Skip to main content

วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาเป็น “วันสตรีสากล” อันถือเป็นวันสำคัญเพื่อสร้างความตระหนักและให้คุณค่ากับผู้หญิง ในฐานะสมาชิกหนึ่งในสังคมที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติ เท่าเทียม และได้รับการปกป้องคุ้มครอง ให้ปลอดภัยจากความรุนแรง K4DS Post ฉบับเดือนเมษายนนี้ ชวนคุยเรื่องของผู้หญิง เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของแม่ ภรรยา น้องสาว หรือลูกสาวของเราในพื้นที่แห่งนี้

59 องค์กรร้องหยุดความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิงและพลเรือน

ในงานมหกรรมวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี 59 องค์กรได้มีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ต่อทุกฝ่าย ให้ยุติความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และพลเรือน โดยระบุว่าตลอด 10 ปี ของความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้หญิงเสียชีวิต 395 คน บาดเจ็บ 1,596 คน โดยเสียงของสตรีผู้เป็นเหยื่อจากเหตุการณ์ความรุนแรงมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า “...ขอให้กองกำลังติดอาวุธ จากทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรงทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้หญิง รวมทั้งพลเรือนทั่วไป เจ้าหน้าที่รัฐต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการก่อเหตุต่อเด็ก ผู้หญิง และพลเรือนอย่างสุดความสามารถ..."


K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้

เสียงของความหวัง บรรณาธิการโดย ฐิตินบ โกมลนิมิ, 2555.

 

 

"…เรื่องเล่าของผู้หญิงเพื่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ เป็นคำให้การของผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พวกเธอเป็นเสียงเงียบที่อยู่เบื้องหลังความรุนแรง เป็นคนที่ได้รับผลกระทบจากการที่ ครอบครัวหรือคนที่ตัวเองรักสูญเสียชีวิตหรือไร้อิสรภาพจากเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว..."

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่


บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
โดย อังคณา นีละไพจิตร, 2553.

 

 

“...วันนี้ของผู้หญิงมลายูมุสลิมจึงอยู่ตรงกลางระหว่างสองทางเลือก ทั้งฝ่ายรัฐไทยที่ต้องการให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาความไม่สงบ และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการสันติภาพ ในขณะที่ อีกฝ่ายคือผู้นำศาสนาและขบวนการชาตินิยมมลายู ที่พยายามให้ผู้หญิงยอมรับและเชื่อมั่นว่า หน้าที่หลักของเธอยังคงอยู่ในบ้าน เพื่อทำหน้าที่ภรรยาและแม่ที่ดี...”

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่