Skip to main content

 จินตนาการความหวังที่มากกว่า “กลับมาเป็นเหมือนเดิม”  บทความโดย นวพล ลีนิน

 

จากคำตัดพ้อของผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ถึงความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก  ทั้งผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ รวมทั้งผลกระทบทางอ้อม เมื่อต้องพบกับท่วงท่าของผู้คนต่างถิ่นที่เข้ามาในพื้นที่ในฐานะเจ้าหน้าที่หรือคนทำงาน  กระทั่งพฤติกรรมก้าวร้าวระหว่างการเดินทางออกนอกพื้นที่ของคนจังหวัดชายแดนใต้ รูปลักษณ์ใดก็ตามที่แสดงถึงความเป็นคนสามจังหวัดชายแดนในความเป็นชาวมุสลิม ซึ่งเหมือนความย้อนแย้งในปมเด่นปมด้อยที่พิเศษจากพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ตัวอย่างที่อาจพบโดยทั่วไป เป็นต้นว่าเลือกค้นกระเป๋าของคนไว้หนวดเคราตอนเดินเข้าไปในห้างซักแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ หรือตรวจรถยนต์ป้ายทะเบียนสามจังหวัดอย่างจริงจัง แม้ความสนใจใคร่รู้ว่าอยู่กันอย่างไร สบายดีไหม แต่บางส่วนกลับทับถมสมน้ำหน้าว่าสมควรแล้ว ในความคิดเห็นของผู้คนส่วนหนึ่งที่เห็นว่า คนจังหวัดชายแดนสร้างปัญหาให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ แล้วยังไม่ยอมลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาของตัวเอง หรือแบมือรองบประมาณช่วยเหลือเยียวยาเพียงอย่างเดียว

minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;
mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

ประโยคที่ว่า “อยากให้บ้านเรากลับมาเป็นเหมือนเดิม” เป็นประโยคที่มักได้ยินอยู่เสมอๆ ในคำให้สัมภาษณ์ชาวบ้านในภาพข่าวหรือรายการสร้างสรรค์เพื่อสันติภาพในโทรทัศน์สักช่องหนึ่ง ชาวบ้านในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ทั้งพุทธและมุสลิม ที่ถูกสัมภาษณ์มักบรรยายถึงบรรยากาศในอดีต ที่อยู่ร่วมกันอย่างรักใคร่กลมเกรียว แม้ในอดีตมีการสู้รบเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ต่างกัน ในบริบทของความเป็นชุมชนในอดีตที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกัน พื้นที่การสู้รบที่แยกออกไปจากตัวบ้านร้านตลาด วิถีชีวิตที่เรียบง่ายด้วยโครงสร้างการปกครองที่มาจากส่วนกลางในอดีต

 ความจริงคือสิ่งที่ทำให้ “ไม่เหมือนเดิม”ที่เกิดขึ้นนั้น มิได้มีปัจจัยมาจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่เพียงอย่างเดียว ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยกระบวนการปฏิรูปการเมือง ได้เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ในการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น ลูกหลานคนในพื้นที่รุ่นใหม่ๆจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐมากขึ้น วิถีชีวิตเปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดด หากเราจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม จากรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน ทางออกของการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างนี้จึงน่าจะมากกว่า “กลับมาเป็นเหมือนเดิม”

ต้นทุนของความรุนแรงที่แลกมาด้วยชีวิตผู้คนในพื้นที่กว่า 6000 คน ในรอบ 10 ปี แน่นอนบทเรียนมิอาจประเมินค่าจากเลือดเนื้อของมนุษย์ได้ ในขณะที่ผู้รอดชีวิตในพื้นที่สะท้อนคำตอบด้วยแววตาที่ดูคล้ายหมดหวัง แต่ลึกลงไปเราสามารถสัมผัสได้ถึงความอดทนด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ของพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้
                หากพิจารณาจากความเป็นมาของสถานการณ์ตั้งแต่ต้น พบว่าผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนรับมือกับสถานการณ์อย่างชานฉลาด พวกเราเรียนรู้การอยู่รอดในสถานการณ์ที่เร่งร้าว ให้ผู้คนที่แตกต่างทางเชื้อชาติศาสนาลุกขึ้นมาเข่นฆ่ากัน พวกเราแสดงออกด้วยปฏิบัติการที่เงียบและเฉยชา เพราะรู้ดีว่าเงื่อนไขของความรุนแรงมาจากภายนอกมากกว่า บางครั้งพวกเราก็ได้รับคำประณามหยามหยัน ว่ารอรับแต่ความช่วยเหลือ มีงบประมาณมากมายลงไปในพื้นที่อะไรทำนองนี้  ในความช่วยเหลือเยียวยาที่อ้างถึง  หรือคำซ้ำเติมว่า คนในพื้นที่ขาดความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขปัญหาของตนเอง  ในมุมมองที่ว่าคนในพื้นที่เป็นผู้จำยอมต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เฝ้ารอคอยผู้มีกำลังความสามารถจากต่างถิ่น  ซึ่งล้วนกระหน่ำซ้ำเติมว่าสาสมแล้วกับสิ่งที่เกิดขึ้น  ตามสิ่งที่คนทั่วไปต่างมองเห็นหรือเข้าใจในเนื้อข่าว ข่าวที่ย้ำแล้วย้ำเล่าว่า วันนี้ที่ปลายด้ามขวานนั้น “ไม่เหมือนเดิม”
mso-ascii-font-family:Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:
Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                ปลายด้ามขวานในปัจจุบันที่ไม่เหมือนเดิม ลองคิดว่า,จากวันทั้งวันตั้งแต่คุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้า คุณดำเนินชีวิตประจำวันไปจนกระทั่งเข้านอน อย่างน้อยๆสักครั้งในสัปดาห์ที่ต้องได้ข่าวเหตุการณ์ร้าย ลอบยิง ลอบวางระเบิด ซึ่งเป็นข่าวที่อยู่ไม่ไกลออกไป ในช่วงไม่เกิน 300กิโลเมตร จากรั้วบ้านที่คุณนอนหลับอยู่ จากหน้าบ้านไปถึงปากซอย ที่กระท่อมสวนยางริมทาง เส้นทางที่คุณเพิ่งขับรถผ่าน หรืออาจมีใครสักคนที่คุณรัก ลูกๆ พ่อแม่ พี่น้อง แฟน หรือแม้แต่ตัวคุณเอง เพิ่งไปเดินทางผ่านที่นั้นมาเมื่อวานนี้เอง หรือแหล่งอาหารเช้าที่คนในตลาดต้องไปหาซื้อมาอย่างวิตกกังวล พ่อค้าแม่ขายที่ต้องคอยระวังว่ารถจักรยานยนต์ของลูกค้าอาจมีระเบิด  ถนนสายหลักที่เคยทำรายได้บางสายได้ตายไปแล้ว กระทั้งการข่มขู่ให้ปิดร้านในวันศุกร์ ในแต่ล่ะครั้งคือความกลัวที่สะสมอยู่ในจิตสำนึกของผู้คน หน่วยงานราชการพยายามสร้างความมั่นใจด้วยการเดินรณรงค์ให้มีการเปิดร้านค้าขายตามปกติ แต่เรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ในบางพื้นที่

 
                ครั้งหนึ่งผมเคยไปเดินรณรงค์เพื่อสันติภาพกับเด็กๆเครือข่ายเยาวชนเมล็ดพันธ์สันติวิถี บนถนนสายรวมมิตรที่ เมืองยะลา ระหว่างที่แวะซื้อส้มโชกุน แม่ค้าพูดถึงการถึงการรณรงค์เพื่อสันติภาพว่า “ใครหรือที่มาเดินเรียกร้อง เจ้าหน้าที่อำเภอ เมีย อส. มาเดินเสร็จก็กลับบ้าน แต่ใครจะประกันความปลดภัยให้เรา  ผู้ว่าก็รับประกันไม่ได้
เสียงของเธอดังกังวานออกมาสะท้อนจากร้านที่เปิดเพียงประตูลูกกรงไว้หน้าบ้าน ตลาดร้านในเมืองยะลาหน้าร้านมีปล้องบ่อกันระเบิดเป็นแนวเบียดทางเดิน บางแห่งมีการแต้มสี วาดลายหนังตลุงล้อสถานการณ์

                  ฝ่ายผู้ก่อก่อเหตุทำงานอย่างสเปะสปะเลอะเทอะเพราะไม่เลือกกลุ่มเป้าหมาย แต่กลับได้ผลอย่างประหลาด ในการทำลายความรู้สึกชื่นบานของผู้คน พวกเขาขยันทำงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  พวกเขาได้สร้างอาณาจักรแห่งความกลัว ผู้คนในพื้นที่แสดงออกโดยความนิ่งเงียบ บรรยากาศที่หดหู่นี้ครอบคลุมไปทั้งพื้นที่ คล้ายจุดดำที่เพิ่มขึ้นทีล่ะจุดสองจุด กระทั้งบดบังพื้นที่ใสสว่างจนเกือบหมดสิ้น คำถามคือคุณจะเหลือพื้นที่ให้กับจิตนาการแห่งความสงบสุขได้มากน้อยสักแค่ไหน หรือเพียงภาพอุดมคติ “อยากให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม” นั้นคือคำถามที่คุณอาจสัมผัสคำตอบได้บางในความรู้สึก  สิ่งที่เกิดขึ้นมันเชื่อมโยงกัน และปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ไกลตัวของเราเลย

                ชีวิตประจำวันที่ลำบากมากขึ้น จากคำพูดที่ว่า “อยู่ยากขึ้น” ในความหมายที่ว่า ครั้งหนึ่งเคยอยู่อย่างสุขสบาย ที่ไม่ต้องหวาดระแวงสิ่งใดๆ  การพยายามแบ่งแยกผู้คนของผู้ก่อเหตุทำได้ดีทีเดียว ผู้คนบางส่วนค่อยๆก่อกำแพงแห่งอคติขึ้นในใจ ด้วยสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนการตอกย้ำให้ผู้คนในพื้นที่ต้องอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัว  ประหนึ่งว่าตนได้พกเอาความผิดบาปมาแต่กำเนิด ในขณะที่การกระหน่ำซ้ำเติมอย่างไม่รู้ตัวของผู้คนต่างถิ่น ที่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ด้วยความคาดหวัง  ในการลงทุนลงแรงทั้งงบประมาณ องค์ความรู้ และบุคลากร  แล้วคนต่างถิ่นเหล่านั้นก็พบกับความผิดหวัง หรือหมดหวังต่อการเงียบเฉยของคนในพื้นที่  คนต่างถิ่นที่มาบอกคนท้องถิ่น ให้สำนึกถึงความเป็นคนท้องถิ่น  แต่กลับทำให้เราในฐานะคนท้องถิ่นคิดว่านั้นไม่ใช่ตัวเรา แล้วความหวาดระแวงที่สะสมมานั้น ก็สะท้อนกลับไปสู่ความไม่เข้าใจในจุดประสงค์ หรือสิ่งที่เคลือบแฝงมาจากคนต่างถิ่น ทั้งภาครัฐและองค์กร NGO  คนสามจังหวัดชายแดนถูกล้อมคอกแล้วตีตราว่าเป็นคนจากพื้นที่พิเศษ  ทั้งยังไม่ร่วมถึงการแสดงออกของคนนอกพื้นที่ เมื่อคนสามจังหวัดชายแดนต้องเดินทางไปทำธุระ หรือท่องเที่ยวผ่อนคลายอารมณ์  และสิ่งที่ถูกนำมาดูคล้ายลวงล่อให้คนในพื้นที่อ่อนเปลี้ยด้วยงบประมาณมากมาย  กับการซ้ำเติบในท้ายที่สุดว่าคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาของตัวเอง และจำเป็นต้องหาชิ้นเนื้อของความชิงชังเป็นอาหารที่ลวงล่อให้เกิดสันติสุขชั่วครั้งชั่วคราว  อยู่เช่นนี้ตลอดไปไร้ทางออก

สำหรับทัศนะส่วนตัวของผม ผมเชื่อในเส้นสัมพันธ์ในข่ายใยของผู้คนมากกว่าการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างใหญ่  โดยไม่เลือกว่าเป็นคนในหรือคนนอกพื้นที่หากได้สานเส้นสัมพันธ์ให้มากขึ้นในบริบทใหม่ มิติใหม่ที่ไม่ต้องกลับไปเป็นเหมือนเดิม แล้วสายสัมพันธ์ที่ประคับประคองการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นในผู้คนรุ่นต่อไป โดยความหวังลึกที่เกิดขึ้น หลังจากจากที่ได้พบว่าพลังสร้างสรรค์ยังมีอยู่มากมาย  ความกล้าหาญที่สัมผัสได้ในเด็กและเยาวชน ดูคล้ายจะค่อยๆเผยแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของความสิ้นหวังนี้ หลายๆครั้งที่พบว่าในกิจกรรมที่เด็กแสดงออกอย่างกล้าหาญและสร้างสรรค์ โดยไม่มีกำแพงความคิดใดปิดกั้นไว้ พวกเขาเดินส่งเสียงไปตามท้องถนน ตะโกนเสียงร้องถึงตัวตน พวกเขาขอพื้นที่ปลอดภัย ร้องเพลงถึงสันติภาพ  นั้นคือการเผยตัวของเส้นสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นจากการมองไปข้างหน้าร่วมกัน   แม้มีความพยายามปลูกฝังค่านิยมความรุนแรงให้เกิดขึ้นในเด็กของแต่เป็นฝ่ายขั้วอำนาจ แต่เส้นสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมนุษย์นี่เอง ที่ช่วยยึดโยงผู้คนเอาไว้

ผมมองเห็นภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ปรากฏประกายแห่งความงามขึ้นในอนาคต กับเมืองที่หาที่ไหนไม่ได้ในโลกใบนี้ ผมได้กลิ่นหอมของดอกไม้ป่าจากแนวสันกาลาคีรีสู่เทือกเขาบูโด ไอเย็นจากลำน้ำที่ถอดผ่านป่าพรุ ละเลียบเลาะสายใยในทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ผมสัมผัสถึงความอบอุ่นของเมืองที่อบอวนด้วยกลิ่นอายแห่งศีลธรรมและจารีตอิสลาม ณ รอยต่อของชานนครเมกกะ ที่ขัดสานกันกับร่องธารแห่งอารยะธรรมพุทธฮินดู เมืองที่ตั้งตระหง่านทายท้าเคลื่อนลมแห่งยุคสมัย แล้วผู้คนในฐานะโลกียะชนยังสามารถสัมผัสความรื่นรมย์อยู่ในบางมุมของเมืองเมืองนั้น พวกเขาต่างช่วยกันไขปริศนาที่ยุคสมัยมอบมาให้ในระหว่าง “ศรัทธา กับ ความเปลี่ยนแปลงของโลก”  ดินแดนแห่งนั้นค่อยๆปรากฏชัดขึ้น หลังจากผู้คนร่วมฝ่าวิกฤติในยุคพวกเรา โดยต่างโอบอุ้มกันไปด้วยความเห็นออกเห็นใจกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ นั้นคือความหมายที่ว่า “เราจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิม” mso-ascii-font-family:Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:
Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">