Skip to main content
นายอิบรอเฮง ดอหมินารอ
Activists  Media
กลุ่มสื่อกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
 
ท่ามกลางกระแสการตื่นตัวต่อประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย แต่ขณะเดียวกันสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ก็ยังเกิดขึ้นโดยไม่มีวี่แววว่าจะลด ปรับ และเปลี่ยนให้ต่างจากเดิมเสียเลย ช่วงเวลาเดียวกันนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว และนักศึกษาเองก็ผลิตกิจกรรมเพื่อเยียวยา หนุนเสริม และให้ความรู้แก่สังคมต่างๆขึ้นมามากมาย หวังให้ทุกคนรู้เท่าทันสถานการณ์ที่เดินหน้าอย่างรวดเร็ว
 
 
เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2556 เวลา 17.30 น. องค์กรนักศึกษาในนาม PERMAS HATYAI ร่วมกับเครือข่ายชมรมต่างๆ หรือองค์กรฐานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.หาดใหญ่) จัดกิจกรรม “4 ปี โศกนาฎกรรม รำลึกไอร์ปาแย ประวัติศาสตร์ที่กำลังจะถูกกลืนบนหนทางสันติภาพปาตานี” ณ ลานตึกกิจกรรมนักศึกษา มอ.หาดใหญ่ โดยมีนักศึกษาและอาจารย์ร่วมชมประมาณ 100 คน
 
 
นายมุสัลลิม หะยีอาแว ประธานโครงการและประธานกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมปาตานี [Kawan-Kawan] มอ.หาดใหญ่ กล่าวว่า “กิจกรรมนี้เราจัดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนรำลึก นึกคิด และตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรง  ซึ่งเหตุการณ์การสูญเสียผู้บริสุทธิ์ถูกกราดยิง ในมัสยิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552 และพวกเราขอภาวนาต่อผู้ที่มีอิทธิพลในเงามืดทั้งหลาย โปรดจงให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เป็นเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ปาตานี อีกทั้งยังเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับกลุ่มที่เห็นต่างได้มีอากาสมาพูดคุย แลกเปลี่ยน และหาทางออกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปาตานี
 
ส่วนรูปแบบกิจกรรมในครั้งนี้เราแบ่งออกเป็น font-weight:normal">2 รูปแบบ รูปแบบแรกเป็น Flash Mob ส่วนรูปแบบที่สองคือ Forum วงแลกเปลี่ยน
 
เริ่มด้วยการแสดงละครจำลองเหตุการณ์ [Flash Mob] ต่อด้วยละหมาดซูนัตฮายัต และ Forum พูดคุย แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปาตานี” นายมุสัลลิม กล่าว
 
 
นางสาวอาบีดะห์ สาแลแม ประธานกลุ่มกิจกรรมสตรี กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมปาตานี [Kawan-Kawan] มอ. normal">หาดใหญ่ และหนึ่งในผู้จัดงาน กล่าวว่า “กิจกรรมในครั้งนี้พวกเราพยายามที่จะให้ทุกคนเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการสูญเสียต่างๆนั้นมันส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่อย่างมาก มันสะท้อนถึงความยากลำบากและความทุกข์ทรมานของคนปาตานีอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด อยากขอร้อง ขอช่วย วอนต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนว่า วันนี้เราต้องทนเห็นความสูญเสียไปอีกสักเท่าไร ทุกคนถึงจะให้ความสำคัญกับมัน” นางสาวอาบีดะห์ กล่าว
 
นายแวอารีฟ แวดือราแม ประธานชมรมภาษามลายู font-weight:normal">[BMC] มอ.หาดใหญ่ และหนึ่งในผู้จัดงาน  กล่าวว่า “กิจกรรมเล็กๆที่เราหวังว่าอาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสันติภาพ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราพอจะมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของตนเองบ้างไหม” นายแวอารีฟ กล่าว
 
 
นายอนุวัฒน์ ยืนยงค์ สมาชิกชมร font-weight:normal">STP สันติศึกษา มอ.หาดใหญ่ กล่าวว่า “เป็นครั้งแรกที่ได้ร่วมกิจกรรมในลักษณะนี้ ก็รู้สึกสลดใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคิดว่าประชาชนชาวปาตานีเองก็คงไม่มีวันลืมเหตุการณ์นี้เหมือนกัน
 
แนวทางสู่สันติภาพสำหรับผมแล้ว ชาวปาตานีเขาต้องการอิสภาพและพื้นที่ปลอดภัย ขอให้เพื่อนๆนักศึกษาค้นหาสันติภาพที่แท้จริงให้กับประชาชนต่อไป” อนุวัฒน์ กล่าว
 
นางสาวกีฟะ ปูติ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ.หาดใหญ่ กล่าวว่า “ชมกิจกรรมนี้แล้วรู้สึกสะเทือนใจเป็นอย่างมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ากิจกรรมนี้ไม่ได้นำเสนอเรื่องราวของเหตุการณ์ได้ทั้งหมด อาจจะเพียงแค่จำลองไม่เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด แต่เราควรคิดต่อไปว่าเพื่อนๆนักศึกษากลุ่มนี้เขาพยายามที่จะสื่อถึงอะไร” นางสาวกีฟะ กล่าว
 
 
นางสาวทิพย์วิมล มากช่วย ฝ่ายการข่าว ตชด.43 font-weight:normal"> และหนึ่งผู้ชมงาน กล่าวว่า “พอเห็นการจำลองเหตุการณ์นี้ก็รู้สึกสลดใจเป็นอย่างมาก และยังรู้สึกเสียใจกับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและต้องสูญเสียญาติพี่น้องรวมทั้งสามีไป หวังว่าเสียงของนักศึกษากลุ่มนี้จะได้เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนและอยู่เคียงข้างประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป” นางทิพย์วิมล กล่าว
 
 
(ซ้าย) นางสาวทิพย์วิมล มากช่วย ฝ่ายการข่าว ตชด. font-weight:normal">43 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
font-weight:normal">(ขวา) นายมุสัลลิม หะยีอาแว ประธานโครงการ
font-weight:normal">
 
สิ่งสำคัญที่จะนำพาพวกเราในฐานะคนในพื้นที่สู่บ้านหลังสันติภาพที่ปลอดภัย ยุติธรรม และยั่งยืนจริงๆ สำหรับผู้เขียนแล้วเราทุกคนจักต้องมีส่วนร่วมคนละไม้คนละมือ เพื่อให้บ้านหลังเดิมหรือหลังใหม่ที่ดีกว่ากลับมาให้ได้ ที่สำคัญเราจะต้องมาพูดคุยกันว่าวันนี้เราจะทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร  คิดว่าหากเรามาร่วมกันคิด หาหนทางที่ดีที่สุด หนทางที่สามารถตอบโจทย์ชะตากรรมของพวกเราเอง โดยการกำหนดชะตากรรมของตนเองด้วยตัวเราเองแล้ว แน่นอนเราคงจะสามารถวาดฝันได้ว่าสันติภาพแบบไหนที่เราต้องการ
 
อย่างไรก็ตามการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สี่ในวันนี้ (วันที่ 13 มิถุนายน 2556) ไม่ว่าผลของมันจะออกมาเป็นเช่นไร แบบไหน หรืออย่างไร ใครได้ ใครเสีย เราในฐานะกลุ่มนักศึกษา PERMAS ก็ยังยืนยันแนวทางเดิมว่า “เราจะร่วมกันหาคำตอบต่อไปว่าสันติภาพแบบไหนที่ชาวปาตานีต้องการ 
 
 
แน่นอนว่า ประชาชนปาตานีจะต้องเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของตนเอง หรือ right to self determination (RSD)