Skip to main content

ดันย้าล อับดุลเลาะ

กระบวนการสันติภาพที่ลุล่วงในการเจรจาและลงนามในสัญญาสันติภาพที่มีความขัดแย้งมายาวนาน อีกทั้งยังมีการเรียกร้องและแสดงออกทางการเมืองด้วยการใช้ความรุนแรงที่บังซาโมโรมีแง่มุมน่าคิดที่พอจะเป็นบทเรียนให้กับเราในฐานะผู้ที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและความรุนแรงที่ยังคงดำเนินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปาตานี) อยู่หลายประการ

ในสถานการณ์ปัจจุบันพื้นที่ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงดังกล่าวยุติลงแล้ว หลังจากที่กลุ่มเคลื่อนไหวติดอาวุธเพื่อปลดแอกบังซาโมโรจากฟิลิปปินส์หรือ MILF ได้ลงนามสัญญาสันติภาพกับรัฐบาลมะนิลา ทำให้ความขัดแย้งและความรุนแรงที่ยาวนานยุติลงนับแต่บัดนั้น 

ในมุมมองของผู้เขียน มองว่าความขัดแย้งนั้นมีหลายระยะโดยแบ่งออกเป็น 1) ระยะเริ่มต้น ภายใต้การก่อตัวของปัญหาต่างๆ

2) ระยะฟักตัว เป็นระยะที่รอคอยการปะทุอีกครั้งในลักษณะที่มิติของสันติวิธีถูกลบทิ้งออกไปจากทัศนคติของการต่อสู้

3) ระยะการแสดงตัวของตัวละครและความขัดแย้งในมิติของความรุนแรงที่มีผลมาจากระยะฟักตัวของปัญหา จนนำสู่การเกิดขึ้นของความขัดแย้งในภาวะยืดเยื้อ

และ 4) ระยะหลังความขัดแย้ง เป็นระยะที่เกิดความซับซ้อนมากขึ้นของปัญหา เกิดภาวะรากเหง้าซ้อนรากเหง้าของปัญหา

ระยะทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นภาวะปกติของภาวะความขัดแย้งและความรุนแรงของพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆทั่วโลก

จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในการลงนามสัญญาสันติภาพที่บังซาโมโรมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายประการจากการฟังการบรรยายสาธารณโดย ศ.ดร.กามารุซซามาน อัสกันดัร ทำให้ผู้เขียนสามารถสะท้อนความเห็นจากบทเรียนดังกล่าว

ประการแรกที่ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง คือ ปัจจัยเอื้อต่อการเกิดและประคองกระบวนการสันติภาพ

จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดและประคองกระบวนการสันติภาพจนไปสู่ทางออกในที่สุด เกิดจากปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้น นโยบายจากรัฐบาลมีความชัดเจนว่าจะเดินหน้ากระบวนการสันติภาพและวางเป้าหมายที่ชัดเจน จากการประกาศของผู้นำว่า “ข้าพเจ้าจะแก้ไขปัญหาบังซาโมโรให้เสร็จในสมัยของข้าพเจ้า”

อีกทั้งความต้องการและพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการสันติภาพของกลุ่มติดอาวุธ ที่เกิดจากการผลักดันของประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้งเอง ตัวขบวนการเองและการเชิญชวนของรัฐบาล

ที่สำคัญ แรงสนับสนุนระหว่างประเทศที่เราเรียกว่าแรงผลักจากภายนอก แม้จะเป็นแรงผลักจากภายนอกแต่เกิดจากแรงกระเพื่อมจากภายในเอง แรงผลักจากภายนอกหมายถึง ฝ่ายที่สามที่ไม่ใช่คู้ขัดแย้ง เช่น องค์กรระหว่างประเทศ ประเทศผู้อำนวยการความสะดวก และประเทศสักขีพยาน หากขาดแรงผลักใดไปแล้วจะทำให้กระบวนการสันติภาพไม่มั่นคง หากนโยบายของรัฐไม่สอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้ง ก็จะไม่เกิดการตอบรับกระบวนการกระดังกล่าว หากรัฐบาลไม่สนใจข้อเสนอจากพื้นที่ความขัดแย้ง กระบวนการดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้น และหากนานาชาติเข้ามาแทรกแซงโดยคู่ขัดแย้งไม่สมัครใจก็จะเกิดการต่อต้านกระบวนการดังกล่าวเนื่องจากกระบวนการจะเป็นในสภาพที่ตึงเครียด

ในกระบวนการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ (ปาตานี) รัฐจะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนทุกกลุ่มไม่ว่าจะสนับสนุนฝ่ายเห็นต่างหรือสนับสนุนฝ่ายรัฐว่าประชาชนในพื้นที่ต้องการอะไรให้พูดคุยในประเด็นใดบ้าง รัฐบาลต้องคำนึงถึงข้อเสนอของผู้เห็นต่างจากรัฐที่เสนอให้มีผู้ไกล่เกลี่ยและมีสักขีพยาน เนื่องจากผู้ไกล่เกลี่ยและสักขีเป็นโครงสร้างที่สำคัญในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

บทบาทของผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่เพียงแต่จัดแจงสถานที่ในการพูดคุยสันภาพเท่านั้น แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อำนวยความสะดวกจะต้องออกแบบกระบวนพูดคุยทุกอย่างให้มีแบบแผนที่ชัดเจนและคู่ขัดแย้งยอมรับได้

สิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับผู้เขียนคือ ขบวนการเคลื่อนไหวติดอาวุธ MNLF เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษานำโดยศาสตราจารย์ ดร.นูรมิสซูรี และที่สำคัญในบังซาโมโรมิได้มีเพียงกลุ่มเดียวที่เคลื่อนไหวหากแต่มีกลุ่มอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในบังซาโมโรอีกด้วย โดยมีการแบ่งพื้นที่ในการควบคุมดูแลและมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่ม MILF ที่แยกตัวออกมาจาก MNLF เมื่อปี 1978

หากจะเทียบกับกลุ่มเคลื่อนไหวในชายแดนใต้(ปาตานี) จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

มีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า เราจะพูดคุยกับกลุ่มไหน คำตอบคือเราจะต้องพูดคุยทุกกลุ่ม แม้ไร้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มติดอาวุธก็ตามรัฐบาลก็จะต้องเดินสายพูดคุยให้ครบทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ในพื้นที่ความขัดแย้ง แน่นอนย่อมต้องใช้เวลา เราอาจจะมองภาพเห็นแล้วว่านี่คือปัจจัยหลักที่ทำให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพต้องใช้เวลา

ในหน้าประศาสตร์กระบวนการสันติภาพที่บังซาโมโร เคยมีการบันทึกไว้ว่า ในสมัย ผู้นำโจเซฟ เอสตราด้า มีการใช้ความรุนแรงโดยรัฐเอง กล่าวคือใช้กำลังทหารในการปราบปรามเป็นหลัก ผลก็คือ ยิ่งทำให้ความรุนแรงในพื้นที่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้นและมีการตอบโต้จากกลุ่มติดอาวุธด้วยการใช้อาวุธเช่นกัน

ในกรณีเช่นนี้เราจะสังเกตว่าการทหารนำการเมืองนั้นมิอาจจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงได้ หนำซ้ำยิ่งทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่านโยบายการปราบปรามใช้การไม่ได้ผลมากนัก มีปัจจัยมาจากประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้งมีการสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่ของตนเอง

ในกรณีนี้เมื่อหันมามองกระบวนการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ (ปาตานี) สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลรวมไปถึงประชาชนคนไทยทุกคนต้องคำนึงถึง คือการตั้งคำถามว่าทำไมเพราะเหตุใด เขาต้องใช้ความรุนแรงและเราจะเปลี่ยนการแสดงออกทางการเมืองได้อย่างไรบ้าง ที่จะทำให้เขาเหล่านั้นไม่ก่อวินาศกรรมหรือใช้ความรุนแรง  มากกว่าจะตั้งหน้าตั้งตาปราบปรามกลุ่มติดอาวุธ

ในสมัยรัฐบาล นางอาโรโย ได้เชิญรัฐบาลมาเลเซียมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ในประการนี้เองที่ชี้ชัดว่า กระบวนการที่จะผลักดันจากภายนอกต้องออกมาจากแรงกระเพื่อมจากภายในเอง โดยผู้อำนวยความสะดวกจะถูกเชิญโดยคู่ขัดแย้งเอง

ในกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างกลุ่มติดอาวุธกับรัฐบาลมะนิลา มีรายละเอียดบางประการที่น่าสนใจ ผู้เขียนใคร่ขอเสนอดังนี้

ในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ จะมีองค์ประกอบสองส่วนหลักๆ คือ คู่ขัดแย้ง และฝ่ายที่สามที่เป็นตัวกลางหรือผู้อำนวยความสะดวก โดยฝ่ายที่สามนั้นคือ ชาติที่ถูกเชิญมาเป็นสักขีพยาน ผู้อำนวยความสะดวก ในส่วนนี้สำคัญมากเนื่องจากเป็นโครงสร้างที่จะทำให้กระบวนการพูดเป็นอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง มีคนกลางมารับฟังข้อตกลงและสามารถท้วงติงข้อตกลงได้ในกรณีที่คู่ขัดแย้งละเมิดข้อตกลง

และเมื่อมีการละเมิดข้อตกลงกันแล้ว คู่ขัดแย้งจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่าย  เรียกว่าคณะกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างสองฝ่าย (ดูแลการละเมิดข้อตกลง)

ในกระบวนการพูดคุยสันติภายชายแดนใต้เคยมีข้อตกลงหยุดยิงในเดือนรอมฎอน และมีการละเมิดข้อตกลง หากมีทีมหรือคณะกรรมการร่วมอาจจะทำให้ความจ่างมีมากขึ้นจากการละเมิดข้อตกลงว่าละเมิดข้อตลงจริงเท็จแค่ไหนและฝ่ายไหนเป็นผู้ละเมิด โดยมีคนกลางคอยดูอีกชั้นหนึ่ง

คณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่ายยังมีหน้าที่ในการดูแลแจกแจงกรณี (เคส) ที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงว่าเกิดจากคู่ขัดแย้งจริงหรือไม่ หรือเป็นเรื่องส่วนตัว

จุดนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการมีคณะกรรมการร่วมจะทำให้ทำงานตรวจสอบที่ชัดเจนในข้อมูลข่าวสารที่จะนำเสนอต่อสาธารณะ จะทำให้การโยนความผิดใส่กันหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเกิดขึ้นได้ยาก

ใครละเมิดข้อตกลง ความรุนแรงชุดนี้เป็นฝีมือใคร  เป็นเรื่องส่วนตัวหรือไม่อย่างไร คณะกรรมต้องชี้แจงเอง และสื่อทั้งสองฝ่ายไม่ควรที่จะนำเสนอและบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือตั้งข้อสังเกตก่อนที่คณะกรรมการจะสรุปเคสนั้นๆ ได้

ในระหว่างการพูดคุยสันติภาพ รัฐบาลไทยและผู้เห็นต่างจากรัฐจะต้องตั้งคณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่ายเพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงในกรณีที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นหรือมีการละเมิดข้อตกลงเพื่อ แจกแจงว่าเหตุการณ์ใดเป็นเรื่องส่วนตัว เหตุการณ์ที่ละเมิดข้อตกลงเกิดจากฝ่ายไหน และการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณต้องได้รับข้อสรุปจากคณะกรรมการร่วมก่อนและไม่ควรตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการสร้างสถานการณ์ หรือรวบเอาทุกเหตุการณ์ว่าเป็นเหตุความรุนแรงจากคู่ขัดแย้งในการนำเสนอต่อสาธารณะ

ในเนื้อหาสาระระหว่างการพูดคุยสันติภาพ  มีการวางข้อตกลงในเรื่องที่ดิน โดยมีการทำหนังสือบันทึกความเข้าใจระหว่างคู่ขัดแย้งว่า จะไม่มีการไล่ที่เกิดขึ้น

ประการนี้จะทำให้เกิดการยอมรับคนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการเคลื่อนย้ายหนีของประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้ง ไม่มีการข่มขู่ให้ย้ายออก ไม่มีการทำร้ายจนทำให้ต้องหนีออกจากพื้นที่ความขัดความแย้ง ไม่มีการเผาบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยของพลเรือน หรือที่เราเรียกว่า เผาไล่ที่

การพูดคุยสันติภาพที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลมะนิลาและกลุ่มติดอาวุธในบังซาโมโร จำเป็นที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฏหมายสูงสุดของรัฐ เนื่องจากว่า หากการพูดคุยสันติภาพละเมิดกฏกหมายสูงสุดของรัฐจะทำให้การพูดคุยนั้นเป็นยุติลงหากมีการยื่นตีความโดยศาลสูงสุด(ศาลรัฐธรรมนูญ) และแน่นอนว่าหากศาลตัดสินว่าการพูดคุยนั้นผิดรัฐธรรมนูญสิ่งที่จะตามมาคือ ความรุนแรงที่ทวีคูณกว่าเดิม

ดังนั้นการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ (ปาตานี) จำเป็นอย่างที่ต้องวางอยู่พื้นฐานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเป็นการการันตีว่าการพูดสันติภาพนี้มีความชอบธรรมตามกฏหมายสูงสุดของรัฐ และทำให้การขัดขวางกระบวนการนี้กระทำได้ยากมากขึ้น เนื่องจากทุกกระบวนการอยู่ในกรอบข้อกฏหมาย จึงเป็นบทเรียนที่น่าสนใจและสามารถตอบคำถามได้ว่า  การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและผู้เห็นต่างจากรัฐนั้น เป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่  แม้นว่าอาจจะตอบได้ไม่ชัดแต่อย่างน้อยเรามีตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อการพูดคุยอยู่ในกรอบของกฏหมาย การพูดคุยสามารถเดินหน้าต่อได้

การพูดคุยสันติภาพที่เกิดขึ้น หากระหว่างการพูดคุยในห้องหรือบนโต๊ะการพูดคุยมีการเสนอให้ทำข้อตกลง ให้รีบลงนามตกลงทันที อย่ารอให้บรรยากาศหรืออารมณ์เดิมเปลี่ยนไป ไม่เช่นนั้นจะทำให้ข้อเสนอดังกล่าวตกไป เมื่อบรรยากาศเปลี่ยนอารมณ์เปลี่ยน

ที่สำคัญในการที่จะทำให้การพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อได้และยั่งยืน จำเป็นต้องมีฝ่ายที่สามเป็นสักขีพยาน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

ในกรณีที่มีหลายกลุ่ม จำเป็นที่ต้องตามทุกกลุ่มมาร่วมโต๊ะการพูดคุย แม้ต้องตามทีละกลุ่มก็ตาม เนื่องจากหากคุยไม่ทุกกลุ่มแล้วจะมีกลุ่มที่ไม่พอใจ ก่อเหตุความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือขัดขวางกระบวนการพูดคุยสันติภาพได้ หากไม่ก่อเหตุความรุนแรงอาจจะส่งเรื่องให้ศาลตีความว่าผิดหรือร้องต่อศาลให้ยับยั้งกระบวนการดังกล่าวได้

ที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นในประเด็นการพูดคุยสันติภาพ คู่ขัดแย้งต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่และส่วนน้อยในพื้นที่ความขัดแย้ง ว่าจะมีประเด็นอะไรบ้างในการพูดคุยสันติภาพและต้องไม่มีการอ้างอิงเฉพาะความเห็นของมวลชนตนเองเท่านั้น

มีการตั้งคำถามถึงความจริงใจของรัฐบาลในการเจรจา ความจริงใจของแต่ละคนนั้นมีการแสดงออกต่างกัน ในกรณีของนาง อาโรโยผู้นำรัฐบาลมะนิลาได้แสดงออกให้เห็นว่าเขามีความจริงใจ โดยเดินสาย

ล๊อบบี้ฝ่ายต่างๆให้เข้าร่วมและดำเนินการพูดคุยสันติภาพ และตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน โดยตั้งเป้าหมายว่าต้องเสร็จในสมัยวาระหกปีนี้

ในข้อตกลงการลงนามสัญญาสันติภาพดังกล่าวมีเนื้อระบุถึงการแบ่งพื้นที่ อำนาจ พื้นที่การดูแล และมีการระบุถึงอำนาจของรัฐบาลกลางในพื้นที่บังซาโมโรด้วย

คำว่าบังซาโมโรเป็นคำที่เรียกพื้นที่ อาณาบริเวณ หาใช่คำที่เรียกชาติพันธุ์ หรือกลุ่มชนไม่ เนื่องจากในพื้นที่บังซาโมโรมีความหลากหลายในวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา

ตรงนี้บทเรียนสำคัญคือ การกำหนดความหมายถึงคนที่อาศัยนามที่เรียกหรือแทนตัวจะต้องคำนึงให้มากขึ้นในเรื่องของความหมายที่จะให้คำนิยาม คำว่าชาวบังซาโมโรหมายถึงใคร

หากจะเทียบกับพื้นที่ชายแดนใต้ (ปาตานี) คำว่าคนมลายูหรือคนปาตานี (ปาตาเนียน) มีคำนิยามว่าอย่างไร หมายถึงใคร จะมีลักษณะจำเพาะหรือไม่หรือระบุว่าต้องใช้ภาษาใดหรือไม่

เพราะหากมีความหมายที่ครอบคลุมแล้วย่อมทำให้ความชอบธรรมในการเป็นตัวแทน และความรู้สึกในการเป็นเจ้าของมีสูงมากขึ้น การกำหนดชะตากรรมตนเองก็ย่อมที่จะสามารถตั้งธงได้ว่าปาตาเนียนคือใครและต้องการอะไร อนาคตของปาตาเนียนจะเป็นอย่าง