Skip to main content

12 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยวันนี้เป็นวันเกิดของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ที่มีอุดมการณ์ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล K4DS Post ฉบับพฤษภาคมนี้ อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้ตระหนักถึงคุณค่าของนางฟ้าชุดขาว โดยเฉพาะในสถานการณ์ความรุนแรง ที่ต้องอาศัยความเสียสละและความอดทนอย่างสูง เพื่อทำหน้าที่รักษาเยียวยาเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้แห่งนี้

 

ประชุมวิชาการเครือข่ายพยาบาลชุมชนฯ "สุขภาพชุมชนกับการจัดบริการในพื้นที่หลากวัฒนธรรม"

 

 

เสร็จสิ้นไปแล้วกับการประชุมวิชาการเครือข่ายพยาบาลชุมชน "สุขภาพชุมชนกับการจัดบริการในพื้นที่หลากวัฒนธรรม" ในวันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมซี เอส ปัตตานี โดยชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาแนวคิดและวิธีการทำงานของพยาบาลชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครือข่ายพยาบาลชุมชนและสหวิชาชีพด้านสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิในภาคใต้ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีเสวนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยของ 11 พื้นที่ในเขตภาคใต้ กิจกรรมประกวดผลงานสื่อสร้างสรรค์ พร้อมกับการเปิดตัวหนังสือ “สมรรถนะพยาบาลชุมชน” เป็นครั้งแรก


K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้

สมรรถนะพยาบาลชุมชน บรรณาธิการโดย วรเชษฐ  เขียวจันทร์, 2557.

 

 

"...หนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นบทบาท วิธีคิด และเทคนิคการทำงานในการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมของพยาบาลชุมชนที่จำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะของตนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพในปัจจุบัน ที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรด้านสาธารณสุข ในการทำความเข้าใจบริบทการทำงานจริงที่อาจไม่เหมือนกับในทฤษฎีหรือไม่มีในตำรา เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาที่จะมาฝึกปฏิบัติงานหรือพยาบาลจบใหม่ที่จะมาทำงานในชุมชน..."

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่


ประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบใน สามจังหวัดชายแดนใต้ โดย สุนีย์ เครานวล, 2551.

 

 

“...ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลได้สะท้อนความหมายของการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบใน 4 ลักษณะคือ 1) เป็นชีวิตที่มีแต่อันตราย เสมือนปฏิบัติงานในสงคราม 2) เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลที่ต้องยืนหยัดให้การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 3) เป็นความภูมิใจที่ได้ทำงานที่ท้าทาย 4) เป็นการปฏิบัติงานด้วยความหวาดระแวงในสถานการณ์ที่ขัดแย้งและไม่แน่นอน...”

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่