Skip to main content

abdulloh wanahmad(AwanBook)

(ฉบับฝึกแปล หากมีความผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วย)

แถลงการณ์ถึง 5 ข้อเรียกร้องเบื้องต้น เมื่อวันที่ 29/04/2013 โดยฮัจญี อาดัม มูฮัมหมัดนูร ในฐานะตัวแทนของบีอาร์เอ็น

ขอความสันติจงมีแด่ท่าน

ข้าพเจ้าฮัจญี อาดัม มูฮัมหมัดนูร ในฐานะตัวแทนของค์กรแนวรวมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีบีอาร์เอ็น
ในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมานั้น

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่ปาตานี ณ ปัจจุบันนี้ก็คือการลุกขึ้นมาของประชาชน ภายหลังจากที่ประชาชนต้องตกอยู่ภายใต้การกดขี่และข่มเหงมานานนับร้อยปี

การเข่นฆ่ากันได้เกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกระแหงโดยที่ไร้ผู้เหลียวแล มีจำนวนมิน้อยที่ชาวมลายูปาตานีถูกประทุษร้ายถึงชีวิต ไม่มีแม้กระทั่งหลุมฝั่งศพ

ในด้านการศึกษา นักล่าอาณานิคมสยามได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาแบบมลายูไปเป็นระบบแบบสยาม ซึ่งหนุ่มสาวมลายูปาตานีจำนวนมิน้อยที่ต้องสูญเสียอัตลักษณ์แห่งตัวตนไป

ในด้านเศรษฐกิจ แผ่นดินแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ประชาชนกลับตกอยู่ภายใต้สภาวะของความยากจนแร้นแค้น จนทำให้หนุ่มสาวมลายูปาตานีเรือนแสน ต้องอพยพเร่ร่อนขายแรงงานยังประเทศมาเลเซียและที่อื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ขบวนการ(บีอาร์เอ็น)เพื่อการปลดปล่อยปาตานีจากการยึดครองของสยามก็ได้กำเนิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราพร้อมที่จะเสียสละทั้งเลือดเนื้อและทรัพย์สิน ในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและอิสรภาพของปาตานีจากการยึดครองของสยาม

เพื่อทำให้การเจรจาสันติภาพสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เราขอยื่นข้อเสนอเบื้องต้นนี้ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน

1.การเจรจาในครั้งนี้ถือเป็นการเจรจาระหว่างนักต่อสู้ชาวปาตานี(ทั้งหมด)ที่นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็นกับทางรัฐบาลไทย
a. บีอาร์เอ็น ถือเป็นองค์กรเพื่อการปลดปล่อยที่เป็นตัวแทนของชาวมลายูปาตานี
b. บีอาร์เอ็นคือผู้ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชาวมลายูปาตานีทั้งมวล
c. บีอาร์เอ็นคือผู้ที่ทำหน้าที่และนำพันธกิจของชาวมลายูปาตานี

2.บีอาร์เอ็นเห็นพ้องต้องกันที่มาเลเซียเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวก (mediatur) ที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงในการเจรจาครั้งนี้
a. เพื่อให้การเจรจาครั้งนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีและบรรลุตามเป้าหมาย
b. เพื่อให้การเจรจาครั้งนี้ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากชาวมลายูปาตานีตลอดจนประชาคมโลก
c. เพื่อให้มีฝ่ายที่รับผิดชอบในการหาทางออกปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ปาตานี

3.ตลอดช่วงการเจรจาต้องมีตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน สมาชิกโอไอซีและองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ เป็นสักขีพยาน
a. ในการเจรจาระหว่างขบวนการบีอาร์เอ็นกับรัฐไทย จะต้องเป็นที่จะต้องรับรู้โดยองค์ระหว่างประเทศและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่ทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนที่ต้องการเห็นความสงบสุขสันติภาพและความมั่นคง
b. เพื่อให้การเจรจาในครั้งนี้ได้มีหลักประกันที่แน่นอนสำหรับทั้งสองฝ่าย

4. ทางรัฐบาลไทยต้องยอมรับว่าชาวมลายูปาตานีย่อมมีสิทธิเหนือดินแดนปาตานีแห่งนี้ ด้วยเพราะว่า
a. รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่ดินแดนปาตานีแห่งนี้ก็คือการที่สิทธิของชาวมลายูปาตานีถูกปล้นไป
b. ในด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง
c. สิทธิในการจัดการด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม วัฒนธรรม และอื่น

5. ทางฝ่ายบีอาร์เอ็นขอเรียกร้องให้ทางรัฐบาลไทยทำการปล่อยตัวนักโทษที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีและให้ยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข

การที่ได้เกิดวิกฤติความขัดแย้งขึ้นที่ปาตานีก็เพราะว่าการดำรงอยู่ของนักล่าอาณานิคมสยามบนแผ่นดินปาตานี หากว่าไม่มีนักล่าอาณานิคมก็คงจะไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น

ผิดด้วยหรือที่ชาวมลายูปาตานีลุกขึ้นมาปกป้องจากการคุกคามของสยาม?
สวัสดี