหมดที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ
 
color:#252525">มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่ทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเข้าถึงความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้รวมกับองค์กรในพื้นที่ขอสนับสนุนความริเริ่มดังกล่าวของฝ่ายต่างๆ และขอแสดงความชื่นชมต่อการการตัดสินใจและความเป็นผู้นำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ในการกำหนดนโยบายแนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธจนนำไปสู่ลงนามข้อตกลงริเริ่มการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้ที่มีความเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหากการเจรจาได้รับความสำเร็จในการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็อาจนำไปสู่การเจรจากับกลุ่มอื่นๆเพื่อร่วมกันสร้างเสริมสันติภาพในพื้นที่ดังกล่าวภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร    ซึ่งทุกฝ่ายรอคอยต่อไป
 
color:#252525">มูลนิธิฯ ขอแสดงความขอบคุณชื่นชมต่อความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกในการเจรจาสันติภาพจากรัฐบาลมาเลเซียที่ได้จัดเวทีพูดคุยเพื่อให้หลายฝ่ายเกิดความเชื่อมั่นและความสะดวกในการประสานงานทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต ทั้งนี้จะเป็นการเพื่อสร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยในจังหวัดชายแดนใต้อันเป็นการเตรียมการไปสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้
 
color:#252525">แม้ว่าการลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะยังไม่ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และอาจจะยังไม่สามารถยุติความรุนแรงทางอาวุธได้อย่างทันที ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติในห้วงระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งทางอาวุธสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยแนวทางสันติวิธี หากแต่แนวทางการเจรจาสันติภาพ ยังคงต้องการการสนับสนุนอย่างเป็นทางการโดยเฉพาะความร่วมมือจากองค์การของรัฐในระดับต่าง ๆ และจากภาคส่วนต่าง ๆในประเทศไทย
 
color:#252525">ดังนี้ทางมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอเรียกร้องให้ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีจัดทำแนวทางการเจรจาสันติภาพให้เป็นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจที่ตรงกันตามแนวทางดังกล่าว และจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมไทยเกี่ยวกับแนวทางสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งจะต้องสื่อสารกระบวนการสันติภาพและความคืบหน้าของการเจรจาไปยังประชาคมโลกถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในนำไปสู่การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในระดับนานาประเทศ
 
color:#252525">อนึ่ง ทางมูลนิธิฯ หวังว่า ผลของการเจรจาตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นจะนำไปสู่สันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเป็นสันติภาพที่ถาวรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม หรือความเชื่อถือทางการเมืองใด โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ