Skip to main content

ซอลาหุดดีน กริยา

งัวเงีย เงี่ยหูฟังการเคลื่อนไหวรอบตัว ถึงตอนนี้ยังมีการนำประเด็นยูทูบของขบวนการบีอาร์เอ็น มาพูดถึงกันอีก หลายๆประเด็นที่ผ่านเข้าโสตประสาท ทำให้อยากแสดงความเห็นในฐานะผู้ติดตามสถานการณ์ชายแดนใต้คนหนึ่ง


การเริ่มต้นของกระบวนการสันติภาพในวันที่ 28 ก.พ. 2556 นั้น เกิดขึ้นท่ามกลางข่าวลือมากมาย ที่เสียงดังฟังชัด (ที่ผมเลือกจะฟัง) คือ เป็นด้วยการผลักดันของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการแก้มือและเรียกคืนความศรัทธาของตนเองในเรื่องความรุนแรงทางชายแดนใต้ที่ตนเองทำผิดพลาดในอดีต จึงไปล็อบบี้รัฐบาลมาเลเซียให้เป็นผู้อำนวยความสะดวก ในการบีบให้บีอาร์เอ็นยอมขึ้นโต๊ะเจรจากับตัวแทนฝ่ายรัฐไทย ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผู้น้อง mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

จากนั้นนกต่อที่ชื่อฮัสซัน ตอยยิบจึงถูกนำเสนอบนโต๊ะเจรจา จนเป็นที่ตามหากันในแวดวงสื่อมวลชนภายหลังจากนั้น ว่าคนๆนี้เป็นผู้ใดกัน? มีการเชื่อมโยงกับนายสะแปอิง บาซอ อย่างไร?  เนื่องจากฮัสซัน ตอยยิบไม่เคยปรากฏบนหน้าสื่อมาก่อน ผิดกับนายสะแปอิง ที่ถูกประชาสัมพันธ์เป็นถึงหัวหน้าขบวนการ mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

ไม่ว่าฮัสซัน ตอยยิบจะเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม แต่งานนี้บีอาร์เอ็น ก็ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมด้วย เนื่องจากทนแรงกดดันของฝ่ายความมั่นคงมาเลเซียไม่ได้ ที่คราวนี้เล่นบทหนัก หากบีอาร์เอ็นไม่ยอมไปโผล่ที่โต๊ะเจรจา mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

ถึงแม้ว่าบีอาร์เอ็นจะไม่พร้อม จากการได้คุยกับผู้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอีกคน ผู้ติดตามฯ ผู้นี้บอกว่ากลุ่มขบวนการพยายามเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับฝ่ายรัฐบาลไทย  เพราะยังไม่พร้อมที่จะเจรจาหรืออีกนัยหนึ่งคือยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมต่อการพูดคุย แต่ท้ายสุดก็ต้องมาปรากฏบนหน้าจอทีวีด้วยความจำยอม minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

ผ่านการพูดคุยสองรอบ รอบแรกได้สร้างความคลุมเครือท่ามกลางความหวังในสันติภาพของใครหลายๆ คน พอรอบสองแสงแห่งสันติภาพเริ่มปรากฏลางๆ ต่อทุกฝ่าย จะมีบ้างก็ในฟากสุดโต่งของแต่ละฝ่ายที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการพูดคุยของทั้งสองฝ่าย แต่ก่อนที่รอบสามจะเกิดขึ้น บีอาร์เอ็นก็โยนระเบิดลูกใหญ่ นั่นคือเผยแพร่ภาพวิดีโอผ่านยูทูบ mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ในประเทศไทยทั้งนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลและนักวิชาการในสังกัด ร่วมถึงฝ่ายความมั่นคงสายเหยี่ยว ออกมาวิจารณ์กันยกใหญ่ต่อการตัดสินใจการเข้าร่วมเจรจาในครั้งนี้ บางคนก็บอกว่ารัฐบาลผิดพลาดที่ริเริ่มการเจรจากับกลุ่มขบวนการ บางคนบอกว่าฝ่ายบีอาร์เอ็นกร่างหนัก ได้คืบจะเอาศอก หรือบางคนก็มองว่าเป็นการหาทางลงของนายฮัสซัน ตอยยิบ เพราะไม่สามารถคุมกองกำลังปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ฯลฯ mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

ส่วนในฝ่ายผู้ขับเคลื่อนสันติภาพปาตานี ก็มีความหวาดวิตกว่า ผลการแถลงผ่านยูทูบในครั้งนี้จะเป็นการสร้างความยุ่งยากต่อแนวทางสู่สันติภาพตามส่วนประสมที่ตนเองผสมขึ้นมา ก็ว่ากันไป

.....

“ขบวนการแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างความเป็นหนึ่งให้เกิดขึ้น ในหมู่ชนชาวมลายูปาตานี”
“ผมขอความร่วมมือจากประชาชนชาวมลายูปาตานีทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นคนสยามเอง(คนไทย) คนมลายูเอง และคนจีนเอง ที่มีอยู่ในปาตานี อย่าได้วิตกกังวลใจต่อกระบวนการยุติธรรมครั้งนี้เลย นั่นคือภาพรวมอย่างคร่าวๆ ของบีอาร์เอ็น เกี่ยวกับแนวทางการต่อสู้ที่จะนำไปสู่ความยุติธรรม ความสงบสุข ตลอดจนเพื่อนำไปสู่การสถาปนารัฐที่ดีทีได้รับการโปรดปรานจากพระเจ้า” 
(ดู
“คำประกาศจากขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี” โดย อับดุลเลาะห์ หวันอะห์หมัด)

หากพิจารณาที่มาของกระบวนการยุติธรรมของบีอาร์เอ็น ตามที่นายฮัสซัน ตอยยิบกล่าวไว้ ผมขอสรุปดังนี้ คือ minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

  1. สร้างความเป็นหนึ่งให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนมลายูปาตานี สร้างความปึกแผ่นที่ครอบคลุมทุกกลุ่มชนสังคม mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
    normal">
  2. เมื่อเป็นหนึ่งเดียว จะเป็นกลุ่มที่ทรงพลังมีอำนาจต่อรองจนได้รับอิสรภาพ mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
    normal">
  3. บริหารปกครองด้วยตนเองที่ทรงความยุติธรรมในสังคมทุกๆ ด้าน minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
    font-weight:normal">

นั่นเป็นที่มาของประโยคที่ฝ่ายบีอาร์เอ็นถ่ายทอดไปยังฝั่งตัวแทนของรัฐไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายความมั่นคงหรือนักวิชาการหรือภาคประชาสังคมไทย – “ขอให้อดทนฟังเราก่อน” ในการพบกันครั้งที่สอง mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
normal">

คำแถลงผ่านยูทูบคือส่วนหนึ่งที่ฝ่ายบีอาร์เอ็นเสนอมา “ขอให้อดทนฟังเราก่อน” อย่าเพิ่งตีโพยตีพาย mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
normal">

หลังจากที่ฝ่ายบีอาร์เอ็นตกกระไดพลอยโจน ร่วมการพูดคุยถึงสองครั้ง จนมีการเผยแพร่วีดีโอสองตัวแทนจากขบวนการ โดย ฮัสซัน ตอยยิบ มาพูดถึงวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนขององค์กร เพื่อเป็นการอธิบายย้อนหลัง อันเนื่องมาจากการดำเนินกลยุทธิที่ปิดลับในช่วงแรก (ก่อน 28 ก.พ.56) จนถึงที่สุดแล้วจำต้องเผยตัวเพราะการพูดคุยครั้งแรก mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:
minor-bidi;font-weight:normal">

ดังนั้นในสิ่งที่ฮัสซัน พูดมิใช่เป็นการข่มคู่เจรจาแต่อย่างใด หากเป็นการนำเสนออุดมการณ์ทางการเมืองของตนเอง เป็นเหตุผลในการต่อต้านอำนาจรัฐไทย อย่างที่ผมสรุปมาแล้วในข้างต้น minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

เพื่อเป็นการตอกย้ำแก่ประชาคมโลกว่า กลุ่มขบวนการที่เคลื่อนไหวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีความเห็นต่างทางการเมืองกับรัฐไทย ไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย หรือกลุ่มขบวนการค้าของเถื่อนในดินแดนมาตุภูมิแต่อย่างใด minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

ตามที่หลายๆ ฝ่ายเคยเรียกร้องว่า ให้กลุ่มขบวนการแสดงตัวตนและแถลงจุดยืนให้ชัดเจน นี่จึงเป็นคำตอบ ที่ฝ่ายบีอาร์เอ็นนำเสนอ …. ดังนั้นมาช้าดีกว่าไม่มา (นะครับ)

ต่อมา ในส่วนทีสองของวีดีโอดังกล่าว คือ ข้อเสนอเงื่อนไข 5 ข้อ ที่นายอับดุลการิม คอลิบ ได้เอ่ยอ้างนั่น นับว่าเป็นโฟกัสสำคัญที่สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:
minor-bidi;font-weight:normal">

หากคนที่ติดตามกระบวนการสันติภาพปาตานี ก็จะเห็นว่าแรงสะเทือนมีหลากหลายรูปแบบ บางสำนักบอกว่า เป็นการแสดงความพร้อมและความเป็นมืออาชีพของฝ่ายการเมืองในฟากบีอาร์เอ็น จนทำให้ขบวนการบีอาร์เอ็นอาจติดกับดักในวิธีทางการเมืองที่ตนเองเลือกเดิน minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

จริงแล้ว หากย้อนมองดูที่มาที่ไปของโต๊ะพูดคุยหรือการเจรจาระหว่างฝั่งรัฐไทยกับกลุ่มขบวนการ เราจะเห็นว่าตั้งแต่แรกเริ่มผู้ที่ริเริ่มให้มีการพบกันนั้น จะเป็นฝั่งรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย ส่วนขบวนการฯ ถูกดึงเข้ามาในเกมแบบไม่ทันตั้งตัว ดังนั้นเมื่อบีอาร์เอ็นเริ่มจับทิศทางได้แล้ว พวกเขาก็เริ่มมีข้อเสนอที่จะกำหนดกติกาของการพูดคุยในครั้งนี้ ในฐานะตนเองเป็นผู้เจรจา ที่ควรมีสิทธิที่จะเข้าร่วมเจรจาในฐานะที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคู่เจรจา mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:
minor-bidi;font-weight:normal">

ในความเห็นของผม เงื่อนไขห้าประการดังกล่าว เป็นการสื่อสารต่อสองกลุ่มเป้าหมาย minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

เป้าหมายแรก เสนอต่อประชาชนมลายูปาตานี ผู้เป็นเจ้าของ “ความชอบธรรม” ในการเคลื่อนไหวของขบวนการบีอาร์เอ็น mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
normal">

(ตรงจุดนี้ หากอธิบายตามแนวคิดของดันแคน แม็กคาร์โก ที่เขียนไว้ในหนังสือ “ฉีกแผ่นดิน” – รัฐไทยเป็นโรคความชอบธรรมบกพร่องในหมู่ประชาชนมลายูปาตานี อีกทั้งด้วยนโยบายการปกครองของรัฐไทยได้ช่วงชิงมลายูชนชั้นนำจากประชาชนมลายูทั่วไป ทำให้ความชอบธรรมของประชาชนมลายูล่องลอยกลางอากาศ ง่ายต่อการที่บีอาร์เอ็นจะเก็บเกี่ยวไว้เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตนเอง)   mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
normal">

ในช่วงแรกที่เป็นการเคลื่อนไหวในทางลับ บีอาร์เอ็นอาจเสนอข้อเสนอที่สุดขั้วต่อประชาชน เช่น การเป็นอิสรภาพจากของรัฐไทยอย่างเบ็ดเสร็จ ในเมื่อถูกชักดึงเข้าสู่โต๊ะเจรจา แนวทางการเคลื่อนไหวก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบไป บีอาร์เอ็นจำต้องทำการสื่อสารกับประชาชนอีกครั้ง เพื่อหาทางออกของสถานการณ์ที่ตนเองแบกรับอยู่ mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
normal">

หากพิจารณาในเงื่อนไขดังกล่าว จะเป็นการประนีประนอมและการผ่อนปรนจากเจตจำนงแรกเริ่มของตนเอง เพื่อที่จะให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไป ตามข้อเรียกร้องของรัฐไทย

เป้าหมายที่สอง เป็นข้อเสนอต่อรัฐไทย ในฐานะที่เป็นคู่เจรจาที่มีศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมกัน ถึงแม้รัฐไทยจะมองอย่างไรก็ตาม บีอาร์เอ็นก็มีสิทธิที่จะกำหนดรูปแบบการเจรจาของตนเอง หรือว่าพวกเขาไม่มีสิทธิ? หรือว่าบีอาร์เอ็นเพียงแต่เดินตามแผนที่คนอื่นขีดไว้เท่านั้น? minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะดูคาบเกี่ยวระหว่างการรุกคืบทางการเมืองอย่างเหนือชั้นกับมวยวัด แต่ในมุมมองของผม มันการผ่อนปรนหรือการคลี่คลายวัตถุประสงค์สูงสุดของพวกเขาเอง ที่เคยสื่อสารกับประชาชนมลายูปาตานี เพื่อจะได้เข้าร่วมเจรจากับตัวแทนของรัฐไทยอย่างสมศักดิ์ศรี ในฐานะเป็นนักต่อสู้และนักการเมือง ไม่ใช่โจรกระจอกหรือโจรห้าร้อยตามที่ถูกปรามาสไว้แต่แรก minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;
font-weight:normal">

การรวบรัด dialogue, pre-negotiation หรือ negotiation อะไรจะสำคัญไปกว่าการเข้าร่วมในวงเจรจาที่เปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรีของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีจุดยืนอย่างชัดเจนและเปิดเผย ในการขอมีส่วนร่วมในการออกแบบรูปแบบการเจรจาของตนเอง หรือท่านมองเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิด ที่มิสามารถกระทำได้?

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi;font-weight:
normal">
ถึงตรงนี้คงต้องย้อนถามตัวท่านเอง ใครกันแน่ที่ติดกับดักกระบวนการสันติภาพ? mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:
minor-bidi;font-weight:normal">