Skip to main content

AwanBook

เส้นทางสู่สันติภาพ : เสียงจากคนใน : MENITI JALAN DAMAI - dari kaca mata seorang PEJUANG
Abu Hafez Al-Hakim เขียน
Abdulloh wanahmad : แปล

ผ่านไปแล้วห้าเดือนสำหรับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพปาตานี ที่เริ่มตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2013 ซึ่งเป็นการลงนามกันระหว่างตัวแทนคณะฝ่ายไทย(ที่เป็นฝ่าย เอ) กับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี BRN (ที่เป็นฝ่าย บี) และมีมาเลเซียในฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวก (fasilitator) เสมือนว่ายังไม่มีวี่แววที่เป็นเชิงบวก ตามที่หลายฝ่ายต่างคาดหวังไว้แม้แต่น้อย

ในกระบวนการพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพปาตานี แทนที่มันน่าจะมีคำตอบให้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ปาตานีนี้ได้ แต่ตรงกันข้ามกลับมีคำถามอันมากมายตามมา ที่มีต่อกระบวนการสันติภาพดังกล่าว หลายฝ่ายต่างพากันออกมาแสดงความคิดเห็นเสนอแนะและติชม ซึ่งจะว่าไปแล้วมันค่อนข้างมีมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นทางสำนักนายกรัฐมนตรีเอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมไปถึงกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อสังคม กลุ่มนิศิตนักศึกษา แม้กระทั่งภาคประชาชนในระดับรากหญ้า ตามร้านกาแฟต่างๆ ก็ไม่มีเว้น และยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสื่อก็เช่นกัน เพื่อให้ยอดการตลาดจะได้พุ่งสูงขึ้น ต่างฝ่ายต่างแข่งขันกันเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้เพื่อทำสื่อที่มีความรวดเร็วทันใจ

ใช่ซิ กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพได้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่แล้วที่ปาตานี ซึ่งความขัดแย้งที่มีรากเหง้ามาจากประวัติศาสตร์ ที่มีระยะเวลาสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ที่ได้วิวัฒนาการสู่การใช้อาวุธ ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินที่มิอาจประเมินค่าได้ ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็ส่งผลให้การใช้ความรุนแรงในปัจจุบัน ได้พัฒนาไปสู่อีกขั้นหนึ่ง นั่นก็คือสู่โลกเทคโนโลยีแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนับจากไปจะมิได้มีเพียงแค่ระหว่างฝ่ายเอกับฝ่ายบีเท่านั้น แต่จะครอบคลุมไปถึงผู้ที่สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะเกิดสงครามในอีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าสงครามไซเบอร์ (Cyber warfare).


เมื่อก่อนพื้นที่สำหรับออกความเห็นและการแสดงจุดยืนทางการเมืองค่อนข้างที่จะมีอย่างจำกัด(ถูกปิด) หากว่าเป็นเหมือนเมื่อสมัยก่อน เมื่อช่วง10-20ปีที่แล้ว อย่าว่าแต่การแสดงความเห็นเลย แม้กระทั่งที่จะกล่าวคำว่า ปา-ตา-นี ก็ถูกห้ามปรามก่อนแล้ว นับประสาอะไรหาจะกกล่าวคำว่า เมอร์เดก้า(เอกราช) ดีไม่ดีอาจถูกจับเข้าตารางอย่างไม่มีข้ออ้างใดๆ

ซึ่งเราสามารถที่จะกล่าวคำว่า ปาตานีเมอร์เดก้าได้ ก็ด้วยวิธีการพ่นสีบนป้ายริมทาง บนท้องถนน บนผนังกำแพง บนสะพาน หรือจะเป็นบนป้ายผ้าก็ตาม นั่นคือวิธีการหนึ่งที่ประชนที่ถูกกดขี่พอที่จะถ่ายทอดบอกกล่าวถึงความนัยที่พวกเค้ามี แต่วันนี้เรื่องดังกล่าวจะไม่ถูกจำกัดอีกต่อไป หนำซ้ำยังเป็นการยากที่จะสกัดกั้นอีกด้วย เพราะที่ไหนๆ ก็ตามประชาชนก็เริ่มสนทนาถึงสิทธิและเสรีภาพของตน ถึงการถูกกดทับและความอยุติธรรม จนถึงเรื่องของการกำหนดชะตากรรมตนเอง (Right to Self-Determination) แม้กระทั่งเรื่องเอกราช

มนุษย์เราต่างรับรู้บางอย่างด้วยเหตุผลและความเข้าใจที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันกับเรื่องที่ได้เห็นและมีความเข้าใจถึงปัญหาของความขัดแย้งและความพยายามที่จะสร้างสันติภาพนี้ฉันใดก็ฉันนั้น อย่างทางฝั่งของรัฐบาลก็มีแนวทางของเขา ภาคประชาชนก็มีความเห็นของเขา และทางฝ่ายขบวนการก็มีจุดยืนของเขาเช่นกัน หลายฝ่ายต่างออกมาแสดงความเห็นกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาคประชาชนเอง และอะไรหรือคือสิ่งที่นักต่อสู่คนหนึ่งกำลังขบคิด เขามีความเห็นอย่างไร เขามีความหวังและความมุ่งมั่นมากน้อยเพียงใด? ด้วยเหตุนี้ทำให้บันทึกความชิ้นนี้เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังค้างคา ถึงสิ่งที่ได้สัมผัสเห็นจากมุมมองในฐานะนักต่อสู่คนหนึ่งที่มีต่อปัญหาและกระบวนการสันติภาพจึงถูกเขียนขึ้นมา

ขอเริ่มด้วยกับเป้าหมายแรกของการต่อสู้ก็คือ เป้าหมายสูงสุดในการต่อสู้ของเราก็เพื่อต้องการปลดปล่อยประชาชาติปาตานีจากเงื่อนงำของผู้กดขี่(อาณานิคม) เพื่อที่ว่าการกดขี่และความอยุติธรรมจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป และทุกเรื่องสิทธิที่ถูกยึดครอง(ลิดรอน)ที่เคยถูกปฏิเสธเมื่อก่อนหน้านี้ เพื่อมอบให้แก่ชาวปาตานี และแทบทุกเรื่องสิทธิก็ว่าได้ ที่อยู่ภายใต้กรอบอำนาจของรัฐธรรมนูญไทยเองอีกด้วย

เมื่อประชาชนปาตานีมิสิทธิและเสรีภาพเป็นของตนเอง พวกเขาก็จะสามารถกำหนดรูปแบบการปกครองที่มีความสอดคล้องกับตนเองที่สามารถรับได้จากทุกฝ่าย เรื่องนี้(รูปแบบการปกครอง) คงอาจถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในระดับบนในกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพต่อไปในอนาคต

หลายคนอาจตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดก่อนหน้านี้จึงเลือกใช้แนวทางความรุนแรง? ซึ่งคำถามเช่นนี้ที่จริงแล้วสมควรถามไปยังรัฐไทยมากกว่า ว่าเหตุใดเมื่อประชาชนชาวปาตานีเริ่มออกปากออกเสียงในการเรียกร้องสิทธิของพวกเขาในสมัยก่อนหน้านี้ มักจะถูกตอบโต้ด้วยการจับกุมคุมขัง หรือแม้กระทั่งการประทุษร้ายถึงชีวิต? ซึ่งไม่มีแล้วแนวทางอื่นที่ประชาชนชาวปาตานีจะเลือกใช้ นอกจากใช้วิถีที่รุนแรงด้วยอาวุธในการตอบโต้

รัฐบาลมิเคยให้ความสำคัญต่อเสียงเรียกร้องและความอัดอั้นของประชาชนและผู้นำของพวกเค้าเลย(ผู้แทนราษฎรหรือบรรดาอูลามาอฺ) ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้กลุ่มต่อสู้ต่างๆ ที่มาจากประชาชนที่เสียงของพวกเค้ามิเคยมีใครรับฟัง(ไม่เคยให้ความสำคัญ)ได้ก่อกำเนิดขึ้น ท้ายที่สุดแล้วด้วยวิถีแห่งกระสุนที่พุ่งพรวดและกับระเบิดที่ปะทุขึ้นอยู่ทุกขณะ ทำให้รัฐบาลไทยก็ต้องยอมที่จะหันหน้ามาหาเราบนโต๊ะเจรจาจนได้

เป้าประสงค์ของเราที่ได้เข้าสู่บนโต๊ะเจราก็เพื่อต้องการแก้ไขยุติปัญหาด้วยวิถีทางการเมือง ที่มีความยุติธรรมทั่วทั้งผองที่ถาวรเพื่อประชาชนชาวปาตานี เรามีความมั่นใจเหลือเกินว่ากระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองฝ่าย(ฝ่ายขบวนการและฝ่ายรัฐไทย)คงจะมีความจริงใจต่อกัน ด้วยแรงหนุนจากสังคมทุกภาคส่วน

กลุ่มชนทั่วทุกภาคและรวมถึงจากสังคมระหว่างประเทศด้วย ซึ่งอาจส่งผลดีที่ได้ก่อประโยชน์ให้แก่ชาวปาตานีโดยรวม นั่นก็คือความมั่นคง สันติภาพ และ ความภราดรภาพ ซึ่งทางฝ่ายไทยสมควรที่จะยอมรับด้วยความจริงใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะเปิดพื้นที่ให้กับชาวปาตานีได้มีสิทธิแสดงความต้องการของพวกเค้าได้อย่างอิสระ(ไร้การคุกคาม)

ความตกลงร่วมกันที่จะมีการพูดคุยที่ถือว่าเป็นก้าวแรกสำหรับเราโดยทางเปิดเผยและไม่ใช้ความรุนแรง(non-violence)สู่การพูดคุยเจรจาอย่างแท้จริง สถานะทางสังคมของชาวปาตานีสมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นวาระแรกในการพูดคุยในวงเจรจา มิใช่เป็นเพียงการพูดถึงประเด็นการที่จะลดเหตุรุนแรงลงเพียงอย่างเดียว อย่างที่ทางคณะผู้แทนจากฝ่ายไทยชอบออกมาพูดอยู่ตลอดเวลาทางฝ่ายขบวนการเองก็มีความตั้งใจยินดีและจะไม่ให้กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ ที่ได้ได้เริ่มเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 เกิดการล่มกลางคันอย่างเด็ดขาด

หนึ่งในห้าข้อเรียกร้องแรก(เงื่อนไขห้าข้อแรก) ก็คือต้องการให้มีผู้สังเกตการจากคนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อที่ว่าวาระเนื้อหาที่ได้ทำข้อตกลงไปนั้นจะมีความโปร่งใส่และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และตามด้วยเสียงสนับสนุนจากองค์กรอิสระระหว่างประเทศอีกด้วย จากประสบการณ์ของเราที่ได้ผ่านการพูดคุยอย่างลับๆ ที่ปราศจากตัวกลาง ปราศจากสักขีพยานจากภายนอก ทั้งหมดทั้งสิ้นล้วนประสบกับทางตันและถูกปฏิเสธจากทางการไทยทุกครั้งเมื่อถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน (ดั่งข้อตกลงที่บอโกร์(อินโดนีเซีย) ด้วยความพยายามของท่านยูโซฟ คัลลาร์ ข้อตกลงที่ไคโร(อียิปต์) ข้อตกลงที่ดามัสกัส(ซีเรีย) และอีกหลายๆ กรณี)

เกิดคำถามมากมายจากหลายๆ ฝ่ายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่าเป็นการกระทำของฝ่ายขบวนการฝ่ายเดียวกันจริง หรือว่าอาจมีกลุ่มอื่นๆ ที่เข้ามาผสมโรงอีกหรือไม่? พวกเขา(ขบวนการ)สามารถควบคุมได้จริงหรือไม่? เช่นเดียวกันถึงความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของคณะทำงานของฝ่ายขบวนการว่า ผู้แทนที่ออกมาเจรจาทั้งหมดนั้นมาจากฝ่ายเดียวกันกับกองกำลังที่ใช้อาวุธอยู่ในพื้นที่ และมีความชอบธรรมหรือไม่อย่างไร?

จำเป็นที่จะต้องสร้างความกระจ่างในที่นี้ด้วยเช่นกันว่า ทุกๆ ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้นั้นมิได้มาจากการปฏิบัติการของฝ่ายขบวนการเพียงฝ่ายเดียว แต่ทว่าเรากลับตกเป็นเหยื่อ(แพะรับบาป)เกือบทุกครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้ทำความเข้าใจไปแล้วในคลิปวีดีโอที่เผยแพร่ผ่านทางยูทูป ซึ่งทั้งหมดนั้นถูกไปแปลและแพร่กระจายออกไปสู่สายตาชาวโลกไปแล้ว ซึ่งความจริงแล้ว ภาระหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบหาผู้กระทำผิดนั้น เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายไทยอยู่แล้ว ที่มีทั้งความสามารถและความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

แต่ว่าการตรวจสอบสืบสวนมีความโปร่งใสหรือเป็นกลางหรือ (unbiased) และได้ดำเนินหรือไม่อย่างไร? หากว่าเจ้าหน้าที่รัฐเองที่เป็นผู้กระทำ (เช่นกรณีกรือเซะ กรณีตากใบ กรณีมัสยิดไอร์ปาแย กรณีที่ปูโละปูโย กรณีที่รูสะมิแล) มีไหมที่ถูกขึ้นศาล? ด้วยเหตุนี้ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้สังเกตการณ์จากภายนอกในฐานะผู้คอยตรวจสอบและผู้ควบคุม(ชี้แนะ)ว่า ใครที่จะต้องรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้น

เป็นที่แน่นอนแล้วว่าผู้นำระดับบนของขบวนการสามารถควบคุม(สั่งการ)กองกำลังที่อยู่ในพื้นที่ได้ นอกจากว่าจะมีบางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย พยายามที่จะทำลายกระบวนการพูดคุยนี้ให้ล่มไป ซึ่งเราเองจะปฏิเสธมิได้ในเรื่องนี้ แต่ว่าทางฝ่ายขบวนการเองก็พยายามมีการติดต่อกันทุกระยะเพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวและความเข้าใจร่วมกันในหมู่พวกเรา โดยภาพรวมแล้วกลุ่มขบวนการต่างๆ ต่างน้อมรับต่อกระบวนการพูดคุยในครั้งนี้เป็นอย่างดี อาจมีบ้างที่อาจมีความเห็นไม่ลงรอยกันในทางปฏิบัติ และมีทางเป็นไปได้สูงที่อาจมีกลุ่มอื่นอีกที่จะเข้ามาสมทบ(มีส่วนร่วม) ในอนาคตข้างหน้านี้

ยังมีอีกสำหรับกลุ่มที่นอกเหนือจากกลุ่มขบวนการต่อสู้ ที่ได้ปฏิบัติการโดยเฉพาะต่อเป้าหมายที่อ่อนแอ ที่อยู่นอกเขตความรับผิดชอบของเรา อันนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายไทยโดยตรง ที่จะต้องตรวจสอบหาผู้กระทำผิดตัวจริงมาลงโทษให้ได้

เราขอย้ำในที่นี้ว่า ทางคณะการพูดคุยของเราถือเป็นตัวแทนที่มีความชอบธรรมจากการรวมกันทั้งหมดของกลุ่มหลักๆสามด้วยกันคือ (BRN, PULO dan BIPP) โดยที่มีบีอาร์เอ็นเป็นตัวหลัก และมีมาเลเซียเป็นตัววิ่งในฐานะผู้ให้ความสะดวกที่ได้ทำการยอมรับสถานะ(ตัวตน)ของเรา

เราเองก็ถูกติเตียนจากองค์กรสากลเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจากองค์กรสิทธิมนุษยชน เพราะในพื้นที่มีการปฏิบัติต่อกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนอยู่ด้วย ความจริงแล้วทางฝ่ายขบวนการเองไม่ได้มีเป้าหมายกระทำต่อผู้บริสุทธิ์ที่อ่อนแอ เพราะว่าเราต่อสู่เพื่อความดีงามและเพื่อปกป้องพวกเค้าเช่นกัน กลุ่มแรกที่เป็นเป้าหมายสำหรับขบวนการก็คือ กองกำลังติดอาวุธและผู้ที่ทำงานให้กับรัฐที่ทำตัวเป็นศัตรูและกดขี่ประชาชนไม่ว่าจะในทางตรงและทางอ้อม

กองกำลังของขบวนการถูกฝึกฝนให้มีความระมัดระวังและมีกฎกติกาที่รัดกุมในการเลือกหาเป้าหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วน หากว่าเกิดความผิดพลาดปราการใดพวกเค้า(กองกำลัง)จะถูกลงโทษมิมีการยกเว้น จะมีบ้างในส่วนน้อยที่ฝ่ายกองกำลังติดอาวุธจะปฏิบัติออกนอกลู่นอกทาง แต่นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนมากแล้วจะเกิดจากความคับแค้นหม่องใจกัน ที่ยากจะควบคุมได้

หากว่าได้มองดูสถิติการเกิดเหตุการณ์ ภายหลังจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2130 ถึงแม้ว่าจำนวนเหตุการณ์จะพุ่งขึ้น แต่จะปฏิบัติต่อเป้าหมายแรกเท่านั้น เป้าหมายที่อ่อนแอจะไม่เกิดขึ้นอีกนับจากนั้น และหากว่ายังเกิดกับเป้าหมายที่อ่อนแออยู่อีกถือว่าเป็นเหตุที่สุดวิสัยจริงๆ และเราเองก็มีความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามเราจะไม่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เป็นการปฏิบัติการณ์จากกลุ่มอื่น ที่ฉวยโอกาสหรือที่เกิดจากเรื่องส่วนตัวหรือโดยกลุ่มเฉพาะกิจ(เช่นกองกำลังอาสาติดอาวุธที่ถูกจัดตั้งโดยรัฐบาล) ที่มีความปรารถนาจะทำลายภาพพจน์ของเรา

และยังมีข้อกล่าวหาต่างๆนานา อีกว่าเรามีความสัมพันธ์กับท่านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และได้รับข้อเสนออะไรบางอย่างจากท่าน ซึ่งบทบาททักษิณนั้นก็แค่เป็นผู้จุดประกายให้เกิดกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างฝ่ายเราและฝ่ายมาเลเซีย ไม่มีอะไรอีกแล้วนอกจากนั้น ไม่เคยมีการประสานงานติดต่อโดยตรงระหว่างเรากับท่านทักษิณ นอกเสียว่าต้องผ่านทางฝ่ายมาเลเซียเท่านั้น และก็เช่นกันไม่ได้มีข้อต่อรองในรูปแบบใดๆแม้แต่น้อย นอกจากว่าความหวังของท่านที่อยากจะเห็นกระบวนการพูดคุยนี้จะไปได้ดีจนกว่าจะบรรลุความสำเร็จ และถ้าหากว่าท่านนั้นยังมีอะไรที่แอบแฝงซ่อนเร้นตามที่บางฝ่ายออกมาพูดนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ของเรา

เราขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ จำเป็นที่จะต้องให้เป็นวาระแห่งชาติของไทย มิใช่ว่าเป็นเพียงวาระของท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือเป็นวาระของพรรคเพื่อไทยหรือเป็นเกมของทักษิณ เพียงเท่าอย่างเดียวเพียงเท่านี้กระบวนการเพื่อสันติภาพก็จะสามารถดำเนินการได้ตลอดถึงแม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคตก็ตาม

เราเองก็รู้ดีอยู่ว่า ทางฝ่ายไทยเองก็ยังมีคนบางกลุ่มบางพวกที่ยังไม่มั่นใจ หรือที่มองว่ากระบวนการพูดคุยครั้งนี้ต้องมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากล อันนี้เป็นเหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่จะต้องสร้างความมั่นใจในบรรดาพวกพ้องให้ดีก่อน(ไม่ว่าจะเป็นทางฝ่ายทหาร ฝ่ายพระราชวัง แม้กระทั่งพรรคฝ่ายค้านและประชาชนทั่วไป)ว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ มิเพียงแต่จะส่งผลดีต่อพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น หากแต่ประเทศไทยทั้งประเทศพลอยได้รับผลดีนี้ไป ตลอดจนทั่วทุกภูมิภาคของอาเซียนอีกด้วย ด้วยวิธีการนี้จะสามารถยับยั้งกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรง ที่ต้องการฉวยโอกาสหรือที่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้นในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งนี้ โดยเฉพาะกลุ่มทหาร

เราหวังว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพนี้จะไม่ล่มลง อย่างไรก็ตามถ้าหากว่ามันเกิดขึ้นจริงจนได้(การเจรจาเกิดล่ม) เป็นที่แน่นอนแล้วว่า นั่นไม่ใช่มาจากฝ่ายเรา ถึงวันนั้นแล้ว เราเองก็จะต้องไตร่ตรองดูอีกครั้ง ถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของเราในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ การต่อสู้ของเราเพื่อปลดปล่อยปาตานีจะยังคงดำเนินกันต่อไป จนกว่าความฝันใฝ่และความหวังของประชาชนจะบรรลุถึงเป้าหมาย อย่างไรก็ตามเราเองมิได้ปฏิเสธทุกวิถีทางที่จะแสวงหาทางออกของความขัดแย้งด้วยความสันติ

เราขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ทางฝ่ายขบวนการเองมีความหนักแน่นและไม่อยากให้เห็นกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพนี้ล่มลงไป ที่ได้ทำการตกลงร่วมกันแล้วเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013

ตามทัศนะของเราต่อกระบวนการสันติภาพที่มีความเปราะบางมากยิ่งนี้ อยากจะขอให้ทำความเข้าใจด้วยว่าคือ (ประการแรก) ระยะทางนั้นมันยังอีกไกล เราเองกำลังอยู่ในช่วงของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน (confidence building) และอยู่ในระหว่างการกำหนดทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า (ที่สอง)ถึงแม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์(ติชม)ต่างๆ นานา จากคนข้างนอก เราเองก็พอที่จะเข้าใจถึงความตั้งใจแน่วแน่ของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมกันพยายามหาทางออกของปัญหาด้วยวิถีทางการเมืองโดยผ่านการพูดคุยบนโต๊ะเจรจา (ที่สาม)ความจริงใจที่ได้แสดงออกจากทางฝ่ายมาเลเซีย ทำให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพนี้จะต้องเดินหน้าต่อไป ทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น

จนถึงบัดนี้ยังไม่ได้มีข้อตกลงอะไรจากทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้แต่อย่างใด นอกจากเป็นการพูดคุยประเด็นปัญหาพื้นฐานและรวมไปถึงแนวทางในการพูดคุยต่อจากนี้ เงื่อนไขแรกทั้งห้าข้อไม่มีแม้แต่ข้อเดียวที่ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญไทย ถ้าหากว่ารัฐไทยทำการยอมรับ มันจะเป็นการบ่งชี้ที่ชัดเจน ให้แก่นักต่อสู้ที่อยู่ในพื้นที่ให้เห็นว่า ทางฝ่ายไทยนั้นมีความมุ่งมั่นและจริงใจในการคลี่คลายปัญหา นั่นก็คือการลดปฏิบัติการทางทหารและความตึงเครียดในพื้นที่ลงได้

เราได้ดูความมุ่งมั่นของฝ่ายไทยนั้นยังคงมีอยู่ จะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วพวกเค้า(รัฐไทย)ก็ยอมที่จะเดินมาหาเราบนโต๊ะเจรจาอย่างเปิดเผยกับคณะผู้แทนระดับสูงของเรา เหลือเพียงว่าฝ่ายไทยเองจะสร้างความมั่นใจให้แก่เราและนักต่อสู้ที่อยู่ในพื้นที่ ด้วยการตอบสนองทั้งห้าข้อเรียกร้องแรก เพราะนั่นคือเพื่อเป็นหลักประกันของกระบวนการสันติภาพ เหมือนที่ได้เริ่มจากการพูดคุยก่อนไปสู่ระดับของการเจรจา เช่นเดียวกันกับความตั้งใจของมาเลเซียที่ตั้งความหวังอย่างสูง ที่ได้พยายามให้เกิดกระบวนการสันติภาพครั้งประวัติศาสตร์นี้ขึ้น และเราขอชื่นชมเป็นอย่างสูง

สิ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในวันนี้ ก็คือต่อกรณีการพูดคุยครั้งล่าสุดเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 ที่ฝ่ายไทยได้หยิบยกข้อเรียกร้องเพื่อให้ฝ่ายขบวนการลดการปฏิบัติการณ์ลง ในห้วงของเดือนรอมฏอน ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเป็นความต้องการคนในพื้นที่ ทางบีอาร์เอ็นเองก็รับพิจารณาในหลักการด้วยเงื่อนไขบางประการที่ถูกส่งไปในภายหลัง หลังจากที่ได้ถกเถียงในระดับบนแล้ว ทางบีอาร์เอ็นเองก็ได้ตอบรับข้อเสนอดังกล่าวด้วยความเต็มใจ มิเพียงแค่การลดการปฏิบัติการณ์ทางทหารลง แต่ยังได้ยุติ(หยุดอย่างสิ้นเชิง)ทั้งช่วงเดือนรอมฏอนและได้เพิ่มอีกสิบวันของเดือนเชาวัลล์ซึ่งรวมไปแล้ว40วัน

ข้อเรียกร้องทั้งเจ็ดข้อบวกกับอีกสี่เงื่อนไข อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อมีการประกาศออกมา เหมือนเป็นดั่ง “การปะทุของระเบิดครั้งใหญ่” และสร้างความระส่ำระส่ายถึงกรุงเทพจนทำให้เก้าอี้ของรองนายกรัฐมนตรีท่านเฉลิม อยู่บำรุง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมท่านสุกําพล สุวรรณทัต ถูกถอดออกจากตำแหน่ง(เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง)ในครม.ชุดใหม่

ทางฝ่ายขบวนการเอง อยู่ๆก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายที่ต้องการให้กระบวนการสันติภาพเกิดล่ม ด้วยข้อเรียกร้องและเงื่อนไข(7+4) ที่ทางฝ่ายไทยมองว่า “เป็นเรื่องที่เกินเลย” แต่ถ้าคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้ว ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่นั้นก็เคยเป็นสิ่งที่ประชาชนในอดีตเคยเรียกร้องกันมานาน เช่นเรื่องการถอนทหารออกจากพื้นที่ความขัดแย้ง หากพิจารณาด้วยเหตุผลที่ดีจะพบว่า ถ้าเป้าหมายแรกของนักต่อสู้คือกองกำลังของศัตรู(กองกำลังของรัฐ) และพวกเค้า(ศัตรู)ก็ได้ถอยไป ก็จะไม่มีเป้าหมายให้ได้ปฏิบัติการณ์อีกต่อไป คงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขา(นักต่อสู้)จะเปลี่ยนเป้าหมายไปเป็นประชาชนผู้อ่อนแอ ในช่วงที่ปราศจากกองกำลังของรัฐดำรงอยู่ในพื้นที่ เพราะพวกเขาคือนักปกป้องประชาชน

การต่อรองถือว่าเป็นเรื่องปกติในเวทีการเจรจา ในช่วงของการพูดคุยอย่างปัจจุบันนี้ ทางฝ่ายไทยเองก็สามารถที่จะรับ ที่จะต่อรอง หรือที่จะปฏิเสธในบางข้อ และทางฝ่ายขบวนการเองก็จะให้ความอะลุ่มอล่วยเช่นเดียวกันหากสมเหตุสมผล

บัดนี้ทุกฝ่ายต่างก็รอคอยการมาเยือนของรอมฏอนในปีนี้ด้วยใจระทึก ฝ่ายไทยจะสนองข้อเสนอของบีอาร์เอ็นหรือไม่?และบีอาร์เอ็นจะอ่อนข้อกระนั้นหรือ? ชาวปาตานีที่เป็นมุสลิมจะผ่านพ้นเดือนรอมฏอนโดยที่ปราศจากการคุกคามไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด? และคนที่มิใช่มุสลิมเองก็จะได้ลิ้มรสบรรยากาศของความสงบสุขไปด้วย หรือว่าสถานการณ์มันจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม? ยากเหลือเกินที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า นอกจากรอมฏอนเท่านั้นที่จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน หากว่าทุกฝ่ายต่างมีความจริงใจต่อกันและมีความทุ่มเทอย่างสุดกำลัง ไม่มีเหตุผลอื่นใดว่าเหตุใดสันติภาพความสงบสุขจึงยังไม่สามารถปรากฏขึ้นได้ที่ปาตานี

หมายเหตุ : ในช่วงที่กำลังเขียนบทความชิ้นนี้ ทางฝ่ายผู้อำนวยการมาเลเซีย ได้เปิดการแถลงการณ์ในวันที่สองของเดือนรอมฏอน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า ทั้งสองฝ่าย(ไทยและบีอาร์เอ็น)ได้มีความเห็นร่วมกันเพื่อที่จะลดปฏิบัติการทางทหารลงในช่วงของเดือนรอมฏอนและอีกสิบวันของเดือนเชาวัล(หลังรายอ)

CUKA dan MADU (น้ำส้มสายชู และน้ำผึ้ง)
Dari luar pagar Patani. (จากนอกรั้วปาตานี)
Julai 2013/ Ramadhan 1434. (กรกฏาคม 2556)

 

แปลจาก : http://www.deepsouthwatch.org/node/4536