Skip to main content

K4DS POST ฉบับเดือนตุลาคมต้อนรับ เทศกาลอาหารโลก ซึ่งเมื่อกล่าวถึงอาหารฮาลาลในพื้นที่ชายแดนใต้ นั้นนอกจากจะแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในเรื่องอาหารการกินของพี่น้องชาวมุสลิม แล้วนั้นแต่ฮาลาลยังเป็นยุทธศาสตร์ด้านกำลังการผลิตของรัฐบาลและองค์กรในพื้นที่ชายแดนใต้อีกด้วย เนื่องจากทั่วโลกมีประชากรที่เป็นมุสลิมกว่า2,000 ล้านคน และอยู่ในกลุ่มประเทศ IMT-GT คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ถึง 300 ล้านคน จึงนับเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่จะสามารถเชื่อมโยงผู้ผลิตฮาลาลไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ไปสู่ตลาดฮาลาลโลกได้
ฮาลาล: อาหารไทย-อาหารโลก

เมื่อวันที่ 5-8 กันยายน 2556 สถาบันฮาลาล ม.สงขลานครินทร์.ได้จัดงานฮาลาลนานาชาติ World Hapex 2013 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฯ ม.อ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ ทางฮาลาลในพื้นที่ชายแดนใต้ กระตุ้นผู้ผลิตสินค้าในจังหวัดชายแดนใต้และภูมิภาคอื่นๆ ให้เกิดความตื่นตัวและสร้างโอกาสให้เกิดการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้เป็นที่รู้จัก ทั้งภายในและต่างประเทศ กระตุ้นให้เกิดการสร้างและขยายงานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ชายแดนใต้ให้เชื่อมโยงกับประเทศมุสลิมในภูมิภาคอื่น เพื่อผลักดันให้เกิดการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดชายแดนใต้และประเทศ และเพื่อส่งเสริมยกระดับความสามารถและสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตฮาลาลไทยไปสู่ตลาดโลก

K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้

อาหารอัตลักษณ์มลายูไทย ครัวมุสลิมชายแดนใต้ โดย วินัย ดะห์ลัน, 2553.

...เนื้อหาในเล่มสอดแทรกสาระความรู้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจวิถีวัฒนธรรมด้านการกินของ คนมลายูในพื้นที่อันมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ความเชื่อ ศาสนา แล้วผสมกลมกลืนจนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น ที่บริโภคกันทั่วไป โดยเรื่องราวอันน่าสนใจที่ผู้เขียนพยายามสื่อยังมีนัยยะว่า อาหาร คือสื่อกลางที่ดีในการสร้างมิตรภาพและสันติภาพ หากคนไทยในภูมิภาคอื่นได้รู้จัก และรักอาหารในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ คุ้นชินกับชื่อมลายู ย่อมจะทำให้เข้าใจ ชื่นชม และให้เกียรติวัฒนธรรมของเจ้าของตำรับ ท้ายที่สุดความสมานฉันท์ย่อมติดตามมา...

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

อาหารฮาลาลในบทบัญญัติอิสลาม โดย อัสมัน แตอาลี, 2552

...เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยบทบัญญัติตามหลักศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับหลักการมาตรฐาน และวิธีการได้มาของอาหารฮาลาลตามขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยถือว่าอาหารที่ฮาลาลจะต้องเป็นอาหาร ที่อัลลอฮฺอนุมัติให้สามารถบริโภคได้และต้องไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกที่เรียกว่านะญิส เรื่องราวของ อาหารฮาลาลไม่เพียงแต่เน้นเรื่องวิธีการได้มาหรือการปรุงอาหาร แต่ยังเน้นถึงคุณค่าต่อผู้ผลิตและ ผู้บริโภคด้านความสะอาด บริสุทธิ์ ความละเอียดลออ เพราะศาสนาอิสลามเชื่อว่าอาหารมีส่วนสำคัญ ในการหล่อเลี้ยงร่างกายและส่งผลต่อจิตใจ ให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและการประกอบศาสนกิจ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระเจ้าได้อย่างสมบูรณ์...

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ คลิ๊กที่นี่

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ : คลิ๊กที่นี่