Skip to main content

เหมือนขวัญ เรณุมาศ

เมื่อพิจารณากรณีกระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย นับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งตัวแทนคู่ขัดแย้งหลักได้ลงนามในฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพ (General Consensus on Peace Dialogue Process) นับเป็นหมุดหมายอันดีที่จะยุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ระดับหนึ่ง แต่ทว่าคงไม่อาจบอกอย่างฉาบฉวยได้ว่าการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้จะนำมาซึ่งสันติภาพเชิงบวกอย่างอย่างเร็ววัน แต่คงจะจริงที่สุดหากบอกว่า กระบวนการพูดคุยสันติภาพเกือบจะทุกที่จะต้องเจอกับความท้าทายบางประการที่จะส่งผลให้แต่ละฝ่ายไม่ยินยอมผ่อนปรนประนีประนอมต่อกัน บทความชิ้นนี้จะทำการพิเคราะห์ ปัจจัยที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างยากที่จะยินยอมผ่อนปรนประนีประนอมกันบนเส้นทางการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็น
 
   หลายต่อหลายครั้งนักวิชาการชายแดนใต้ได้ออกมาแสดงทัศนะเกี่ยวกับการพูดคุยสันติภาพอย่างไม่ขาดสาย บางทัศนะบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงอุปสรรค์ขัดขวางที่อาจทำให้การพูดคุยสันติภาพล้มครืน อาทิเช่น การยึดติดกับอำนาจอธิปไตยของรัฐมากจนเกินไป การไม่หยุดยั้งการกระทำที่รุนแรงของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ การบิดเบือนข่าวของสื่อ รวมถึงความไม่พร้อมของฝ่ายกองทัพ และข้อเรียกร้องที่คลุมเครือของกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น ทั้งหมดถูกนำเสนอผ่านสื่อจำนวนมาก ทำให้สังคมรับรู้ได้ถึงความไม่มั่นคงในการพูดคุยของทั้งสองฝ่าย แต่ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนมองว่าสำคัญและนับเนื่องเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การทำให้ต่างฝ่ายยังคงไม่ผ่อนปรนประนีประนอมต่อกัน คือ ประเด็นการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนของสื่อ ทั้งสื่อกระแสหลัก สื่อทางเลือก และสังคมออนไลน์
 
ถึงแม้สื่อบางสื่อจะออกตัวว่าเป็นสื่อที่วางตัวเป็นกลาง แต่คงไม่จริงอย่างที่ออกตัวเสมอไป เพราะโดยสัจจะ สื่อทุกสื่อย่อมเลือกข้างเสมอ และนำเสนอข่าวตามความเชื่อความศรัทธาของตนเอง สื่อบางสื่อยืนอยู่บนผลประโยชน์ที่ฟากฝ่ายตนเองยึดถือ และสื่อบางสื่อเลือกจะนำเสนอข่าวที่แรงๆ เพื่อให้ดูน่าสนใจและติดตามมากกว่านำเสนอความจริง ในยุคสื่อสมัยใหม่จึงยากมากที่จะพิเคราะห์แยกแยะระหว่าง “ข้อมูล” กับ “ความจริง” ได้ เช่นเดียวกันการนำเสนอข้อมูลทั้งที่เป็นข่าวเหตุการณ์ทั่วไป และข่าวทางวิชาการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มักเป็นข่าวหรือบทความที่คาบเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้ง ที่มีแต่ข่าวและบทความ “สร้างความขัดแย้ง” และ “ความรุนแรง” เนื่องด้วยบางข่าวบางบทความยังคงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ใครดี ใครถูก ใครชั่ว และใครผิด ซึ่งการนำเสนอในลักษณะนี้ย่อมไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอนในเส้นทางการพูดคุยสันติภาพ มีแต่จะเติมเชื้อความเกลียดแค้น สร้างทัศนคติไม่ดีให้กับผู้คนและสร้างบรรยากาศทางลบให้กับกระบวนการพูดคุยสันติภาพอีกด้วย
 
ข่าวที่ถูกนำเสนออกมาผ่านสื่อกระแสหลักมักเป็นข่าวในรูปแบบของการยั่วยุให้ใช้กำลังกันตลอดเวลา และการสร้างความชอบธรรมให้กับอีกฝ่ายทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งจากการเรียกขานผู้ก่อเหตุความรุนแรงว่า color:#231F20">“โจรใต้” ดังนี้
 
 
 
 
การเลือกใช้คำของสื่อกระแสหลัก นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าสื่อขาดความเป็นฆาราวาส ขาดความเข้าใจสถานการณ์ของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังเป็นการบ่งชี้ว่าสื่อไทยนั้นยังมีอคติในการนำเสนออีกด้วย ส่งผลให้สังคมภายนอกมักเกิดความคืบแคลงใจว่าเหตุใดรัฐจึงต้องเจรจากับ color:#231F20">“โจร” สังคมภายนอกค่อนข้างมาก จึงมีเสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนักต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ซึ่งจะไม่ส่งผลดี เพราะการพูดคุยสันติภาพจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายในสังคม
 
ขณะเดียวกัน สื่อทางเลือกและสังคมออนไลน์ มักเป็นสื่อที่ยืนเคียงข้างประชาชนเสมอ แต่บางครั้งสื่อทางเลือกและสังคมออนไลน์ก็มีบ้างที่นำเสนอข้อมูลอย่างลำเอียง บางกรณีการนำเสนอข้อมูลของสื่อทางเลือกและสังคมออนไลน์ก็วางอยู่บนพื้นฐานของการจดจำความอยุติธรรมที่เคยเกิดขึ้นกับบุคคลตัวแทน เช่น การจดจำว่ากลุ่มขบวนการฆ่าทหารฆ่าตำรวจและฆ่าพระสงฆ์ และอีกแง่หนึ่ง คือ การจดจำว่าฝ่ายทางการไทยลักพาตัวฮัจญีสุหลง และอุ้มฆ่า ทนายสมชาย นีละไพจิตร การให้ข้อมูลแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจส่งผลทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและไม่ประนีประนอมต่อกัน แน่นอนก่อนที่จะมีการพูดคุยสันติภาพ ประชาชนในพื้นที่มักถูกสังคมภายนอกมองว่าเป็นผู้ร้ายเสมอ เพราะสื่อกระแสหลักนำเสนอข้อมูลด้านเดียว ทำให้สื่อทางเลือกต่างๆ ผุดขึ้นเพื่อนำเสนอความจริงอีกด้านจากคนใน ซึ่งนับเป็นความพยายามที่ดียิ่ง แต่บ่อบครั้งสื่อทางเลือกหลายๆ แห่งก็ยากที่จะหยุดนำเสนอเรื่องราวตอกย้ำอดีตซ้ำไปมาอย่างจำเจ ทว่าจะไม่ส่งผลดีแล้วยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนสองฝ่ายต้องไม่ลงรอยและแตกร้าวอีกด้วย
 
ตามทัศนะของผู้เขียนจึงมองว่าเมื่อความขัดแย้งขับเคลื่อนมาถึงจุดที่มีการพูดคุยสันติภาพแล้วนั้น การทำเสนอข่าว “ความขัดแย้ง” และ “ความรุนแรง” ในลักษณะที่โต้ตอบกันไปมามากเกินไปก็ดูเหมือนเป็นการสร้างสงครามสื่อ และผู้เสพสื่อก็จะมีทัศนคติและพฤติกรรมที่คล้อยตาม มีทัศนคติแบ่งแยก และกลัวต่อการพูดคุยสันติภาพ เพราะเชื่ออย่างสนิทใจไปแล้วว่าอีกฝ่าย “เลว” อย่างไม่น่าพูดคุยด้วย และสังคมเกิดการตัดสินไปแล้วว่า ใครเป็นฝ่ายถูก ใครเป็นฝ่ายผิด ที่สำคัญประชาชนจะเกิดความไม่เชื่อถือแหล่งข่าวนั้นๆ ตามมา ดังข้อความที่ปรากฏ
 
 
ภาพนี้ถูกดึงมาจากคอมเม้นในเพจหนึ่ง เป็นเพจที่มีการนำข่าวจากสื่อหนึ่งมาลงไว้ และมีผู้มาแสดงความคิดเห็น ส่วนที่มาของภาพและชื่อเจ้าของคอมเม้นมิอาจเผยแพร่ได้

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมิได้หมายความว่าสื่อทุกสื่อ จะนำเสนอข่าวความขัดแย้งและความรุนแรงมิได้ ความจริงคือ นำเสนอได้แต่ต้องให้รอบด้านมากที่สุด ตรงไปตรงมาโดยไม่เพิ่มเติมความรู้สึกและอคติต่างๆ และเป็นข่าวที่ไม่ได้มาจากความเชื่อ ความจดจำเบื้องหลัง ที่สำคัญ ณ ขณะนี้สื่อต้องพิจารณาแล้วว่า ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านความรุนแรงสู่สันติวิธี สื่อควรจะเป็นสื่อ “เพื่อความขัดแย้ง” หรือสื่อ “เพื่อสันติภาพ” ?