color:#222222">ยูเอ็นประกาศขอความร่วมมือองค์กรภาคประชาสังคมส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการทรมานในไทย เพื่อประกอบการพิจารณารายงานของไทยในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปีหน้า
color:#222222">วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ที่กรุงเจนีวา ทางคณะกรรมการต่อต้านการทรมานที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีด้วยนั้น ได้ส่งเอกสารขอความร่วมมือองค์กรทำงานด้านสิทธิมนุษยชนส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯ ประกอบการพิจารณารายงานความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) โดยในการประชุมครั้งที่
color:#222222">52 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึง23 พฤษภาคม 2557 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 7 ประเทศสมาชิกที่รายงานจะถูกนำขึ้นมาพิจารณา รายชื่อ 7 ประเทศในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ไซปรัส ลิทัวเนีย มอนเตเนโกร์ อุรุกวัย โฮลีซี เซเรลีออน และประเทศไทย รายงานของรัฐบาลไทยได้จัดส่งแล้วสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://tbinternet.ohchr.org/_layouts/treatybodyexternal/Download.aspx?symbolno=CAT%2fC%2fTHA%2f1&Lang=en สำหรับประเทศไทยกำหนดการส่งรายงานคู่ขนานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องของภาคประชาสังคมสามารถจัดได้ภายในวันที่ 11 เมษายน 2557 โดยจัดส่งทางอีเมล์ที่ [email protected] และที่ [email protected] โดยเอกสารที่จัดส่งให้ทางยูเอ็นจะเปิดเผยในทางเวปไซด์ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน และเผยแพร่ต่อรัฐบาลไทยด้วย
color:#222222">ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และอนุสัญญามีผลใช้บังคับกับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา การรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา มีผลให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาและจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยเสนอต่อคณะกรรมการรต่อต้านการทรมาน (UN Committee against Torture) โดยรายงานฉบับแรกให้เสนอภายในหนึ่งปีหลังจากอนุสัญญามีผลบังคับ และหลังจากนั้นก็ต้องเสนอรายงานทุกๆสี่ปี
color:#222222">อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สมัชชาสหประชาชาติตกลงรับเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2527 อนุสัญญาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระทำการสองประการที่ต้องห้ามเด็ดขาด ไม่ว่าในสถานการณ์หรือข้ออ้างใดๆ (Absolute Prohibition) ไม่ให้เจ้าพนักงานของรัฐกระทำการ (รวมทั้งละเว้นกระทำการ) ยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำ คือ ประการที่(1) “การทรมาน” และ ประการที่(2) “การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ายีศักดิ์ศรี” ซึ่งรัฐภาคีของอนุสัญญามีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติ โดยการจัดให้มีและใช้มาตรการต่างๆ ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการกระทำดังกล่าว และจะต้องชดใช้เยียวยาด้วยวิธีการต่างๆแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อและผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการลงโทษเจ้าพนักงานที่กระทำผิด
color:#222222">“การทรมาน” ตามความหมายของอนุสัญญาหมายถึง การกระทำของเจ้าพนักงานรัฐ หรือการกระทำของบุคคลอื่นที่เกิดจากการยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานรัฐ ต่อบุคคล (1) ให้เกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางร่างกาย หรือ จิตใจ เพื่อมุ่งประสงค์ให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข้อสนเทศหรือคำรับสารภาพจากบุคคนั้นหรือบุคคลอื่น หรือ (2) การลงโทษ หรือข่มขู่ให้กลัว หรือบังคับขู่เข็ญ บนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด
color:#222222">ส่วน “การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ายีศักดิ์ศรี” อนุสัญญาไม่ได้ให้คำนิยามไว้ เหตุผลประการหนึ่งก็เนื่องจากแม้จะมีหลักการพื้นฐานร่วมกันบางประการ แต่ปัจจัยในเชิงสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม การกระทำและสภาพแวดล้อม และความเป็นพลวัฒน์ของปัจจัยเหล่านั้น มีส่วนอย่างมากในการที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีหรือไม่ ทั้งการกระทำดังกล่าวมีหลากหลายรูปแบบ การให้คำนิยามอาจส่งผลให้เป็นการจำกัด ทำให้การกระทำบางอย่างในอนาคตไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามอนุสัญญานี้