Skip to main content

"K4DS Post เดือนมิถุนายน 2556 ต้อนรับกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นและอุดมการณ์แตกต่างที่เลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐ ด้วยหนังสือ งานวิจัย และรายงานกิจกรรมสำคัญในพื้นที่ ว่าด้วยเรื่อง ประชาสังคมและกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ โดยเน้นบทบาทความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ เพื่อร่วมหาแนวทางการยุติความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้แห่งนี้" 

Download PDF : อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

รายงานพิเศษ ชายแดนใต้ ประชาสังคม กระบวนการสันติภาพ 
 
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2556 ในการประชุม “ทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพร่วมกับ IPP เพื่อออกแบบและจัดทำกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้” ซึ่งจัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ณ คณะมนุษยศาสตร์ มอ.ปัตตานี ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส นักวิจัยอาวุโสสถานวิจัยความขัดแย้ง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ชี้ความสำคัญของ Roadmap หรือ แผนที่ เดินทางสู่สันติภาพ ว่า “…เมื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อเรื้อรัง การมี Roadmap จะทำให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่เจรจาว่าควรจะเริ่มจากอะไร และจะเดินไปในทิศทางไหน ใครจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยเน้นบทบาทของภาคประชาสังคม ในการหนุนเสริมกระบวนการเจรจาจากประสบการณ์ที่ได้ศึกษารูปแบบทั่วโลก พบว่า ภาคประชาสังคม น่าจะมีบทบาทสองแบบร่วมกัน โดยในทางหนึ่งอาจเข้าไปเป็นคณะทำงานในกระบวนการเจรจา และอีกทางหนึ่งก็รณรงค์หรือสร้างกระแสเพื่อผลักดันกระบวนการสันติภาพ โดยต้องเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้ตัวเอง ให้มีพลังในการเสนอแนะ 
 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก :http://www.deepsouthwatch.org/node/4314 
 
 
 

ชุมชนบนกองเพลิง เรียนรู้ภาคประชาสังคม ชุด “เสียงเพรียกเพื่อสันติภาพ” โดย คณุสสัน ศุภวัตรวนคุณ, 2556 
"... หนังสือ “ชุมชนบนกองเพลิง” รวบรวมบันทึกเหตุการณ์ บทเรียน ความรู้ และทัศนะมุมมอง ของนักวิชาการ นักคิด นักเขียน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานภาคประชาสังคม ที่ได้บันทึกพลวัตรของปัญหา ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างช่วงปีพ.ศ. 2547-2549 ในแง่มุมของการขับเคลื่อน นโยบายของภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด ชายแดนใต้ บทความเหล่านี้เคยตีพิมพ์และเผยแพร่มาแล้ว ทั้งในหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ต่างๆ ด้วยความต้องการที่จะเข้าไปช่วยคลี่คลายแก้ไขปัญหา รวมทั้งทำงานด้านการวิจัย การพัฒนา ขับเคลื่อน สังคมด้วยแนวคิดชุมชนเข้มแข็งและการทำงานในลักษณะที่เรียกว่า “ภาคประชาสังคม ” ..."
อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

ความร่วมมือระหว่างองค์กรให้ทุนระหว่างประเทศและองค์กรภาคประชาสังคมในกระบวนการสร้างสันติภาพ ในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย โดย อภิชญา โออินทร์, 2555  
"...งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของความร่วมมือระหว่างองค์กรให้ทุนระหว่างประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคมในกระบวนการ สร้างสันติภาพในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า กรอบความร่วมมือของแต่ละองค์กรอาจมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีลักษณะหนุนเสริมกัน ความร่วมมือระหว่างองค์กรให้ทุนระหว่างประเทศและองค์กร ภาคประชาสังคมมีส่วนในการขยายตัว ของเครือข่ายผู้แสวงหาสันติภาพ (Peace Constituencies) อย่างไรก็ตามยังไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อการขยายตัว ของเครือข่ายที่มีลักษณะแยกส่วน อันเป็นผลมาจากยุทธศาสตร์ที่ไม่เป็นเอกภาพและปัญหาเรื่องศักยภาพเชิงสถาบัน และการบริหารจัดการจากทั้งองค์กรให้ทุนระหว่างประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคม และเสนอว่า โครงการขององค์กรให้ทุน ระหว่างประเทศ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ทำงานสันติภาพในประเทศจะส่งผลกระทบที่ดี ต่อการพัฒนาของเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ และเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งจะช่วยให้เกิดการเปิดพื้นที่ทางการเมืองที่มีความหมาย สำหรับประชาชนรากหญ้า และชนชั้นกลางได้ ..."
อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

Download PDF : อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

File attachment
Attachment Size
img_6048.jpg (92.09 KB) 92.09 KB
1204.jpg (71.03 KB) 71.03 KB
2013_jun_k4ds_post_a4_800.jpg (794.45 KB) 794.45 KB