Skip to main content

เสวนาเปิดตัวหนังสือ color:#333333">“ฉีกแผ่นดิน: อิสลามและปัญหาความชอบธรรมในภาคใต้ ประเทศไทย” 
ตอนที่ 1: การทำงานของดันแคนแม็กคาร์โก จุดเริ่มต้นของ “ฉีกแผ่นดินฯ”

 
วันเสาร์ที่ color:#333333">27 เมษายน 2556 ณ ร้านหนังสือบูคู ปัตตานี
 
ผู้นำเสวนา: ณัฐธยาน์ วันอรุณวงศ์ (ผู้แปล), รอมฎอน ปันจอร์ (บก.แปล), ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี, สมัชชา นิลปัทม์ และ อันธิฌา แสงชัย ดำเนินรายการ
 
 
[หมายเหตุ - การถอดเทปการเสวนาจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น3 ตอน (ตอนที่ 1) การทำงานของดันแคนแม็กคาร์โก จุดเริ่มต้นของ “ฉีกแผ่นดินฯ” (ตอนที่ 2) บทวิเคราะห์วิจารณ์ และ (ตอนที่ 3) ข้อเสนอต่อยอดกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป]
 
อันธิฌา: วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับหนังสือ “ฉีกแผ่นดิน: อิสลามและปัญหาความชอบธรรมในภาคใต้ ประเทศไทย” อยากเรียนถาม อ.ณัฐธยาน์ ในฐานะที่อาจารย์ใช้ชีวิตอยู่ที่ปัตตานีมายาวนานและมองว่าตัวเองเป็นเพียงผู้ดูมาโดยตลอดแต่มารู้สึกมีส่วนร่วมเมื่อได้มาแปลหนังสือเล่มนี้อยากทราบว่าอะไรคือจุดเปลี่ยนของความรู้สึกตรงนั้น
 
ณัฐธยาน์: มาทำงานที่ มอ.ปัตตานีตั้งแต่ปี color:#333333">2518 ตอนนั้นเขาก็เริ่มกันแล้วแต่เรายังไม่รู้ช่วงนั้นมีการจับตัวเรียกค่าไถ่กันอยู่ พอถึงช่วงเดือนเมษาถ้าจำไม่ผิดก็มีประท้วงใหญ่ที่มัสยิดกลางจำได้ว่าที่มหาวิทยาของเราก็โดนเคอร์ฟิว พวกเราก็ต้องปรับตัวกัน แต่ความที่เราคุ้นเคยดีกับชาวมุสลิมก็คิดว่าคนมุสลิมไม่น่ากลัวปีแรกที่มาไม่ได้ไปไหนเลย คนอื่นกลัวแทนไปหมด ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีการประท้วงมีข่าวลือมากมาย แต่ในที่สุดก็เงียบไปหลังจากนั้นก็มีข่าวกระเซ็นกระสายเป็นระยะพอกลับมาจากเรียนต่อก็ไม่ค่อยได้ไปไหน มีเหตุการณ์เราก็เฝ้าดูห่างๆ ไม่ได้ไปมีส่วนร่วมกับเขาปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านก็ไม่ค่อยมีเลยแต่หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็เงียบๆ ลงก็รู้สึกชีวิตมีความสุข เราออกมาซื้อของเจอะเจอผู้คน เราไม่รู้สึกว่าเราอยู่ในเหตุการณ์ไม่สงบอะไร
 
ช่วงหลังที่รู้สึกถึงผลกระทบก็โดยทางอ้อมคือเราจะได้ยินข่าวเพื่อนๆ ใน มอ.ที่สูญเสียญาติหรือคนในครอบครัวไปในเหตุการณ์ไม่สงบเยอะมากแม้แต่เงินชดเชยเหยื่อบางราย คนที่ได้เงินก็ไม่ใช่แม่แท้กลายเป็นคนที่รู้จักห่างๆ เราเริ่มรู้สึกว่ามันมีเรื่องของผลประโยชน์ที่มาจากความรุนแรงก็ค่อยๆ มาประติดประต่อเรื่องราวกันมากขึ้น สิ่งที่เราทำได้ในฐานะครูเราก็สอนเด็ก ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจว่าเรื่อง Ideology (คตินิยม) เป็นอย่างไรก็คิดว่าที่ไหนเราอยู่ได้เราหัวเราะได้ก็น่าจะเป็นที่ที่ดี ใครที่จะมาปกครองถ้าทำให้เราไม่มีความสุขหัวเราะไม่ได้ ก็ไม่ใช่การปกครองที่ดีแล้วความเห็นส่วนตัวนะคะเราจะไปขีดเส้นว่าดินแดนไหนเป็นของใครคงต้องย้อนไปถึงวันสร้างโลกวันแรกว่าอะไรอยู่ตรงไหนลำบากอยู่เหมือนกัน เราน่าจะอยู่กันอย่างสงบดีกว่าคือปล่อยบ้างรับกันบ้างค่ะ
 
พอได้แปลหนังสือเราก็ได้เห็นอะไรมากขึ้นถึงเราจะอยู่ในเหตุการณ์แต่ก็เปรียบได้ว่าอยู่ในแคปซูลคือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเราไม่ค่อยได้ออกไปเรียนรู้โลกนอกมหาวิทยาลัยก็จะได้อ่านงานของคนที่เขาลงพื้นที่ถึงจะได้อ่านไปวิเคราะห์ไป
 
 
อันธิฌา: อยากให้บรรณาธิการช่วยอธิบายเนื้อหากว้างๆ ของหนังสือเล่มนี้
 
รอมฎอน: เป็นโครงการที่เราใช้เวลานานพอสมควรผมรู้สึกได้รับเกียรติมากที่ให้มาทำหน้าที่บรรณาธิการแปลเล่มนี้ผมได้อ่านมาก่อนบางส่วนก่อนจะได้มารับผิดชอบ และใช้เวลาต่อสู้กับมันนานพอสมควรโดย  อ.ชัยวัฒน์ ต้องการให้มาช่วยดูในเรื่องศัพท์เกี่ยวกับอิสลาม มลายู และด้านสังคมศาสตร์
 
เล่มนี้ออกในปี color:#333333">2008 ผมเข้าใจว่าเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแตปี 2004 ช่วงสี่ห้าปีแรกของเหตุการณ์รุนแรง อ.ดันแคน จับภาพพื้นฐานของความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี มันเป็นพลวัตที่เกิดกระปะทุขึ้นของความรุนแรงหนังสือเล่มนี้ในแง่บริบทของความรู้ intellectual context มันบอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นเรื่องคือการพยายามต่อสู้กับวิธีเข้าใจปัญหาความขัดแย้งที่นี่ที่ถูกเชื่อมโยงกับการก่อการร้ายสากลกลุ่มเคลื่อนไหวติดอาวุธมุสลิม Islamic violence หรือความรุนแรงที่ถูกมองว่าเป็นแนวรบที่สองต่อจากตะวันออกกลางซึ่งก็มีนักวิชาการสำนักใหญ่ผลิตงานเยอะมากเกี่ยวกับความรุนแรง ความไม่สงบ ในช่วงหลังปี 2001 อุตสาหกรรมงานวิชาการเกี่ยวกับการก่อการร้ายกลุ่มติดอาวุธ อย่าง Islamic Jihad เฟื่องฟูมาก อ.ดันแคน มีจุดยืนว่าพอมาดูในพื้นที่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ ปัญหาของที่นี่เป็นเชิงท้องถิ่นและมันมีพลวัตมายาวนาน มีการก่อตัว มีการปรับตัวทั้งจากรัฐไทยและขบวนการปาตานี แกต้องการโต้แย้งเรื่องนี้
 
 
ข้อหนึ่งคือไม่เกี่ยวกับอิสลาม อิสลามเป็นเพียงฐานรองรับความชอบธรรมที่ถูกดึงมาใช้ ในปกหลังของหนังสืออ้างถึงงานของ color:#333333">ICG (International Crisis Group) ที่ว่าเป็นการก่อความไม่สงบไม่ใช่ญิฮาด นี่คือข้อโต้งแย้งหลักของ อ.ดันแคน แต่วิธีการที่จะอธิบายคือจำแนกกล่องขึ้นมาสี่กล่อง หนึ่ง คือ ศาสนาอิสลาม สอง การเมือง สาม ความมั่นคง และสี่ militant ผมขออนุญาตเปลี่ยนว่าพวกนักรบ (ในหนังสือใช้คำว่ากองกำลังติดอาวุธ) กลุ่มสุดท้ายนี่น่าสนใจมาก พวกเรารู้สึกว่ามันน่าสนใจมากว่าเราจะอธิบายขบวนการเคลื่อนไหวปาตานีอย่างไรพวกเขามีลักษณะแบบไหน ไม่ใช่แค่ไอ้ที่เราอยากจะรู้ ใครเป็นคนนำ มีแนวคิดยังไงมีโครงสร้างยังไง มีวิธีทำงาน วิธีระดมมวลชนยังไง 
 
แต่ภาพที่ อ.ดันแคน ให้คือไปดูจากคำอธิบายหลากหลาย ดูจากหลักฐานภาคสนามขึ้นมา แล้วกรอบมันและอธิบายว่ามันคือ color:#333333">liminal lattice ซึ่งคำคำนี้ผมเองไม่มีความสามารถที่จะรับมือได้ ก็โยนให้สองท่านนี้ (อ.ศรีสมภพ และ อ.สมัชชา) แล้วก็เถียงกันหาภาษาไทยที่สะท้อนให้เห็นเป็นภาพของอาการกึ่งหลับกึ่งนอน อาการที่ปรากฏตัวในบางขณะ ไม่แข็งตัว แต่ขณะเดียวกันก็มีลักษณะเป็นโครงข่ายคือเราไม่สามารถเข้าใจองค์กรเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นองค์กรที่แข็งตัวข้อเสนอของดันแคนคือมันเป็นอย่างนี้ คืออาการก่อนที่คุณจะเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งใหม่ก่อนที่คุณจะหลับ พอเป็นภาษาไทยเราแปลว่า “โครงข่ายแห่งการเปลี่ยนผ่าน” ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้ตรงนัก ผมรู้สึกว่าการคิดให้เห็นภาพแบบนี้มาจากข้อมูลต่างๆ มันน่าสนใจส่วนเรื่องอื่นที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาก คืออธิบายแต่ละบทได้อย่างแหลมคม และอิงจากข้อมูลและวิพากษ์วิจารณ์ทุกฝ่าย ผมคิดว่าค่อนข้างตรงไปตรงมากับข้อมูลที่ตนได้รับ แม้ในเวลานี้สถานการณ์และหลักฐานหลายอย่างเปลี่ยนไป ผมก็รู้สึกว่าการตีความของแกค่อนข้างแฟร์ การเขียนลักษณะแดกดันนิดๆ ก็เป็นเสน่ห์
 
การวิเคราะห์ที่พยายามดูที่ฐานของความชอบธรรมในการรองรับการทำงานของแต่ละตัวแสดงทั้งทหารรัฐไทย นักการเมือง ผู้นำศาสนา นักรบ แตะทุกกลุ่มเลยและค้นว่าฐานของแต่ละกลุ่มยืนอยู่บนอะไร อยู่บนความชอบธรรมแบบไหนเขามีข้อเสนอในตอนท้ายด้วยว่าการรื้อฟื้นความชอบธรรมของรัฐขึ้นมาควรต้องทำอะไรบ้างซึ่งอันนี้ผมคิดว่าทำให้ถึงสัญญาณของข้อเสนอด้วย
 
อันธิฌา: ถามอาจารย์ศรีสมภพ ในฐานะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้มาตั้งแต่ต้นอาจารย์มองกระบวนการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลและข้อสรุปของอ.ดันแคนอย่างไรในฐานะที่อาจารย์ใกล้ชิดกับปัญหานี้และเป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ด้วย
 
ศรีสมภพ: ผมขอเล่าความเป็นมาสักนิดในการทำงานวิจัยชิ้นนี้ของดันแคน ซึ่งเขาก็เล่าไว้ในบทนำโดยละเอียดผมคิดว่าเป็นบทที่ดีที่สุดเพราะเขาเขียนความรู้สึกนึกคิดเอาไว้ด้วยบทนำน่าจะเป็นบทที่ดีที่สุดของหนังสือมันจะเขียนตอนสุดท้ายตอนจะเสร็จแล้วเขามาปัตตานีครั้งแรกตั้งแต่ปี color:#333333">2544 หรือ 2545 จนมาเก็บข้อมูลช่วงปี 2548-2549 เวลาทำวิจัยเขาจะทำเชิงลึกทำงานละเอียดมากเขาเคยทำเรื่องที่กรุงเทพฯ หลายเรื่อง สื่อมวลชนหรือเรื่องต่างๆ ซึ่งเขาก็อยากทำเรื่องปัตตานี ซึ่งมันท้าทาย ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งชื่อภาวิณีก็ได้แนะนำมา ก็มาพร้อมกันมาแบบง่ายๆ มานอนที่แฟลตผม จนในที่สุดเราได้พัฒนาโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยระหว่างลีดส์กับ มอ.ปัตตานี ทำสัญญา MOU ได้รับเงินสนับสนุนจากบริติชเคาน์ซิลเป็นโครงการต่อเนื่องสามสี่ปี ตั้งแต่ 2545 ดันแคนส่งคนอื่นมาก่อนตัวเขาเองมาในช่วงปีสุดท้ายเราไม่นึกมาก่อนว่าเหตุการณ์จะมารุนแรงมากในช่วงปี 2547 ซึ่งเป็นจังหวะที่ประจวบเหมาะมากตอนแรกเขาสนใจเรื่องประมงพื้นบ้านปัตตานี
 
ช่วง color:#333333">2547-2548 เป็นช่วงที่เขามาปัตตานีพอดี เมื่อเขามาทำวิจัยเนื่องจากเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเขาก็สามารถขอแฟลตที่พักและได้เป็นนักวิชาการที่ปรึกษา จังหวะพอดีกับมีโครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์เขามีข้อแม้เพียงเขาจะไม่สอน เพื่อต้องการทำวิจัยอย่างเต็มที่ให้บรรยายพิเศษอะไรสั้นๆ ได้ เขาก็หันความสนใจมาสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2547 ช่วงนั้นได้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกันระหว่างดันแคน ผม และ อ.วัฒนา (สุกัณศีล) ซึ่งตอนนี้อยู่เชียงใหม่ เจอกันทุกเย็นถกเถียงกันว่ามันมีอะไรเกิดขึ้น
 
ในช่วงต้นเขายังคิดว่ามันเป็นปัญหาเกี่ยวกับการก่อสถานการณ์ทหารก่อเหตุเพื่อจะเอางบประมาณก็เป็นเรื่องของทฤษฎีสมคบคิดทั้งหลายช่วงนั้นผมทำวิจัยอยู่ด้วย ทำ color:#333333">workshop บ่อยเรื่องการกระจายอำนาจรูปแบบการปกครองพิเศษ กับกำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต.ท้องถิ่นเยอะมาก ดันแคนเขาก็ไปด้วยทำความรู้จักกับคนเหล่านั้น ต้องพยายามอธิบายว่าไม่ใช่ CIA ซึ่งดันแคนฝังใจมาก เพราะเขาเป็นคนอังกฤษ (หัวเราะ) จากคนนอกมาสู่คนในมันต้องมีการประทับตรา สถานะอาจารย์ มอ.ปัตตานีคนที่มาช่วยงาน มอ.ปัตตานี ไม่ใช่คนแปลกหน้ามันต้องมีการแนะนำซึ่งดันแคนก็ได้ใช้เงื่อนไขนี้
 
เวลาไป color:#333333">workshop เขาก็สังเกตการณ์ใครที่มีความคิดน่าสนใจเขาก็ไปนั่งคุยด้วยนอกเวที เริ่มเกาะเกี่ยวกับคนที่ผ่านเวทีสัมมนาเหล่านี้เริ่มนัดคุยแล้วต่อไปเรื่อยๆ นี่คือประตูที่จะไขเข้าสู่พื้นที่เริ่มต้นทำงานเขาก็ซื้อรถเบนส์ซึ่งหลังจากนั้นเขายกให้ผม ผมก็ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้ ดันแคนเป็นคนช่างสังเกตมากผมไปไหนมาไหนมักใช้บริการแท็กซีปัตตานี “แบมะ” ซึ่งเขากล่าวถึงในเล่มนี้ด้วยผู้ชายปัตตานีวัยกลางคนนี่ชอบใช้รถเบนส์มือสองรถเบนส์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้ กลายเป็นวีซ่าอีกอันหนึ่งเขาขับรถไปไหนมาไหนคนรู้จักเขาหมดเลยเป็นฝรั่งคนก็สนใจแล้วยังขับรถที่พวกเขาชอบอีกทุกวันนี้คนยังจำได้ว่าเป็นรถของอาจารย์ฝรั่งสิ่งที่เขาทำช่วงนี้คือการพูดคุยเชิงลึกผมคิดว่าไม่ต่ำกว่า 3 ร้อยคนที่เขาคุยด้วย ทั้งผู้นำท้องถิ่น บุคคลสำคัญในพื้นที่เขาคุยด้วยตัวเอง เขาพูดภาษาไทยได้ดี พูดมลายูได้นิดหน่อยเขาเก็บข้อมูลทุกวันออกแต่เช้าขับรถออกไปแล้วกลับเข้ามาตอนเย็นเก็บข้อมูลละเอียดมากแม้กระทั่งบางพื้นที่ที่เพิ่งจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเช่นร้านน้ำชาที่เพิ่งจะมีเหตุฆ่าตัดคอ
 
สิ่งที่ผมได้จากเขาคือการเก็บข้อมูลอย่างมืออาชีพ เขาทำงานอย่างเต็มที่เอาจริงเอาจัง และผูกพันกับมัน ข้อมูลทุกอย่างเขาเคารพข้อมูลมีการเก็บบันทึกไว้หมด คนที่สัมภาษณ์ถ้ายอมเขาก็จะอัดเทปถ้าไม่ยอมเขาก็จะจดบันทึกโดยละเอียดมาก และทุกอย่างก็จะถูกถอดเป็น color:#333333">text จะมีผู้ช่วยสองคนเป็นคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษ เอกสารเป็นพันๆ แผ่นที่ถูกเก็บเขาใช้เวลาที่เมืองไทยประมาณ 9-10 เดือน หลังจากนั้นเขาไปอยู่สิงคโปรอีกหนึ่งปีเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้บันทึกทุกอย่างเขาเอามาเรียบเรียงและร้อยความใหม่เป็นสี่กล่อง ถ้าอ่านงานของเขาจะพบว่ามันเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์
 
เขาเล่าวิธีว่าเขาย่อยประเด็นสำคัญให้มันหดลงมาจนเหลือเป็นหนังสือขนาดนี้ได้ซึ่งน่าสนใจและวิธีการเขียนของเขา เขามีพื้นฐานของนักวรรณคดีซึ่งเขาได้รับการฝึกฝนการเขียนมาเขาไม่ได้เริ่มต้นด้วยวิธีแบบนักรัฐศาสตร์ทั่วไปที่มีกรอบคิดทฤษฎีไว้แต่ต้น เขาเก็บข้อมูลแล้ว color:#333333">inductive ข้อมูลเหล่านั้นจริงๆ ไม่ใช่ไม่มีทฤษฎีเพียงแต่เขาจะไม่ตั้งเอาไว้ก่อน เขาลงไปจับมันแล้วค่อยๆ ดึงขึ้นมางานจึงค่อนข้างละเอียดและลงไปจากพื้นข้อมูลถูกดึงขึ้นมาเป็นประเด็นๆ บทที่เขาทำในเชิงทฤษฎีที่เขียนในตอนต้นนั้นเป็นบทที่เขาทำทีหลังนะครับ อันนี้คือสิ่งที่ผมให้ภาพความเป็นมาของเขา
 
เกี่ยวกับชื่อหนังสือ color:#333333">Tearing Apart the Land
 
ศรีสมภพ color:#333333">: จริงๆนี่ color:#333333">Tearing Apart the Land เป็นชื่อที่เขาไม่ชอบ ไม่ใช่ชื่อที่เขาตั้งใจไว้แต่ต้นชื่อที่เขาต้องการใช้คือที่เราพูดกันเมื่อกี้ Liminal Lattice เป็นชื่อที่เขาชอบ แต่สำนักพิมพ์ท้วงว่าคนอาจจะไม่เข้าใจแล้วเสนอชื่อนี้ให้ ซึ่งมีคำว่าอิสลามอยู่ในชื่อด้วย เชื่อว่าจะทำให้คนสนใจเป็นเรื่องของการตลาด ต้องการให้หนังสือขายได้ และพอแปลเป็นไทย “ฉีกแผ่นดิน” ก็เป็นภาษาที่เขาไม่ชอบอีกเหมือนกัน อ.ชัยวัฒน์ เป็นคนตั้งชื่อนี้ให้ดันแคนก็ไม่เห็นด้วยเพราะเขาคิดคำไทยเอาไว้อยู่แล้วอยากให้แปลเป็นไทยว่า “แยกดินแดน” แต่ว่า อ.ชัยวัฒน์ มองว่ามันไม่โรแมนติก จึงกลายเป็นชื่อของหนังสือเล่มนี้ในภาษาไทย
 
ณัฐธยาน์: ชื่อหนังสือTearing Apart the Land ตอนที่อ่านครั้งแรกมันมีความเป็น poetic (บทกวี) อยู่ ทีนี้เราไม่รู้จะแปลยังไง ชื่อภาษาอังกฤษมันดี แต่ไม่รู้จะแปลยังไง พอตอนหลังสำนักพิมพ์บอกว่า อ.ชัยวัฒน์ จะใช้ว่า “ฉีกแผ่นดิน” จริงๆ แล้วแม้กระทั่งคำว่า “แยกดินแดน” มันก็ยังไม่ใช่ ถ้าเทียบกับคำภาษาอังกฤษว่า Tearing Apart the Land แต่ถ้าเทียบกับคำว่า Tearing the land apart อันนั้นจะแบ่งแยกหรือฉีกออกมาได้มากกว่า อันแรก “ความ” ของมันเป็นความรู้สึกเห็นใจ บอบบาง มากกว่า อันหลังไม่มีความรู้สึกที่นุ่มนวลแบบนั้น ถ้าใช้  “ฉีกแผ่นดิน” มันก็จะคล้ายชื่อภาษาอังกฤษตรงที่มันมีผลกับการ catch the eyes (ติดตาม) คือมีผลด้านการค้า คือถ้าจะให้ได้ความไพเราะได้หลายอย่างด้วยก็ลำบากมาก.