Skip to main content

"K4DS POST ฉบับต้อนรับวันแรงงานสากล วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองผลทางเศรษฐกิจและ สังคมของผู้ใช้แรงงาน อันเป็นผลจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี ในประเทศไทยเริ่มกำหนดวันแรงงานแห่งชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2499 และได้ออกพระราชบัญญัติแรงงานในปี พ.ศ. 2500 และได้ตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นเพื่อดูแลผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2536 กองบรรณาธิการจึงขอแนะนำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้แก่ทุกท่านในโอกาสนี้"

Download PDF : อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

 
K4DS จัดประชุมเครือข่ายหารือทิศทางขับเคลื่อนสื่อสารสาธารณะ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ใช้พัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 
เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ภาคีเครือข่าย K4DS อาทิ นักวิชาการ นักพัฒนา และบุคลากร ด้านสาธารณสุข จากสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ หอสมุด ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันสันติศึกษา ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) มูลนิธิเพื่อการเยียวยา และสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ เป็นต้น ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการทำงาน และการใช้ K4DS Search เป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ ที่มีอยู่เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในพื้นที่ โดยในครั้งนี้ได้ ยกประเด็นการเยียวยาด้านการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ โดยการทบทวนองค์ความรู้ที่มีอยู่และที่ยังขาด แนวทางการสังเคราะห์องค์ความรู้ การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเครือข่าย และการสื่อสารสาธารณะเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ไปยังภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา และพัฒนาประเด็นนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป

 

K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้

การจัดการศึกษาด้านอาชีพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของ สถานประกอบการและชุมชน โดย นรชัย วุฒิเจริญมงคล, 2554. 
“...การวิจัยนี้ศึกษาความต้องการแรงงานของสถานประกอบการและชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านอาชีพให้ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพบว่าสถานประกอบการส่วนใหญ่ต้องการแรงงานในระดับปฏิบัติการที่จบการศึกษาระดับมัธยม 3 และระดับช่างเทคนิคทุกสาขา ที่มีความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะ ภาษา และคุณธรรม จริยธรรม ที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานที่สถานประกอบการกำหนด แต่การจัด การศึกษาด้านอาชีพยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการ สถานศึกษาต้องปรับปรุงหลักสูตร เน้นภาษา คุณธรรม และภาคปฏิบัติ จัดหลักสูตรเฉพาะทางที่สถานประกอบการต้องการ และให้สถานประกอบการและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน...” 
อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่
การพัฒนาทักษะวิชาชีพในสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาเพื่องานอาชีพในห้าจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรองรับ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย โดย ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, สมเกียรติ พ่วงรอด, เสริมศักดิ์ นิลวิลัย, ศักดิ์จิต มาศจิตต์, อ้อมใจ วงษ์มณฑา, 2547. 
“...การวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านอาชีวศึกษาเพื่องานอาชีพ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) ซึ่งพบว่ากิจกรรมที่จัดเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง โดยกิจกรรมทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยตำสุด คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา จากความคิดเห็นของเจ้าของสถานประกอบการอยู่ในระดับมาก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีวินัย และเสนอให้ปรับปรุงให้มีกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การสอนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และการผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการในภูมิภาคนี้ เช่น เทคโนโลยียาง การประมง บริหารธุรกิจ เป็นต้น..." 
อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

Download PDF : อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

 

 

 

File attachment
Attachment Size
2013_may_k4ds_post_a4_500.jpg (388 KB) 388 KB
img_8377_800_1.jpg (424.57 KB) 424.57 KB