อาบีบุสตา ดอเลาะ
กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้(KAWAN-KAWAN)
เกือบ 10 ปี ของสงครามสมัยใหม่(สงครามที่ประชาชนไม่รู้ว่าใครคือมิตรใครคือศัตรู)ที่เกิดขึ้นที่ปาตานี(PATANI) นับแต่ พ.ศ. 2547 โดยมีตัวละครหลักในสงครามครั้งนี้ คือ กลุ่มขบวนการ ฝ่ายรัฐไทย และประชาชนปาตานี(PATANI) ซึ่งที่ผ่านมาผู้ที่แสดงบทบาทมากที่สุด คือรัฐไทยและกลุ่มขบวนการในการกำหนดชะตากรรมของคนปาตานี(PATANI) ในขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบและเป็นเจ้าของแผ่นดินเป็นเจ้าของมาตุภูมิ ไม่มีโอกาสที่จะส่งเสียงสันติภาพที่พวกเขาต้องการ หรือบางครั้งอาจมีโอกาสแต่ป็นการส่งเสียงที่ไม่เปิดเผยและมีความไม่ปลอดถัยในการแสดงความคิดเห็นในการกำหนดชะตากรรมตนเอง อาทิ การชุมนุมเดินขบวนของประชาชนที่มัสยิดกลางปาตานี พ.ศ.2550 โดยการปิดหน้าเนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย
สงครามที่ปาตนี( PATANI) ในปัจจุบันคงปฎิเสธความจริงไม่ได้ว่าทั้งรัฐไทยและขบวนการต่าง ก็อ้างว่าประชาชนเห็นด้วยกับฝ่ายตนในขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายตรงข้าม แต่ความจริงไม่มีใครทราบว่าประชาชนคิดอย่างไร และต้องการอะไร ดังนั้น เงื่อนไขสำคัญของสันติภาพก็คือ ประชาชน (เมื่อประชาชนออกมา เสียงปืนคงเงียบลง) เพราะประชาชนจะเป็นผู้แสดงเจตจำนงของตนเอง ว่าตนเองต้องการอะไร แต่ปัญหามีอยู่ว่าประชาชนปาตานี(PATANI)จะแสดงความต้องการของตนเองอย่างไร
ประชาชนปาตานี(PATANI) จะสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้นั้น จะต้องมาจากกการผลักดันของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม คนไทยทั้งประเทศ รัฐบาล ข้าราชการ นักศึกษาและประชานPATANIเอง เพื่อสร้างขบวนการทางการเมืองที่สามารถทำให้ประชาชนสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้อย่างแท้จริง เช่น การลงประชามติ การเปิดเวทีแสดงความคิดเห็น เป็นต้น โดยใช้สิทธิในการกำหนดใจตนเอง the right of self-determination(RDS)ตามมติของสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ ที่ 1514 (xv) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 1960 เรื่องการให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคม ซึ่งมีข้อความกำหนดว่า “กลุ่มชนทั้งปวงมีสิทธิในการกำหนดใจตนเอง โดยสิทธิดังกล่าว พวกเขามีเสรีภาพในการตัดสินใจในสถานะทางการเมืองและดำเนินการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของตนเองได้อย่างเสรี” เพราะปาตานีPATANI มีปัจจัยครบถ้วนที่ทำให้หมู่ชนที่มีเชื้อชาติเดียวกันมีสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง กล่าวคือ มีประวัติความเป็นอิสระหรือการปกครองตนเองที่สามารถพิสูจน์ได้ถึงดินแดนที่มีอยู่จริง พร้อมทั้งเจตจำนงและความสามารถในอันที่จะกลับไปสู่การปกครองตนเอง
คนไทย ประชาคมโลก นักศึกษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษามาลายูปาตานีซึ่งถือเป็นกระบอกเสียงที่ดังที่สุดของคนปาตานี(PATANI)จะต้องมีความเข้าใจและเห็นใจต่อชะตากรรมของคนปาตานี(PATANI) ที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความรุนแรงและสงครามที่ยืดเยื้อ ผลักดันให้พวกเขาได้สามารถกำหนดชะตากรรมของตนเอง ว่าสันติภาพแบบไหนที่คนปาตานี(PATANI) ต้องการ? โดยการรณรงค์และส่งเสียงให้สังคมไทย รัฐบาลและสังคมโลก ได้จัดให้มีกระบวนการทางการเมืองที่ทำให้ประชาชนมีเวทีในการแสดงเจตจำนงของตนเองในการสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง