color:#333333">อภิวัจ สุปรีชาวุฒิพงศ์
color:#333333">ธนก บังผล
การพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยที่มี พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหัวหน้าคณะ กับกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่มี ฮาซัน ตอยิบ เป็นหัวหน้าคณะ ผ่านมาร่วม
color:#333333">4 เดือนแล้ว แม้การพบปะพูดคุยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายจะแถลงการณ์ร่วมลดความรุนแรงในช่วงถือศีลอด หรือในเดือนรอมฎอน แต่ผ่านไปแค่สัปดาห์กว่าๆ ฮาซัน ตอยิบ ก็แถลงข้อเรียกร้องผ่านเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งแข็งกร้าวกว่าทุกครั้ง เพราะเรียกร้องให้ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ออกจากหมู่บ้าน กลับเข้าค่ายหลัก ห้ามตรวจค้น ตั้งด่านตรวจ จับกุม และนายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้ลงนามรับรองข้อเรียกร้อง มิฉะนั้นก็จะไม่ร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพอีกต่อไป
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้น่ากังวลว่า หนทางสันติภาพที่หลายคนคาดหวังกำลังเจอทางตัน
แต่จากการพูดคุยกับ พล.ท.ภราดร หัวหน้าคณะฝ่ายไทย เขากลับยิ้มอารมณ์ดี และตอบข้อสงสัยอย่างไร้แววกังวลแต่อย่างใด
“เขาอาจจะพูดอย่างนั้นได้ แต่เราเชื่อมั่นว่าเขาจะต้องพูดคุยต่อไป จากสภาวะแวดล้อมที่มันเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การเคลื่อนไหวของเขามีข้อจำกัด อย่างไรเขาก็ต้องพูดคุยกับเรา โดยเฉพาะฮาซัน เขาก็เห็นชัดเจนแล้วว่าสู้มาตั้งแต่อายุ 20 ปีจนแก่แล้ว เขาถึงประสงค์ว่าทางออกสุดท้ายคือต้องคุยกัน เด็กที่เกิดใหม่ก็มาจากการผลิตซ้ำทางความคิดของเขานั่นล่ะไปทำให้คนเหล่านี้เป็นอย่างนี้ เราเชื่อว่าเขาคงจะไปทำความเข้าใจได้ว่าในสถานการณ์ของโลกมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว”
พล.ท.ภราดร มั่นใจว่า จากการพูดคุยสันติภาพที่ผ่านมา 3 ครั้ง ทำให้ฝ่ายไทยมองเห็นภาพของฝ่ายบีอาร์เอ็นชัดขึ้น
“ฮาซัน ตอยิบ บอกว่า เขาได้รับฉันทานุมัติจากเสียงส่วนใหญ่ แสดงว่ายังมีส่วนหนึ่งเห็นต่างอยู่ ปัญหาจึงเกิดขึ้นได้ว่า คนที่เห็นพ้องแม้กระทั่งในเสียงส่วนใหญ่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเห็นพ้องในทุกประเด็น ประเด็นที่เราหยิบยกมาพูดกันตอนนี้คือการลดความรุนแรง บางคนอยากให้เอาประเด็นอื่นมาก่อน เป็นปัญหาของเขาเหมือนกันเรื่องเอกภาพ จึงมีการชิงไหวชิงพริบชิงเหลี่ยมกัน เพราะคณะที่มาพูดคุยค่อนข้างเป็นผู้อาวุโส ส่วนฝ่ายที่ก่อการปฏิบัติการอาวุโสต่ำกว่า เป็นเยาวชน ก็อยากจะเอาประเด็นของเขาขึ้นมา”
แต่แม้ว่าภายในกลุ่มบีอาร์เอ็นจะไม่มีเอกภาพ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา คือ บีอาร์เอ็นใช้วีธีแถลงข้อเรียกร้องผ่านเว็บไซต์ยูทูบมาแล้ว 4 ครั้ง และที่สำคัญคือ ครั้งนี้ ฮาซัน ตอยิบ เป็นผู้แถลงด้วยตนเอง
“ฮาซัน ตอยิบ ก็ต้องแสดงความเป็นผู้นำ เพราะเขาเป็นตัวแทนส่วนใหญ่ ต้องหยิบยกทุกประเด็นขึ้นมา ถ้าเขาไม่หยิบขึ้นพูดแล้วคนอื่นฉายออกมานั่นสิจะเป็นปัญหา ตรงนี้เราเข้าใจว่าเป็นปัญหาการจัดการของเขา”
เลขาฯ สมช. วิเคราะห์ว่า จากการประเมินจากบรรยากาศการพูดคุย ทำให้เห็นว่าในตัวแทนฝ่ายบีอาร์เอ็นมีกลุ่มคนรุ่นใหม่รวมอยู่ด้วย ทำให้มีข้อสมมติฐานที่น่าจะเป็นอยู่
color:#333333">2 ทาง หนึ่งคือ กลุ่มรุ่นใหม่ยังไม่อยากพูดคุย และอีกข้อหนึ่งคืออยากเข้าร่วมในกระบวนการพูดคุย แต่ผู้แทนในกลุ่มอาวุโสยังไม่เอาประเด็นมาพูดคุย จึงต้องส่งสัญญาณออกมา
แต่ไม่ว่าบีอาร์เอ็นจะมีข้อเรียกร้องใดๆ ออกมา จุดยืนของฝ่ายไทยนั้นชัดเจนว่า จะยึดอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญไทยเท่านั้น ขณะเดียวกันก็มองว่า ข้อเรียกร้องของฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้นกลับสร้างความสับสน
แต่ไม่ว่าบีอาร์เอ็นจะมีข้อเรียกร้องใดๆ ออกมา จุดยืนของฝ่ายไทยนั้นชัดเจนว่า จะยึดอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญไทยเท่านั้น ขณะเดียวกันก็มองว่า ข้อเรียกร้องของฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้นกลับสร้างความสับสน
“ข้อเสนอ 5 ข้อที่เขาเสนอผ่านยูทูบครั้งแรก เราก็แปลแล้วนำไปสืบสภาพในพื้นที่ สุดท้ายคำตอบจาก 5 ข้อนั้นเกิดความหลากหลาย เช่น เขาบอกว่าไม่ใช่ขบวนการแบ่งแยกดินแดน แต่เป็นขบวนการปลดปล่อย แล้วขบวนการปลดปล่อยคืออะไร พี่น้องประชาชนก็เข้าใจไปคนละทิศละทาง เวทีประชาชนอลหม่านไปหมด บางคนไม่เข้าใจก็ไม่ตอบคำถามเลย บางคนเข้าใจว่าปลดปล่อยก็คือแบ่งแยกดินแดน ฉะนั้นการพูดคุยครั้งที่ 3 เราจึงต้องถามว่า 5 ข้อที่สื่อออกมานั้น เนื้อหาเป็นอย่างไร เขาก็บอกว่าจะส่งคำอธิบายความชัดๆ มาก่อนเดือนรอมฎอน ตอนนี้ยังไม่ได้รับ เท่ากับว่าเรายังไม่รู้เนื้อหาที่แท้จริงเลย ทางมาเลเซียจะแปลความจากภาษามลายูเป็นภาษาอังกฤษให้เรา เราถึงจะรู้ว่าข้อเรียกร้องของเขาจริงๆ เป็นอย่างไร แต่หลักของเรา ประชาชนคือสิ่งที่สำคัญ ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยเราไม่ได้มุ่งไปตอบสนองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”
ประเด็นที่น่าแปลกใจคือ เหตุใดบีอาร์เอ็นจึงใช้วิธีแถลงผ่านยูทูบ แทนที่จะเสนอผ่านมาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุย
“แสดงว่าฝ่ายเขาก็กังวลว่าคนที่มาคุยกับเรา (ฮาซัน ตอยิบ) จะไปในเนื้อหาอย่างนี้หรือไม่ จะนำประสงค์ของกลุ่มน้อยมาหรือไม่ เลยต้องเอาข้อเสนอนั้นออกมาเสียก่อน ท่าทีของบีอาร์เอ็น|ที่ผ่านมาทำให้ฝ่ายมาเลเซียเองก็งุนงง มาเลเซียพูดเองนะว่า ลงนาม 3 ฝ่าย ให้มาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ฉะนั้น|จึงไม่ใช่ผู้ไกล่เกลี่ย นายกรัฐมนตรีเขาสื่อสารต่อสาธารณะว่า |พึงประสงค์ให้พี่น้องมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ในชาติต่างๆ ให้เข้าใจถึงอัตลักษณ์ เข้าใจถึงวิถีมุสลิม ให้มีความเหมาะสมในการดูแลกัน แต่อย่ามาพูดถึงเรื่องเอกราช เพราะมันไม่ได้ มันเป็นเรื่องของแต่ละชาติ ถ้าคุยเรื่องเอกราช เขาก็เดินด้วยไม่ได้ อีกข้อหนึ่งคือขอให้โอไอซี อาเซียน เอ็นจีโอ เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ มาเลเซียถามว่าถ้าอย่างนั้นเขาจะไปยืนตรงจุดไหน”
เหตุใดมาเลเซียซึ่งไม่เคยแสดงบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทยมาก่อนเลย จึงแสดงออกถึงท่าทีที่เด่นชัดในคราวนี้ ข้อสงสัยว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ริเริ่มการประสานกับฝ่ายมาเลเซีย จนนำไปสู่การลงนามการพูดคุยสันติภาพนั้น มีข้อตกลงผลประโยชน์ใดๆ กับมาเลเซียแอบแฝงอยู่หรือไม่
“ผมคงไปไม่ถึงข้อมูลนั้น แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีอะไร แม้ท่านจะมีสัมพันธ์ที่ดีส่วนตัวกับนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ก็คงทำเพราะเห็นประโยชน์กับประเทศชาติ ในฐานะที่ท่านเองเคยรับผิดชอบการแก้ปัญหามาก่อน คงเห็นแล้วว่านโยบายแนวเดิมที่เดินมานั้นไม่ใช่ อีกทั้งผมเห็นว่าเป็นการบรรจบกันทั้งไทยและมาเลเซีย ถ้าตรงนี้ไม่แข็งแรง อีก 2 ปีไปอาเซียนแย่แน่ๆ โลกมันพลวัตไป แต่ละประเทศต้องผนึกกำลังกัน จะต้องทำให้อาเซียนแข็งแรงเพื่อไปต่อรองกับภูมิภาคอื่น ทำให้มาเลเซียเห็นว่าพื้นที่ตรงนี้ติดกับไทย ต้องไม่มีความขัดแย้ง ความขัดแย้งคือการเสียโอกาสทั้งหมด ณ ตอนนี้ มาเลเซียกับเราเข้าใจตรงกัน”
สำหรับความหวังต่อสันติภาพ ในขณะที่ความรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน พล.ท.ภราดร มองว่า การพูดคุยต้องดำเนินต่อไป ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด เป็นยุทธศาสตร์สุดท้ายที่จะแก้ปัญหาแบบยั่งยืน แต่มาตรการอย่างอื่นก็ละเว้นไม่ได้ ทั้งการพัฒนา การรักษาชีวิตความปลอดภัย การศึกษา ต้องเดินไปควบคู่กันกับการพูดคุย
“ตามสถิติการพูดคุยเจรจาต่างๆ ที่สัมฤทธิผล ต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี จึงจะเริ่มเห็นข้อตกลงชัดเจน แต่ที่เร็วที่สุด 2 ปี ซึ่งผมหวังว่า 2 ปีจากนี้เราจะเห็นผล ส่วนความรุนแรงที่ยังเกิดขึ้น เราต้องการความเป็นรูปธรรม ต้องมีความคาดหวัง แต่ก็ไม่ได้ประมาท ต้องเตรียมมาตรการที่จะดูแลประชาชน จัดวางกำลังอย่างเหมาะสมกับบรรยากาศเดือนถือศีลอด คงไม่ประเจิดประเจ้อ แต่ต้องพร้อมปฏิบัติการ แต่ชัดเจนว่าการพูดคุยกันครั้งต่อไปหลังเดือนรอมฎอนก็ต้องตอบว่าที่ผ่านมาทำไมมันไม่ได้เลย หรือมันดีขึ้น จะมาพูดกัน ทำให้มีช่องที่จะมาสื่อสารได้ ว่าใครก่อเหตุ แล้วจะทำอย่างไร”
none windowtext 1.0pt;padding:0in">บีอาร์เอ็นหวังการปกครอง
จากการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นมา
color:#333333">3 ครั้ง พล.ท.ภราดร มองว่า เป้าหมายของผู้ก่อเหตุความไม่สงบคือ การปกครอง
“นัยจากการพูดคุยกัน 3 รอบจริงๆ เรารู้แล้วเป้าหมายเขา ซึ่งเป็นหมายของการพูดคุยปัญหาภาคใต้ สุดท้ายก็คือการเมืองการปกครอง เพียงจะเป็นในลักษณะใด ไม่ว่าเขาจะไปสุดโต่งอย่างไรก็ต้องไปในกรอบที่เราได้ลงนามเอาไว้ คือภายใต้รัฐธรรมนูญไทย
จะสุดโต่งอย่างไรก็ไม่เป็นไร เพราะเจตนารมณ์ร่วมกันในข้อตกลงคือภายใต้รัฐธรรมนูญไทย เรายืนยันมาตลอดว่ากระบวนการที่เรามาพูดคุยมาตามกระบวนการรัฐสภาแล้ว ผ่านความเห็นชอบจากพี่น้องประชาชน นโยบายความมั่นคงชายแดนภาคใต้ปี 2555-2557 ของ สมช. เป็นนโยบายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ มา ผมชัดเจนในความเป็นตัวแทนมา แต่คุณนั่นละ ที่คุณเองก็บอกว่าคุณเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ผ่านองค์กรนำมา เราเข้าใจว่าคุณมีปัญหาส่วนเล็ก คุณก็ต้องกลับไปหารือไปพูดคุยค่อยๆ ชี้เป้ากันมา
เรายังเชื่อว่าบีอาร์เอ็นเป็นกลุ่มที่ใหญ่ แล้วจะเป็นสะพานเชื่อมกับทุกกลุ่มได้ นโยบายเราชัดอยู่แล้วเราพร้อมเปิดพื้นที่พูดคุยทุกกลุ่ม แต่ในชั้นต้นเมื่อเขาบอกว่าเขาเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด แล้วเขามีขีดความสามารถที่จะเชื่อมกับกลุ่มอื่นได้ เราก็ให้เขาแสดงฝีมือว่ามันจริงเท็จอย่างไร
เมื่อก่อนเราสู้กับเงาตะคุ่มๆ ไม่รู้ใครเป็นใคร แต่ปัจจุบันยืนยันว่าเรารู้โครงสร้างจากตัวบุคคลพอสมควร ต่อไปก็จะรู้เป้าหมายรายบุคคลว่าใครเป็นใคร ยุทธการของเราจะดีขั้น มีประสิทธิภาพขึ้น ถ้าเป็นภัยแทรกซ้อนอย่างอื่นเราก็ไม่ต้องไปจัดกำลังส่วนที่ไม่จำเป็น
ถ้าบีอาร์เอ็นมีกองกำลัง
color:#333333">10 กลุ่ม มี 6 กลุ่มที่ฟังเขา อีก 4 กลุ่มไม่ฟัง อย่างน้อยก็เบาแล้ว เราไม่ต้องไปพะวงกับ 6 กลุ่ม ดูแต่ 4 แต่ถ้าเราไม่พูดคุยกับเขา เราก็ต้องสู้กับ 10 กลุ่มเลย พูดคุยมันจะทำให้หายไปเองเหลือแต่ที่มีปัญหา กลุ่มที่สุดโต่งมันก็ต้องใช้ความพยายามพอสมควร ยอมรับว่าคนที่รุนแรงของเขาก็ยังแรงอยู่
border:none windowtext 1.0pt;padding:0in">ความเชื่อมั่นลด...ปัญหายิ่งลุกลาม
เก้าอี้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหนึ่งในตำแหน่งที่ฝ่ายการเมืองใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เพราะ สมช.มีหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศ
แต่เก้าอี้ที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร หรือ “เสธ.แมว” ได้มา ก็ถูกค่อนขอดว่า ได้ดิบได้ดีเพราะ “เด็กเส้น” ด้วยความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้โด่งดัง จึงได้รับเลือกมาทำหน้าที่นี้
ก่อนที่ พล.ท.ภราดร จะเข้าสู่ตำแหน่ง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ขยับ ถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากเก้าอี้เลขาฯ สมช. ก่อนจะดันให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ในขณะนั้นเข้ามาเสียบ (โยกวิเชียรเพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ มานั่ง ผบ.ตร.)
จนเป็นเรื่องเป็นราวฟ้องร้องกันกระทั่งปัจจุบัน ล่าสุดศาลปกครองมีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีคืนเก้าอี้ให้กับถวิล เพราะเป็นการให้ออกจากตำแหน่งไม่เป็นธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์สู้คดีกันอยู่
เมื่อวิเชียรถูกโยกออกให้ไปนั่งปลัดกระทรวงคมนาคม
color:#333333">“เสธ.แมว” ก็เข้ามาแทนที่ ซึ่งก็ถูกนินทาตามมาทันทีว่า ข้ามหัวรองเลขาธิการลูกหม้อบางคนที่นั่งรออยู่ตาปริบๆ อีกด้วย
“พ่อผม (พล.ท.กอบกุล พัฒนถาบุตร) เป็นพี่ชายท่านปรีดา พ่อผมคือเพื่อนของนายเลิศ ชินวัตร(บิดา พ.ต.ท.ทักษิณ) เป็นคนเชียงใหม่เหมือนกัน นี่คือความสัมพันธ์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ท่านปรีดารู้จักกับพ่อของท่านทักษิณ”
เวลานั้นทักษิณในวัยเด็กคือตำรวจติดตามที่คอยหิ้วกระเป๋าให้ ปรีดา พัฒนถาบุตร นี่เป็นที่มาของคอนเนกชั่นอันยาวนานระหว่าง “ภราดร” กับ “ทักษิณ”
อย่างไรก็ดี แม้จะถูกมองเป็นเด็กฝ่ายการเมือง แต่เมื่อได้รับความไว้วางใจมาทำหน้าที่แล้ว พล.ท.ภราดร ก็กระฉับกระเฉงว่องไวในการตอบสนองนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการแก้ปัญหาทางการเมือง และปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พล.ท.ภราดร วิเคราะห์ว่า กลุ่มการเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่มไทยสปริง และกลุ่มหน้ากากขาว เริ่มมีปริมาณมากขึ้น
“กลุ่มเหล่านี้จะค่อยๆ บ่มเพาะ แต่ถ้าจะเกิดเหตุต้องมีกลุ่มอื่นที่เดือดร้อนจริงๆ มา ก็จะถูกกลุ่มบ่มเพาะประสาน ผู้ไม่เดือดร้อนจริงเข้าไปประสานกับ|ผู้เดือดร้อนจริงทำให้กลุ่มมันใหญ่ขึ้น”
เขามองว่า การทำร้ายผู้ชุมนุมหน้ากากขาวที่ จ.เชียงใหม่ ก่อนหน้านี้ เป็นปัจจัยที่ทำให้การชุมนุมของกลุ่มนี้ขยายวงกว้างมากขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องสื่อสารผ่านพี่น้องคนเสื้อแดงว่าอย่านะ จะชุมนุมอะไรกันไม่ว่า เพราะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่อย่าให้มีความรุนแรง
“ตรงนี้มันพร้อมที่จะเกิดมือที่สามเข้ามาสร้างสถานการณ์ นี่คือสิ่งที่ตำรวจเฝ้าระวังและกังวลใจคือมือที่สาม แต่ไม่กังวลใจกับผู้เคลื่อนไหว”
เลขาธิการ สมช. มองไปยังประเด็นกดดันรัฐบาลด้านอื่นๆ “ทุกเรื่องกำลังสร้างแรงกดดันให้รัฐบาล ตอนนี้รัฐบาลต้องระมัดระวังการชี้แจงชาวนาเรื่องข้าว เพราะเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลต้องจัดการให้ดี ไม่เช่นนั้นแล้วเดี๋ยวจะเกิดกลุ่มบ่มเพาะมาผสมผสานกับกลุ่มเดือดร้อนจริง
ผสมเมื่อไหร่ก็จะลุกลามได้ เพราะว่ามันเป็นผลสืบเนื่องกัน เป็นเรื่องความเชื่อมั่น พอเกิดการขาดความเชื่อมั่นทั้งภายในภายนอกของชาวนา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมากระทบปัญหาเศรษฐกิจ เพราะชาวนาเป็นฐานมวลชนใหญ่
เงินเหล่านี้จะไปจ่ายหมุนเวียนสร้างรายได้ ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมามีการขาดทุนสูง ส่งผลถึงเครดิตประเทศก็ไปภายนอกอีก ตรงนี้ถ้าเครดิตรัฐบาลไปทั้งภายในภายนอก พอเกิดสัญญาณความไม่เชื่อมั่นเมื่อไหร่มันจะลามไปทุกเรื่อง”
เลขาธิการ สมช. ย้ำด้วยว่า เมื่อรัฐบาลถูกกระหน่ำหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน ทำให้เวลารัฐบาลพูดหรืออธิบายอะไรคนจะไม่เชื่อ “สมมติมีปัญหาตรงนี้แล้วไม่ชัดมันจะลามไปเรื่องน้ำ 3 แสนล้าน ลามไปเรื่อง 2 ล้านล้าน เพราะเรื่องน้ำโมเดลที่รัฐบาลบริหารจัดการเป็นรูปแบบใหม่ มันก็จะมีข้อสงสัย ข้อระแวง ข้ออะไรต่างๆ ได้มาก รัฐบาลต้องบริหารความสมดุลให้ดี คือระเบียบวินัยการเงินการคลัง”
นอกจากนี้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องสร้างรายได้ให้พี่น้องชาวนาในเกณฑ์ที่พึงพอใจ ต้องอธิบายความให้ชัดเจน
color:#333333">“เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว พอไปเรื่องน้ำ คนก็จะเอ๊ะ ประมูลแบบไหน เพราะเป็นการประมูลใหม่ ถ้าเกิดความไม่เชื่อมั่นจะเป็นมุมกลับเลย ไปถูกข้อสังเกตเรื่องทุจริต รัฐบาลนี้ถ้าไม่เจอเรื่องทุจริตชัดๆ ไม่เป็นปัญหาเลย ยังไงก็ยืนได้”
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์การเมืองอื่นๆ พล.ท.ภราดร เห็นว่า ยังไม่มีอะไรสุกงอม ไม่ว่าปัญหาการทุจริตที่ยังไม่เพลี่ยงพล้ำ ปัญหาภาคใต้ก็มีการเจรจากัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.ท.ภราดร ก็เคยกล่าวในทำนองนี้ด้วยว่า “รัฐบาลได้แสดงให้|เห็นถึงการแก้ปัญหาอย่างทุ่มเท โปร่งใส และสู้ตามข้อกฎหมายต่างๆ ไม่จำกัดในการสื่อสาร
โอกาสที่รัฐบาลจะเพลี่ยงพล้ำ คือ เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ถ้าไม่มีเรื่องนี้โอกาสเพลี่ยงพล้ำลำบาก”
พล.ท.ภราดร เห็นด้วยว่า การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ไม่ว่าโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพราะเห็นว่าประเทศจะได้ประโยชน์
เรียกได้ว่า เลขาธิการ สมช. คนปัจจุบันสนับสนุนนโยบายและโครงการต่างๆ ของรัฐบาลเต็มสูบ และประเมินสถานการณ์แล้ว พล.ท.ภราดร ให้คะแนนผ่านแน่นอน เพียงแต่จะสอบผ่านในสถานการณ์จริงหรือไม่ คงต้องติดตาม ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองและปัจจัยทางการเมืองเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
หมายเหตุ: รายงานพิเศษชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน 2556 สามารถคลิกดูฉบับออนไลน์ในเว็บไซต์ของโพสต์ทูเดย์ได้ ที่นี่