Skip to main content

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ)

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ 
padding:0in">อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ
padding:0in">ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
border:none windowtext 1.0pt;padding:0in">[email protected]
http://www.oknation.net/blog/shukur
                 

"มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่นบีมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน"

 

 ตามที่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2013 เวลา 15.30 น. Datuk Seri Ahmad Zamzamin Hashim ผู้อำนวยความสะดวกชาวมาเลเซียได้แถลงข่าวเรื่อง “ข้อริเริ่มสันติภาพช่วงรอมฎอน ปี 2013” ณ โรงแรม Seri Pacific กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งในเนื้อหาเป็นนิมิตรหมายอันดีในการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยยึดความต้องการของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่(ต้องการให้เดือนรอมฎอนที่ชายแดนใต้ปีนี้สงบ  สันติและทำศาสนกิจอย่างไรกังวล...โปรดอ่านเพิ่มเติมในhttp://thaingo.org/thaingo/node/2365)

ถึงแม้คำแถลงดังกล่าวจะไม่มีคำว่าหยุดยิงตามที่สื่อหลายสำนักพาดหัว  ถึงแม้จะไม่มีลงลายมือชื่อจากฝ่ายรัฐบาลไทยและBRN แต่การที่รัฐบาลมาเลเซียกล้าออกแถลงการณ์ต่อหน้าสื่อนานาชาติก็คงเป็นหลักประกันได้

ผู้เขียนขอสนับสนุนคำแถลงนี้และยินดีด้วยกระบวนการพูดคุยที่จะดำเนินต่อและขอให้ทั้สองฝ่ายรวมทั้งกองเชียร์จงอดทนกับกระบวนการสันติภาพที่มันพึ่งตั้งไขหรือยังเป็นเด็กเล็กอยู่ที่เราจะต้องช่วยประคับประคองต่อไป(นอกจากผู้ที่ไม่รักสันติภาพด้วย หรือpeace spoilerหรือจะเรียกให้หนักว่า ผู้ทำลายกระบวนการสันติภาพ) 

Hara Shintaro ตั้งข้อสังเกตว่า “ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในดินแดนปาตา(ชายแดนใต้)นีก็แค่ส่วนหนึ่งของปัญหา ยังมีปัญหาต่างๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาอำนาจมืด การละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับใช้กฎหหมายพิเศษ การเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหาย การยอมรับศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ และภาษาที่แตกต่าง ความปลอดภัยของชาวบ้าน รวมไปถึงรูปแบบการปกครองในอนาคตด้วย กระบวนการสันติภาพก็จะปรากฎตัวหลังจากปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไข ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก แต่ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ ตราบใดที่ทุกฝ่ายให้ความรวมมือและปฏิบัติหน้าที่อย่า่งจริงจัง หวังว่าข้อตกลงครั้งนี้จะเป็นกรณีตัวอย่าง (model case) ของความรวมมือเพื่อนำไปสู่สันติภาพอันแท้จริง”   (โปรดดูในhttps://www.facebook.com/shintaro.hara.75?fref=ts  )

 

ดังนั้นสิ่งที่รัฐหรือภาคประชาสังคมจะต้องช่วยหนุนเสริมต่อมีอยู่ห้ายุทธศาสตร์ใหญ่กล่าว

คือ

  1. การขยายประชาธิปไตยที่ควบคู่กับคุณธรรมหรือสร้างให้คนในชุมชนเป็นพลเมือง

  2. การดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม

  3. การสร้างความเข้าใจของกระบวนการสร้างสันติภาพทั้งคนในและนอกพื้นที่

  4. การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับคนในพื้นที่

  5. การส่งเสริมด้านอัตลักษณ์ ศาสนา  ภาษาและวัฒนธรรมกับประชาชน 

    -------------------

หมายเหตุ
“ข้อริเริ่มสันติภาพช่วงรอมฎอน ปี 2013”
 
 
 แปลโดย เอกอัคราชทูต กำธร สิทธิโชติ ที่ปรึกษาเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
อ้างอิงจาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM016WTBNamt5T0E9PQ%3D%3D&sectionid
       เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2013 เวลา 15.30 น. Datuk Seri Ahmad Zamzamin Hashim ผู้อำนวยความสะดวกชาวมาเลเซียได้แถลงข่าวเรื่อง “ข้อริเริ่มสันติภาพช่วงรอมฎอน ปี 2013” ณ โรงแรม Seri Pacific กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีเนื้อหา สรุปได้ ดังนี้

 1. สมช. (ในแถลงข่าวเรียก Party A) และ BRN (ในแถลงข่าวเรียก Party B) ได้ตกลงในหลักการในระหว่างการพูดคุยครั้งที่ 4 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2013 ว่าจะทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุถึงเดือนรอมฎอนที่ปราศจากความรุนแรงใน จชต.

 2. ช่วงเวลาที่ 2 ฝ่ายกำหนดคือ 40 วัน นับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2013 ถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2013 ในพื้นที่ 4 จชต. คือ จ. ปัตตานี จ. นราธิวาส จ. ยะลา และ 5 อำเภอใน จังหวัดสงขลา ได้แก่ อ.นาทวี อ.สะเดา อ.จะนะ อ.เทพา และ อ. สะบ้าย้อย

 3.Party A ได้ตกลง (ในการพูดคุยครั้งที่ 4) ว่าจะดำเนินการ ดังนี้

 - ยังคงรับผิดชอบต่อการการดำเนินการป้องกันอาชญากรรม การเฝ้าระวัง เพื่อรักษาความปลอดภัยของสาธารณชน

 - รับประกันความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงพื้นเพ เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพ

 - จะยับยั้ง (refrain) การดำเนินการที่ก้าวร้าวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความมั่นคงซึ่งมีสาเหตุมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้

 4. Party B ได้ตกลง (ในการพูดคุยครั้งที่ 4) ว่าจะดำเนินการดังนี้

 - จะพยายามและพิจารณาที่จะไม่สร้างความรุนแรงใดๆ ซึ่งรวมถึงการโจมตีด้วยอาวุธ การวางระเบิด และการซุ่มโจมตีกองกำลังรักษาความมั่นคง และสาธารณชน

 - จะพยายามที่จะไม่ก่อวินาศกรรมหรือสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของทางราชการและสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ

 - รับประกันว่า สิทธิ เสรีภาพ และความปลอดภัยของผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม จะได้รับความเคารพ ให้คุณค่า และพิทักษ์ไว้ในระยะเวลานี้ ทั้ง 2 ฝ่ายตกลง ดังนี้

 - จะทำงานหนักเพื่อให้เดือนรอมฎอน ปี 2013 เป็นเดือนที่ปราศจากความรุนแรง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ความตั้งใจ และความจริงจังของทั้งสองฝ่ายในการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาที่มีร่วมกัน ผ่านเวทีการพูดคุยสันติภาพ โดยทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อว่าการพูดคุยเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับสันติภาพอันถาวรและยั่งยืนในภาคใต้ของไทย

 - ฝ่ายใดที่ฝ่าฝืน ขัดขวางหรือทำลายล้างความเข้าใจอันนี้ ถือว่าเป็นฝ่ายที่ไม่รักสันติภาพ และไม่เคารพเจตนารมณ์และความประสงค์ของประชาชนชาวไทย

 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ต้องพยายามเข้าใจ ให้เกียรติและยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการของความเข้าใจร่วมนี้ เพื่อบรรลุจุดประสงค์ของความปรารถนาร่วมเรื่องข้อริเริ่มเรื่องสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอนปี 2013 นี้