Skip to main content

"...K4DS Post ฉบับเดือนเมษายน ขอร่วมรำลึกเหตุการณ์ 28 เมษายน ปี 2547 ณ มัสยิดกรือเซะ โบราณสถานที่มีความสำคัญทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา อัตลักษณ์ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น และการเมือง ทั้งต่อรัฐไทยและชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่ โดยโอกาสนี้ทีมบรรณาธิการได้หยิบเอาหนังสือที่เกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะมาแนะนำแด่ผู้อ่านทุกท่าน เพื่อบอกเล่าถึงแง่งามของเรื่องราวความเป็นมาและคุณค่าในฐานะสถานที่สำคัญเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมัสยิดแห่งนี้..."

 

K4DS  จัดอบรมการค้นหาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้ ด้วย K4DS Search ในงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 3 เมื่อ 12 มีนาคม ณ ห้องรับรองใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา

 

 

K4DS ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศ K4DS Search เพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้” ในงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2556 ภายใต้หัวข้อ “สนามสันติภาพ: เครือข่ายการสื่อสารภาคประชาสังคม” ระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม พ.ศ.2556 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP) สำนักงานปฏิรูป (สปร.) และองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมต่างๆ  โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก อาจารย์ นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา นักวิชาการ และสื่อมวลชนต่าง ๆ เข้าอบรมเทคนิคการใช้ K4DS Search ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้จากฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัย สนับสนุนการทำงานเชิงพัฒนาและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเผยแพร่ขยายผลสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

แนะนำหนังสือน่าอ่าน

เล่าเรื่องหัวเมืองใต้  จากกรือเซะ ถึงปัตตานี โดย พลาดิศัย  สิทธิธัญกิจ, 2547.

“...นับเป็นเวลากว่า 400 ปีที่เรื่องราวของมัสยิดกรือเซะถูกสร้างขึ้น ณ ดินแดนปัตตานี ศาสนสถานโบราณของชาวมลายูมุสลิมที่เป็นที่รู้จักของแหลมมลายูอยู่ในความสนใจของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ นักโบราณคดี และสถาปนิก ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยกลุ่มนักวิชาการในสาขาเหล่านี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลความรู้ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมของตัวอาคาร พื้น ผนัง หลังคา รวมทั้งยอดโดม ที่มีทั้งข้อมูลเชิงประจักษ์และเรื่องเล่า ตั้งแต่การเริ่มก่อสร้าง การปรับปรุงบูรณะซ่อมแซมภายหลังจากการทิ้งร้าง การเข้ามาดำเนินงานภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร รวมถึงการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 และเหตุการณ์ประท้วงเมื่อปี 2533...”

ดาวน์โหลด

มัสยิดกรือเซะ มรดกอารยธรรมปัตตานี โดย ครองชัย หัตถการ, 2549.

“...เป็นที่ยอมรับกันว่ากรือเซะ เป็นมัสยิดแห่งแรกในภูมิภาคนี้ที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมตะวันออกกลาง และเป็นต้นแบบของมัสยิดสมัยใหม่ที่แพร่หลายในเวลาต่อมา เมืองปัตตานี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-23 ได้ก้าวสู่ความเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างชาวตะวันตกและชาวตะวันออกที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ทำให้ได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นระเบียงแห่งนครมักกะฮฺ และเป็นประตูการค้าแห่งเอเชียอาคเนย์ แต่หลังจากพุทธศตวรรษ ที่ 24 เป็นต้นมา ฐานะของเมืองปัตตานีเปลี่ยนไปด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองการปกครอง และสภาพเศรษฐกิจการค้า มัสยิดกรือเซะและโบราณสถานอีกหลายแห่งจึงถูกทิ้งร้าง และเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จนกลายเป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์...”

ดาวน์โหลด

 

 

File attachment
Attachment Size
img25560312003.jpg (609.7 KB) 609.7 KB
img25560312004.jpg (794.58 KB) 794.58 KB
20130423_1.jpg (18.66 KB) 18.66 KB
20130423_2.jpg (36.43 KB) 36.43 KB