เผยแพร่วันที่ 1 พค. 2557
เปิดบทวิเคราะห์ คำพิพากษาฎีกา คดีอันวาร์
อาจละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
และละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรม
วันที่
color:#333333">1 พฤษภาคม 2557 วันครบรอบหนึ่งปีวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนายนายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ หรืออันวาร์ นางสาวรอมือละห์ แซเยะภรรยาเปิดเผยว่าได้ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรมส่งเรื่องร้องเรียนถึงคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวและคุมขังโดยพลการขององค์กรสหประชาชาติ (UN Working Group on Arbitrary Detention) โดยเชื่อว่ามีการใช้พยานหลักฐานจากคำบอกเหล่าในคดีอัณวัรนั้นขัดกับหลักกฎหมายในประเทศไทยที่ต้องรับฟังพยานบอกเล่าอย่างระมัดระวังและอาจขัดกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ จนทำให้การพิจารณาและคำตัดสินของศาลชั้นต้นและศาลฎีกาที่ให้นายอัณวรมีความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งแสดงให้เห็นว่านายอัณวรถูกละเมิดสิทธิตาม ข้อ 14 ของกติการะหว่างประเทศว่าสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ระบุว่า” ในการได้รับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรม โดยตุลาการที่มีอำนาจ เป็นอิสระ และเป็นกลาง” ในกรณีนี้ปรากฏอาจว่ามีการละเมิดหลักประกันขั้นต่่ำตามสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรมเกิดขึ้น
color:#333333">โดยเฉพาะ เพื่อพิจารณาถึงหลักการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรม หลักอาวุธที่เท่าเทียมกัน (equality of arms) เเละสิทธิในการตรวจสอบพยาน โดยทั่วไปแล้วจำเลยส่วนใหญ่ถือว่ามีความเสียเปรียบในแง่ของทรัพยากรเมื่อเทียบกับรัฐ ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมต้องรับประกันสิทธิของจำเลยในการคัดค้านหลักฐานจากฝ่ายอัยการ แม้ว่าจะไม่มีข้อกำหนดแน่นอนว่าต้องใช้พยานหลักฐานที่ปรากฏตัวต่อศาลได้เท่านั้น เมื่อในคดีของอัณวร อัยการไม่สามารถนำพยานมาให้การในชั้นศาล มีแต่เพียงพยานชาวบ้านหนึ่งปากและพยานตำรวจสามปาก ทำให้ทนายความจำเลยไม่สามารถดำเนินการซักค้านเมื่อจำเป็น เพื่อยืนยันความเที่ยงธรรมของการพิจารณาคดี ก็อาจเป็นการละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรมได้อ่านเอกสารฉบับภาษาไทย ได้ที่ THSubmission on Anwar Case concerning the use of hearsay evidence.Thai-sent อ่านเอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ Submission on Anwar Case concerning the use of hearsay evidence _Eng