Skip to main content

มีสื่อบางรายติดต่อมาถามข้อคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเกี่ยวกับร่างพรบ.นิรโทษกรรม แต่ผมก็ของดแสดงความเห็น เพราะลักษณะของปัญหาเกี่ยวกับร่างพรบ. ดังกล่าวเป็นปัญหาการเมืองของไทย ซึ่งผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงต้องแก้ไขเอง (ส่วนผมไม่มีสิทธิดังกล่าว แค่เป็นผู้เสียภาษี)

ตรงกันข้าม สิ่งที่ผมต้องการต่อต้านอย่างชัดเจนคือระบบกฎหมายที่บกพร่องที่เอื้อต่อการละเมิดสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐาน

ทุกครั้งได้ยินข่าวการซ้อมทรมานหรือการปราบกรประท้วงที่ใช้ความรุนแรงโดยเจ้าพนักงานของรัฐ ผมเคยคิดว่า ปัญหาอยู่ที่ความโหดร้ายของเจ้าพนักงานรัฐ แต่หลังจากเข้าประชุมกับทนายความในพื้นที่เพิ่งทราบว่า ในกฎหมายอาญาของประเทศไทย ไม่มีข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวข้องกับการซ้อมทรมาน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐภาคีของ อนุสัญญาต่อจ้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยี่ศักดิ์ศรีก็ตาม (ดูhttp://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?mtdsg_no=IV-9&chapter=4&lang=en) เพราะฉะนั้น ระบบกฎหมายไทยปัจจุบันไม่สามารถเป็นสิ่งขัดขว้าง (deterrent) ไม่ให้เกิดการซ้อมทรมานหรือการใช้ความรุนแรงของเจ้าพนักงานของรัฐ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคง ในเมื่อการซ้อมทรมานไม่เป็นการกระทำผิดตามกฎหมายใดๆ คดีที่สู้ได้ก็แค่คดีทำลายร่างกายอย่างเดียว

นอกจากนี้ กฎหมายพิเศษที่บังคับใช้กันอยู่ในสามจังหวัดและกรณีฉุกเฉินอื่นๆ (พรก.กรณีฉุกเฉินและพรบ. อัยการศึก) ให้ impunity อย่างเต็มทีแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง หมายความว่า เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการทำลายร่างกายหรือการทำลายชีวิตก็ตาม

การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบกระบวนการยุติธรรมด้วย เพราะเมื่อผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐฟ้องคดี สิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งก็คือ ศาลไม่รับฟัง เพราะศาลไม่มีอำนาจดำเนินคดีเหล่านี้ ตรงกันข้าม คดีนี้ถ้าพิจารณาก็ต้องไปศาลทหาร ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยลงโทษต่อผู้กระทำผิด เพราะในศาลทหาร ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินโดยทหาร

เมื่อเราถามบรรดาผู้บังชาการทหารระดับนายพล คำตอบที่ได้รับก็เป็นคำถามแบบเดียวกัน พวกเขาก็บอกว่า ไม่มีนโยบายที่จะใช้การซ้อมทรมานแน่นอนว่า ไม่มีนโยบายเช่นนี้ แต่สิ่งที่พวกเขาควรตอบก็คือ อะไรเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการ สำหรับการใช้อำนาจ ฝ่ายความมั่นคงก็ออกกฎระเบียบ แต่กฎระเบียบดังกล่าวก็แค่เป็น คำแนะนำเพราะไม่มีบทลงโทษใดๆ ต่อผู้กระทำผิดเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้เอง ปัญหาการใช้อำนาจผิดโดยเจ้าพนักงานรัฐ (โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคง) ไม่ใช่แค่ความโหดร้ายของเจ้าพนักงานอย่างเดียว แต่ต้องเอาบทสรุปว่า ระบบกฎหมาย ณ ปัจจุบัน เป็นระบบที่บกพร่องเพื่อที่จะขัดขว้างไม่ให้การกระทำผิดเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การใช้อำนาจผิด รวมไปถึงการซ้อมโทรมานและวิสามัญฆาตกรรมก็คงจะเกิดขึ้นอีก เพราะการกระทำเหล่านี้ไม่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย

ตามอนุสัญญาต่อจ้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยี่ศักดิ์ศรี การทรมานหมายถึง:

การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม สำหรับการกระทำ ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามหรือเพราะเหตุผลใดๆ บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำโดยหรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจากหรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย

จาก http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-obligation/international-human-rights-mechanism/cat

เราจำเป็นต้องต่อต้านการกระทำผิดโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าการกระทำผิดนั้นเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม แต่ตราบใดที่เราแค่ต่อต้านการกระทำโดยไม่ต่อต้านระบบกฎหมาย การกระทำผิดจะเกิดขึ้นอีก เพราะจิตสำนักไม่อาจเกิดขึ้นในเมื่อไม่มีการกำหนดที่ชัดเจนว่า การซ้อมทรมานเป็นการกระทำผิดกฎหมายตามกฎหมายอาญา ซึ่งศาลสามัญ (ที่ไม่ใช่ศาลทหาร) สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้

ผมไม่ต่อต้านกฎอัยการศึก ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกือบทุกประเทศมีเพื่อจัดการกรณีฉุกเฉินจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาสาระของกฎหมายดังกล่าวซึ่งฝ่ายรัฐใช้เพื่อป้องกันการกระทำผิดของเจ้าพนักงาน และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวตามอำเภอใจโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นอย่างละเอียด

นอกจากนี้ เราก็ต้องตั้งคำถามว่า ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเมื่อมีกฎหมายพิเศษหนึ่งฉบับ (กฎอัยการศึก) มีความจำเป็นอยู่ตรงไหนที่จะต้องใช้กฎหมายพิเศษอีกสองฉบับ (พรก. ความมั่นคงและพรก. ฉุกเฉิน) กฎอัยการศึกและพรา.ฉุกเฉินให้อำนาจต่อรัฐเพื่อควบคุมผู้ต้องสงสัยเป็นเวลา 37 วัน (7 วันจากกฎอัยการศึกและอีก 30 วันจาก พรก.) สำหรับ 7 วันแรกตามกฎอัยการศึก สิทธิต่างๆ ของผู้ต้องสงสัยถูกจำกัดมากกว่าผู้กระทำผิดตามกฎหมายอาญา ทั้งๆ ที่ฐานะของบุคคลนั้นแค่เป็นผู้ต้องสงสัยก็ตาม 

คนไทยจะยอมรับระบบกฎหมายแบบนี้ถึงเมื่อไร ตราบใดที่เรายอมรับระบบกฎหมายเช่นนี้ (และข้อจำกัดต่อกระบวนการบยุติธรรม) การกระทำผิดโดยเจ้าพนักงานของรัฐก็ย่อมเกิดขึ้นอีก