Skip to main content

 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

กรณีอุ้มหายสมาชิก อบต. เมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
วันที่ 10 มิถุนายน 2557 ศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งให้นายรอสะมิง สามะแม เป็นคนสาบสูญ สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 นางสาวอามานี ตาเย๊าะ ภรรยาของนายระสะมิง สามะแม ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาส  ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้นายรอสะมิง สามะแม เป็นคนสาบสูญ นายรอสะมิงถูกอุ้มหายไปเมื่อ ปีที่แล้ว
ศาลได้นัดไต่สวนผู้ร้องและมีคำสั่งในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 โดยมีคำสั่งว่า ทางไต่สวน ฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายรอสะมิง สามะแม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 นายรอสะมิงเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำละหมาดที่มัสยิดภายในหมู่บ้าน ขณะรอทำละหมาดได้มีคนขับรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้า สีบรอนซ์ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มาจอดบริเวณมัสยิด จากนั้นกลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ คน สวมหมวกไหมพรมปิดใบหน้า ใช้อาวุธปืนบังคับจับนายรอสะมิงมัดมือนำขึ้นรถยนต์ขับออกไป ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 ผู้ร้องได้ไปแจ้งความร้องทุกข์และให้การต่อพนักงานสอบสวน สภ.รือเสาะ และให้การเพิ่มเติมในวันที่ 17 เมษายน 2552 ผู้ร้องและญาติ ๆ ติดตามหามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่พบ และไม่มีผู้ใดทราบว่านายรอสะมิงไปอยู่ที่ใดและยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบกับนายรอสะมิงไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลาเกินกว่าห้าปีแล้ว เห็นควรให้เป็นคนสาบสูญ จึงมีคำสั่งว่า นายรอสะมิง สามะแม เป็นคนสาบสูญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61
นายรอสะมิงกับนางสาวอามานี จดทะเบียนสมรสและอยู่กินฉันท์สามีภรรยามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มีบุตรด้วยกัน คน นายรอสะมิงเป็นผู้หารายได้เพียงคนเดียวมาเลี้ยงครอบครัว นายรอสะมิงยังได้รับความไว้วางจากประชาชนในตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ลงคะแนนเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ต่อเนื่องกันถึง สมัย ซึ่งขณะที่นายรอสะมิงถูกอุ้มหายนั้นก็ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก อบต.
ทั้งนี้ คำสั่งศาลดังกล่าว ภรรยาของนายรอสะมิง จะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการจัดการทรัพย์สินของนายรอสะมิง และเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาเรื่องช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวซึ่งทาง ศอบต. เคยรับเรื่องไว้แล้ว
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อหาว่าการบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา ไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างรวดเร็ว เป็นธรรมต่อการติดตามชะตากรรมของบุคคลสูญหาย การจัดการทรัพย์สินมีความยากลำบากสำหรับครอบครัวผู้สูญหายเป็นอย่างมาก ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาป้องกันให้บุคคลสูญหายแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบันซึ่งประเทศไทยรับปากทางวาจากับคณะกรรมการต่อต้านการทรมานเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมาว่าประเทศไทยจะให้สัตยาบันในอนุสัญญาป้องกันให้บุคคลสูญหายโดยเร็ว ซึ่งทำให้ประเทศไทยจะต้องกำหนดให้การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา