Skip to main content
มูหะหมัดสุกรี แมเราะ และ อับดีลอามัน  สาและ  
นักศึกษา โครงการอบรมเชิงปฏิบัติงานนักผลิตสื่อเพื่อสันติภาพ รุ่นที่ 1 (Wartani Grassroot Media - WGM)  จัดโดย สำนักสื่อ Wartani 
 
 
เมื่อ 12 เมษายน 2557 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สัมภาษณ์ นายอิสมาอีล ฮายีแวจิ บรรณาธิการบริหารสำนักสื่อWartani 
 
นักศึกษา (ผู้สัมภาษณ์)  : ช่วยเล่าประวัติการก่อตั้งสั้นๆ
บ.ก. wartani  :          ก่อตั้งขึ้นในเดือน มกราคม ปี ค.ศ. 2011 โดยการรวมตัวหลายๆองค์กรทั้งหมด 5 องค์กร องค์กร Southern Peace Media, INSouth Media, Bunggaraya News, สันกาลาคีรี ในนามองค์กร “เครือข่ายสื่อคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้” โดยมีพันธะกิจหลักคือ เป็นพื้นที่การสื่อสารโดยคนในพื้นที่เอง เพื่อเล่าเรื่องราวในปาตานีให้คนภายนอกเข้าใจและนำเสนอประเด็นต่างๆ เช่น เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องการไม่ได้รับความยุติธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นที่สื่อกระแสหลักไม่ได้นำเสนอ หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อจาก “เครือข่ายสื่อคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้” มาเป็นชื่อ “สำนักสื่อ Wartani” (War ย่อมาจาก Warta หมายถึง ข่าวสาร ส่วน Tani ย่อมาจาก Patani หรือ สามจังหวัดชายแดนใต้และบางอำเภอของจังหวัดสงขลา )
 
 
นักศึกษา (ผู้สัมภาษณ์)  : แบ่งการทำงานอย่างไรบ้าง
บ.ก. wartani  : การทำงานเชิงโครงสร้างของสำนักสื่อ Wartani แบ่งออกเป็น 3 กอง  ได้แก่ (หนึ่ง) กองข่าวยุทธศาสตร์และกำกับประเด็น มีหน้าที ประมวล วิเคราะห์ข่าวสาร และรายงานข่าว หลักๆคืองานเขียน, (สอง) กองอำนวยการด้านเทคนิค ทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวในรูปแบบ วีดีโอ, สารคดี, ข่าวสั้น 3 นาที ,เวปไซด์ และการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ, (สาม) กองพัฒนาบุคลากรและเครือข่าย จะมีหน้าที่ในการจัดอบรม ผลิตนักข่าว สนับสนุนผู้ผลิตสื่อในเครือข่ายภาคประชาชน 
 
นักศึกษา (ผู้สัมภาษณ์)  : สิ่งที่เจอจากการทำงานในพื้นที่
บ.ก. wartani  : ก็มีบ้างที่เจอ ผลกระทบจากฝ่ายรัฐ มีบ้างที่เจ้าหน้าที่รัฐคุกคาม ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องของความไม่เข้าใจและหวาดระแวง มีเรื่องที่เราถูกใส่ร้ายป้ายสี จากเพจไม่รู้ที่มาในโลกอินเตอร์เน็ต มีการมาเยี่ยมเยือนที้บาน แต่เราก็ทำงานกันอย่างอดทน ทำงานกันเป็นทีม ตอนนี้ทางสำนักสื่อ Wartani ได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติงานนักผลิตสื่อเพื่อสันติภาพ รุ่นที่ 1 (WartaniGrassroot Media - WGM) เพื่อเป็นเกราะป้องกัน ไม่ให้รัฐมาคุกคามทางด้านอิสรภาพของการสื่อสาร เพื่อเปิดพื้นที่การสื่อสารสู่สาธารณะ
 
เพราะ สำนักสื่อ Wartani เป็นสื่อของคนในพื้นที่ จริงๆแล้วช่วงแรกๆก็ยังไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้ว่าจะสื่อสารเรื่องอะไร เราเริ่มด้วยการทำเวปไซด์และรายงานข่าวรายวัน ในโซเชียลมีเดีย ระยะหลังๆ มีคนมาสนใจมากขึ้นทั้งภายนอกและภายใน เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกอื่น ในฐานะที่สำนักสื่อ Wartani เป็นสื่อของคนในพื้นที่ และได้มีการเชื่อมสัมพันธ์กับสื่อระหว่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย พวกเขามาแลกเปลี่ยนในเรื่องของการทำงานทางด้านข่าวสาร
 
นักศึกษา (ผู้สัมภาษณ์)  :  เป้าหมายระยะยาวของ Wartani
บ.ก. wartani  : ในระยาวเราหวังว่าจะมีผู้ผลิตสื่อในพื้นทีโดยคนในพื้นที่เอง และจะเป็นองค์กรสื่อที่มีอิทธิพลเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่า ซึ่งข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมดจะมารวมอยู่ที่ สำนักสื่อ Wartani เพราะประชาชนที่ทำสื่อเองได้ จะเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
 
นักศึกษา (ผู้สัมภาษณ์)  :  ความยากลำบากของการเป็นนักข่าวในพื้นที่นี้
บ.ก. wartani  :  ความด้อยประสบการณ์ ความเป็นมืออาชีพ เพราะผมเริ่มต้นโดยเป็นนักกิจกรรมไม่ได้มีความรู้หรือเรียนด้านนี้โดยตรง มีอุปสรรคด้านปากท้องในเรื่องการดำเนินงาน และทำงาน ณ จุดนี้ไม่มีค่าตอบแทน และส่วนสำคัญคือความไม่สบายใจของครอบครัว ที่ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง
 
 
หมายเหตุ
ผลงานของนักศึกษา โครงการอบรมเชิงปฏิบัติงานนักผลิตสื่อเพื่อสันติภาพ รุ่นที่ 1 (Wartani Grassroot Media - WGM) --สำนักสื่อ Wartani 
 
วิทยากร ผู้ฝึกสอน
นวลน้อย ธรรมเสถียร ประธาน FT Media

พิณผกา งามสม บรรณาธิการ ประชาไท