Skip to main content
ฟารีดา ปันจอร์
ผู้ปฏิบัติการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

Calibri"> 

mso-fareast-font-family:Calibri">นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบมาตั้งแต่ปี Calibri">2547 ความรับรู้ในข้อจำกัดเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการแสวงหาความร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย ได้บดบังความเข้าใจต่อบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมซึ่งทำงานข้ามพรมแดนระหว่างจังหวัดชายแดนใต้และประเทศต่างๆในภูมิภาคผ่านประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้ทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น หากจะกล่าวถึงช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงในก่อตัวของการก่อตัวขององค์กรภาคประชาสังคมตั้งแต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่ได้ปะทุขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา องคาพยพของสังคมก็มีความตื่นตัวต่อผลกระทบจากความรุนแรงมากขึ้น เกิดการทำงานขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่เกิดขึ้นมากมาย แม้พวกเขาจะมีลักษณะการทำงานที่หลากหลายและมีเป้าหมายแตกต่างกัน แต่ก็มีความปรารถนาใหญ่ร่วมกันเพื่อให้เกิดสันติภาพในพื้นที

 

พิจารณาในเชิงบริบท Calibri">

 

เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ตั้งแต่ปี 2547 นโยบาย กฎหมายและมาตรการของรัฐได้เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพลักษณ์เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ก็ยิ่งปรากฏต่อสื่อมวลชนในประเทศและสื่อต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์กรือเซะและตากใบ ที่เกิดขึ้นในปี 2547 แม้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นจะมีท่าทีที่ดีต่อการใช้แนวทางอื่นๆ ในการแก้ปัญหาโดยได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส. ที่เน้นการให้ความสำคัญต่อการสนทนาอย่างสันติ (peaceful dialogue) ว่าเป็นส่วนหนึ่งของทางออกแบบสันติที่ดีกว่ามาตรการการใช้กำลัง และมีข้อเสนอของกอส.เป็นช่วงๆต่อเนื่องกันจนถึงปี2550 อีกทั้งหลังการเปลี่ยนรัฐบาลมาจนมาถึงปัจจุบันก็มีสัญญาณที่ดีเกิดขึ้นว่าจะเริ่มกระบวนการสนทนา/เจรจากับผู้เกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย แต่ดูเหมือนว่าการเจรจาหรือการหาข้อตกลงในประเด็นที่เกี่ยวข้องยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร

แม้รัฐบาลจะมีความคืบหน้าในแง่ของการแสวงหาความร่วมมือระดับรัฐบาลระหว่างประเทศในการหาข้อยุติเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแต่ในแง่ของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับบูรภาพแห่งดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาเลเซีย บ่อยครั้งรัฐบาลไทยยังตั้งข้อสงสัยต่อความช่วยเหลือของมาเลเซียว่ามีการให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน และไม่เห็นด้วย ที่จะให้มีการแทรกแซงการการทำงานของรัฐบาลโดยตรง หรือยกระดับปัญหาความไม่สงบเป็นประเด็นระหว่างประเทศขณะที่มาเลเซียเองก็มีความระมัดระวังในประเด็นของสำนึกแห่งอัตลักษณ์และศาสนาที่ใกล้เคียงกับผู้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และประเด็นเกี่ยวกับหลักความมั่นคงของทั้งสองดินแดน อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็มีทีท่าจะยอมรับบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศจากภายนอกมากขึ้น เช่น การเข้ามาขององค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

หากมองในแง่ของการก่อตัวของภาคประชาสังคมในขณะที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นต้นมา ในแง่นี้การทำงานเพื่อสันติภาพก็เป็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกันของเหล่าภาคประชาสังคม นักวิชาการท่านหนึ่ง คือ John Paul Lederachได้ให้ความเห็นว่า การสร้างสันติภาพ จำเป็นต้องเกิดจากการประกอบสร้างสังคมอย่างมีพลวัต ซึ่งประกอบไปด้วยบทบาทของผู้คนสามัญในกระบวนการสร้างสันติภาพที่ไม่จำเป็นต้องมาจากผู้คนที่มีตำแหน่งทางสังคมสูงในสังคม แต่หากมาจากบทบาทของผู้คนฐานล่างของสังคม ในแง่นี้องค์กรภาคประชาสังคมในชายแดนใต้ ถือว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทอยู่ตรงกลางระหว่าง บทบาทของผู้คนในระดับสูงและมวลชนระดับรากหญ้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานในเชิงปฏิบัติและช่วยเป็นตัวประสานการทำงานระหว่างบทบาทของผู้คนที่มีบทบาทหน้าที่สูงสุดในสังคมและมวลชนระดับรากหญ้าซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมข้ามพรมแดน Calibri">

ความตั้งใจสองสามประการในเบื้องต้นเกิดขึ้นจากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้รวมรวบประสบการณ์บางส่วน จากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปทำงานในพื้นที่ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถอดประสบการณ์ในเวทีแลกเปลี่ยนความขัดแย้งระหว่างชายแดนใต้กับประเทศอาเซียนที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาไม่นาน  การมีโอกาสได้สังเกตการณ์พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างการทำงานขององค์กรภาคประชาสังคมชายแดนใต้และองค์กรภาคประชาสังคมอาเซียน รวมทั้งการสัมภาษณ์ตัวแทนคนทำงานในองค์ประชาสังคม

ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ตัวแทนสมาชิกจาก 3 องค์กรด้วยกันจากทั้งหมดสามประเทศซึ่งถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านในประเทศอาเซียน ได้แก่ องค์กร LBH  (Lembaga Bantuan Hukum) จากอินโดนีเซีย องค์กร IID (Initiatives for International dialogue)  จากฟิลิปปินส์และ AMAN Patani  (Pertubuhan Kebajikan Aman Patani Malaysia- AMANI) จากมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดทำงานประสานและมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ในพื้นที่

 

               ก้าวย่างขององค์กรภาคประชาสังคมข้ามพรมแดน 

 

อินโดนีเซีย

เริ่มจาก LBH (ในภาษาอินโดนีเซีย อ่านว่า แอลบาฮา) เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย มีอายุนานกว่า 40 ปี  ดำเนินการอยู่ 15 สาขา และทำงานกับเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและภาคประชาสังคม ซึ่งมีการปฏิบัติการอยู่ในพื้นความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น อาเจะห์ ปาปัว  อัมบน ติมอร์เลสเต

LBH มีสมาชิกที่มาจากการรวมตัวจากกลุ่มภาคประชาสังคมที่หลากหลายต่างๆ ได้แก่กลุ่ม  ผู้หญิง  อูลามะอ์ (ผู้นำทางด้านศาสนา)  ทางด้านนักวิชาการในมหาวิทยาลัย  นักหนังสือพิมพ์  รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง  เป้าหมายของ LBH  ต้องการเน้นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน ไปสู่เหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และสร้างความตระหนักในสถานการณ์ความขัดแย้ง สร้างเอกภาพ สิ่งที่ LBH ให้ความสำคัญในแง่ของการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม คือ การประสานงานและทำงานร่วมกันกับองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ เพื่อผลักดันและรณรงค์คุณค่าของสันติภาพ การไม่ใช้ความรุนแรง การสร้างความไว้วางใจของทั้งกลุ่มติดอาวุธ และฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลทั้งนี้ หนึ่งในแหล่งทุนสนับสนุนของ LBHคือ มูลนิธิซาซากาวา ประเทศญี่ปุ่น

ในแง่ของปฏิสัมพันธ์ที่ LBH  ทำงานร่วมกับ เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ แรกเริ่มนั้น LBH ประสานการทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ผ่านศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้ (Deep South Watch -DSW)   ลักษณะของการทำงานของหน่วยงานดังกล่าวค่อนข้างใกล้เคียงกับภารกิจของ LBH ที่เน้นการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่

สำหรับ Deep South Watch มีขอบข่ายการทำงานที่เน้นด้านการวิเคราะห์สถานการณ์ชายแดนใต้ สิทธิมนุษยชน และ การกระจายอำนาจ  โดยใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือและพื้นที่ในการหมุนประเด็นและสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ เครือข่ายที่ทำงานร่วมกันเป็นอิสระต่อกัน แต่มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกันคือ ลดการใช้ความรุนแรง  ใช้การเมืองนำการทหารเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชายแดนใต้ สนับสนุนเป้าหมายเพื่อสันติภาพในระยะยาว

ในแง่ของการปฏิสัมพันธ์ LBH นั้นได้เข้ามาเกี่ยวข้องในสายงานของเครือข่ายด้านการช่วยเหลือทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจง โดยเชื่อมกับเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับ DSW ในการหนุนเสริมศักยภาพของเครือข่าย โดยทำงานร่วมกับศูนย์ทนายความมุสลิม และเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน เช่น  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation-CrCF) สถาบันเยาวชนเพื่อการพัฒนาและสันติภาพ  (YDA) และศูนย์ผู้ช่วยเหลือทนายความ (Southern Paralegal Advocacy Network-SPAN) เพื่อเสริมการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและงานด้านกฎหมายให้สามารถเชื่อมประสานกันมากกว่าการเน้นการทำงานให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายและมาตรการของรัฐเพียงด้านเดียว แต่เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในประเด็นผลกระทบในประเด็นสิทธิมนุษยชนผลทั้งจากฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ

ผู้เขียนได้สัมภาษณ์เยาวชนที่มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้รับการสนับสนุนจาก LBH และมูลนิธิซาซากาว่า (Sasakawa Peace Foundation)ในฐานะผู้ให้ทุนสนับสนุน  โครงการ Youth Internship  เป็นโครงการแลกเปลี่ยนตัวแทนเยาวชนจากองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆในพื้นที่ ได้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศูนย์ทนายความมุสลิม สำนักข่ายบุหงารายา วิทยาลัยประชาชน และ YDA โดยเยาวชนส่วนใหญ่ที่ได้รับคัดเลือกจะได้เรียนรู้งานทั้งจากสำนักงาน LBH จาการ์ตาและที่อาเจะห์  ขณะที่พวกเขาอยู่ที่จาการ์ตา พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์การเมืองอินโดนีเซียในก่อนการล่มสลายของซูฮาร์โตในปี  1998  ในประเด็นการละเมิดสิทธิและสูญหายของนักกิจกรรม นักศึกษา นักเคลื่อนไหว  การปกป้องสิทธิของสื่อมวลชน  สังเกตการณ์ศาลของอินโดนีเซีย ในอาเจะห์พวกเขามีโอกาสเรียนรู้ต้นตอปัญหาความขัดแย้งและการทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อที่จะลดปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว

ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนได้ให้ข้อสังเกตในการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานร่วมกับ LBH ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของทักษะทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ทักษะของการเขียนรายงานด้านสิทธิมนุษยชน การสังเกตการณ์ศาลอินโดนีเซีย จนนำไปสู่การเปิดพื้นที่ที่เน้นการรณรงค์ หรือการผลักดันนโยบายไปสู่สาธารณะอย่างชัดเจน  ส่งผลให้การทำงานของภาคประชาสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่อาเจะห์ จำเป็นต้องเปลี่ยนการเชิดชูและสนับสนุนอัตลักษณ์ของอาเจะห์ มาเป็นงานด้านการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนทำได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ 

นอกจากนี้ ในระหว่างการไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนสามารถใช้ภาษามลายูเป็นภาษาหลักในการสื่อสารกับภาคประชาสังคมในอินโดนีเซียสลับกับการใช้ภาษาอังกฤษในบางครั้ง  อย่างไรก็ตามผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลเพิ่มว่าการทำงานของ LBH  กับภาคประชาสังคมในพื้นที เน้นงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนใหญ่  แต่ยังไม่ขยับไปสู่งานด้านการศึกษาความขัดแย้งและการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ อีกทั้งยังไม่เข้าบริบทความขัดแย้งที่ซับซ้อนมากกว่าในจังหวัดชายแดนใต้ที่ฝ่ายก่อการเป็นกลุ่มที่ไม่ได้เปิดเผยตัว (ในขณะนั้น)

 

ฟิลิปปินส์

IID (Initiatives for International Dialogue) คือ องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรระดับภูมิภาคในส่วนของกลุ่มประเทศอาเซียนที่ทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรระดับโลก  คือ GPAC (Global Partnership for Prevention of Armed Conflict) IID มีdkiทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆ ในประเทศ เน้นการทำงานด้านเพื่อสันติภาพ โดยเริ่มจากการส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาชนระดับรากหญ้า หรือ track 3 และเชื่อมโยงการทำงานกับภาคประชาสังคมใน track 2  

ในส่วนของการทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ เริ่มแรก  IID เชื่อมกับต่อองค์กรในกรุงเทพฯ คือ มูลนิธิศักยภาพชุมชน  เพื่อเชื่อมต่อกับผู้ประสานงานที่เป็นคนในพื้นที่อีกทีหนึ่ง ส่วนการมีปฏิสัมพันธ์ต่อการทำงานระหว่างภาคประชาสังคม IID ทำงานเชื่อมกับโครงการอื่นๆ ขององค์กรศักยภาพชุมชน ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า IID และองค์กรศักยภาพชุมชน เน้นการเชื่อมต่อในพื้นที่ในระดับปัจเจก ในโครงการเยาวชนเปลี่ยนเยาวชน(Internship) ในมินดาเนา  ในครั้งนั้นพวกเขาได้เรียนรู้ความขัดแย้งและเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมใหม่ๆ ประเด็นที่ได้เรียนรู้จากความขัดแย้งในพื้นที่ คือ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเพิ่มสื่อสารและต่อรองกับรัฐ  นอกจากนี้ IID กับองค์กรศักยภาพชุมชน ยังทำงานร่วมกันในโครงการของสหประชาชาติ โดยประสานกับผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อทำงานในเชิงข้อมูล เพื่อนำมาประกอบเขียนรายงานการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ  (International convention on the elimination of all forms of radical discrimination-CERD )

สำหรับในข้อสังเกตการทำงาน  ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลว่าเมื่อเข้าร่วมโครงการ Internship เธอได้เรียนรู้ว่าที่มินดาเนามีปัญหาซับซ้อนมากกว่าปัญหาชายแดนใต้ เนื่องจากที่นั่นประกอบไปด้วยความขัดแย้งจากหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เรียนรู้ว่าชาวมุสลิมโมโรไม่ปฏิเสธคนในพื้นที่อื่นๆ ที่มีความต่างในการร่วมต่อสู้ กล้าเผชิญหน้ากับรัฐบาลภาคประชาสังคม แสวงหาพื้นที่ทางการเมืองเพื่อเชื่อมต่อการทำงานระหว่างรัฐกับฝ่ายขบวนการในการแสวงหาสันติภาพ  แม้จะมีความต่างในการต่อสู้แต่ก็มีบริบทใกล้เคียงกับบริบทจังหวัดชายแดนใต้ ในแง่ที่เป็นการต่อสู้ของคนส่วนน้อยในประเทศ

อย่างไรก็ตามภาคประชาสังคมมินดาเนามีความชัดเจนในการต่อสู้มากกว่าที่จังหวัดชายแดนใต้ พวกเขาอ้างอิงถึงหลักการของสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรม ในขณะที่การต่อสู้ที่ชายแดนใต้ยังผูกพันอยู่กับอารมณ์ความรู้สึก ในแง่การทำงานขององค์กร IID มีความน่าสนใจเพราะเป็นองค์กรที่ทำงานในพื้นที่ เพื่อผลักดันข้อเสนอและวาระในระดับโลก  แต่มักเน้นการทำงานในเชิงปัจเจก ไม่ใช่ลักษณะการทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคม 

 

มาเลเซีย

AMAN Patani หรือ AMANI เป็นองค์กรจดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งปี 2550 โดยได้รับการสนับสนุนของกลุ่มนักวิชาการศาสนาในปีนัง (PersatuanUlama’ Malaysia CawanganPulau Pinang –PUMPP) มีความสนใจในประเด็นปัญหาความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดปัตตานี โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและงานพัฒนาแก่เด็กและสตรีในพื้นที่ เป้าหมายขององค์กรนี้เน้นในงานด้านพัฒนา ได้แก่ สนับสนุนกลุ่มเยาวชนในเรื่องของการศึกษา เน้นการสอนภาษามลายูและภาษาอังกฤษให้กับเยาวชน สนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมมลายูและด้านศาสนาเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในชายแดนใต้ไปยังผู้คนในประเทศมาเลเซียโดยมีกลุ่มเป้าหมายของภาคสังคม ได้แก่ ชาวมลายูปาตานีในชายแดนใต้ชาวมาเลเซีย  ชาวมลายูปาตานีมาเลเซีย

AMAN Pataniได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากประชาชนในประเทศมาเลเซียเมื่อมีการจัดแสดงผลงาน ความช่วยเหลือ การเผยแพร่ข่าวสารในจังหวัดชายแดนใต้ให้กับชาวมาเลเซียได้รับรู้ โดยเชื่อมโยงของภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชาวมาเลเซียที่เชื่อมโยงกับคนมลายูปาตานี  อย่างไรก็ตามการทำงานขององค์กรนี้มีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถสนับสนุนกับหรือเกี่ยวข้อเสนอทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นข้อห้ามตามกฎหมายของมาเลเซีย

—                 สำหรับการทำงานกับองค์กรภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ AMAN Pataniทำงานร่วมกับสมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (Deep South Woman Association For Peace -Deep Peace)  องค์กรดังกล่าวมีสมาชิก จำนวน 23 คน โดยส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร กลุ่มเป้าหมายขององค์กรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น เด็กกำพร้า เด็กยากจน แม่บ้านผู้สูญเสีย กิจกรรมบ้านเด็กกำพร้า (ไม่เป็นทางการ),การให้ทุนการศึกษาจัดค่ายจริยธรรมอบรมอาชีพ สำหรับเงินทุนที่ได้รับ ส่วนใหญ่จะได้รับการบริจาคร้านค้ามหาวิทยาลัยเงินซากาตในประเทศและเงินซากาตขององค์กร AMAN Patani

—                  ส่วนกิจกรรมที่ทำร่วมกับ  AMAN Pataniนั้น Deep-Peace ร่วมในบางกิจกรรมได้แก่การรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ในพื้นที่ (Road show) การจัดอบรมสื่อ การสร้างห้องสมุดโดยได้รับบริจาคหนังสือทั้งศาสนาและสามัญส่วนใหญ่เป็นภาษามาเลย์ ผู้ให้สัมภาษณ์ AMAN Patani ให้ข้อสังเกตว่า AMANI กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย สมาชิกมีความสนิทใจในการทำงานร่วมกัน เพราะมีวัฒนธรรม และศาสนาที่คล้ายกัน ไม่ค่อยมีช่องว่างในความต่าง อย่างไรก็ตามการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ของคนปาตานี จากการทำเดินสายรณรงค์ที่มาเลเซีย ยังไม่ค่อยเห็นปฏิกิริยาของคนมาเลเซียมากไปกว่าการแสดงความเห็นอกเห็นใจ การให้ความช่วยเหลือผ่านการบริจาค

     

            ข้อสังเกตของประสบการณ์ภาคประชาสังคมข้ามพรมแดน

 

            ก่อนจะมีการเรียนรู้ถึงประสบการณ์ของพื้นที่ความขัดแย้งในประเทศอาเซียนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติงานในภาคประชาสังคมชายแดนใต้มีความใกล้ชิดกับมาเลเซียในแง่ของการนำเสนอข่าวสารต่างๆ เรียกได้ว่ามาเลเซียจะเป็นประเทศแรกๆ ที่รับรู้ในเหตุการณ์จังหวัดชายแดนใต้ แต่หลังจากมีการนำเสนอข้อมูลในพื้นที่ความขัดแย้งอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ทิศทางของการทำงานภาคประชาสังคมก็เปลี่ยนไปในการแสวงหาประเด็นร่วมขึ้นกับพื้นที่อื่นๆ  และมีการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ความขัดแย้งของประเทศอาเซียนอย่างในอาเจะห์และมินดาเนา ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงในเป้าหมายและทิศทางไปสู่การลดความขัดแย้งมากกว่าที่จะมองไปที่มาเลเซียซึ่งที่ไม่ใช้พื้นที่มีความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์สูงดังสองพื้นที่ที่กล่าวในเบื้องต้น

             จากประสบการณ์ของในอาเจะห์และมินดาเนา แม้การชูประเด็นอัตลักษณ์และวัฒนธรรมมลายู มีความสำคัญน้อยกว่าการผลักดันประเด็นสิทธิและความเป็นธรรมไปสู่ประชาคมระหว่างประเทศ แต่สำนึกของภาคประชาสังคมที่ทำงานข้ามพรมแดนยังรู้สึกถึงความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม ความใกล้เคียงทางภาษาทำให้การทำงานมีความใกล้ชิด สนิทใจกันมากขึ้น

             กระนั้นการทำงานของภาคประชาสังคมอาเซียนข้ามพรมแดนอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น  ยังมีความยากลำบากในการนำยุทธศาสตร์ หรือ ยุทธวิธีที่จากที่อื่นๆ มาปรับใช้กับบริบทของจังหวัดชายแดนใต้ ดังตัวอย่างของผู้ให้สัมภาษณ์ที่ให้ข้อมูลว่าการผลักดันเรื่องของรณรงค์เรื่องการยุติความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมา อาจไม่เข้ากับบริบทของจังหวัดชายแดนใต้ เพราะฝ่ายขบวนการในพื้นที่ยังไม่แสดงตนอย่างชัดเจน ยังไม่มีความไว้วางใจในแง่ของความรู้สึก และยังขาดซึ่งช่องทางในการสื่อสารของผู้คนในระดับต่างๆ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขทางการเมือง

นอกจากนี้การเชื่อมต่อการทำงานของภาคประชาสังคมข้ามพรมแดนในระยะเบื้องต้นมีความไม่สมดุลกันระหว่างในการประสานการทำงาน กล่าวคือ จังหวัดชายแดนใต้ยังเปรียบเสมือนเป็นผู้รับหรือหยิบยื่นความช่วยจากองค์กรนอกพื้นที่ องค์กรภาคประชาสังคมนอกประเทศ อาจยังไม่รู้ถึงต้นทุนการทำงานของภาคประชาสังคมภายในที่มีมาแต่เดิม นอกจากนี้พวกเขายังขาดการร่วมมือกันของเครือข่าย NGOs ในระดับภูมิภาคในการผลักดันประเด็นร่วมกันในปัญหาชายแดนใต้ กระนั้นแรงหนุนเสริมของภาคประชาสังคมอาเซียนในระยะเริ่มอาจจะมีอยู่ในบางประเด็นซึ่งเป็นการหนุนเสริมทักษะเฉพาะทาง เช่น การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเชื่อมต่อกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน สร้างแรงบันดาลใจร่วมกับพื้นที่ความขัดแย้งอื่นๆ

ส่วนโอกาสในการทำงานที่ต่อเนื่องกับภาคประชาสังคมอาเซียนในอนาคต ขึ้นอยู่กับการวางทิศทางในการทำงานและการได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากองค์กรภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้และองค์กรภาคประชาสังคมอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากความคล้ายคลึงกันในเรื่องของภาษา วัฒนธรรม  และการมีพหุวัฒนธรรมหรืออาศัยช่องทางทางการเมืองอื่นๆ เช่น การก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนก็อาจเป็นแรงผลักดันหนึ่งไปสู่การทำงานร่วมกันมากขึ้น

 

ข้อมูลอ้างอิง

สัมภาษณ์
 
ทวีศักดิ์ ปิสมาชิก People college.  สัมภาษณ์, 17 มกราคม 2556
 
นูรีซัน ดอเลาะนายกสมาคม Deep South Woman Association For Peace.  สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2556
 
อารีด้า สาเมาะผู้ประสานงานปัตตานี IID.   สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2556
 
Mohd Saiful Afindi Sulaiman.  ผู้ประสานงาน  AMAN Patani ประเทศมาเลเซียสัมภาษณ์, 11 ธันวาคม 2556
 
เวบไซค์
 
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. 2555. ประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพ (ตอน 1): ทำความเข้าใจไอเดีย ประชาสังคมในต่างบริบท [ออนไลน์].  แหล่งที่มา: http://www.deepsouthwatch.org/node/2499 [15 มกราคม 2556]
 
องค์กร Initiatives for International Dialogue - IID.  http://www.iidnet.org
 
องค์กร Lembaga Bantuan Hukum - LBHhttp://bantuanhukum.or.id/
 
องค์กร Pertubuhan Kebajikan Aman Patani Malaysia.  http://amanpattani.blogspot.com
 
อื่นๆ
 
การประชุมวิชาการนานาชาติรัฐศาสตร์.  กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน.   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 7 กันยายน 2555