การประุชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ม.อ.หาดใหญ่ งานนี้นับได้ว่าเป็นการรวมพลนักวิชาการทั่วฟ้าเมืองไทยอีกงานครับ มีหลายประเด็นครับกับการกล่าวถึงในงานวิชาการครั้งนี้และบางประเด็นก็ดุ เดือด (ขอใช้คำนี้เพราัะว่ามันดุเดือดจริงๆกันด้วยเหตุและผลของที่ทุกคนมี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นหนึ่งที่ผมมองว่างานทั้งสองวันถูกกล่าวถึงมากที่ สุดและเป็นประเด็นร่วมสมัย ณ เวลานี้คือคำว่า "Autonomy" คำนี้เท่าที่ฟังดูแล้วมันมีปัญหาสำหรับการนิยามเป็นภาษาไทย เพราะเมื่อแปลมาแล้วมันทำให้คิดได้หลายมุมมองก็สุดแล้วแต่ใครจะคิด ไม่ว่าจะเป็น "การปกครองตนเอง การปกครองตัวเอง การปกครองพิเศษ หรือแม้แต่กระทั่งมีผู้บัญญัติว่า "อัตบัญญัติ...คือการบัญญัติสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง
สำหรับบันทึกของผมวันนี้...จะไม่ขอพูดถึงเรื่องนี้ครับเพราะอย่างที่บอกครับ มันคิดได้ต่างๆนานาเราห้ามความคิดกันไม่ได้ทั้งๆที่โดยเนื้อแท้แล้วมันควรจะ เป็นอย่างไรตรงนี้เป็นสิ่งที่เราน่าขบคิดมากกว่า แต่ที่ผมจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ คำพูดของวิทยากรท่านนึงที่ผมได้เข้าฟังและประทับใจการนำเสนอของอาจารย์ท่าน มากๆและเป็นห้องที่ถือได้ว่ามีคนเข้าเยอะมากจนคับห้องและที่นั่งไม่พอต่อผู้ เข้าร่วมฟังนั่นก็คือห้องสันติศึกษา ที่ประกอบไปด้วย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร รศ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา ผศ.ดร.วีระ สมบูรณ์ และ ดร.พิศาล มุกดารัศมี หลายท่านนำประเด้นเรื่องปรัชญาการเมืองมาเชื่อมโยงกับการพูดถึงปัญหาใน พื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างน่าสนใจ แต่ประเด็นของแต่ละท่านอีกเช่นกันไว้มีโอกาส(อินชาอัลลอฮฺ) ผมจะนำเสนออีกครั้งแต่ที่ผมสนใจคือ คำพูดของท่าน ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ ที่ได้ทิ้งท้ายกับการอยู่กับความรุนแรงไว้อย่างน่าสนใจว่า"วิธีการของการอยู่กับความรุนแรงใดๆที่เกิดขึ้นมันมีหลายวิธี แต่ วิธีการที่ดีที่สุด คือ การให้อภัย" ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะผมเชื่อว่า "การขอโทษ การให้อภัย คือ อารยธรรมแห่งอารยชน" (ขอยืมคำพูดของท่านรองอธิการ อ.มัสลัน มาหามะ) ซึ่งความจริงมีบางประเด็นที่ได้พูดคุยกันเมื่อวานกับท่ารองฯที่น่าสนใจครับ"
อย่างน้อยช่วงเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา มุสลิมทุกคนได้ถูกกำชับให้กล่าวคำขอพรในค่ำคืน อัลก็อดรฺ (คืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนที่ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอน การปฏิบัติศาสนกิจในคืนดังกล่าวย่อมประเสริฐกว่าการปฏิบัติศาสนกิจในเดือน อื่นๆมากกว่า 1,000 เท่า ) ด้วยคำกล่าว ความว่า "โอ้พระเจ้าของฉัน พระองค์คือพระผู้ทรงให้การอภัยยิ่ง ทรงรักการให้อภัย ได้โปรดให้อภัยแก่ฉันด้วยเถิด" รายงานโดย ติรมีซีย์ / 3435
อัลกุรอานได้สั่งใช้ให้ท่านศาสนทูตมูฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ยึดปฎิบัติซึ่งการให้อภัย โดยที่การสั่งใช้ในเรื่องดังกล่าวถือเป็นการสั่งใช้แก่ประชาชาติมุสลิมเช่น เดียวกันด้วยโองการความว่า "โอ้มูฮัมมัด เจ้าจงยึดถือไว้ซึ่งการอภัยและจงสั่งให้กระทำสิ่งที่ดีงาม และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลา (ผู้ยั่วยุให้กระทำสิ่งที่มิชอบ)ทั้งหลายเถิด" (อัล-อะอฺรอฟ/199)
นอกจากนี้อัลลอฮฺได้กำชับให้ศาสนทูตมูฮัมมัด(ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)แจ้ง แก่บรรดาผู้ศรัทธาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการให้อภัยดังปรากฏในอัลกุรอาน ความว่า โอ้มูฮัมมัด เจ้าจงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาให้พวกเขาอภัยแก่บรรดาผู้ที่ไม่หวังในวันทั้ง หลายของอัลลอฮฺเพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนแก่หมู่ชนตามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอา ไว้ (อัลญาชิยะฮฺ/14)
การขอโทษและการให้อภัยจึงเป็นอารยธรรมแห่งอารยชนอันแท้จริง
"โอ้อัลลอฮฺ ขอได้โปรดทรงให้อภัยแก่ฉันและมวลประชาชาติด้วยเทอญ"
อัลกุรอานได้สั่งใช้ให้ท่านศาสนทูตมูฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ยึดปฎิบัติซึ่งการให้อภัย โดยที่การสั่งใช้ในเรื่องดังกล่าวถือเป็นการสั่งใช้แก่ประชาชาติมุสลิมเช่น เดียวกันด้วยโองการความว่า "โอ้มูฮัมมัด เจ้าจงยึดถือไว้ซึ่งการอภัยและจงสั่งให้กระทำสิ่งที่ดีงาม และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลา (ผู้ยั่วยุให้กระทำสิ่งที่มิชอบ)ทั้งหลายเถิด" (อัล-อะอฺรอฟ/199)
นอกจากนี้อัลลอฮฺได้กำชับให้ศาสนทูตมูฮัมมัด(ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)แจ้ง แก่บรรดาผู้ศรัทธาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการให้อภัยดังปรากฏในอัลกุรอาน ความว่า โอ้มูฮัมมัด เจ้าจงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาให้พวกเขาอภัยแก่บรรดาผู้ที่ไม่หวังในวันทั้ง หลายของอัลลอฮฺเพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนแก่หมู่ชนตามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอา ไว้ (อัลญาชิยะฮฺ/14)
การขอโทษและการให้อภัยจึงเป็นอารยธรรมแห่งอารยชนอันแท้จริง
"โอ้อัลลอฮฺ ขอได้โปรดทรงให้อภัยแก่ฉันและมวลประชาชาติด้วยเทอญ"