เอกรินทร์ ต่วนศิริ
ว่าด้วย: การลดอาวุธในกรอบสหประชาชาติ
สหประชาชาติพิจารณาเรื่องการลดอาวุธในคณะกรรมการด้านลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ หรือคณะกรรมการ 1 นอกจากนั้น ยังมีเวทีพหุภาคีหารือเรื่องการลดอาวุธ อีก 2 เวทีคือ Conference on Disarmament (CD) ที่นครเจนีวา และ UN Disarmament Commission (UNDC) ที่นครนิวยอร์ก
ประเด็นการลดอาวุธในกรอบสหประชาชาติแบ่งออกเป็น
(1) อาวุธที่มีกำลังทำลายล้างสูงได้แก่อาวุธนิวเคลียร์อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ
(2) อาวุธตามแบบ เช่น ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบา และ
(3) ระบบเครื่องส่งอาวุธ คือ ขีปนาวุธอนุสัญญาฯ กับความเป็นไปได้ในการนำอาวุธชีวภาพมาใช้ในการก่อการร้ายสากล
ตามที่ได้มีรายงานข่าวภายหลังการเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่11กันยายน 2544ว่า ผู้ก่อการร้ายอาจนำอาวุธชีวภาพมาใช้ในการปฏิบัติการนั้น ในขณะนี้ยังไม่มีประเทศ/องค์กรใด พิจารณามาตรการ/แนวทางในการป้องกัน/แก้ไขการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามอาวุธชีวภาพถือเป็นเพียงกลไกเดียวในการควบคุมการพัฒนา ใช้โอน ผลิตและสะสม และทำลายอาวุธชีวภาพ แต่เนื่องจาก ยังไม่มีมาตรการพิสูจน์ยืนยัน จึงทำให้อนุสัญญาฯ ไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้
การลดอาวุธตามแบบ
1. อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบา
ข้อมูลเบื้องต้น ปัญหาอาวุธขนาดเล็กได้ทวีความสำคัญมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศและอาจเรียกได้ว่าเป็นระเบียบวาระที่ประเทศตะวันตกพยายามผลักดันในกรอบการดำเนินการระหว่างประเทศแทบทุกกรอบ รวมทั้งสหประชาชาติ (ในกรอบคณะกรรมการ 1 และ 3) ASEAN RegionalForum (ภายใต้ระเบียบวาระ Transnational Organized Crimes) และ Human Security ด้วย ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศมองว่า อาจเป็นความพยายามเบี่ยงเบนประเด็นจากการลดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธทำลายล้างสูงอื่นๆ
สหประชาชาติได้กำหนดว่าอาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบาคืออาวุธที่มี
เส้นผ่าศูนย์กลางกระบอกปืนไม่เกิน 100 มิลลิเมตร อาวุธขนาดเล็กได้แก่revolvers and self-loadingpistols, rifles and carbines, sub-machine guns, assault rifles, light-machine guns และอาวุธเบา ได้แก่ heavy-machine guns, hand-held under-barrel and mounted grenade launchers, portable anti-aircraft guns, portable anti-tank guns, portable anti-tank missile and rocket system, portable launchers of anti-aircraft missile system, mortars of calibre of less than 100 mm.
สถานะล่าสุด
ขณะนี้ยังไม่มีสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศใดๆ ที่ควบคุมอาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบา นอกจากการคว่ำบาตรทางอาวุธของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติให้จัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้า อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบาอย่างผิดกฎหมายในทุกด้าน (International Conference on the Illicit Trade in Small Arms and Light Weapons in All Its Aspects)ในปีค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) และให้มีการประชุมเตรียมการอย่างน้อย3 ครั้ง ที่ประชุมเตรียมการครั้งที่1 ในเดือนกุมภาพันธ์2543 ไม่มีความราบรื่นเท่าที่ควรและไม่มีผลเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกคือขอบเขตของการประชุมสหประชาชาติฯ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement – NAM) บางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาและลาตินอเมริกา ซึ่งประสบปัญหาอาวุธตามแบบขนาดเล็กมาก ต้องการให้ขอบเขตของการประชุมเปิดกว้างและครอบคลุมการขนย้าย การค้า และประเด็นที่เกี่ยวข้องที่กระทำโดยถูกกฎหมาย ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชีย (รวมทั้งไทยและอาเซียนบางประเทศ) และตะวันออกกลางเห็นว่า ขอบเขตของการประชุมควรจะจำกัดเฉพาะการลักลอบหรือการดำเนินการอย่างผิดกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธตามแบบขนาดเล็กเท่านั้น และการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ปัญหาอาวุธตามแบบขนาดเล็กต้องคำนึงข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของรัฐในการป้องกันตนเองและคำนึงถึงความแตกต่างของลักษณะปัญหาและขอบเขตของปัญหาในแต่ละภูมิภาคด้วย
(Article 51 : Nothing in the present Charter shall impair the inherent right of individual or
collective self-defense if an armed attack occurs against a Member of the UN, until the UNSC has
taken measures necessary to maintain international peace and security. Measures taken by
Members in exercise of this right of self defense shall be immediately reported to the UNSC and
shall not in any way affect the authority and responsibility of the SC under the present Charter to
take at any time such action as it deems necessary in order to maintain or restore international
peace and security.)
การประชุมเตรียมการ ครั้งที่2 ณ นครนิวยอร์ก ในเดือนมกราคม 2544 ที่ประชุมได้
พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นมาตรการที่ ambitious10เกินไป ไม่น่าจะนำมาปฏิบัติได้จริง ประธานการประชุมเตรียมการฯ จึงจัดทำร่างฉบับใหม่โดยคำนึงถึงข้อคิดเห็นของประเทศต่างๆ เพื่อพิจารณาในการประชุมเตรียมการ ครั้งที่3 การประชุมเตรียมการ ครั้งที่3 ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่19-30 มีนาคม 2544 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการ ฉบับแก้ไข (L.4/Rev.1) ที่เสนอโดยประธานการประชุมเตรียมการฯ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า มีความสมดุลย์และ realistic มากขึ้น แต่ประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหภาพยุโรป และแคนาดา พยายามเพิ่มเติมประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากปัญหาอาวุธขนาดเล็กฯ การกำหนดกรอบเวลาในการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายและเกณฑ์สากลในการส่งออกอาวุธ ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่ยอมรับเท่าใดนักที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าอาวุธขนาดเล็กฯ ได้รับรองแผนปฏิบัติการซึ่งกำหนดมาตรการระดับรัฐ ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาอาวุธขนาดเล็กฯ แต่การปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสมัครใจของแต่ละประเทศ ทั้งนี้แผนปฏิบัติการฯ ไม่สามารถบรรจุเรื่องการห้ามโอนอาวุธขนาดเล็กฯ ให้กับองค์กรที่มิใช่รัฐและเรื่องการควบคุมการครอบครองอาวุธโดยพลเรือน เนื่องจากสหรัฐฯ คัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ
อาเซียนมีท่าทีว่าปัญหาอาวุธขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อยู่ในกรอบปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติโดยเชื่อมโยงกับปัญหาการค้ายาเสพติด และปัญหาการค้ามนุษย์แต่อาจยกเว้นในกรณีกัมพูชา ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ที่อาจจะมีลักษณะปัญหาในกรอบการลดอาวุธภายหลังความขัดแย้งสิ้นสุด ในการแก้ไขปัญหาอาวุธขนาดเล็กนั้น จำเป็นต้องเคารพสิทธิของรัฐในการป้องกันตนเอง ตามที่สะท้อนในข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติและคำนึงถึงความแตกต่างของลักษณะปัญหาดังกล่าวในแต่ละภูมิภาคด้วย อย่างไรก็ดีเกี่ยวกับเรื่องขอบเขตของการประชุมสหประชาชาติฯ นั้น แม้อาเซียนส่วนใหญ่จะเห็นว่าจำเป็นต้องแบ่งแยกให้ชัดเจนระหว่าง
การค้าอาวุธอย่างถูกกฎหมายและการลักลอบค้าอาวุธ แต่ฟิลิปปินส์เห็นว่า อาจจะเร็วเกินไปที่จะกำหนดเช่นนั้น เนื่องจากอาจจะมีความเชื่อมโยงระหว่างการค้าอาวุธอย่างถูกกฎหมายและการค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังสนับสนุนให้มีการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องนี้ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายด้วย
ท่าทีไทย
ไทยสนับสนุนการจัดการประชุมสหประชาชาติฯ ในปี2544 เพื่อแก้ไขปัญหาอาวุธขนาดเล็กเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกี่ยวพันกับอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆเช่น การลักลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น ไทยสนับสนุนร่างข้อมติสมัชชาที่เกี่ยวข้องตลอดมา อย่างไรก็ดีในแง่ของภาพรวมของการลดอาวุธนั้น ไทยเห็นว่า ประชาคมโลกควรจะให้ความสำคัญต่อการลดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธทำลายล้างสูงด้วย มิใช่เน้นแต่อาวุธตามแบบ อนึ่ง ไทยเห็นว่า ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้จะต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ปัญหา และได้รับการควบคุมอย่างทัดเทียมกัน ทั้งนี้ฝ่ายทหารของไทยมีแนวคิดว่า การแก้ไขปัญหาอาวุธขนาดเล็กฯ ควรจะมุ่งเน้นการทำเครื่องหมายบนอาวุธ (marking) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ผลิต เพื่อให้สามารถหาร่องรอย (tracing) ของอาวุธที่นำมาใช้อย่างผิดกฎหมายได้ โดยที่เป็นการประชุมเรื่องนี้เป็นครั้งแรก ไทยเห็นว่า ขอบเขตของการประชุมสหประชาชาติควรจะเน้นที่การลักลอบหรือการดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมายของอาวุธขนาดเล็กและการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ/ควบคุม non-state actors โดยเฉพาะผู้ค้าอาวุธระหว่างประเทศ และหากจะมีการพิจารณามาตรการควบคุมกิจกรรมที่ถูกกฎหมาย มาตรการนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับหรือมีส่วนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างแท้จริง เช่น การทำเครื่องหมายบนอาวุธ เป็นต้น
นอกจากนั้น การแก้ไขปัญหาการแก้ปัญหาอาวุธขนาดเล็กต้องคำนึงถึงหลักการการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น และข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิในการป้องกันตนเอง นอกจากนั้น แต่ละภูมิภาคยังมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งน่าจะมีวิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป วิธีการแก้ปัญหาในภูมิภาคหนึ่งอาจจะไม่เหมาะกับอีกภูมิภาคหนึ่ง ทั้งนี้ไทยปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการคว่ำบาตรทางอาวุธอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และไม่มีนโยบายสนับสนุนองค์กรที่มิใช่รัฐที่มีกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลอื่น
ไทยมีกฎหมายควบคุมเรื่องอาวุธขนาดเล็กอย่างเข้มงวด ได้แก่
·พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. 2490
· พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ใน
การสงคราม พ.ศ. 2495
· พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์พ.ศ. 2530
· พระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้
ในการสงคราม พ.ศ. 2535
· คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่37
งานชิ้นนี้สรุป/ย่อยชวนให้คิดต่อไปถึงจินตนาภาพของ “ความเป็นไปได้ของการลดอาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้” แต่ทว่าหากจะชวนให้ถกเถียงกันต่อไปว่าข้างหน้าว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้ที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความอึกทึกของกำลังพลและงบประมาณ จะพอมีพื้นที่สำหรับการพูดคุยถึงการลดอาวุธในพื้นที่หรือไม่ ?
การลดอาวุธไม่ใช่เพียงแต่กล่าวถึง กองทัพ หรือ กำลังพล เท่านั้น แต่คนธรรมดาสามัญทั่วไปก็จำเป็นที่จะต้องหากเงื่อนไข สร้างความใว้วางใจ ในการลดอาวุธหรือจำกัดขอบเขตอย่างชัดเจน มากกว่าการปล่อยให้การมีอาวุธของคนธรรมดาเป็นเรื่องปกติ ที่ยึดถือคาถาเพียงเพื่อป้องกันตนเอง... จนทำให้อาวุธเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
อ้างอิง
กรมองค์การระหว่างประเทศ กองสันติภาพความมั่นคงและการลดอาวุธ