หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ได้รับการแปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ชื่อ “Death of a Child and the Promises of Peace Dialogue” ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 2556 กองบรรณาธิการเห็นว่าบทความชิ้นนี้ถือเป็นข้อเขียนสำคัญที่มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและระบุถึงข้อเสนอแนะต่อทุกฝ่าย ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์ที่กระบวนการสันติสนทนาอันเปราะบางกำลังดำเนินอยู่ในห้วงเวลาริเริ่มขณะนี้
English version please see below. (or click here)
๐๐๐๐๐
ความตายของเด็กน้อยกับคำสัญญาแห่งสันติสนทนา
เขียนโดย
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แปลและเรียบเรียงโดย
ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์
ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับช่วงเวลาบ่ายกลางฤดูร้อน คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าไอศกรีมสักแท่ง ตอนที่เราอายุเก้าขวบ ไอศกรีมที่แม่ซื้อให้เมื่อครั้งพาไปเที่ยวงานฤดูร้อนนั้นช่างเต็มไปด้วยความหมายที่งดงาม
นิโซเฟียน นิสานิ กำลังยืนอยู่หน้าร้านไอศกรีมบนถนนสุวรรณมงคล กลางเมืองปัตตานี เมื่อระเบิดหนัก 5 กิโลกรัมได้พรากชีวิตน้อยๆ ของเขาไปสู่พระเมตตาของพระเป็นเจ้า ในบ่ายวันที่ 21 มีนาคม 2556 เวลา 13.30 น. แรงระเบิดดังกล่าวยังทำให้มีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 14 ราย รวมทั้งแม่ของนิโซเฟียน ความรุนแรงที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 รายและมีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 10,000 ราย ในช่วงเวลาเก้าปี ที่ผ่านมา ได้ยกระดับให้สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลายเป็นความขัดแย้งชนิดถึงตาย (deadly conflict) ที่โหดร้ายรุนแรงที่สุดกรณีหนึ่งของโลกในปัจจุบัน
ความตายของนิโซเฟียนในเวลานี้มีนัยยะสำคัญ เพราะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพลเรือนเป็นครั้งแรกนับแต่มีการลงนามใน “ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงสัปดาห์ก่อนที่ตัวแทนของทั้งสองฝ่ายจะพบกันอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ความตายของนิโซเฟียนชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญที่ควรหยิบยกมาหารือกันในการพูดคุยสันติภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความรุนแรงดังกล่าวและ/หรือเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตย่อมถือเป็นบททดสอบความแข็งแกร่งของกระบวนการสันติภาพที่ดำเนินอยู่นี้ด้วย
การมอบหมายให้ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้แทนลงนามในเอกสารฉันทามติ ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพ สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางนโยบายอันชัดเจนเกี่ยวกับการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มก่อความไม่สงบเป็นครั้งแรก ทิศทางนโยบายดังกล่าวเป็นผลมาจากหลายปัจจัย รวมถึงความมุ่งมั่นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะจัดการกับปัญหาความขัดแย้งรุนแรงในภาคใต้ ความร่วมมือจากรัฐบาลมาเลเซีย ที่สำคัญที่สุดคือการทำงานหนักของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนที่พยายามสื่อสารพูดคุยกับฝ่ายผู้ก่อการหลายระดับตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้จะยังไม่มีนโยบายที่เป็นเอกภาพชัดเจนในช่วงนั้นก็ตาม
ผู้คนที่จะร่วมเวทีพูดคุยที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ 28 มีนาคมที่จะมาถึง ย่อมจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเหตุผลและแรงจูงใจอันหลากหลาย บางคนอาจเชื่อมั่นว่าการเข้าร่วมระบวนการ “พูดคุยสันติภาพ” จะเกิดขึ้นได้จากการข่มขู่กดดันของฝ่ายหนึ่ง หากผมเห็นว่าเพื่อให้กระบวนการสันติภาพเป็นไปได้จริง ย่อมมีความจำเป็นที่จะทำความเข้าใจว่า “สันติสนทนา” (peace dialogue) นั้นคืออะไรกันแน่ เราจะสามารถทำหรือไม่ทำอะไรได้บ้าง มีประเด็นอะไรบ้างที่ควรถูก “หยิบยกมาพูดคุยกัน” และอะไรเป็นองค์ประกอบสำคัญให้กระบวนการสันติภาพดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ความเป็นจริงของสันติสนทนา
สันติสนทนาไม่ใช่การเจรจา ผลลัพธ์ของการเจรจาคือข้อตกลงสันติภาพ (หรือชุดข้อตกลง) ขณะที่สันติสนทนามุ่งให้เกิดบรรยากาศสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังที่ปรากฏในเอกสารซึ่งลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของสภาวการณ์ดังกล่าวคือความไว้วางใจกันระหว่างคู่ขัดแย้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดขึ้น การพูดคุยอาจเกิดขึ้นจากการบังคับ แต่การขู่บังคับนั้นย่อมไม่สามารถก่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งจะช่วยประคับประคองกระบวนการต่อไปได้ในระยะยาว เมื่อ 500 ปีมาแล้ว มาคิอาเวลลีเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ในงานชิ้นเอกของเขาเรื่องเจ้าผู้ปกครองว่า “…เหมือนดังสิ่งอื่นๆ ทั้งปวงในธรรมชาติซึ่งเกิดและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ย่อมไม่สามารถจะฝังรากพร้อมกับกิ่งก้านสาขาที่มาด้วยกันได้หมด โดยแบบวิธีการดังกล่าว อากาศที่เลวร้ายครั้งแรกก็จะขุดรากถอนโคน (ต้นไม้นั้น) ไปหมดสิ้น...” (บทที่ 7)
ในบรรดาความขัดแย้งที่ยุติลงในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา กว่าร้อยละ 80.9 จบลงด้วยข้อตกลงสันติภาพ ขณะที่ร้อยละ 40 ของการต่อสู้ด้วยอาวุธกำลังอยู่ในช่วงสันติสนทนาบางลักษณะ และร้อยละ 60 มี คนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการเจรจาด้วย การสำรวจเมื่อปลายปี 2555 พบว่าสันติสนทนา ร้อยละ 19.5 กำลังดำเนินไปด้วยดี ขณะที่อีกกว่าร้อยละ 43.6 เต็มไปด้วยอุปสรรค (ข้อมูลจาก Escola de Cultura de Pau, Universitat Autonoma de Barcelona, 2012)
หากจินตนาการว่าความขัดแย้งชนิดถึงตายก็เหมือนสิ่งมีชีวิตทั้งปวง คือมีวงจรชีวิตของมันเอง จะพบว่ากรณีความขัดแย้งชนิดถึงตายที่หาข้อยุติได้ยากและยืดเยื้อเรื้อรังแม้จะได้มีความพยายามหาทางออกกันมานั้นในเวลานี้มี 4 กรณี ได้แก่ ความขัดแย้งในปาเลสไตน์ซึ่งต่อเนื่องยาวนานมากว่า 96 ปีแล้ว (ถ้านับตั้งแต่แถลงการณ์บัลโฟร์เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2460) กรณีแคชเมียร์ (“อายุ”ความขัดแย้ง 63 ปี) กรณีไซปรัส (“อายุ”38 ปี) และซาฮาราตะวันตก (“อายุ”21 ปี) ที่ความขัดแย้งทั้งสี่นี้ยืดเยื้อและยากจะหาข้อยุติ เพราะนอกจากมิติด้านความมั่นคงที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับประเด็นความขัดแย้งพื้นฐานในเรื่องดินแดน อัตลักษณ์ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และการปกครองตนเองด้วย
ดร.รัตติยา สาและ ศาสตราจารย์ด้านภาษามลายูจากมหาวิทยาลัยทักษิณชี้ว่าความขัดแย้งรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของ “ ا - ب - ت” (อลิฟ, บา, ตา) คืออิสลาม, บังซา (Bangsa หรือลักษณะทางชาติพันธุ์-วัฒนธรรม) และตานะฮ์ (Tanah หรือดินแดน) หากเป็นจริงตามนี้ ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ไม่แตกต่างจากกรณีความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรังและยากจะหาข้อยุติทั้งสี่กรณีที่ยกตัวอย่างมา หากยิ่งซับซ้อนรุนแรงขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ ทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การแข่งขันกันในภูมิภาคอุษาคเนย์ และธุรกิจผิดกฎหมายในพื้นที่
สันติสนทนาถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสันติภาพอันสลับซับซ้อนและประกอบด้วยขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร การแสวงหาความเป็นไปได้ การพูดคุย การเจรจา ก่อนจะจบลงด้วยข้อตกลง (บางประการ) กระบวนการดังกล่าวอาจสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนที่ไม่เป็นทางการ/เป็นทางการ โดยอ้อม/โดยตรงได้ ยกตัวอย่างเช่น ก่อนจะมีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการและโดยตรงเช่นที่เกิดขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนก่อน ควรมีกระบวนการก่อนหน้านั้นสามขั้นตอน ทั้งการติดต่อที่ไม่เป็นทางการและโดยอ้อม (ผ่านคนกลาง) การติดต่อที่เป็นทางการและโดยอ้อม ตลอดจนการติดต่อที่ไม่เป็นทางการแต่เกิดขึ้นโดยตรงระหว่างคู่ขัดแย้ง ในแง่การสร้างความไว้วางใจในกันและกัน สี่ขั้นตอนในกระบวนการนี้ก็จำเป็น เพราะความไว้วางใจไม่อาจเกิดขึ้นได้หากกระบวนการทั้งหมดเริ่มขึ้นด้วยการขู่บังคับ ด้วยเหตุผลนี้เอง การพบกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 28 มีนาคมนี้จึงน่าจะมุ่งเน้นการสำรวจความเป็นไปได้ของกระบวนการสันติภาพ และดังนั้นคำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ทั้งสองฝ่ายควรจะพูดคุยเรื่องอะไรบ้าง
เงื่อนไขของกระบวนการสันติภาพ
กระบวนการสันติภาพโดยเฉพาะในช่วงสำรวจความเป็นไปได้เช่นในขณะนี้ คงไม่สามารถเริ่มต้นขึ้นได้ด้วยวิธีที่คู่ขัดแย้งแต่ละฝ่ายที่ตั้งธงไว้ก่อนล่วงหน้า เป็นต้นว่าถ้าคุณไม่ทำ A หรือ B ฝ่ายเราก็จะไม่คุยด้วย! อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กระบวนการสันติภาพหรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพูดคุยสันติภาพก็ย่อมเป็นไปไม่ได้หากไม่เข้าใจเงื่อนไขของกระบวนการว่า สิ่งที่จะหยิบยกมาพูดคุยกันย่อมต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอันเป็นพลวัตที่มีอยู่ก่อนหน้านี้
ผมเห็นว่าประเด็นสำคัญที่สุดในขณะนี้คือเรื่องการลดความรุนแรง ไม่ใช่เรื่องทางเลือกเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองในพื้นที่ เพราะอันที่จริง การหารือกันเรื่องทางเลือกในการจัดการปกครองมักจะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการยุติความรุนแรง ในแง่นี้รูปแบบทางเลือกในการปกครองจึงถือเป็นหนทางเพื่อยุติความรุนแรงในกระบวนการสันติภาพ
ผู้ที่จะก้าวเข้าสู่กระบวนการสันติภาพครั้งนี้ควรต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องภูมิศาสตร์ เวลา อาวุธและเป้าหมาย ในบรรดา 1,600 หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเพียง 200 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ในช่วงการสำรวจความเป็นไปได้ของกระบวนการสันติภาพ อาจเลือกพื้นที่หมู่บ้านจากกลุ่มหมู่บ้านที่ความรุนแรงปรากฏเหล่านี้สักสองสามแห่ง และทดลองให้เป็น “เขตสันติภาพ” โดยปลอดจากความรุนแรงทั้งจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบและรัฐไทยในช่วงเวลาหนึ่ง
คงเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลนักที่จะคาดหวังว่าบีอาร์เอ็นและกลุ่มอื่นๆ ที่จะร่วมพูดคุยในวันที่ 28 มีนาคมนี้จะสามารถควบคุมความรุนแรงในพื้นที่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงจำเป็นต้องหารือกันว่าจะควบคุมระดับความรุนแรงของกลุ่มก่อความไม่สงบอื่นๆ ที่อยู่นอกเขต “พื้นที่สันติภาพ” ได้อย่างไร
อาจลองเชื้อเชิญกลุ่มก่อความไม่สงบอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในสันติสนทนาครั้งนี้ให้มีสถานะเป็น “PAHLAWAN YANG TERHORMAT” หรือ “นักรบทรงเกียรติ” ในพื้นที่ทดลองอื่นๆ ซึ่งผมขอเรียกพื้นที่เหล่านี้ว่า “เขตเกียรติยศ” ซึ่งจะไม่มีการใช้ระเบิดและมุ่งทำร้ายเป้าหมายพลเรือน ทั้งที่เป็นครู ผู้หญิง นักการศาสนา (พระสงฆ์ อุลามาอ์/อิหม่าม บาทหลวง) นอกจากนี้ บรรดาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์ เป็นต้น) โรงเรียน ตลอดจนร้านค้าหรือห้างร้านก็ควรถูกกันให้ปลอดจากความรุนแรงเช่นกัน
คงต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกกว่า 40 ปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการสันติภาพ ทั้งความแตกแยกในกลุ่มติดอาวุธ ความเห็นต่างในประเด็นที่จะหาข้อตกลงร่วมกัน ความไม่ไว้วางใจต่อคนกลาง หรือกิจกรรมทางการทหารที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนข้อเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงโดยสิ้นเชิง กระบวนการสันติภาพเช่นที่กำลังดำเนินอยู่นี้ก็ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ หากความรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป ผู้คนจำนวนไม่น้อยก็คงไม่รีรอที่จะประณามกระบวนการสันติภาพว่าไร้น้ำยา
กระบวนการสันติภาพเช่นที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ไร้น้ำยาแต่ก็เปราะบาง และดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากผู้คนในสังคมไทย รวมทั้งความเข้าใจจากหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งย่อมเป็นผลมาจากการพูดคุยประสานงานกันเองภายในหน่วยงานภาครัฐ การสนับสนุนและความเข้าใจจากสังคมไทยในขณะนี้ไม่ใช่จะเกิดขึ้นโดยง่ายแต่ก็จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องพยายามมุ่งลดปัจจัยอุปสรรคอื่นๆ เพื่อให้กระบวนการสันติภาพดำเนินต่อไปได้
และหากใครผู้ใดเกิดลังเลว่ากำลังเดินอยู่บนเส้นทางของกระบวนการสันติภาพที่ถูกต้อง เพื่อยุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้หรือไม่ ก็ขอให้จดจำความตายของเด็กชายนิโซเฟียน นิสานิ เป็นแนวทางการทำงานเพื่อมิให้ผู้ใดประสบชะตากรรมเช่นนี้อีก
หมายเหตุ: คลิกอ่าน “สันติสนทนาในบริบทของความรุนแรงที่ภาคใต้” โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
Death of a child and the promise of peace
Chaiwat Satha-Anand
Bangkok Post, 26 March 2013
Nothing is better than an ice-cream on a hot summer afternoon. When you are nine, the summer ice-cream your mum bought for you when she took you to a fair or something similar attained beautiful meaning.
Nisofian Nisani was in front of an ice-cream shop on Suwanmongkol Road in downtown Pattani when a 5kg bomb exploded and took away his young life on Thursday at 1.30pm.
Fourteen others, including the boy's mother, were also wounded in the attack.
Violence in the far South has claimed more than 5,000 lives and physically wounded more than 10,000 people in the past nine years, marking it as one of the most ferocious ongoing conflicts in the world.
The death of the young boy assumes special significance since this was the first time an attack on civilians had occurred since the signing of the General Consensus on Peace Dialogue Process in Kuala Lumpur last month.
The attack was also just a week before the follow-up peace talks meeting scheduled for this Thursday.
The death of this child points to what needs to be talked about in the coming peace dialogue between the National Security Council (NSC) and the separatist group Barisan Revolusi Nasional (BRN). This violence, and/or similar incidents that might happen in the near future will also serve as acid tests of the commitment towards achieving peace.
The appointment of Lt Gen Paradorn Pattanatabut, the secretary-general of the NSC, to sign the peace talks agreement on behalf of the government reflects for the first time a clear policy direction in pursuit of peace with insurgents.
This policy direction is a result of several factors which include ousted premier Thaksin Shinawatra's strong determination to do something about this problem, collaboration between the Thai and Malaysian governments, and perhaps most importantly, years of hard work by security officials _ military and civilian _ who have engaged with various insurgents in unofficial talks without a unified policy.
It goes without saying that those who go to the Kuala Lumpur table on Thursday will be there with different reasons and motivations. There might even be those who believe that in order to engage in "peace dialogue", all one needs is to exert strong pressure _ read coercion _ on the parties involved to make it work.
But I would argue that for a peace process such as this to work, there is a dire need to understand "peace dialogue" for what it is, what it can or cannot do, what then should be talked about, and finally what may be needed to sustain such a peace process.
A peace dialogue is not the same as peace negotiation.
The end-result of peace negotiation is usually a peace agreement (or a set thereof), while for peace dialogue it is simply the creation of an environment conducive to peace. The most crucial feature of such an environment is trust between the parties involved. That is perhaps the most difficult factor to cultivate.
If forced, a meeting can indeed take place, but without trust it would be unsustainable to continue those meetings in the long run.
It is important to understand that of the conflicts which came to an end in the past 20 years, 80.9% were through peace agreements.
Today, 40% of all armed conflicts are open to dialogue of some form, while about 60% need external mediation-facilitation.
By the end of 2011, 19.5% of the dialogues were going well and 43.6% faced difficulties.
It should not surprise anyone that among the most difficult to deal with are four protracted conflicts _ Palestine, which is now 96 years old (beginning with the Nov 2, 1917 Balfour declaration); Kashmir, 63 years old; Cyprus, 38 years old; and Western Sahara, 21.
These conflicts are protracted and therefore difficult to resolve, because beyond security of the states involved, the underlying issues are land, identity, sacred spaces, and self-governance.
Rattiya Salae, a professor of Malay language at Taksin University pointed out that the far South conflict is about Alif, Ba, Tha (letters in the Arabic alphabet). Alif is for Islam, Ba for Bangsa (the ethnic culture which includes language) and Tha for Tanah (land).
If this is the case, then the southern violence in Thailand could also be seen as a similarly protracted conflict which is difficult to deal with.
Peace dialogue is a part of the peace process which is a complex modality consisting of contacts, exploration, dialogue, negotiation and finally agreement(s).
All of these can be divided into informal/formal, indirect/direct. For example, before a formal direct contact such as the one held in Kuala Lumpur last month, there should be three other stages _ informal indirect contacts, formal indirect contacts and informal direct contacts. These four stages are necessary as a trust-building effort, something which might be relegated to marginal importance if the process is forced.
Following this modality, the coming Kuala Lumpur meeting on Thursday could be more exploratory in nature. The question, then, is what should the meeting explore?
To enter into a peace process, especially in its exploratory stage, one cannot enter with any strict preconditions (i.e. If you don't do A or B, I will not talk to you). However, it is impossible to enter into a peace process and engage in peace dialogues without understanding its conditionality (i.e. that whatever is going to be talked about depends on existential conditions).
I would say that the most important issue now is the cessation of violence, and not about alternative forms of governance in the area.
In fact, in most cases alternative forms of governance are only discussed as a means of ending violence.
In this sense, alternative forms of governance become means of ending violence within the peace process.
Those who wish to explore this peace process need to talk about geography, time, weapons and targets.
Of the more than 1,600 villages in the three southernmost provinces, only some 200 have suffered from violence. In the spirit of exploration, a few villages, say three or six from these 200, could be selected as an experiment in "peace zones" where for a specified period of time, there will be no violence from both the insurgents and the government.
Since it would be unrealistic to assume the BRN and their colleagues could really control violence on the ground, there is also a need to discuss attacks by other insurgents outside the designated peace zones.
Perhaps the peace dialogue should also explore the possibility of inviting those who refuse to talk at this time to become pahlawan yang terhormat or "honour fighters" in other exploratory zones. Let me call these "honour zones", where the use of explosives are excluded, and civilian targets are considered outside the scope of violent attacks.
It should also be noted that there are at least 40 factors that could derail any peace process, such as internal divisions in an armed group, disagreement over issues on the agenda, distrust in the facilitator, or a rise in military activities among other things.
A peace process such as this one is no different. When violence continues, many will point their fingers at the peace process and conclude that it is futile.
A peace process such as this one will be fragile. Therefore it needs tremendous support from Thai society as well as a profound understanding from security agencies involved.
To mobilise both that support and understanding is both difficult and necessary, if such derailing factors are to be effectively mitigated.
And any time one doubts whether they are on the right path to ending violence in the far South, remember the death of Nisofian Nisani.