Skip to main content
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์
18 ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
กดดันโอบามาให้สนับสนุนสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ

 

            กลุ่มผู้รับรางวัลโนเบล 18 องค์กร/คน ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัก โอบามา (Barack Obama) แห่งสหรัฐอเมริกาต้องเป็นผู้นำในสนับสนุนให้เกิดสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty - ATT) ในระดับโลกที่มีประสิทธิภาพและเป็นจริง ซึ่งจดหมายฉบับดังกล่าวถูกส่งมอบให้ประธานาธิบดีโอบามาถึงทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 

             จดหมายถูกส่งถึงประธานาธิบดีโอบามา ก่อนจะมีการเจรจาในวันที่ 18 มีนาคมที่องค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ก เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับสนธิสัญญาฉบับประวัติศาสตร์ ที่พยายามควบคุมการค้าอาวุธระดับโลกที่ย่อหย่อนมากในปัจจุบัน

            แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, International Physicians for the Prevention of Nuclear War และดร.ออสการ์ อาเรียส (Dr. Óscar Arias) เป็นส่วนหนึ่งของผู้รับรางวัลโนเบล และเป็นผู้นำงานด้านสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม และการลดกำลังอาวุธในทวีปแอฟริกา อเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ ที่ร่วมลงชื่อในจดหมายฉบับดังกล่าวด้วย

            ตอนหนึ่งของข้อความในจดหมายระบุว่าสหรัฐฯ  และประเทศผู้ขายอาวุธอื่นๆ ต้องมีหน้าที่ทางศีลธรรมและความมั่นคงแห่งชาติที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดสนธิสัญญา (ที่เข้มแข็ง) เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และช่วยรักษาชีวิตพลเรือนผู้บริสุทธิ์ที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งด้วยอาวุธ อันเป็นผลมาจากการค้าอาวุธระหว่างประเทศที่ขาดความรับผิดชอบ

             “เราไม่อาจยอมให้คนทั่วโลกนับแสนเสียชีวิต พวกเขาถูกยิงตายทุกปี หลายคนล้านคนทุพลภาพและต้องเจ็บปวดอย่างมากทางจิตใจ” จดหมายระบุต่อไป 

            ดร.ออสการ์ อาเรียส ซานเชส (Dr. Óscar Arias Sánchez) อดีตประธานาธิบดีคอสตาริกาและผู้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2530 กล่าวว่าความท้าทายเฉพาะหน้าไม่ใช่แค่การผลักดันให้มีการลงนามในสนธิสัญญาเท่านั้น

            “ความท้าทายเฉพาะหน้าคือการคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อความรุนแรง ความท้าทายเฉพาะหน้าคือการผลักดันให้เป้าหมายบรรลุผล ทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งต้องการการทำงานอย่างจริงจังและทันท่วงทีของพวกเรามากกว่าอย่างอื่น”

            ข้อความในจดหมายยังระบุอีกว่า การควบคุมการค้าอาวุธทั่วไประดับโลกที่ย่อหย่อนในปัจจุบัน ซึ่งมีมูลค่ากว่าเจ็ดหมื่นล้านเหรียญในแต่ละปี เป็นปัจจัยส่งเสริมความขัดแย้ง ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง สร้างหายนะด้านสุขภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การที่โลกยังไม่มีหลักเกณฑ์ระดับสากลที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อควบคุมการค้าอาวุธทั่วไปในระดับโลก นับเป็น “ความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง” ของประชาคมสากล

            นพ. โรเบิร์ต ตองกา (Dr. Robert Mtonga) ประธานร่วม International Physicians for the Prevention of Nuclear War ที่รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2528 กล่าวว่า ในฐานะแพทย์จากแอฟริกา เคยได้เห็นกับตาถึงความทุกข์ทรมานจากความรุนแรงของปืน การค้าอาวุธที่ขาดการควบคุมระดับโลกและในทุกระดับ ส่งผลให้เกิดหายนะด้านสุขภาพระดับโลก        

            “สนธิสัญญาซื้อขายอาวุธที่เข้มแข็งจะเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บล้มตายที่ไม่จำเป็นจากการขัดกันด้วยอาวุธ แรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีโอบามาจะเพิ่มโอกาสที่จะบรรลุความตกลงเพื่อมนุษยธรรมที่เร่งด่วนฉบับนี้”

            แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2520 พยายามส่งสัญญาณเตือนหลายครั้งถึงความจำเป็นที่จะต้องมีหลักเกณฑ์สำคัญในสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธ ซึ่งกำหนดให้รัฐต่าง ๆ ต้องยุติการส่งมอบอาวุธระหว่างประเทศ กรณีที่มีความเป็นไปได้ว่าอาวุธเหล่านั้นจะถูกใช้ไปเพื่อก่ออาชญากรรมสงครามและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขบวนการสิทธิมนุษยชนได้เคลื่อนไหวมาเกือบสองทศวรรษแล้ว เพื่อให้เกิดสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธที่มีเนื้อหาสำคัญมุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประทศส่งออกอาวุธใหญ่สุดในโลกอย่างสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโอบามา อยู่ในสถานะพิเศษที่จะเป็นผู้นำเพื่อส่งเสริมให้เกิดสนธิสัญญาที่เข้มแข็ง

            ไบรอัน วูด (Brian Wood) หัวหน้าแผนกควบคุมอาวุธและสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า ตอนที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลมอบรางวัลสาขาสันติภาพให้กับประธานาธิบดีโอบามาในปี 2552 มีจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งคือการเชิดชูความปรารถนาของเขาที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในประเทศของเขาและสังคมโลก สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นบททดสอบประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งต้องพิสูจน์ว่า เขาจะสามารถผลักดันให้เกิดกฎหมายระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ เพื่อเข้ามาควบคุมการซื้อขายอาวุธระหว่างประเทศอย่างไร้ความรับผิดชอบได้หรือไม่

            “ทุกเมืองหลวงในโลกกำลังจับตามองและเฝ้ารอ หลายล้านชีวิตได้ถูกทำลายไปทุกปีจากการค้าอาวุธระดับโลกที่กระตุ้นให้เกิดการทารุณกรรมและการละเมิดสิทธิ บรรดาเหยื่อของความรุนแรงเผชิญกับความทุกข์ยากมาพอแล้ว ประชาคมโลกไม่อาจยอมรับให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีข้อบกพร่องและย่อหย่อนอีกต่อไปได้”

 

หมายเหตุ

            แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2520 สำหรับ “การสนับสนุนให้เกิดเงื่อนไขนำไปสู่เสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก” ส่วน International Physicians for the Prevention of Nuclear War (IPPNW) ได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 2528 และดร.ออสการ์ อาเรียส ได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 2530

            ผู้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ 18 องค์กร/คน ซึ่งร่วมลงนามในจดหมายฉบับนี้ประกอบด้วย เลห์แมน โบวี (Leymah Gbowee) (2554); ทาวักโกล การ์มาน (Tawakkol Karman) (2554); ชีริน เอบาดี (Shirin Ebadi) (2546);จิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) (2545); จอห์น ฮูม (John Hume) (2541); โจดี วิลเลียมส์ (Jody Williams) (2540); International Campaign to Ban Landmines (2540); Pugwash Conferences on Science and World Affairs (2538); ริโกเบอร์ตา เมนชู ทุม (Rigoberta Menchú Tum) (1992); ออสการ์ อาเรียส ซานเชส (2530); International Physicians for the Prevention of Nuclear War (2528); เดสมอน ปิโล ตูตู (Desmond Mpilo Tutu) (2527); อโดลโฟ เปเรซ เอสควิเวล (Adolfo Pérez Esquivel) (2523); แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล  (2520); มายเรียด คอร์ริกัน แมกไกวร์ (Mairead Corrigan Maguire) (2519); เบ็ตตี วิลเลียมส์ (Betty Williams) (2519); American Friends Service Committee (2490); International Peace Bureau (2453)

 

AMNESTY INTERNATIONAL

PRESS RELEASE

Nobel Peace Laureates press Obama on Arms Trade Treaty

US President Barack Obama must take the lead in securing a strong global Arms Trade Treaty, a group of 18 Nobel Peace Prize winners said in an open letter delivered to their fellow laureate at the White House today.  

Amnesty International, International Physicians for the Prevention of Nuclear War and Dr. Óscar Arias are among the Nobel Laureates, who also include leaders on human rights, humanitarian and disarmament issues from Africa, the Americas, Europe, and the Middle East and North Africa.

 The letter was delivered ahead of talks starting on 18 March at the UN in New York to conclude the negotiations on an historic treaty aimed at bringing the poorly regulated global arms trade under control. 

“The US and other arms supplier states have both a moral duty and a national security interest to help achieve [a strong] Treaty in order to protect human rights and save the lives of innocent civilians caught in the crosshairs of conflicts fuelled by the irresponsible international conventional weapons trade,” the Nobel Laureates said in the letter. 

“We cannot accept the deaths of hundreds of thousands of people around the world who are gunned down each year, with millions left maimed and traumatized,” they continued.

“The challenge before us is not just to get a document signed,” said Dr. Óscar Arias Sánchez, former President of Costa Rica and 1987 Nobel Peace Prize Laureate. “The challenge before us is to do justice to victims of violence. The challenge before us is to ensure that our goal becomes reality. These men and women and children deserve nothing less than swift and effective action.”


The poorly regulated international trade in conventional arms – worth well more than US$70 billion annually – fuels conflict, violence, and serious violations of human rights, with devastating effects on health, security, and sustainable social and economic development. 

The current absence of legally binding international rules to strictly regulate the global trade in conventional arms represents a “colossal failure” of the international community, according to the letter. 

“As an African physician, I have seen too much personal human suffering from gun violence. Multiplied worldwide, the unregulated arms trade results in a global public health catastrophe,” said Dr. Robert Mtonga, co-president of the 1985 Nobel Peace Prize laureate International Physicians for the Prevention of Nuclear War.   

“A strong Arms Trade Treaty will be a huge step forward in preventing further unnecessary injury and death from armed violence. President Obama’s support will enhance the prospects for achieving this urgent humanitarian agreement.” 

Amnesty International has repeatedly flagged the need for a Golden Rule in the Arms Trade Treaty to require states to stop an international arms transfer that is likely to contribute to war crimes and other serious human rights violations. The human rights movement has been working for almost two decades to secure an Arms Trade Treaty with human rights protections at its core.  

As the world's largest arms exporter by far the USA, under Obama, is uniquely positioned to play a leading role in delivering a strong treaty.  

“When the Nobel Committee awarded President Obama the peace prize in 2009, it was to recognize his aspiration for positive change in his country and the world – this treaty is a litmus test for the US President to show that he can deliver a credible global instrument to rein in the irresponsible activities of the international arms trade,” said Brian Wood, Head of Arms Control and Human Rights at Amnesty International. 

“Every capital around the world will be watching and waiting – millions of lives are being ruined every year by the global arms trade fuelling atrocities and abuses, and the survivors have had enough. World opinion will not accept a watered-down treaty with loopholes.” 

NOTE TO EDITORS: 

1.      Amnesty International was awarded the Nobel Peace Prize in 1977 for "having contributed to securing the ground for freedom, for justice, and thereby also for peace in the world". International Physicians for the Prevention of Nuclear War (IPPNW) was awarded the prize in 1985, and Dr. Oscar Arias was awarded the prize in 1987.  

2.      The 18 Nobel Peace Laureates who co-signed the letter are: Leymah Gbowee (2011); Tawakkol Karman (2011); Shirin Ebadi (2003); Jimmy Carter (2002); John Hume (1998); Jody Williams (1997); International Campaign to Ban Landmines (1997); Pugwash Conferences on Science and World Affairs (1995); Rigoberta Menchú Tum (1992); Óscar Arias Sánchez (1987); International Physicians for the Prevention of Nuclear War (1985); Desmond Mpilo Tutu (1984); Adolfo Pérez Esquivel (1980); Amnesty International (1977); Mairead Corrigan Maguire (1976); Betty Williams (1976); American Friends Service Committee (1947); International Peace Bureau (1910).