Skip to main content
color:#222222">คัมภีร์ ทองพูน
color:#222222">คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
color:#222222">[email protected]
 
จากเหตุการณ์ความเศร้าสลดของการทำลายผืนป่าและสัตว์ป่าบริเวณป่าแก่งกระจานที่แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น สภาวะการพึ่งพาและพึ่งพิงของสัตว์ตามระบบนิเวศเป็นทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า เป็นทั้งผู้ได้เปรียบและเสียเปรียบในเวลาเดียวกันซึ่งทั้งหมดธรรมชาติได้กำหนดและแบ่งสรรอย่างลงตัว การเกิดวิกฤตการณ์ล่มสลายของธรรมชาติอันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ผู้มีสติสัมปชัญญะมากว่าสัตว์ แต่ไร้ซึ่งสติสัมปชัญญะยิ่งกว่าสัตว์
color:#222222">
เมื่อมนุษย์เข้าไปบุกรุกพื้นที่เพื่อทำไร่ไถนาในภาคเกษตรกรรม ถากถาง เผาทำลายป่า พลิกป่ามาเป็นพื้นที่อารยะทางกสิกรรมเพื่อการดำรงชีพซึ่งการกระทำดังกล่าว บางคนบอกว่าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็พวกเขาอยู่กับกินกับป่า แต่ถ้าหากว่าชาวบ้านหรือนายทุนป่ากุยบุรีป่าแก่งกระจานถามสัตว์ป่าสักนิดว่า "ขอเข้าไปทำกสิกรรมบ้างได้ไหม ขอเข้าไปเพาะปลูกเพื่อยังชีพให้รอดได้ไหม" หากสัตว์ป่าพูดได้มันคงพูดว่า"คงต้องมีเงื่อนไขและกติกาของการอยู่ร่วมกัน"เหล่านี้คงเกิดเป็นแน่แท้คงไม่ปล่อยให้มนุษย์อยู่โดยลำพังและเป็นผู้ล่าอย่างเดียว
color:#222222">
เสียดายที่มนุษย์เหล่านั้น เป็นสัตว์ที่มีจิตสำนึกแต่ไร้ซึ่งจิตสำนึกของการอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มุ่งแต่จ้องแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ของผู้อื่นไม่สนใจว่าใครจะเป็นอย่างไรเจ็บปวดมากน้อยเพียงไร ตัวอย่างก็มีให้เห็นตามภาพข่าวหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไปที่มีการตรวจจับ นายตำรวจในพื้นที่พร้อมพวกที่เข้ามาบุกล่าสัตว์ป่าพร้อมหลักฐานสัตว์ป่า
color:#222222">
จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนอะไรให้เราเห็น?
color:#222222">
หากมองในเชิงนามธรรมเราสัมผัสบรรยากาศถึงความไม่ตั้งใจในภาพรวมในการปฏิบัติตามนโยบายเชิงป้องกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติทุกครั้งที่มีปัญหาระหว่างคนกับป่าเมื่อขาดการเหลียวแล ขาดการพัฒนา หรือพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง หรือเราอาจเรียกว่าการพัฒนาเชิงบูรณาการแบบองค์รวม (Holistic Integral Development) ทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมาอย่างมีปัญหามาก และยากหาทางเยียวยาแก้ไข
color:#222222">
หากมองไปในแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้น กระบวนการหาความยุติธรรมให้กับสัตว์ป่าการตรวจ DNA ของแม่ช้างกับลูกช้างการพยายามหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ การคืนพื้นที่ป่าให้ช้าง ที่สำคัญที่สุดของเหตุการณ์คือการใส่ความตั้งใจและความจริงใจในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
color:#222222">
ทีนี้เราลองกลับมาดูกระบวนการการแก้ไขปัญหาเรื่องช้างเปรียบเทียบกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ ผู้เขียนเองไม่แน่ใจว่ามีผู้อ่านหลายอาจจะไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยในกรณีที่เอาช้างมาเป็นเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบแต่คิดว่าจะเห็นน่าจะอธิบายให้เห็นได้ดีและเห็นชัดขึ้นอีก ประเด็นเรื่องพื้นที่ กับการคืนพื้นที่ เราต้องยอมรับการประวัติศาสตร์ที่ขึ้นมาในอดีตในรัฐปัตตานีว่ามีอดีตที่เศร้าโศกเจ็บปวด แต่นั้นก็คืออดีต มีเรื่องราวที่อยากจะยกตัวอย่างของผู้เขียนคือ การเสียชีวิตของพ่อ กับพนักงานขับรถขององค์การปกครองท้องถิ่นหน่วยงาน ที่ขับรถชนพ่อ ทำให้พ่อไม่วันกลับมาใช้ชีวิตในโลกนี้ ผู้เขียนคงไม่สามารถทำร้ายหรือเข่นฆ่าชีวิตของพนักงานขับรถ เพราะไม่สามารถเอาชีวิตพ่อกลับคืนมาได้คงเพียงแต่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และวางแผนการดำเนินชีวิตที่ดี และระวังไม่ให้เหตุการณ์อุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกและบอกเล่าเรื่องเหล่านี้ให้กับคนรุ่นลูกหลานให้ได้รับฟังเพื่อเตือนสติในการดำเนินชีวิต ถามว่าผู้เขียนโกรธไหม เสียใจไหมตอบเต็มปากเต็มคำว่าโกรธและเสียใจมากๆ น้ำตาลูกผู้ชายไหลอาบแก้มทั้งสองข้าง เอามือไปปิดตาพ่อ ได้แต่บอกพ่อว่าไปสวรรค์นะพ่อ
color:#222222">
เรื่องราวนี้หากประกอบการแก้ปัญหาความไม่สงบของฝ่ายรัฐและผู้ก่อการฯจะเห็นได้ว่า เราไม่อาจแก้ไขประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดของปัตตานีได้แต่ควรที่ทั้งสองฝ่ายจะนั่งคุยกันแล้วแก้ปัญหา ปัญหาเหล่านี้ไม่มีวันที่จบด้วยการใช้อาวุธเข่นฆ่าแต่เรามานั่งคุยแนวทางแก้ปัญหากันดีกว่า ผู้เขียนคิดว่าทั้งคนในปัตตานีและคนในส่วนอื่นๆของประเทศไทยต้องคิดร่วมกันว่าเราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขโดยมีพื้นฐานของการให้เกียรติและพึ่งพิงพึ่งพาต่อกันมอบรอยยิ้มและความสุขให้แก่กัน

การวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีเราได้กระทำมากน้อยเพียงไร มีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา มากน้อยเพียงไร รัฐคือผู้ที่ประชาชนเลือกออกมา รัฐควรฟังเสียงประชาชนบ้างดูซิ ที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยฟังเสียงประชาชน ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ถึงแม้บอกว่ารับฟัง หากรับฟังแต่ก็ไม่ค่อยได้นำข้อเสนอมาลองปฏิบัติดู แต่ก็บอกว่าประชาชนเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งบางครั้งประชาชนก็ไม่ทราบทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย

color:#222222">
การเคารพทางชาติพันธุ์หากเปรียบกับช้างตอนนี้ทางสองฝ่ายกลายเป็นผู้ถูกล่า. การขาดการให้ยอมรับความแตกต่างทางชาติพันธุ์แก่คนในพื้นที่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน. ซึ่งปัจจุบันนี้รัฐยังคงมีสมมติฐานเดิม. คงยึดแนวทางหรือแนวปฏิบัติเช่นเดียวกับในอดีต กลายเป็นปัญหาที่คาราคาซังยากถึงทุกวันนี้
color:#222222">
รัฐไม่มองภาพการพัฒนาแบบองค์รวมมาผสมผสาน เช่นแนวคิด"บรมหรือบวร" มาเป็นเครื่องช่วยบริหารจัดการพื้นที่
การเมืองนำการทหารหรือทหารนำการเมือง. ที่เหมาะสมที่สุดตอนนี้คือการเมืองนำการทหารควรให้ภาคส่วนประชาชนร่วมคิดแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาเปิดเวทีการแสดงความคิดเห็น หากเราจำกัดพื้นที่ช้างหรือเข้าทำลายพื้นที่ของช้าง ช้างคงกลับทำลายและทำร้ายกลับเช่นกัน. ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ทำร้ายและทำลายซึ่งกันและกัน.  ท่านพุทธทาสภิกขุสอนว่า เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง. จะประสบความสำเร็จหมด
color:#222222">
คงต้องถามประชาชนทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ว่าเขาต้องการอะไรอย่างแท้จริง ผู้เขียนเชื่อว่าเขาต้องตอบว่า "เขาต้องการสันติภาพ เขาต้องการความสงบ"สำคัญที่สุดตอนนี้
color:#222222">
เราต้องเชื่อว่าแผ่นดินที่เราอยู่อาศัยนี้เป็นแผ่นดินที่ความสุขที่สุด มีรอยยิ้มมากที่สุด มีน้ำใจมากที่สุด มีเสรีภาพภายใต้กรอบกฎหมายมากที่สุด สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากที่สุด.  มีความงดงามหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุด
color:#222222">
อยากให้ลองเริ่มประกาศยกเลิกการใช้ พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก บางพื้นที่ เพื่อแสดงความจริงใจกับพี่น้องประชาชน ต้องซื้อใจคนปลายด้ามขวานให้ได้
color:#222222">
การแก้ไขปัญหาข้างต้นทำฝ่ายเดียวไม่ได้คงต้องช่วยกันทุกฝ่ายบ้านเมืองจะเกิดสันติสุขอย่างแน่นอน