Skip to main content

บัณฑิต ไกรวิจิตร

 
ผมคิดว่ากระบวนการยุติธรรมทั้งหมดตั้งแต่จับกุมดำเนินคดี และส่งฟ้องศาล กรณีของ AnWar ทั้งหมดก็เพื่อปรามการแสดงความคิดต้องห้าม ผมคิดว่าฝ่ายเสียหายกลับเป็นกระบวนการยุติธรรม และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องนะครับ ผู้ที่เสียหายไม่ใช่ผู้ถูกจองจำ แต่เป็นฝ่ายความยุติธรรมที่เลือกตัดสินจากการที่ผู้ต้องหาพูดความจริง ความคิดที่ผมเขียนนี้ไม่ได้สร้างให้ใครเป็นวีรบุรุษ แต่อธิบายให้เห็นว่า ผลของการใช้กฎหมายกลับได้ผลในทางตรงกันข้าม และอะไรจะเกิดขึ้นหากหลายคนเห็นว่า AnWar คือ สัญลักษณ์ของการกระตุ้นให้พูดความจริงโต้ตอบกลับไปที่อำนาจ
 
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด AnWar ถูกตัดสินจากการพูดถึงความคิดจริงๆ ของเขาเองโดยที่เขาไม่เคยใช้ความรุนแรง การตัดสินลงโทษ AnWar ไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ ไม่ได้สร้างบรรยายกาศการพูดคุยเพื่อเริ่มสันติภาพ ในเมื่อ เราก็รู้กันอยู่แล้วว่า ประเทศนี้มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่กลับใช้กฎหมายเพื่อปิดกั้นไม่ให้แสดงออกถึงความคิดของตนเองต่อสาธารณะ
 
AnWar ถูกดำเนินคดี ตั้งแต่ 8 ปีก่อน คือ พ.ศ. 2548 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำหรับการทำกิจกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทวิทยาเขตปัตตานี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภายในหรือกิจกรรมทางสังคมและการเมือง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สองท่าน เสนอว่า ตราบที่นักศึกษาที่มีความคิดทางการเมืองไม่ก้าวไปสู่ความรุนแรง ย่อมสามารถที่จะกระทำได้ เพราะพื้นที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในสามจังหวัดเป็นพื้นที่เดียวที่น่าจะสามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและการเมืองได้อิสระ สำหรับกรณีของ AnWar บอกอะไรแก่นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง ?
 
1.หากนักศึกษาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยไม่ใช้ความรุนแรง และถึงแม้มหาวิทยาลัยจะอนุญาต แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะไม่ถูกคุกคาม
 
2.ในขณะเดียวกันนั้น AnWar ก็เป็นตัวอย่างของผู้ที่แสดงความคิดเห็นของตนเอง และหมดอิสระภาพจากการกล่าวความจริงกลับไปที่องค์อธิปัตย์ เส้นทางการสนทนาในที่เปิดเผย "หด" แคบลงในทันที
 
3.ความขัดแย้งกันเองของการต้องการให้เกิดสันติแต่ปรามการแสดงความคิดอย่างสันติ ต้องบอกว่า มันไปพร้อมกันไม่ได้ครับ
 
4.นักศึกษาและอาจารย์ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองและวิชาการ อาจจะรู้สึกว่าต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น หรือ "งด" ไปเลย โดย ทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยในบางแง่มุม หรือหลายแง่มุม กับ BRN หรือกลุ่มที่ไม่ได้เห็นด้วยกับ BRN แต่ต้องการให้เกิดความสงบและสันติ ในกลุ่มหลังนี้ก็อาจจะต้องพาดพิงถึงรัฐ เช่น การวิจารณ์ (ขอยกตัวอย่างแค่สองกลุ่มความคิด ผู้อ่านลองเติมตัวเองลงไปอาจจะเป็นกลุ่มหรือตัวเองโดดที่ไม่เหมือนใครก็ได้) ผมกลับคิดว่า การวิพากษ์และแสดงความคิดเห็นจะต้องหนักแน่นด้วยเนื้อหาและตรงไปตรงมาให้มากขึ้นจากหลายๆฝ่าย เพื่อพยุงบรรยายกาศทางวิชาการ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะต้องเป็นผู้นำ เพื่อทำให้นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและใช้ช่องทางนี้อยู่ในขบวนรถไฟสันติภาพครับ หวังว่าที่เขียนมานี้คงเข้าใจถึงความหวังดีที่ผมมีแก่สังคม
 

 
หมายเหตุ: ผมได้ข้อเขียนชิ้นนี้ขึ้นเฟสบุ๊คไปก่อนหน้านี้ และอีกครั้งที่มีบทสนทนาจากมิตรสหายหลายท่านที่แลกเปลี่ยนและต่อยอดไปจากสิ่งที่ผมเปิดประเด็นขึ้น ผมขออนุญาตคัดเลือกบางข้อความมาเผยแพร่อีกครั้งในที่นี่ครับ
 
Anticha Sangchai เคยคุยกับ อ.แน่งน้อย แกเปรยๆว่า...ชีวิตในมหาวิทยาลัย ก็เหมือนอยู่ใน "แคปซูล" อันเห็นด้วยนะ คำพูดนี้สะท้อนอะไรหลายอย่าง พวกเราที่เป็นอาจารย์อยู่ในนั้นพร้อมที่จะเปิดพื้นที่ของตัวเองให้ความคิดอันหลากหลายได้เข้าไปสื่อสาร หรือพร้อมที่เอาตัวเองออกมาเรียนรู้โลกนอกรั้วมหาวิทยาลัยแค่ไหน การเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาแสดงออกทางความคิดเห็นจะทำได้
 
อย่างไรถ้าอาจารย์หรือผู้ที่มีอำนาจดูแลบริหารพื้นที่เองหลายคนยังไม่รู้สึกว่ามีอิสระในการแสดงความคิดเห็น บรรยากาศของความหวาดระแวง ความไม่แน่ใจตรงนี้ยังมีสูงมากๆค่ะ 
กรณีอันวาร์ซึ่งเป็นนักโทษทางความคิดไม่ได้ต่างอะไรกับกรณีกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒ หรือนักโทษทางการเมืองอื่นๆ ซึ่งในประเทศเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งสามจังหวัดชายแดนใต้ยังมีการดำเนินคดีทำนองนี้ในสถิติที่สูงมาก 
 
เอาแบบตรงไปตรงมานะคะ ในพื้นที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัย เราตรงไปตรงมากับความคิดของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน รับฟังความแตกต่างทางความคิดของเพื่อนๆร่วมอาชีพได้มากน้อยแค่ไหน คิดว่าเรื่องนี้ยังต้องพยายามสร้าง "พื้นที่" ที่ว่าอีกมากเลยล่ะค่ะ และอาจจะต้องค่อยเป็นค่อยไปด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่อ่อนไหวมากๆที่ผูกโยงกับความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา และการให้คุณค่าที่คนเรามีต่างกัน
 
Zakariya Amataya อันวาร์ เป็นพหุพจน์ของคำว่า นูร์ ในภาษาอาหรับแปลว่า แสงสว่าง / ผมสนใจการถอดความหมายของคำ อ่านที่อาจารย์เขียน เห็นด้วย AnWar an war การดับแสงสว่างเท่ากับก่อสงครามกับความสว่างไสว แสงสว่างไม่ว่าจะ ปิดบังเพียงไหน แสงย่อมเล็ดลอดออกมา ไม่ทางหนึ่งก็ทางใด ไม่มีใครกักขังแสงสว่างได้!
 
Bundit Grivijitr ดีมากเลยครับ ทั้ง อ.Anticha Sangchai และ Zakariya Amataya ขอบคุณ เชมากที่ให้ความรู้ ตอนแรกก็คิดจาก AnWar ว่าหากเป็น AWar ก็คงดี เอาวาร์ ไม่มีสงคราม ที่เชเสนอคือ ทำสงครามกับแสงสว่างย่อมพ่ายแพ้ ดีมากเลยครับ Anticha Sangchai พี่ก็คิดว่า มันยากเหมือนกัน แต่ก็พยายามเกาะเกี่ยวคนที่ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันได้ไว้ก็ดี นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ tag อาจารย์ จำกัด เช่น อาจารย์อาวุโส พี่ก็ไม่กล้า tag อาจารย์ที่ไม่ได้คุยทางความคิดเท่าไหร่ก็ไม่กล้า tag. บางคนก็อยาก tag. แต่ไม่ได้ make friend ใน FB. อีกอย่างหนึ่งกังวลว่าเราจะไปรบกวน นี่ยังไม่เกี่ยวกับประเด็นอื่นๆเลยนะ เช่น การแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ สามจังหวัดในสถานการณ์เช่นนี้ ทำได้มากน้อยแค่ไหน ความแตกต่างทางด้านการนับถือศาสนา ทำให้คุยกันอย่างเปิดเผยแค่ไหน หลายๆ คนเราสามารถคุยได้อย่างเปิดเผยเพราะ คุ้นเคยและเข้าใจเจตนาที่มีร่วมกัน ฯลฯ
 
Bundit Grivijitr มันคงบอกยากว่า เมื่อไหร่เราจะสามารถพูดคุยตอบโต้กลับไปที่อำนาจ แต่ที่ทราบเราน่าจะยังสามารถคุยเรื่อง ความกลัว ความห่วงใย ได้อย่างอิสระ บันทึกที่เขียนก็เขียนออกมาจากความรู้สึกนี้ ความกลัว ที่พูดถึงอยู่ก็คือ กลัวว่าจะไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการถูกจองจำ ในภาษาของ อ.แน่งน้อยนั่นแหละ. น่ากลัวมากว่าแต่ละคนจะขดตัวเองอยู่ใน slot แคบๆ พี่คิดว่าเสรีภาพคือ การออกกำลัง การหยั่งออกไป ซึ่งหยั่งออกได้มากบ้าง น้อยบ้าง ตามการ “แถก” ตัวเองออกมาจาก slot ของตัวเอง (หรือแคปซูล). ฟังๆดูอาจจะเหมือนสัตว์เลื้อยคลานนะ แต่มันเป็นเช่นนั้น
 
Hara Shintaro ส่วนคนต่างชาติที่ไม่พูดภาษาไทยส่วนใหญ่รู้สึกแย่กว่านี้อีกครับ ส่วนใหญ่ (เท่าทีผมได้คุยมา) ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นทรัพยากรมนุษย์ของสถาบัน แต่เป็นแค่ “อะไหล่” เชิงวิชาการครับ ใช้งานปีสองปี ถูกเปลี่ยนไป
 
Bundit Grivijitr อืม ผมลืมนึกไปเลยเรื่องนี้ เพราะชื่นชม จารย์ชินทาโร Hara Shintaro แต่มันยากมากเหมือนกันนะที่จะออกมา เช่น ความเป็นพลเมือง ก็เป็นปัญหา
 
บุตร แม่แช่มพ่อพิณ color:#262626"> ผมเคยเสนอบทความวิเคราะห์วรรณกรรม นักวิชาการท่านหนึ่งยังต้องร้อนขนาดลุกขึ้นมาคัดค้านข้อวิเคราะห์นั้นเลย แต่เอาเข้าจริง ไม่ว่าจะอยู่ข้างไหน หรือตรงกลาง พวกเราก็ไม่อาจสนุกในการพูดเชิงวิชาการในบรรยากาศแบบนี้ได้ วิชาการที่ปวารณาอยู่กลางจึงยิ่งแย่ใหญ่ เหมือนอยู่กลางเขาควายนั่นน่ะครับ พอพูดความจริงที่เราเชื่อแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็มองมาที่เรา
 
Bundit Grivijitr คนที่อยู่ไกลๆ คงแสดงความคิดเห็นได้อิสระกว่าคนในพื้นที่ นะ อารย์เชษฐ บุตร แม่แช่มพ่อพิณผมก็อ่านงานคนนอกพื้นที่เขียนเยอะ ได้อ่านบทความบางคนก็ได้แง่คิดเพิ่มเติมบางครั้งก็คิดแล้ว “แถก” ตัวเองออกมาแลกเปลี่ยนด้วย เช่น ที่น่าชื่นชมก็ของ Muhammad Ilyas Yahprung (หรือ Hara Shintaro ซึ่งผมตื่นเต้นมากที่ชินทาโรออกมาทำอะไรในหน้าที่ของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสมและกล้าหาญและได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นใน status ใน FB ของเขาด้วย)
 
แต่บางคนผมไม่อยากสนทนาด้วยเลย เพราะทำใจไม่ได้ ไม่อยากอ้างอิงถึงด้วยซ้ำ บางคนผมคิดว่ารสนิยมทางวิชาการต่ำอย่างเลวร้าย จนต้องใช้คำว่า Bad taste ซึ่งไม่มีประโยชน์เท่าไหร่กับการวิจารณ์แบบบอดไบ้ พูดถึงแล้วยังยอมรับไม่ได้เลย นี่แหละ อคติ เราไม่ชอบคนที่เหยียบคนอื่นขึ้นมาโดยแค่นตัวเองว่าเก่งเหลือเกิน คือวิจารณ์กันได้ครับ แต่อย่าถึงขั้น เปรียบความคิดคนอื่นเป็น ...
 
บุตร แม่แช่มพ่อพิณ color:#262626"> จริงครับพี่ โดยเฉพาะการแสดงความเห็นในทางออนไลน์ กรณีที่ผมเสนอบทความวิเคราะห์วรรณกรรมนั้นทำในห้องประชุมครับ โชคดีที่ไม่ออนไลน์ อิอิ
 
Bundit Grivijitr เพราะตอนเจอหน้ากัน จะทำอย่างไร ผมหรือคนที่ถูกวิจารณ์ต้องเก็บความสกปรกเอาไปคืนเขาหรือเปล่า แต่ไม่หรอก เราอยากข้ามพ้้นมันไม่อย่างนั้น เราจะถูกข้าม
 
Bundit Grivijitr ถูกข้ามจากความโกรธของเราเอง
 
Anticha Sangchai เห็นด้วยนะคะเรื่องการแสดงความคิดเห็นข้างนอก (มหาลัย) มีอิสระมากกว่าข้างในเสียอีก การทำกิจกรรมต่างๆก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นประเด็นเป็นเรื่องๆไปด้วยนะคะ พอดีเรื่องความคิดเห็นทางการเมือง เรื่องความมั่นคง เรื่องอะไรที่ไปวิพากษ์แนวคิดแบบชาตินิยมนี่ มันค่อนข้างยาก ค่อนข้างถูกจับตามองสูง 
เอาสะดวกเราว่าก็ทำมันข้างนอกดีกว่า 
 
แต่น่าสังเกตว่าความที่ยังมีสถานะของอาจารย์มหาลัยนี่ ช่วยให้เราทำงานกับคนข้างนอกได้ง่ายขึ้นนะคะ 
 
แปลกดีไหม ทำข้างในทำยาก แต่ทำข้างนอกง่ายกว่า...ในบทบาทและสถานภาพเดียวกัน
เราควรตั้งคำถามกลับไปที่เพื่อนร่วมงานหรือสถาบันดีไหมนี่ ทำไมมันเป็นอย่างนั้นคะ
 
Anticha Sangchai ปล. แต่ก็เห็นหลายๆท่านทำได้ดีนะ เช่น...ตั้งมันเป็นศูนย์วิจัย หน่วยวิจัย หรือสถาบันอะไรสักอย่างขึ้นมาเลย อันนี้จะเป็นกันชนได้ดี
 
Zakariya Amataya มหาวิทยาลัยกลายเป็นถ้ำไปตั้งแต่เมื่อไรนี่!
 
Bundit Grivijitr จริงๆ ไม่ต้องไปแคร์มากหรอก อัน คนที่เขาปฏิเสธ เราก็ไม่ต้องใส่ใจมากเพราะเจริญยาก จนถึงวันนี้พี่ยังคิดว่า พี่มีภูมิคุ้มกันสูงอยู่ 555 ถ้ากลับไปจากเรียนต่อ พี่ก็จะทำทั้งข้างนอกข้างในนี่แหละ มันเป็นบทบาทหน้าที่ของอาจารย์อยู่แล้ว ได้ LU. ด้วยนะ (ขยาย-เกณฑ์การประเมินผลงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย กำหนดให้ทำงานทางวิชาการและกิจกรรมส่งเสริมชุมชนและสังคมใกล้เคียงกับที่ตั้งมหาวิทยาลัย นอกเหนือจากภาระกิจการสอน และการวิจัย ภาระงานทั้งหมดมีหน่วยวัดที่เรียกตัวย่อว่า LU)
 
Bundit Grivijitr ดีนะ จารย์เชษฐ ว่าไงท่าน บุตร แม่แช่มพ่อพิณ เป็นหัวหอกให้หน่อยสิ หลายคนอยากเป็นแท่งหอกให้
 
Asama Mungkornchai color:#262626"> สิ่งที่อยากทำ บางทีมันหาช่องทางทำไม่ได้ ต้อง struggle (ต่อสู้) พอสมควร เช่นสอนการเมืองภาคประชาชน อยากเอาเด็กลงพื้นที่ แต่มีอาจารย์บางท่านห้าม ไม่สนับสนุน เลยต้องทำนอกระบบคณะ กลายเป็นการทำแบบเถื่อนๆไป ไม่ต้องไกล แค่บางปลาหมอ เราก็คุยกันเรื่องการพัฒนาได้เป็นคุ้งเป็นแคว เด็กไม่ใช่ไม่เคยเห็น แต่เขาไม่เคยเห็นมันด้วยวิธีมองอีกแบบหนึ่ง
 
Asama Mungkornchai color:#262626"> ตอนนั้น กว่าจะวิ่งหาเงินมาเอารถขนเด็กได้ หืดขึ้นคอและก็ได้แค่ปีสองปี หาเงินไม่ได้อีก
 
บุตร แม่แช่มพ่อพิณ Zakariya Amataya ท่านก็ไม่กล้าให้สัมภาษณ์เรื่องวรรณกรรมการเมืองอยู่เหมือนกันมะช่ายเหรอเคริ้บ วงการวรรณกรรมแถวนั้นเซ็นเซอร์หนักหรืออย่างไร คริๆๆๆๆ
 
Asama Mungkornchai color:#262626"> ไม่มีหรอกเสรีภาพ มีแต่กรงขังที่เราต้องแหกบ้าง เล็ดรอดบ้าง
 
Zakariya Amataya เคยให้สัมภาษณ์ในสารคดีไปแล้วเรื่อง วรรณกรรม กวีการเมือง รู้สึกตัวเองยังไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไร ยังไม่อยากฉายซ้ำ อ่านทบทวน ไม่ค่อยถูกใจเท่าไร เลย ไม่ส่วอาชาม บุตร แม่แช่มพ่อพิณ 555
 
เทพบุตร จุดประกายฝัน เรียนตรงๆเรื่องที่เกิดขึ้น ผมเองก็หวาดๆน่ะครับ เนื่องจากเราเรียกร้องให้มีพื้นที่กลางที่อิสระ แต่เมื่อมีไก่ถูกเชือด ลิงๆอย่างผมก็คงจะต้องพิจารณาให้รอบคอบมากขึ้นว่า จะโดนหรือไม่อย่างไร 
 
แต่ที่แน่ๆ มันเป็นแรงกระตุ้นอย่างหนึ่งให้คนที่ต้องการแสดงออก ตื่นตัวมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม รัฐอาจจะคิดว่า ไม่มีใครกล้าเล่นเรื่องสันติภาพที่ปลายปากกา แต่ผมคิดว่าน่าจะเหมือนอากงอ่ะครับ คือมีการจับกุมแล้วเรื่องจะครึกโครมมากขึ้น และอาจจะมีเหมือนอากง เหมือน คุณ สมยศ ไรงี้อ่ะครับ 
 
แต่ที่แน่ๆ การดำเนินคดีแบบนี้คดีการเมืองแบบนี้มันจะต้องมีคลื่น
 
Bundit Grivijitr เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณ เทพบุตร จุดประกายฝัน ความกังวลทำให้เรามีความรอบคอบมากยิ่งขึ้นครับ
 
Bundit Grivijitr ประเด็นที่ อาจารย์อัน เสนอน่าสนใจนะครับ หน่วยวิจัย หรือศูนย์วิจัย เรามีศูนย์วิจัยอะไรแล้วบ้างใน มอ.ทำเรื่องอะไรบ้างและถ้าจะสร้างขึ้นมาอีก อะไรคือความแตกต่าง คิดว่าอันนี้น่าสนใจ จะวิจัยอะไรเป็นหัวข้อร่วมและร่วมมือกับบุคคลภายนอกในกลุ่มไหนบ้าง น.ศ.จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ผมคิดว่าประเด็นนี้น่าแลกเปลี่ยน เชิญๆ ครับ ช่วยกันคิด Hara ShintaroAnticha SangchaiPuttapon Mongkolworawan.Zakariya AmatayaAsama Mungkornchai. อีกหลายๆคนที่ไม่ได้เอ่ยชื่อแลกเปลี่ยนกันได้เลยครับ