กลางกรุ่นกลิ่นอายที่ยังไม่ทันจางหายไปของดอกชบา-สัญลักษณ์ของสันติภาพชายแดนใต้ในงานมหกรรมสื่อสันติภาพชายแดนใต้ “10 ปีความรุนแรง 1 ปีสนามสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี” ที่ซึ่งพลังเชิงบวกของภาคประชาสังคมที่สามารถเชื่อมร้อยโครงข่ายการทำงานที่เกาะเกี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น และการสื่อสารสาธารณะที่สามารถทำให้ทุกภาคส่วนมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมถูกเรียกร้องและคาดหวังในการขับเคลื่อนกระบวนสันติภาพ K4DS Post ฉบับเดือนมีนาคมชวนทุกท่านย้อนทบทวนกระบวนการสันติภาพและบทบาทของสื่อภาคประชาชนที่ผ่านมาเพื่อที่จะเดินหน้าต่อบนเส้นทางสู่สันติภาพของพื้นที่แห่งนี้
กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี: หนึ่งปีที่ผ่านมาและอีกหลายปีต่อจากนี้
ในงานมหกรรมวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักวิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ความรุนแรงใน 10 ปีที่ผ่านมาสร้างความสูญเสียมามากพอแล้ว ต้องลดเงื่อนไขความรุนแรงทุกรูปแบบ ต้องใช้สันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้ง แม้ 1 ปีที่ผ่านมาการพูดคุยเพื่อสันติภาพยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ยอมแพ้ โดยความไว้วางใจของกลุ่มที่เข้าร่วมการพูดคุยด้วยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และจำเป็นที่ทุกคนต้องมีหน้าที่เป็นกลไกในการพูดคุยที่หลากหลายเพื่อเป็นหลักประกันให้ทุกฝ่ายยอมรับ
K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้
เราจะทำให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร? โดย คณะทำงานสร้างพื้นที่สันติภาพจากคนใน (Insider Peacebuilders Platform, IPP), 2557.
"...การลงนามในเอกสาร ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งยืดเยื้อมากว่า 10 ปี พัฒนาการนี้ทำให้แม้แต่คนในพื้นที่เองก็ยังประหลาดใจ ในอีกด้านหนึ่งพลวัตของกระบวนการพูดคุยสันติภาพยังส่งผลให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ทางการเมืองที่เพิ่มการถกเถียงในประเด็นใจกลางของความขัดแย้งที่ชายแดนใต้มากยิ่งขึ้น..."
"...เอกสารเชิงนโยบายนี้อธิบายถึงความสำเร็จและข้อบกพร่อง วิเคราะห์อุปสรรค และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่นี้ให้เป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นทั้งจากคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายและสาธารณชน เพื่อให้กระบวนการนี้แข็งแกร่งและสามารถจัดการและรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่จะต้องเผชิญในอนาคต..."
อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่
สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร: บทเรียนจากอินโดนิเซียและฟิลิปปินส์ เก็บความจากบรรยายสาธารณะโดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ โดย ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ 2557.
“…ในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งสำคัญในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย สิ่งที่เรียกว่า "สื่อภาคประชาชน" และแนวคิดเกี่ยวกับ "สิทธิในการสื่อสาร" เติบโตขยายตัวขึ้นได้อย่างไร สื่อเหล่านี้มีพลังในการกำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองของพวกเขาอย่างไร ประสบการณ์ของการเคลื่อนไหวของสื่อประชาชนดังกล่าวจะเป็นบทเรียนให้กับผู้คนในพื้นที่ความขัดแย้งในชายแดนใต้ได้หรือไม่...”
อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่