Skip to main content

 

บุรฮานุดดีน อุเซ็ง
           
 
            เกริ่น
           
                   การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย คือหนึ่งในห้าของบทบัญญัติ(รุก่นอิสลาม) ที่กำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถ มีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ ร่างกายจิตใจ และสถานการณ์ความปลอดภัยในการเดินทาง อย่างหนึ่งครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติมาแล้วกว่าพันสี่ร้อยปี และยังคงต้องปฏิบัติอีกต่อๆไป จนกว่าโลกสลาย
 
                   กระบวนการบริหารจัดการกิจการฮัจย์ ไทยในปัจจุบันผู้ที่ประสงค์จะเดินทางต้องเข้าสู่กระบวนการที่ดำเนินการโดย ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้ประกอบกิจการฮัจย์ที่จดทะเบียนกับสำนักเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย หรือ กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เท่านั้น
 
                   ขณะที่ยังไม่มี หน่วยงานหรือองค์กรอิสระ ที่จะเข้ามาดูแล ทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง ผลประโยชน์ หรือคุ้มครองผู้บริโภค เข้าตรวจสอบ ดูแล แต่อย่างใด ระเบียบ กฎกระทรวง พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีวัตถุประสงค์ในการอนุเคราะห์ ส่งเสริมการไปประกอบพิธีฮัจย์ ใหผู้แสวงบุญได้รับการส่งเสริม อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ในหลักการศาสนา ความสะดวก สบาย มีหลักประกันในการเดินทาง และปกป้องการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ซึ่งเป็นเหตุผลในการตรา พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.2524 และพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2532 ยังไม่อาจคุ้มครอง หรือดำเนินการตามเจตนารมณ์ได้อย่างจริงจัง เนื่องจาก ผู้แสวงหาประโยชน์บางรายใช้เล่ห์เหลี่ยม อ้างและใช้อิทธิพลทางการเมืองและสถานการณ์ ความสงบเรียบร้อยด้วยการหลีกเลี่ยง อาศัยช่องโหว่ของ ระเบียบ กฎกระทรวง และกฎหมาย มาตลอด จนทำให้ประเทศไทยได้รับการตำหนิการบริหารจัดการกิจการฮัจย์ จากกระทรวงฮัจย์และวากัฟ , หน่วยงานมุอัซซาซะฮฺหรือองค์การบริการกิจการฮัจย์กลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้, หน่วยงาน United Agents Office อย่างสม่ำเสมอทุกปี จนกลายเป็นปัญหาจำเจซ้ำซาก ตลอดมา
 
                   เกิดกระแสเรียกร้องในหม่มุสลิมให้มีการพิจารณา นำรูปแบบการบริหารกิจการฮัจย์ จากต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยเฉพาะองค์การ Tabung Haji   ประเทศมาเลเซีย เริ่มต้นจาก เจ้าหน้าที่กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นำเสนอผุ้บังคับบัญชาและขออนุมัติเดินทางศึกษาดูงาน Tabung Haji   ประเทศมาเลเซีย
 
                   ในด้านการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร กลุ่มวะฮฺดะฮ นำโดยฯพณฯ วันมูหะหมัดนอร์ มะทาในฐานะเคยเป็นอมีรรุลฮัจย์ , นายเด่น โต๊ะมีนา นำคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,สมาชิกวุฒิสภา,นักวิชาการนักกฎหมาย ฯลฯ ไปศึกษาดูงานกิจการศาสนาอิสลาม ประเทศมาเลเซีย ,อินโดเนเซีย สิงค์โปร ฟิลิปปินส์และศรีลังกา ฯลฯ โดยเฉพาะการบริหารกิจการฮัจย์ และได้ดูงานที่สำนักงานใหญ่ Tabung Haji ที่ประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ.2544 จึงได้ร่วมพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ....แก้ไขเพิ่มเติมหลักการบางประการ เนื่องจาก พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.2524 และพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2532 มีบทบัญญัติที่ยังไม่อื้ออำนวยประโยชน์เพียงพอต่อการอำนวยความสะดวก และดูแลการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม และยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่จะประสานให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีการออมทรัพย์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนั้น จึงสมควรจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมกิจการฮัจย์และให้มีกองทุนหมุนเวียน ในสำนักส่งเสริมกิจการฮัจย์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการฮัจย์”
 
                        การดำเนินการ ได้มีการจัดสัมมนา ฯ ในนามคณะอนุกรรมการติดตามและประสานงานกิจการศาสนาอิสลาม ฝ่ายกิจการฮัจย์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อรับฟังความเห็น ณ ทำเนียบรัฐบาล และนำร่างฯเสนอผ่านการพิจารณาและเห็นชอบ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 2 ครั้ง ครั้งที่หนึ่ง ร่างที่สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เรื่องเสร็จที่ 427/2544 เพื่อนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี และก่อนนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา สำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรี ได้นำเรื่องเสนอขอความเห็น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่า สำนักจุฬาราชมนตรี ได้แสดงความเห็นคัดค้านบางมาตรา จึงชะลอการนำเสนอ ครม.และส่งมาให้พิจารณาใหม่ และมีการนำร่างดังกล่าวมาพิจารณาแก้ไขบางประการ และผ่านการพิจารณาจากสำนักคณะกรรมการกฤษฏีกาตรวจพิจารณาครั้งที่ 2 เรื่องเสร็จที่ 636/2545 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.....ส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฏร (วิป) ซึ่งผู้เขียนเป็นหนึ่งในวิป ได้พยายามเร่งรัดให้นำสู่พิจารณาในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฏรต่อไปนั้น ปรากฏว่าได้มีความพยายามต่อต้าน ถ่วง ด้วยเหตุผลต่างๆนานา เช่น ..”เป็นกฎหมายที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน”..”เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในเฉพาะกลุ่มชน”..ชนกลุ่มน้อย”.”เป็นกฎหมายที่ต้องใช้งบประมาณ,ต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่”ยุ่งยาก”.. ..”เป็นกฎหมายที่จะสร้างความแตกแยก”..สร้างความขัดแย้ง”...”เพราะผู้นำศาสนาอิสลามไม่พึงพอใจนัก”...”ไม่อยากเปิดแนวรบเนื่องจากใกล้เลือกตั้ง กลัวเสียมวลชน”......... จนรัฐบาลหมดวาระ
 
                   การนำเสนอ บทความเรื่อง “Tabung Haji” ด้วยจุดประสงค์อันบริสุทธิ์ เพื่อผู้ที่ได้รับโอกาส หรือมีบทบาทสำคัญในยุคปัจจบัน ในฐานะการเป็นตัวแทนในการพิพักษ์ผลประโยชน์อุมมะฮฺ หรือในฐานะเจ้าหน้าที่ นำไปพิจารณาดำเนินการเพื่อผลทางจิตวิทยาสังคม ในการลดเงื่อนไข สู่การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไป
 
 
          บทนำ
 
                   คณะกรรมการกองทุนกิจการฮัจย์ (Lembaga Tabung Haji) ก่อตั้งขึ้นด้วยความตระหนักและมีความมุ่งมั่นในการที่จะสถาปนาอีกสถาบันเศรษฐกิจ การเงินการคลัง ที่มีฐานระบบธุรกิจ การเงินอิสลาม ขึ้นมาอีกสถาบันหนึ่งพร้อมๆกับการแสวงหาโอกาสในการลงทุน การบริการในการลงทุนพร้อมๆกับการดูแลการบริหารการเงิน ประชาชนระดับรากหญ้า พร้อมกับการให้บริการกระบวนการกิจการฮัจย์แก่ชุมชนในประเทศมาเลเซีย
 
                   นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ตาบุงฮัจยี” ได้แสดงบทบาทอันยิ่งใหญ่ในสังคม คือการบริหารจัดการในกระบวนการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะฮิ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ตลอดจนการอำนวยความสะดวก การส่งเสริม ดูแล จัดการ ประสานงาน ตลอดจนการแนะนำ ดูแลทุกประการ แก่ฮุจญาดผู้เป็นแขกของอัลลอฮฺ ในการประกอบพิธีฮัจย์ เพื่อให้เกิดความสะดวก สบาย และบรรลุฮัจย์มับรูร และขณะเดียวกัน ตาบุงฮัจยี ได้บริหารจัดการในฐานะ องค์กร สถาบันการเงินที่ดำเนินการลงทุนเพื่อแสวงหาโอกาสและกำไรแก่ผู้สะสมเงินฝากกับสถาบัน นำสู่ การลงทุนที่อยู่ภายใต้กรอบหลักการศาสนาอิสลาม เงินฝากสะสมของผู้ฝากจะถูกนำเลือกการลงทุนในกิจการต่างๆหลากหลาย ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดตามหลักการ “ชารีอะฮฺ” ทั้งนี้เพื่อธำรงความบริสุทธิ ยึดหลักการอิสลามที่ไม่เจือป่นกับเงินดอกเบี้ย หรือ “ริบา”และเป็นเงินที่ไม่เจือปนกับการค้าที่ “ฮาราม”ซึ่งไม่เป็นที่อนุมัติตามหลัการอิสลาม
 
                   นโยบายสำคัญของการบริการ ตาบุงฮัจยี” คือการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการที่จะนำเงินของผู้ฝากสะสมเพื่อใช้ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ นำไปลงทุน ตามกรอบ แนวทาง หลักการชารีอะฮฺ ด้วยการดูแล กำกับและควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้ฝากมีความมั่นใจ สบายใจต่อการนำเงินไปลงทุนทุกชนิดโดยปราศจากความเคลือบแคลง สบายใจ
 
                   ท่ามกลางกระแสความผันผวนทางเศรษฐกิจ ตาบุงฮัจยี” ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการบริการฮัจย์ และสามารถยืนหยัดอยู่ในฐานะสถาบันการเงินการคลังอิสลามระดับโลกอีกสถาบันหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ
 
                   พิจารณาจากตัวเลข ในปี 2506 นับเป็นปีเริ่มต้นในการจัดตั้ง ตาบุงฮัจยี “ มีตัวเลขของผู้ฝาก จำนวน 1,281 ราย มียอดเงิน 46,600 ริงกิต (ประมาณ 512,600 บาท) สิ้นปี 2540 หลังจากเปิดดำเนินการ 14 ปี มีตัวเลขผู้ฝากเงินสะสม จำนวน 3,205,885 ราย จำนวนเงินฝากรวม 5.7 พันล้านริงกิต(ประมาณ 62,700 ล้านบาท ) เฉพาะปี 2540 มียอดผู้ฝาก 1.2 พันล้านริงกิต (ประมาณ 13,200 บาท)
 
                   ตาบุงฮัจยี “ จึงมีความมุ้งมั่นในการขยายจำนวนผู้ฝาก ซึ่งในจำนวนนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ฝากเงินสะสมเพื่อการเก็บออม ไว้ใช้ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ เพียงอย่างเดียว และตาบุงฮัจยี “ ได้ขยายขอบเขตการบริการ ปรับปรุง เสริมแผนงานที่ดึงดูดการฝากเงิน เพื่อการลงทุนที่จะนำผลตอบแทนจากกำไรมากกว่าสถาบันการเงินอื่น ด้วยการผลักดันทำงานอย่างจริงจัง ของทีมงานที่อุทิศตน เจ้าหน้าที่ที่มีความตื่นตัวอินซาอัลลอฮฺ ตาบุงฮัจยี “ มีความมั่นใจที่จะก้าวสู่ความสำเร็จในภารกิจ การปฏิบัติงานที่จะนำสู่ความสำเร็จตามที่คาดหวัง
 
          ประวัติความเป็นมา ของ คณะกรรมการกองทุนกิจการฮัจย์”
 
                        คณะกรรมการกองทุนกิจการฮัจย์ (Lembaga Tabung Haji) เป็นองค์กรกึ่งราชการ ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐสภา ปี พ.ศ. 2512 (The Parliament Act 1969) โดยกำหนดให้มีการควบรวมกิจการ 2 หน่วยงาน คือ วิสาหกิจการเงินฝากสะสมเพื่อกิจการฮัจย์มาลายันมุสลิม (The Malayan Muslim Pilgrim Saving Corporation) กับ สำนักงานควบคุมกิจการฮัจย์ (The Pilgrims Control Office) เป็นหน่วยเดียว
 
                   โครงการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนกิจการฮัจย์ ถูกนำเสนอโดย ราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ อังกู อาซิส (Royal Professor Ungku Aziz) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้แสวงบุญ เป็นการบรรเทาปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นหลังจากเดินทางกลับมาตุภูมิภายหลังพิธีฮัจย์ ด้วยวิธิการจัด โปรแกรมฝากสะสมเงินเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และขณะที่จำนวนเงินยังไม่ครบจำนวน หรือก่อนถึงกำหนดเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ หรือฝากเงินเพื่อการลงทุน “ตาบุงฮัจยี”จะนำเงินดังกล่าวไปลงทุนเพื่อหาผลกำไรตอบแทน ภายใต้กรอบหลักการชารีอะฮฺ
 
                   นับเป็นการแก้ปัญหาซึ่งก่อนหน้านั้น ผู้แสวงบุญเมื่อจากการเดินทางไปแสวงบุญแล้ว ส่วนใหญ่กลับมา จะประสบปัญหาความง่อนแง่นทางเศรษฐกิจ เพราะก่อนเดินทางการสะสมเงินไม่เป็นระบบ ผู้แสวงบุญมักจะจำนอง จำนำ ขายบ้าน ที่ดิน หรือปศุสัตว์ ทอง ฯลฯ เมื่อกลับมาตุภูมิก็จะประสบปัญหาในการจัดการเรื่องดั่งกล่าว
 
                   ได้มีการศึกษา วิจัย สังเกตการณ์นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2493 เป็นต้นมา พบว่า สังคมมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ยังไม่มีระบบ หรือมาตรฐานในการบริหารการเงิน หรือการจัดเก็บสะสมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และพบว่าบางส่วนมีความเกรงว่าเงินเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ต้องบริสุทธิปราศจากการพัวพันกับเงินฮาราม จะต้องไม่แปดเปื้อนกับเงินไม่บริสุทธิ์ หรือดอกเบี้ย หรือสิ่งต้องห้ามตามหลักการชารีอะฮฺ จึงยังมีวิธีเก็บเงิน หรือสะสมเงินตามแบบประเพณีโบราณ มีการเก็บสะสมไว้ใต้หมอน ใต้เตียงนอน หรือบางคนอาจเก็บใส่ปีบ ใส่ตุ่มนำไปฝังใต้ดิน เป็นต้น และบ้างส่วนยังมีทัศนะถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์การขายที่ดิน หรือทรัพย์สิน ที่เป็นผล หรืออุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชาติ
 
                   จากสภาพดังกล่าว ปี พ.ศ.2502 ท่าน Royal Professor Ungku Aziz ได้นำรายงานเอกสารศีกษาเรื่อง “แผนพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจผู้แสวงบุญ (A Plan To Improve The Economic Position Of Potential Pilgrims ) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล ด้วยการจัดตั้งสถาบันการเงินปลอดดอกเบี้ย ที่มุ่งแสวงหากำไรภายใต้หลักการพื้นฐานอิสลาม และได้รับการตอบรับจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยดี และขณะเดียวกันได้รับการสนับสนุนจากมุฟตีใหญ่แห่งอิยิปซ์ท่าน Sheikh Muhammad Al –Shaltout ขณะเดินทางเยือนประเทศมาเลเซีย
 
                   ต่อมา เมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ 2505 บริษัทรับฝากเงินสะสมเพื่อกิจการฮัจย์มาลายันมุสลิม ได้รับการยกฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ประกาศในกิจจานุเบกษา ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชื่อวิสาหกิจการเงินฝากสะสมเพื่อกิจการฮัจย์มาลายันมุสลิม (The Malayan Muslim Pilgrim Saving Corporation) และ 6 ปีต่อมาได้มีการควบรวมกิจการกับ กับ สำนักงานควบคุมกิจการฮัจย์ (The Pilgrims Control Office) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ปีนัง นับตั้งแต่ ปี 2494 เป็นต้นมาเป็นหน่วยเดียว ภายใต้ชื่อ สำนักงานบริหารและกองทุนกิจการฮัจย์ (Lembaga Urusan dan Tabung Haji)
 
                   ในปี พ.ศ.  2538 มีการศึกษาเพื่อพิจารณา ปรับปรุง ขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ การดำเนินงานของ “ตาบุงฮัจยี”  ’ด้วยการเสนอสภาเป็น พระราชบัญญัติตาบุงฮัจยี พ.ศ. 2538 (Tabung Haji Act 1995) และนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ทำให้ “ตาบุงฮัจยี”  ได้ขยายกิจการการปฏิบัติงานได้อย่างกว้างขวาง เจริญเติบโต มีเครือข่าย ครอบคลุมทั่วโลก
 
สำนักงานใหญ“ตาบุงฮัจยี” ตั้งอยู่เลขที่ 201 Jalan Tun Razak, Peti Surat 11025 ,50732 Kuala Lumpur  Malaysia : Tel 03-261-2233,03-261-4255 Fax 03-261-4450,03-261-6484,03-263-2308
 
 
          สัญลักษณ์ เครื่องหมาย โลโก้
 
                   ด้วยการพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง จนเป็นที่ยอมรับทั่วไประดับสากล ทำให้ ตาบุงฮัจยี” สามารถให้การบริการครอบคลุมทั่วโลกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยอำนาจการดำเนินงานภายใต้กรอบพระราชบัญญัติตาบุงฮัจยี พ.ศ. 2538 (Tabung Haji Act 1995) เปิดโอกาสให้คณะกรรมการ สามารถดำเนินการให้การบริการแก่ลูกค้าอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก และได้มีการประกาศเครื่องหมาย สัญลักษณ์ โลโก้ใหม่ที่มีเอกลักษณ์ รูปแบบโดดเด่น เฉพาะตัว เมื่อ 28 สิงหาคม 2540
 
                              
 
                   โลโก้ใหม่ของ ตาบุงฮัจยี”  แสดงให้เห็นถึง ความกระตือรื้อร้น และการนำสู่ความสำเร็จ ตามยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ ตลอดจนพันธกิจ งคณะกรรมการ “ตาบุงฮัจยี”  มีความมุ่งมั่น พร้อมๆกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เกี่ยวกับกิจการฮัจย์ทั้งกระบวนการเบ็ดเสร็จ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการลงทุนที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับเท็คโนโลยี สมัยใหม่
 
                   ความหมาย อักษร ตา และยีม ในภาษาอาหรับเป็นศัพท์เฉพาะของ ตาบุงฮัจยี” เป็นคำ เป็นสัญลักษณ์เฉพาะของ ตาบุงฮัจยี”
 
                   กรอบสี่เหลี่ยมดำ หมายถึงกะบะฮฺ ซึ่งเป็นกิบลัต กำหนดทิศซึ่งมุสลิมทั่วโลกผินหน้าในการละหมาด
                   สีดำ หมายถึงสีของผ้าคลุม กะบะฮฺ หรือเรียกว่าสี กิสวะฮฺ
                   สีขาว สัญลักษณ์บริสุทธิ์ สะอาด ในอิสลาม และเป็นหลักการพื้นฐานในการทำงานของ ตาบุงฮัจยี”  
                   สีเขียว สีขององค์กร
 
                    ตาบุงฮัจยี”   มีความมุ่งมั่นในการเผยแพร่ ข่าวสาร กระตุ้นมุสลิมในประเทศมาเลเซีย เพื่อได้ตั้งเจตนาความตั้งใจ เพื่อจะเดินทางไปเป็นแขกของอัลลฮฺ เยี่ยมเยือนกะบะฮฺ ด้วยเจตนาเพื่อประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะฮฺ
 
          ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์การดำเนินงาน
 
                   ตาบุงฮัจยี”   ในฐานะองค์กรอิสลามที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน มี ยุทธศาสตร์ และวิสัยทัศน์มองการไกล ตลอดจนการพัฒนาการบริการให้มีความก้าวหน้า มุ่งมั่นที่จะให้เป็นเลิศ เพื่อการบริการฮัจย์ และอุมเราะฮฺ  ด้วยการผลักดัน ปรับปรุง พัฒนา การบริหารจัดการ และการดำเนินการเพี่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ แก่ อุมมะฮฺ
                       
                   คณะกรรมการ ได้กำหนดยุทธศาตร์ วิสัยทัศน์ในการดำเนินการดังนี้
                   1.ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยบริการอย่างมืออาชีพแก่ลูกค้า
                   2.ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุนการทำงานเป็นทีม มอบหมายการงาน และหน้าที่ด้วยความเชื่อมั่นในผลการทำงาน มุ่งการปฏิบัติงานที่ดี และเคารพในคุณค่าของทีมงาน
                   3.ระดม และดึงศักยภาพต่างๆที่มีสู่การนำไปสู่ลงทุน และการคืนกำไรสูงสุด และสนับสนุนการแข่งขันการขยายตัวในการลงทุน
                   4.พัฒนาความทันสมัย นำเทคโนโลยี่ นวัตกรรมใหม่ ตลอดจนการปรับปรุง เครื่อง เครื่องใช้ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อเป็นหลักประกันในการบริการที่มีคุณภาพ
 
          พันธกิจ และนโยบาย
 
                   ตาบุงฮัจยี”ได้กำหนดพันธกิจและ นโยบายการดำเนินการภายใต้ความกรุณาของ อัลลอฮฺ ดังนี้
                   1.เป็นฐานที่มั่นที่เข้มแข็ง เพื่อรับใช้ ด้วยการบริการแก่ผู้แสวงบุญ เพื่อให้บรรลุ “ฮัจย์มับรูร” ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
                   2.ประสานงานเที่ยวบินฮัจย์ ให้สอดคล้อง ตรงตารางบิน มีความปลอดภัย เชื่อถือได้
                   3.จัดที่พัก ที่อยู่อาศัย ที่สะดวก สะอาด แก่ผู้แสวงบุญ
                   4.จัดการ ดูแลบัญชีเงินฝากสะสมเพื่อกิจการฮัจย์ อย่างมืออาชีพ พร้อมๆกับการเข้มงวดในการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นโดยปราศจากความเคลือบแคลง
                   5.นำเงินสู่การลงทุนทางเศรษฐกิจ ภายในกรอบหลักการอิสลาม เพื่อนำสู่การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และคืนกำไรสูงสุด
                   6.ให้การบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อถือและไว้วางใจได้ มีความเป็นกันเองฉันญาติพี่น้อง
                   7.ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน เที่ยงตรง ทันสมัย ตรวจสอบได้
 
          การแบ่งส่วน แผนก หน้าที่ ความรับผิดชอบ
 
                   ตาบุงฮัจยี” ยืนหยัดอย่างมั่นคงด้วยการสนับสนุนการทำงานจาก 5 แผนกงาน ซึ่งแต่ละแผนกงาน มีอำนาจ หน้าที่ ให้การสนับสนุน และเป็นฟั่นเฟือง ของคณะกรรมการตาบุงฮัจยี ในการปฎิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด ในการบริการแก่ลูกค้า และการปฏิบัติงานของทีมงาน
 
                   1.แผนกการคลัง
 
                   เป็นส่วนสำคัญ มีหน้าที่ในการกำหนดแผนงาน และการจัดสรรงบประมาณของ ตาบุงฮัจยี” รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การคลัง เป็นหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของ องค์กร เป็นหน่วยที่มีบทบาทสำคัญ ในการดำเนินการลงทุนที่ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด จากการลงทุนในระยะสั้น เช่นการลงทุนก่อสร้าง อาคารบ้านเช่า แผนกการคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการภายใต้กรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการของ คณะกรรมการบริหาร ตาบุงฮัจยี               
 
                   2.แผนกเงินฝาก
 
                   ในการปฎิบัติงานสอดคล้องวิสัยทัศน์ (Wawasan) ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี แผนกเงินฝากได้ดำเนินงานอย่างรุดหน้า บรรลุเป้าหมาย ภายในปี 2000 ประชากรมุสลิมในประเทศมาเลเซียจำนวนครึ่งหนึ่งของประเทศนำเงินฝากกับตาบุงฮัจย์ มาเลเซีย อย่างน้อยคนละ 1,000 ริงกิต(ประมาณ 11,000 บาท) ฝากสะสมเงินเพื่อ กิจการฮัจย์ การลงทุน หรือเพี่อการอื่น ตามมาตรา 16 (2) พระราชบัญญัติ ตาบุงฮัจยี พ.ศ.2538
 
                   แผนกเงินฝากมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับฝาก การถอนเงิน ซึ่งผู้ฝากสามารถฝาก หรือถอนเงินได้ทุกๆสาขา สาขาประจำรัฐ สาขาประจำอำเภอ สำนักงานใหญ่ ตลอดจนเอเยนซ์ ไปรษณีย์ เป็นต้น ด้วยหน้าที่ของแผนก ในการรวบรวมเงินทุน จึงมีภารกิจสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ การตลาด การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์เชิญชวน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฝากมีความมั่นใจในการดำเนินธุรกรรมการเงินที่มีความมั่นคง ก้าวหน้า
 
                   3.แผนกฮัจย์
 
                   แผนกฮัจย์ นับว่าเป็นแผนกที่มีความสำคัญ เป็นหัวใจในการดำเนินการ ความรับผิดชอบในการบริการต้องโดยปราศจากความผิดพลาด บกพร่อง การบริการที่เน้นคุณภาพในทุกๆด้าน รวมถึงการบริการที่มีความมั่นคง ปลอดภัย การจัดการดูแลสวัสดิการ การป้องกัน ดูแลรักษาสุขภาพผู้แสวงบุญ และการบริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การจัดการเกี่ยวกับผู้แสวงบุญ
 
                   ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ของแผนกมีการตรวจสอบ กำกับ ดูแล แก้ไข ป้องกันความบกพร่อง ในทุกขั้นตอน การปฎิบัติตามแผน ปฎิทินการปฏิบัติงาน ของกระบวนการกิจการฮัจย์ รวมถึง การดูแลความปลอดภัย ความสะดวก สบายในการเดินทาง การบริการทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ การจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ในระดับต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพิธีฮัจย์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการประกอบพิธีได้อย่างสมบูรณ์
 
                   แผนกฮัจย์มิได้มีขอบเขตการให้บริการแค่ภายในประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังต้องบริการในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยและครอบคลุมการให้บริการในการติดต่อประสานงาน การลงทะเบียน การจัดทำ พาสต์ฟอร์ต วีซ่า การจัดการ การประสานงานกับสถาบันการเงิน การกำกับเข้มงวดกับผู้ประกอบการกิจการฮัจย์ภาคเอกชน (Package Haj Travel) การกำกับดูแลเกี่ยวกับจำนวนโควตาผู้แสวงบุญ การประสานงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโปรแกรมฮัจย์ การกำหนดการเยือนสถานที่สำคัญทางศาสนาอิสลาม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
                   4.แผนกทรัพยากรบุคคล
 
                   การนำนโยบายสู่การปฏิบัติจริง การบังคับให้การดำเนินการเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และนโยบายของคณะกรรมการตาบุงฮัจย์   และแนวทางกรอบแห่งศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นภารกิจหลักของแผนกนี้ กล่าวโดยสรุปว่า อำนาจหน้าที่ของแผนก เสมือนหัวใจสำคัญในการกำหนดทิศทางในการพัฒนา โครงข่ายการดำเนินงานของ ตาบุงฮัจยี” การพัฒนาวิสัยทัศน์ ทัศนคติในการทำงาน ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้มีศักยภาพ ทุ่มเทในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องผ่านการอบรม หล่อหลอมจิตใจในการทำงาน ซึ่งแผนกนี้จะทำหน้าที่ในการนำเทคโนโลยี เทคนิค นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสนับสนุนการทำงานในแผนกต่างๆ ของตาบุงฮัจยี”
 
                        การจัดหาบุคลากรเข้าปฎิบัติหน้าที่ ที่สอดคล้องกับความจำเป็นในงานอย่างเพียงพอ และรับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร ความคืบหน้าของ ตาบุงฮัจยี” แก่สาธารณชน ตลอดจนการมีหน้าที่ในการรับส่งหนังสือ
 
                   แผนกทรัพยากรบุคคลเป็นแผนกที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพ การปรับปรุง นโยบายต่างๆ เพื่อเป็นหลักประกัน คุณภาพ และมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
 
                   5.แผนกการลงทุน
 
                   มีหน้าที่รับผิดชอบในการหาแหล่งการลงทุน เพื่อการลงทุนในทุกๆด้าน การลงทุนด้านเศรษฐกิจ ที่อยู่ในกรอบกฎหมายซารีอะฮฺ แต่มี่เป้าหมายการลงทุนเพื่อหวังผลกำไรตอบแทนสูงสุด
 
                   ยุทธศาสตร์ที่ดึงดูดการลงทุน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในกิจการที่นำเงินไปลงทุน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ การลงทุนที่เสริมสร้างความแข็งแกร่ง และขยายผลกำไร ความมุ่งมั่นที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มเงินกองทุนอุมมะฮฺ มากขึ้น การขยายตัวของผลผลิต การบริการ ซึ่งจะมีผลกำไรตอบแทนอย่างสูงสุด
 
                   การเอาใจใส่อย่างจริงจัง ในการผลักดันให้บริษัทที่ลงทุน มีศักยภาพ สู่ความสำเร็จ ด้วยการผลักดันจากทีมงานที่มีประสิทธิภาพ แผนกการลงทุนจะจัดข้อมูล การติดตามพิสูจน์ จำแนก ประเภทโรงงานที่มีศักยภาพสูงสุดในการผลิต การขยายผลผลิต ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกัน ความสำเร็จในการนำเงินของลูกค้าไปสู่การลงทุน
 
          การบริหารจัดการการลงทุน
 
                   การลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัย ตาบุงฮัจยี”  เน้นการลงทุนในกิจการที่มีผลกำไรตอบแทนในระยะสั้นๆ การลงทุนในการซื้อที่ดินพร้อมๆกับโครงการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัย
 
                   วัตถุประสงค์หลักในการนำเงินไปลงทุนื เป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ แก่ประชาคมมุสลิม ตาบุงฮัจยี”   จะ แสวงหาเข้ามีส่วนร่วมในการลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพ มีความมั่นคงในการลงทุน เช่นการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรม โครงการเคหะที่อยู่อาศัย และการซื้อที่ดิน เป็นต้น
 
                   การดำเนินการนำเงินไปลงทุน ได้รับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการลงทุน (Investment Advisory council) ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน ตาบุงฮัจยี”   ได้ลงทุนในโครงการต่างๆที่หลากหลาย และคำนึงต้องเป็นการลงทุนที่อยู่ในกรอบกฎหมายซารีอะฮฺ ตามหลักการศาสนาอิสลาม เป็นกิจการที่มีความเจริญเติบโต มีศักยภาพ มั่นคง และจะมีผลกำไร คืนผู้ฝาก ซึ่งการลงทุนที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2540 เป็นต้นมามีมูลค่าในการลงทุนร่วม 5,712,216 ริงกิต (ประมาณ 62,856,376 ล้านบาท)
 
                   โครงการการลงทุนต่างๆที่หลากหลาย ซึ่ง ตาบุงฮัจยี”   ได้เข้าร่วมลงทุน ทั้งโครงการระยะยาว และโครงการระยะสั้น การซื้อขายหุ้น สิ้นเชื้อ พันธบัตรรัฐบาล การลงทุนร่วมกับบริษัทในเครือ ตลาดการเงิน การลงทุนในภาครัฐ การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนด้านการค้า เป็นต้น
 
                   การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ เคหะที่อยู่อาศัย ตาบุงฮัจยี”   เน้นการลงทุนโครงการระยะสั้น ที่มีผลตอบแทนกำไรสูงสุด ยิ่งกว่านั้น คณะกรรมการฯ มีนโยบายในการลงทุนในโครงการครอบครองที่ดิน เพื่อรองรับโครงการลงทุนก่อสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัย ของ “ตาบุงฮัจยี”  
 
                   การพัฒนาโครงการการลงทุนของ ตาบุงฮัจยี”    จะมี คณะกรรมการพิเศษ คณะหนึ่งทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแลรับผิดชอบด้วยการติดตาม ประเมินผล วิเคราะห์ จำแนกรายละเอียด การลงทุน การวิเคราะห์โครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการต่าง ทั้งโครงการระยะ ยาว ระยะสั้น การพิจารณาทุกโครงการต่างๆมิใช่แค่พิจารณาว่าเป็นโครงการที่ ฮาลาล เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการลงทุนที่มีผลกำไรตอบแทนสูงสุดอีกด้วย
 
                   การวางแผน และการบริหารจัดการในการลงทุน ตาบุงฮัจยี”   มีความสำนึกในการดำเนินงานอย่างพินิจพิเคราะห์ เพื่อเป็นหลักประกัน ความมั่นใจในบริษัท แหล่งที่ลงทุน จะต้องไม่ละเมิดหลักการ “ชารีอะฮฺ” หรือธุรกรรมทุกชนิดที่บริษัทดำเนินการ และนำสู้การลงทุน จะต้องผ่านการพิสูจน์ ติดตาม ตรวจสอบ เพื่อความมั่นใจว่า “ ทุกกิจกรรมต้องฮาลาล และมีผลกำไร
 
                        ตาบุงฮัจยี”   จะลงทุนในกิจการที่หลากหลาย และการลงทุนสนับสนุน นวัตกรรมใหม่ๆในวงการมุสลิม เช่น Al-Musyarakah ,Al-bai Bithaman Ajil ,Al-Mudharabah , Al-Qurdhul Hasan ทังในตลาดการเงิน ,พันธบัตรรัฐบาล, สินเชื่อ ซึ่งมีผลกำไรตอบแทน
 
                   ในฐานะที่เป็นสถาบันการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดสถาบันหนึ่งในประเทศมาเลเซีย และเป็นสถาบันการเงินการลงทุนที่ดีที่สุดในวงการการลงทุนของโลกมุสลิม ตาบุงฮัจยี”   ยังคงยืนหยัดในความพยายาม ก้าวไปข้างหน้าเพื่อนำสู่ผลสำเร็จในภาคส่วนเศรษฐกิจ อิสลาม เพื่อสนับสนุน ค้ำจุน อุมมะฮฺ และมีผลต่อความแข็งแกร่งในยุทธศาสตร์การลงทุนของประเทศ มาเลเซีย ตลอดจนสังคมมุสลิมทั่วโลก ....... อินซาอัลลอฮฺ
 
          การบริหารจัดการฮัจย์
 
                   การบริหารจัดการเกี่ยวกับกระบวนการฮัจย์ ไม่เป็นงานที่เรียบ ง่ายสะดวกนัก แต่เป็นงานที่จะต้องอาศัย การมอบหมาย ติดตาม กำกับ ดูแลที่ต้องมีความเข้มงวด ต้องใช่ความพยายาม อดทน ทำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบ แบบแผน ความรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน ยุทธศาสตร์ และพันธกิจขององค์กร
 
                   การบริหารจัดการ การประสานงานกิจการฮัจย์ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ที่วางไว้ล่วงหน้า ก่อนที่ผู้แสวงบุญจะจรดเท้าลงบนแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์
 
                   ตาบุงฮัจยี”   โดยแผนกฮัจย์ ซึ่งได้กำหนดยุทธศษสตร์การปฏิบัติงานตามแผนและจะลงมือทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มจากหน่วยงานในดินแดนมาตุภูมิ ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่ต้องประสานในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างที่อยู่อาศัยในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และดำเนินการต่างรวมทั้งการนำกลับมามาสู่มาตุภูมิอีกครั้ง
 
                   การดำเนินการเหล่านี้ จะต้องมีการตรวจสอบ ความสมบูรณ์ อย่างพิถีพิถัน รอบคอบ ซ้ำแล้วซ้ำอีก มีการกำกับ ประเมิน ติดตาม ตรวจสอบจนกว่าถึงเทศกาลฮัจย์เป็นการล่วงหน้าตลอดทั้งปีซี่ง ตาบุงฮัจยี”  จะทำหน้าที่ในการเตรียมการล่วงหน้า นับตั้งแต่เริ่มชี้แจง ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้องและจำเป็น แก่ผู้จะเดินทางไปแสวงบุญเพื่อเป็นการเตรียมตัว การแนะนำเกี่ยวกับการทำฮัจย์ การเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการเดินทาง การเตรียมสุขภาพ ร่างกาย การเตรียมยาสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว การเตรียมการทำหนังสือเดินทาง การทำวีซ่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในพิธีฮัจย์และอื่นๆ เป็นต้น
 
                   ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ จะต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำฮัจย์ ซึ่ง ตาบุงฮัจยี”    จะจัดการฝึกอบรมโดยการประสานงานกับน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นคณะกรรมการอิสลามประจำรัฐ การฝึกอบรมเพื่อให้ผู้แสวงบุญได้มีความรู้ มีความมั่นใจในการไปประกอบพิธีฮัจย์ได้อย่างสมบูรณ์
 
                   หลักสูตรการฝึกอบรม มีความหลากหลาย หลายระดับ มีหลักสูตรเข้ม หลักสูตรเบื้องต้น ตลอดจนการฝึกอบรมผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ โสตทัศนูปกรณ์ เทป วีซีดี ดีวีดี บทความเผยแพร่ การจัดเอกสาร คู่มือตลอดจนโปสเตอร์ ฯลน เป็นต้น
 
                   ตาบุงฮัจยี”   จะเตรียมเอกสาร คู่มือ เกี่ยวกับพิธีฮัจย์ กิจกรรม พิธีกรรม บทดุอา ข้อมูลต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำ ระเบียบปฏิบัติประจำวัน ทั้งหมดเหล่านี้จะถูกนำมามอบแก่ผู้แสวงบุญและเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และเพื่อให้เกิดความพร้อมในการเดินทาง ตาบุงฮัจยี”    ได้จัดอาคารคอมแพล็กของ “ตาบุงฮัจยี”  เพื่อให้ผู้แสวงบุญเข้ามาพักระหว่างการรอขึ้นเครื่อง บนพื้นที่จำ นวน 4 เอเคอร์ที่ มีเครื่องอำนวยความสะดวก ครบครัน ห้องพักปรับอากาศ มีห้องประชุมขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการฝึกอบรม บรรยาย ห้องสันทนาการพร้อมอุปกรณ์เครื่องเล่น มีมัสยิด ห้องอาหาร ฯลฯ ตั้งอยู่ที่ Section 5 A, Kelana Jaya , Petaling Jaya , Selangor ที่สำคัญที่สุดคือห่างจากสนามบินนานาชาติ Sultan Abdul Aziz Shah International Airport เพียงเล็กน้อย ผู้แสวงบุญจะได้รับความสะดวกไม่ต้องเข้าคิวรอการตรวจผ่านขั้นตอน พิธีการตรวจคนเข้าเมือง โดยจะมีการกระทำที่คอมแพล็กโดยผู้แสวงบุญจะเดินออกจากคอมแพ็ลก ด้วยรถยนต์ซึ่งจะจัดส่งตรงขึ้นเครื่องบิน โดยมีเจ้าหน้าที่จราจรมาอำนวยการเดินทาง เพื่อเป็นหลักประกันเรื่องของเวลา เมื่อสิ้นฤดูกาลฮัจย์ คอมแพ็ลก จะถูกนำใช้ในการบริการแก่สาธารณะทั่วไปใช้ในการจัดสัมมนา การฝึกอบรม ประชุมสัมมนาต่างๆ
 
                   ที่นครมักกะฮฺ เจ้าหน้าที่ ตาบุงฮัจยี”    จะมาคอยต้อนรับที่สนามบิน และคอยจัดอำนวยความสะดวก จัดรถบัสเข้าที่พัก การจัดเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม การดูแลเรื่องสุขภาพ จัดคลีนิคประจำทุกมักตับ มีโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด การจัดสวัสดิการต่างๆ ตลอดจนการจัดโต๊ะครู อุสตัร คอยให้คำแนะนำ สอนเกี่ยวกับพิธีฮัจย์ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกต่างๆที่เกี่ยวกับธุรการ การแจ้งเกิด แจ้งตาย ฯลฯ เป็นต้น
 
                   การบริหารจัดการเกี่ยวกับกิจการฮัจย์ ของ ตาบุงฮัจยี”    ได้รับการยอมรับทั่วไปในระดับสากล โดยเฉพาะกระทรวงกิจการฮัจย์และวากัฟ ของประเทศซาอุดิอาระเบียว่า “ตาบุงฮัจยี”    เป็นองค์กรหนึ่งที่มีผลการบริหารจัดการ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศต่างๆส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาศึกษาดูงาน การบริหารจัดการและระบบการอำนวยความสะดวกต่างเพื่อนำกลับไปปรับปรุงใช้ในประเทศตนต่อไป
 
                   การบริหารจัดการ ตาบุงฮัจยี”   ได้รับประกันคุณภาพ MS ISO 9002 เป็หลักประกันถึงความมีคุณภาพในการบริหาร ด้วย
 
          การบริการฝากเงินและการถอนเงิน
 
                   การอำนวยความสะดวกในการฝากและถอนเงิน ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของ ตาบุงฮัจยี”    ในการสนองตอบต่อผู้ฝากเงิน ทั้งผู้ฝากประเภทเพื่อการลงทุนระยะยาว และการถอนเงิน
 
                   อัลฮัมดุลลิลลาฮฺ ผลจากการอำนวยความสะดวก สร้างความประทับใจแก่ผู้ฝาก สามารถดูจากตัวเลข ผู้ฝากนับตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2540 มียอดเงินผู้ฝากรวม 5.7 พันล้านริงกิต จำนวนผู้ฝาก 254,881 ราย ปัจจุบันมียอดผู้ฝาก ถึง 3,205,885 ราย
 
                   เงินฝากทั้งหมดจะถูกนำไปสู่การลงทุนในธุรกิจ วิสาหกิจ ที่มีผลกำไรคืนสูงสุด และการลงทุนทุกประเภทต้องบริสุทธิภายใต้กรอบของศาสนาอิสลามและ ตาบุงฮัจยี”    จะนำผลกำไรกลับคืนสู่บัญชีผู้ฝากในรูป “โบนัส” เป็นตัวเลขสุทธิ ไม่ต้องเสียภาษีใดๆ และไม่ต้องนำไปเสีย “ซะกาด” อีกเพราะ “ตาบุงฮัจยี”    ได้ดำเนินการในนามผู้ฝากแทนแล้ว
 
                   เพื่อเป็นการส่งเสริมและจูงใจในการฝากสะสมเงิน และการถอนเงิน ตาบุงฮัจยี”    ได้จักเสนอในรูปแบบการขาย-การบริการในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการ EPF Investment Scheme ,โครงการ Malaysia School Incentive Scheme Fund ,โครงการ Fund For Monthly Bonus Plan ,โครงการ Pay-As-You Earn Schene เป็นต้น ทั้งการบริการหักจากเงินเดือนที่สังกัด
 
                   ในส่วนการอำนวยความสะดวกในการถอนเงิน เพื่อความสะดวกแก่ผู้ฝาก “ตาบุงฮัจยี” ได้ยกเลิก ระบบการถอนเงินได้หลังจากการฝากเงินเข้าบัญชี 6 เดือนจึงสามารถอนได้ มาเป็นระบบ”ถอนได้ทุกวัน” ยกเลิกระบบถอนเงินโดยจำกัดวงเงิน คือถอนได้ไม่เกิน 2,000 ริงกิต เป็น วงเงิน 10,000 ริงกิต และสามารถถอนได้ต่างสาขา ทุกสาขา รวมทั้งการถอนเงินที่เอเยนซ์ ไปรษณีย์ ,เคาน์เตอร์สำนักงานใหญ่ และที่มักกะฮฺ
 
                   รายงานการเงิน และงบดุล (Statement) บัญชีของผู้ฝากจะถูกแจ้งผู้ฝากทุกๆ 6 เดือน
 
                   แบบฟอร์ม คำร้อง สำหรับผู้มีความประสงค์ เข้าเป็นสมาชิก เข้าร่วมโครงการฝากเงิน กับตาบุงฮัจยี” มีความง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน มีเงื่อนไขเล็กน้อย  คือ
 
                            - ผู้ร่วมโครงการต้องเป็นพลเมืองชาวมาเลเซีย
                            - ไม่จำกัดวงเงินฝาก ผู้ใหญ่ไม่ต่ำกวา 10 ริงกิต เด็กไม่ตำกว่า 12 ริงกิต
                            - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                            - ยื่นคำร้องได้ที่ทุกสาขา
 
          บริษัทในเครือ ตาบุงฮัจยี”  
 
                   ผลการพัฒนาที่นำมาซึ่งความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว กิจการการลงทุนที่มีผลต่อการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง การลงทุนที่มีความหลากหลาย ในรูปแบบต่าง ทั้งกิจการที่ตาบุงฮัจยี”   ลงทุน ทั้งหมด 100 % หรือลงทุน หรือซื้อหุ้น หรือสนับสนุนทุน 51 %
 
                   กิจการการลงทุน ทั้งเคหะ อสังหริมทรัพย์ การขนส่ง เทคโนโลยี่ อตสาหกรรมเบื้องต้น คอมพิวเตอร์ การก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
 
                   ด้วยประสบการณ์ การเอาใจใส่อย่างพิถีพิถัน ในการลงทุนได้นำผลสำเร็จซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากผลการไร ผลการตอบแทนคืนกำไรอย่างมั่นคง สม่ำเสมอ และบริษัทในเครือของ ตาบุงฮัจยี”   
 
          -TH Plantations Sdn.Bhd.
          - TH Travel Industries Sdn.Bhd
          - TH Properties Sdn.Bhd
          - TH Global Servics Sdn.Bhd
          - TH Computer Recovery & Services Sdn.Bhd
          - TH Universal Builders Sdn.Bhd
          - TH Technologies Sdn.Bhd
          - Bonggaya Plantations Sdn.Bhd
          - Ladang TH Holding Sdn.Bhd
          - LadangTabung Haji (Sabah & Serawak) Sdn.Bhd
          - Bounticreast Co0rporation Sdn.Bhd
          - IMIM Holdings Sdn.Bhd
 
          ความมุ่งมั่น ของ ตาบุงฮัจยี”  
 
                   ด้วยความมั่นคงจากทรัพย์สิน และการทำงานอย่างทุ่มเทของทีมงาน และการสนับสนุนอย่างมั่นคงจากรัฐบาลมาเลเซีย ตาบุงฮัจยี”ยังคงมีความมุ่งมั่น ในการบริการให้ดีขึ้นทับทวี การค้นหา แสวงหาความหลากหลายในการลงทุนเพื่อหวังผลกำไรคืนแก่ผู้ฝาก ซึ่งต้องระมัดระวังมิใช่แค่หวังผลกำไรเท่านั้น แต่ต้องเป็นผลกำไรที่ปราศจากการเจือปน กิจการฮาราม แต่ต้องบริสุทธิ ฮาลาล ตามหลักการชารีอะฮฺ
 
                   การเพิ่มการครอบครอง ทรัพย์สิน มิใช่เฉพาะภายในประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมในประเทศ เพื่อนบ้านใกล้เคียง การขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก ที่จะมีผลต่อการจ้างงาน ค่าแรงงาน นับเป็นการขยายโอกาสแก่ชุมชน ทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชุมชนในภาคเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง
 
                   ตาบุงฮัจยี” ยังคงมุ่งมั่น เพื่อเพิ่มพูนผลตอบแทน ผลกำไร ให้สูงขึ้นแก่ผู้ฝากตามสัดส่วน เงินฝาก หรือหุ้นส่วน
 
                   บริการต่างๆในกิจการของธนาคารอิสลาม จะได้ขยายขอบเขตของการบริการนำผลกำไรสู่ผู้ฝาก ตาบุงฮัจยี” จะนำเข้ามีส่วนร่วมในการลงทุน ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การศึกษา การเงิน การคลัง เสมือนฐานะที่จะนำสู่การลงทุนที่มีผลกำไรในกิจการอื่นๆ ต่อไป 
 
                   การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริการเพื่อให้มีประสิทธิผล และมีคุณภาพสูงสุด เพื่อเพิ่มความพึงพอใจ ด้วยหลักการบริหาร การบริหารจัดการคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (Total Quality Management ตาบุงฮัจยี”  คาดหวังว่าทุกแผนก ทุกส่วนงานจะได้รับประกันคุณภาพ MS ISO 9000 ต่อไป
 
May The Blessing Of Allah Be With All The Deeds Of Lembega Tabung Haji
Monday, October 30, 2006