Skip to main content

 หลังจากคลิปวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในวันที่ 20 พ.ย. 2554 ณ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ถูกเผยแพร่ทางโซเีซียลมีเดียจนถึงเป็นที่รู้จักกัน ท่านโฆษก กอ.รมอ. ภาคสี่ส่วนหน้า ให้คำสัมภาษณ์กับ นสพ. The Nation ดังต่อไปนี้ 

"Such posting of clips by ill-intentioned persons is aimed at getting the public to misunderstand and hate state officials, so I want everyone to exercise discretion in consuming news and information and to probe such occurrences."

“การโพสต์คลิปลักษณะนี้โดยผู้ที่ประสงค์ที่ไม่ดีต่อรัฐ มีเป้าหมายที่จะทำให้มวลชนเข้าใจผิดและเกลียดจังเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฉะนั้นผมอยากให้ทุกท่านใช้พิจารณญาณในการบริโภคสื่อหรือข้อมูล และสื่บสวนเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย (แปลโดยผู้เขียน)” 

จาก: 
http://www.nationmultimedia.com/national/Video-clip-on-South-clash-not-new-30213652.html

ชัดเจนว่า คนที่โพสต์คลิปดังกล่าวไม่น่าจะมีความประสงค์ที่ดีต่อรัฐ แต่สิ่งที่ทำให้ “มวลชนเข้าใจผิดและเกลียดจังเจ้าหน้าที่ของรัฐ” นั้น ไม่ใช่่แค่การโพสต์คลิปเช่นนี้อย่างเดียวเท่านั้น แต่พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ที่ถูกบันทึกไว้ในคลิปนี้ด้วย 

ในคลิปดังกล่าว อย่างน้อยมีพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่สองอย่างที่ก่อให้เกิดความส่งสัย อย่างแรกคือ หลังจากการยิงกราดสิ้นสุดตามคำสั่งของหัวหน้า (“หยุดยิง”) เจ้าหน้าที่ก็เข้าใกล้กระท่อมที่เป็นที่เก็บอาวุธของผู้ต้องสงสัย และพบผู้ต้องสงสัยบางคนที่ล้มอยู่ในพุ่มไม้ (น่าจะเสียชีวิตไปแล้ว) หลังจากพบผู้ต้องสงสัยเหล่านี้ มีเจ้าหน้าที่บางท่านยังปล่อยกระสุนในระยะสั้นไปทางผู้ต้องสงสัย (ศพ) เสมือนทำให้แน่ใจว่า ผู้ต้องสงสัยตายจริงๆ ทั้งๆ ที่หัวหน้าออกกำสั่งว่า หยุดยิง ก็ตาม...

อย่างที่สองคือ มีเจ้าหน้าที่สองนายที่จับมือกัน เสมือนแสดงความดีใจหลังจากประสบความสำเร็จ 

คำถามคือ การใช้ความรุนแรง (อาวุธสงคราม) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้โดยเจ้าหน้าที่มีความประสงค์อะไร การที่ปล่อยกระสุนในระยะสั้นดังเช่นในคลิปวีดีโอนี้เกิดขึ้นหลังจาก “ปะทะกัน” เสร็จสิ้น (ฉะนั้นท่านหัวหน้าออกกำสั่งว่า “หยุดยิง”) แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ที่ปล่อยกระสุนนั้นอาจจะมีเจตนาที่จะฆ่าผู้ต้องสงสัย 

ถ้ามีการเสียชีวิตของผู้ต้องสงสัยจากการใช้อาวุธสงครามโดยเจ้าหน้าที่เกิดขึ้นในการปะทะกัน ถือว่าเป็นวิสามัญฆาตกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ แต่การยิงกระสุนในระยะสั้นเช่นนี้ไม่น่าจะอยู่ในขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ 

อีกอย่าง การลงโทษผู้ต้องสงสัยไม่ใช่หน้าที่ของทหารหรือตำรวจ แต่หน้าที่ของศาลยุติธรรม เพราะฉะนั้น การที่ผู้ต้องสงสัย (ที่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่ากระทำผิดจริงหรือไม่) เสียชีวิตนั้น ความจริงแล้ว ไม่ใช่ความสำเร็จ เพราะหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงก็คือการควบคุมตัวเพื่อนำตัวผู้ต้องสงสัยขึ้นศาลและได้รับการพิจารณาคดี นี่คือกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้เอง การที่ผู้ต้องสงสัยเสียชีวิตไปในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี เพราะเหตุการณ์สามจังหวัดไม่ใช่สงครามกลางเมือง 

เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจะมีความชอบธรรมตราบใดที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย แต่การกระทำของเจ้าหน้าที่ในคลิปดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีเจ้าหน้าที่บางท่านที่กระทำอย่า่งไม่เหมาะสม 

สิ่งที่ฝ่ายรัฐจำเป็นต้องปฏิบัติไม่ใช่ประณามผู้ที่โพสต์คลิปดังกล่าว แต่ใ้ห้คำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตามกฎหมายและหลักการปฏิบัติ พร้อมด้วยอธิบายว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ในคลิปนี้ขัดกับหลักการปฏิบัติหรือไม่