Skip to main content

-1-

เมื่อย่างเท้าออกจากบ้านเรา เดินทางเข้าไปในบ้านเขา เราก็เป็นแขก สิทธิพิเศษที่จะได้รับตามธรรมเนียมสากลปฏิบัติคือการต้อนรับขับสู้ เลี้ยงดูกันไปตามอัตภาพ ตามเอกลักษณ์และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของเจ้าบ้าน

ถ้าเจ้าบ้านมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่เหมือนกันกับแขก สองฝ่ายจะรับรู้แนวทางปฏิบัติโดยไม่ต้องทำความเข้าใจอะไรกันมากมาย

แต่ถ้าหากว่าไม่ ทำอย่างไรเพื่อให้การไปเป็นแขก จะไม่สร้างปัญหาความเดือดร้อน อึดอัดรำคาญใจให้กับเจ้าบ้าน ที่อาจเปลี่ยนท่าทีจากต้อนรับขับสู้ไปเป็นขับไล่แทน

-2-

ไม่ว่าจะโดยบังเอิญหรือตั้งใจก็ตาม หากคนที่มีลัทธิความเชื่อและศาสนาแตกต่างกันมาพบปะสมมุติว่าจัดให้อยู่ในห้องเดียวกัน อย่างน้อย 1 วัน

หากสองฝ่ายไม่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะในเรื่องหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกัน ก็ยากที่จะให้ทั้งสองร่วมมือทำอะไรไปในทิศทางเดียวกันได้

เลวร้ายกว่านั้น หากสองฝ่ายเริ่มมีวิวาทะกัน สุดท้ายสองคนในห้องนั้น ก็ต่างจะถูกประณามว่าบ้า ในสายตาของอีกคน ที่คิดแบบนั้นเหมือนกัน

สรุปว่าแม้จะแตกต่างทางวัฒนธรรมลัทธิความเชื่อ แต่ดันมาเหมือนกันที่บ้า เพราะไม่ทำความเข้าใจในขณะที่ยังไม่ถูกหาว่าบ้า โดยอัตตามนุษมนามองคนที่แตกต่างจากตัวเองว่าบ้ากันทั้งนั้น

คนบนเกาะฮาวาย ต้อนรับขับสู้แขกที่ดั้นด้นมาถึงบ้าน ด้วยการให้นอนกับลูกสาวเจ้าของบ้าน เขาบ้าหรือเปล่า และถ้าคนอีกเกาะหนึ่งบอกว่าเขาไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติแบบนั้น คนฮาวายจะว่าเขาบ้าหรือไม่

คนอื่นจะมองเราว่า “มันรู้” “มันเข้าใจ” “มันไม่ธรรมดา” หรือว่า “มันบ้า” หากมีกระบวนการเรียนรู้กันและกัน คนก็คงจะสูญพันธุ์ คนที่เข้าใจกันอยู่ใช้ชีวิตต่อไปบนวิถีสันติภาพ เสรีภาพ ภารดรภาพ   

-3-

ถ้ายังไม่ผ่านการเรียนรู้อย่าเพิ่งออกไปไหน กลับไปตั้งสติที่บ้านก่อน เริ่มจากถามว่าตัวเองเป็นใคร มีลัทธิความเชื่อใด กำลังจะไปเป็นแขกของที่ไหน?

ระหว่างใช้ความคิด จะสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าแกล้มกับลาบหมูไปด้วยก็ได้ (ถ้ามี) ในฐานะเจ้าบ้าน ทำได้ไม่มีใครว่า ถึงจะผิดศีลข้อหา แต่ว่าบาป คือการพักผ่อนอันวิเศษสุดที่มนุษย์ค้นพบ และพระเจ้าพยายามทำลายล้างทุกวิถีทาง (ปรัชญาฮิปปี้ ของ รงค์ วงษ์สวรรค์)

ถ้านับถือพุทธ และกำลังจะไปเป็น “แขก” ในปัตตานี ยะลา นราธิวาส หลังกราบพระเสร็จสามครั้ง ห้อยของขลังเรียบร้อยแล้ว ยังมีอะไรให้ต้องคิดเพิ่มเติมพอสมควร แต่ทำได้ไม่ยากแม้ในระหว่างเดินทางก็วางแผนไปพลางได้

-4-

ที่ไหน? ใครเป็น “แขก” ใครเป็น “เจ้าบ้าน” แผ่นดินถิ่นที่ฝังรกราก รู้คำตอบในโจทย์ข้อนี้ดีกว่าใคร

เราอาจเป็นพืชพันธุ์ที่งอกงามสร้างประโยชน์ได้ในแผ่นดินหนึ่ง แต่อาจถูกดึงทิ้งในฐานะเป็นวัชพืชของอีกแผ่นดิน แม้ไม่ถูกดึงทิ้งก็คงเป็นได้เพียงพืชพันธุ์ที่มีคุณค่าน้อย ด้อยกว่าสายพันธุ์ท้องถิ่น

ฉะนั้น “แผ่นดิน” ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ย่อมรู้จักดีว่าที่นี่ใครเป็น “เจ้าบ้าน” ใครเป็น “แขก” นอกจากชาวมลายูมุสลิม ยังมีมลายูพุทธและมลายูจีน อาศัยอยู่อย่างสันติ ตามวิถีของคาบสมุทรแห่งนี้  

แน่นอน ยิ่งห่างออกจากบ้านไป เราจะยิ่งกลายเป็น “แขก” ไม่ที่ใดก็ที่หนึ่งที่ไหนสักที่ เช่น แขกร้านอาหาร แขกโรงแรม แขกรถตุ๊กตุ๊ก  

เมื่อได้ไปถึงยังปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใคร จะค้างคืนหรือต้องรีบกลับ ไม่สำคัญ บนผืนแผ่นดินนั้นคุณเป็น “แขก”

ผู้สังเกตการณ์เกิดบนคาบสมุทรมลายู เป็นมลายูพุทธ มีเปอร์เซ็นต์ความเป็นเจ้าบ้าน เข้มข้นไม่แพ้สหายมลายูมุสลิม

ที่ผ่านมาเคยสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ไร้ซึ่งมารยาทของ “แขก” ที่เข้ามายังปัตตานี ยะลา นราธิวาส ที่ไร้มารยาทที่สุดคือเข้ามาอยู่ในบ้านเขา แต่เรียก “เจ้าบ้าน” ว่า “แขก” และประพฤติตัวเหมือนเป็น “เจ้าบ้าน” ตัวจริง เช่นนี้แล้วใครจะให้การต้อนรับ

ต้นเหตุแห่งพฤติกรรมน่าจะมาจาก 3 ลักษณะ ข้างล่าง

“ไม่รู้จริงๆ” แต่ “พร้อมจะเรียนรู้”

“ไม่รู้จริงๆ” แต่ “ไม่สนใจจะเรียนรู้”

 “รู้ทั้งรู้จริงๆ” แต่ “ทำเป็นไม่รู้”

“แขก” สองกรุ๊ปหลังมักถูกต้อนรับขับไส... ในขณะที่ “แขก” กลุ่มบนสุด ได้รับการต้อนรับขับสู้ จากเจ้าบ้านอบอุ่นตามสมควร

-5-

พฤติกรรมที่ไร้ซึ่งมารยาทของ “แขก” ชัดๆ คือประพฤติในสิ่งที่ “เจ้าบ้าน” ไม่ประพฤติ โดยเฉพาะข้อห้ามตามบทบัญญัติศาสนาที่ละเอียดอ่อน ต้องศึกษาให้รู้ พิจารณาให้เห็นทุกมิติ

ก่อนพูดเรื่องมารยาทที่ไม่ดีของคนอื่น แต่เพื่อความเป็นธรรม ผมขอนินทาตัวเองก่อน

แม้จะสมอ้างเอาเองแล้วว่าเป็นเจ้าบ้านร่วม ก็ใช่ว่าไม่เคยพลาดพลั้ง ครั้งหนึ่งเราเข้าไปในร้านขายอาหาร โดยไม่ทันสังเกต (จริงๆ แทบไม่ต้องสังเกต) ผมพลั้งปากสั่งเมนูอาหาร ซึ่งร้านนั้นจะไม่มีวันเอาเข้ามาขาย

“ไข่เจียวหมูสับไม่มีค่ะ เอาเป็นกุ้งสับได้ไหมคะ” 

“อ่า..ก็ดีเหมือนกันครับ”

แม้จะสำนึกผิดเป็นที่เข้าใจกันแล้วกับเจ้าของร้าน แต่คนที่ไม่เข้าใจคือเพื่อนนักสังเกตการณ์ที่ไปด้วยกัน ที่โต๊ะอาหารเขาพูดกับผมแค่ไม่กี่คำ

“เปรตจริงมึง”

“ครับ กูลืม”

บางครั้งความเคยชินจากที่ที่เราจากมา ก็อาจเป็นปัญหาได้ในบางเรื่อง

ขออภัยไว้ในบรรทัดนี้

-6-   

ถึงเวลานินทา “แขก”

ที่ร้านอาหารมุสลิมแห่งหนึ่ง แขกคนนั้นเผลอสั่งอาหารเป็นเมนูเนื้อหมู พอรู้ว่าตัวว่าพลาดพลั้ง จึงกู้สถานการณ์ด้วยการเล่นตลก

“เอ๊าวันนี้ไม่มี วันพรุ่งนี้ลองเอามาขายดูสิ คนไทยได้มาอุดหนุนมั่ง ฮ่าๆๆๆๆ”

มีผู้คนมากหน้าหลายตาจดจ่อกับมุกตลกนี้ แต่เมื่อพูดจบประโยค

ท่ามกลางผู้คน เขาพบตัวเองหัวเราะอย่างโดดเดี่ยว กังวาลเสียงที่เปล่งออกมา โหยหวนและแสนจะวังเวง...

“เชิญร้านอื่นดีกว่าค่ะ”

-7-

จากวันนั้น ตรงนั้น วันหนึ่งผู้สังเกตการณ์ พบตัวเองนั่งอยู่ที่ค่ายทหารหนึ่ง คนที่นั่นมีท่าทางขึงขัง อาวุธประจำกายที่สะพายกันอยู่อาจเป็นเหตุผลให้เขาไม่อยากจะมีอารมณ์ขัน เป็นไปได้ว่าผู้บังคับบัญชาอาจจะแกล้งอำพวกเขาว่ารอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ไม่ใช่เอกลักษณ์ของนักรบ เขาเลยปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัดสมชาตินักรบ และไม่มีเวลาให้กับการแสดงของตัวตลก

“มั่ม ไม่ยิ้มให้กรูเล้ย”

“ทำเป็นตลก เขาแกล้งทำปืนลั่น กรูจะพลอยซวยไปกะมรึง”

การกินดื่มผ่านไปอย่างเชื่องช้า คงเพราะเป็น “แขก” วีไอพี ของที่นั่น พลทหารจึงบริการเหมือนเราเป็นนายพล แลกเปลี่ยนความเห็นกันจนผ่านไปหลายแก้วเหล้า ทหารวัยอาวุโสนายหนึ่งจึงนำเสนอไอเดียแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายคนรอฟังเขา เราล้วงหาปากกาจดบันทึกประสบการณ์บอกเราว่าประเด็นที่น่าสนใจหาได้ง่ายในวงสุรากับร้านน้ำชา เมื่อได้ปากกาและเราเงยหน้าขึ้น เขาจึงพูด 

“ผมกำลังคิดอยู่ว่าอยากจะให้พวกคุณ เนี่ยที่อยู่กันหลายๆคนตรงเนี๊ยะ ใครก็ได้ช่วยกันออกความคิดทีได้มั้ย ว่าทำยังไงให้ผู้หญิงที่นี่ ไม่ต้องให้มีผ้าคลุมหัว”

“เวรกรรม” คือคำที่ผมบันทึกลงในสมุดจด ก่อนยกเหล้าขึ้นซดจนหมดแก้ว

นั้นเป็นปี 2548 ผู้สังเกตการณ์ ลองวัดอุณหภูมิแผ่นดินใต้ ไม่มั่นใจว่ามันน่าจะร้อนต่อไปอีกนานหรืออย่างไร

-8-  

“ไม่รู้จริงๆ” แต่ “แต่พร้อมจะเรียนรู้”

“ไม่รู้จริงๆ” แต่ “ไม่สนใจจะเรียนรู้”

 “รู้ทั้งรู้จริงๆ” แต่ “แกล้งทำเป็นไม่รู้”

ที่ผ่านๆ ไป และที่ผ่านๆ มา “แขก” ที่มายังปัตตานี ยะลา นราธิวาส อาจทำ “เจ้าบ้าน” รู้สึกรำคาญใจอยู่ไม่น้อย

แต่หลายๆ คนที่มีประสบการณ์นี้ ตกตัวอย่าง มุสลิมมะห์ ก๊ะร้านขายอาหารผู้ใจดีคนนั้นเธอคงจะไม่ถือสาหาความ

แต่กับอาบังอาแบที่ไม่ค่อยแกแจ๊ะ (พูด,คุย) ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อพฤติกรรมที่ไร้ซึ่งมารยาทนี้ ของ “แขก” ซึ่งเข้ามายังปัตตานี ยะลา นราธิวาส เราไม่อาจล่วงรู้ความรู้สึกนั้น

ในฐานะผู้สังเกตการณ์ภาวนาว่าเขากำลังข่มสติและระลึกถึงซึ่งความศรัทธา

 

"Times New Roman";color:#333333"> من ملك نفسه إذا رغب و أذا رهب ، و إذا اشتهى ، و إذا غضب و إذا رضي ، حرم الله جسده على النار mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333;border:none windowtext 1.0pt;
mso-border-alt:none windowtext 0cm;padding:0cm"> 

"Times New Roman";color:#333333">

 

color:#333333;border:none windowtext 1.0pt;mso-border-alt:none windowtext 0cm;
padding:0cm">"ผู้ใดที่ระงับจิตใจของตนเมื่อเกิดความปรารถนา เมื่อเกิดความหวั่นกลัว และเมื่อเกิดความโกรธนั้น อัลลอฮ์จะทรงห้ามเรือนร่างของเขาจากไฟนรก"

"Times New Roman";color:#333333">

 

 -9-

เมื่อออกจากปัตตานี ยะลา นราธิวาส กลับคืนสู่สภาพความเป็นเจ้าบ้าน หากวันหนึ่งวันใดมิตรภาพที่เคยสร้างไว้ ได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม ให้มิตรสหายจากพื้นที่นั้นเดินทางมาเยี่ยมเยือนกันบ้าง เมื่อนั้นจึงเรียกเขาว่า “แขก” ได้เต็มปาก ในฐานะของ “เจ้าบ้าน” ที่จะต้องให้การต้อนรับขับสู้ดูแลกันตามอัตภาพ ตามอัตลักษณ์ของคนแห่งคาบสมุทร แผ่นดินที่บรรพบุรุษฝังรกราก ยืนต้นชูกิ่งก้านสาขาท้าทายพายุร้ายมาด้วยกัน