ศาสนา - ประชาชนร้อยละ 48 นับถือนิกายโรมันแคธอลิค ร้อยละ 44 นับถือนิกาย โปรเตสแตนท์ ร้อยละ 8 นับถือศาสนาอื่นๆหรือมิได้นับถือศาสนา
รูปแบบรัฐสภา - ในการปกครองส่วนกลาง มีรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly) ประกอบด้วยสภา 2 สภา ได้แก่ สภาแห่งชาติ (National Council) และสภาแห่งรัฐ (Council of States) สมาชิกสภาแห่งชาติ มี 200 คน ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน สมาชิกสภาแห่งรัฐมี 46 คน ได้รับเลือกตั้งมณฑลละ 2 คน จาก 20 มณฑล และ 1 คนจากกึ่งมณฑล 6 แห่ง สมาชิกทั้งสองสภา
อยู่ในตำแหน่งวาระละ4ปี
พรรคการเมืองที่สำคัญ มีพรรคการมืองสำคัญ
-ส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
-เคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย
-รักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในต่างประเทศ
-บรรเทาความยากจนในโลก
-รักษาสิ่งแวดล้อม
สวิสเซอร์แลนด์เพิ่งสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2545 และได้แสดงบทบาทอย่างแข็งขันในเรื่องต่างๆโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ,สิ่งแวดล้อม การลดอาวุธ ความมั่นคงของมนุษย์ นี้คือภาพของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่เป็นภาพพจน์ที่เป็นที่ยอมรับมานานนับปี
ภาพลักษณ์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้สลัดหน้ากากที่สวมใส่นำประเทศยุโรปในการเผยแพร่ระดับโลก เมื่อมีความพยายามที่จะใช้กระบวนการทางประชาธิปไตยภายใต้ข้ออ้างการริเริ่ม การลงประชามติใช้เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 เพื่อที่จะออกพระราชบัญญัติห้ามการก่อสร้างหออะซานของมัสยิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ด้วยมติเสียงข้างมากของประชาชนด้วยมติ 57.5 % จาก 22 ใน 26 แคนตอนทั่วประเทศสวิสเซอร์แลนด์
แม้ว่ากระบวนการริ่เริมการลงประชามติ เป็นเครื่องมือหนึ่งของการรับฟังเสียงข้างมากของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย โดยไม่คำนึงเสียงข้างน้อยตามหลักการประชาธิปไตยที่ใช้ “ระบบการปกครองของคนเสียงข้างมาก แต่เคารพรับฟังสิทธิของชนสวนน้อย (Majority Rule Minority Right)” หากจะเทียบกับการลงมติด้วยเสียงข้างมากเพื่อรับรองพฤติกรรม หรือหลักการที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระเจ้า ย่อมไม่ได้รับการยอมรับจากมุสลิมอย่างแน่นอน
การลงประชามติ (Referendum) เพื่อตรากฎหมายห้ามก่อสร้างหออะซาน
ประชามติ หมายถึง มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือที่ใดที่หนึ่ง,มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายที่สำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ[3]
การลงประชามติในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นลักษณะพิเศษ ของระบอบประชาธิปไตย แบบสวิสเซอร์แลนด์ คือ อำนาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติมิได้อยู่ที่สภา แต่อยู่ที่ประชาชนโดยตรง เพราะตามรัฐธรรมนูญประชาชนมีสิทธิในการออกเสียง ลงประชามติ(referendum) และการริเริ่ม (initiative) กล่าวคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้านโดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัด referendum ส่วนอำนาจในการริเริ่มของประชาชนจะสามารถใช้ในการแก้ไขกฎหมาย รัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ[4]
หออาซานประจำมัสยิด เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นอิสลาม ดังนั้นหออะซานจึงเป็นเป้าหมายและแผนการในการสนองตอบต่อการโฆษณาชวนเชื่อ สร้างความชิงชังต่อต้านอิสลาม ลัทธิกลัวอิสลามขึ้นสมองอย่างไร้เหตุผล อิสลาโมโฟเบีย (Islamophobia) ความรู้สึกชิงชัง ต่อต้านเข้าเมือง ลัทธิกดขี่ทางเชื้อชาติและรังเกียจชาวอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยจากต่างประเทศ (Xenophobia) จึงมีแผนการที่จะออกกฎหมายห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยพรรคการเมืองขวาจัด Swiss People’s Party (SVP), ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากที่สุดในสภารวมกับพรรค Christian Democratic People’s Party (CDP),ได้มีความพยายามรณรงค์ โฆษณาสร้างความหวาดกลัว ต่ออิสลาม (Scare mongering tactics)ด้วยการห้ามการก่อสร้างหออะซานนับตังแต่ปี 2551และ อ้างว่า
“หอสูงประจำมัสยิดไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับการประกอบศาสนกิจ แต่จะสร้างขึ้นเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกฎหมายอิสลาม(Shariah) ซึ่งน่าขัดแย้งกับการใช้ระบบกฎหมายของประเทศสวิส”[5]
ข้อเสนอห้ามการก่อสร้างหออะซานมีขึ้นโดยอ้างบทบัญญัติบรรทัดหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การก่อสร้างหออะซานถือเป็นสิ่งต้องห้าม บรรดาผู้สนับสนุนมองว่าการผุดขึ้นของหออะซานแห่งใหม่ สะท้อนถึงความแพร่หลายของหลักกฎหมายอิสลามหรือชะรีอะห์ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยของประเทศ
พรรค Swiss People’s Party (SVP), ซึ่งมีที่นั่งมากที่สุดในสภาเห็นว่า "หอสูงยอดแหลมบนสุเหร่า"ดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของกระแสการแพร่ขยายตัวของศาสนาอิสลามหรืออิสลามานุวัตร และระบบกฎหมายแบบอิสลามที่เรียกว่า "กฎหมายชาเรีย" ไม่สอดคล้องลงรอยกันกับประชาธิปไตยแบบสวิสด้วย[6]
พรรค Swiss People’s Party (SVP),ได้ทำการรวบรวมรายชื่อประชาชนได้จำนวน 113,000 รายชื่อ ตามหลักเกณฑ์อำนาจในการริเริ่ม (initiative) ของประชาชนจะสามารถใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ
การเคลื่อนไหวเปิดการล่ารายชื่อสร้างความสั่นสะเทือน หวั่นไหว สร้างความตื่นตระหนกไม่เชื่อว่าประเทศสวิสเซอร์แลนด์จะมีทัศนะเช่นนี้ การแสดงออกของชาวมุสลิมในสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อให้ยอมรับ เคารพในความเชื่อทางศาสนาของตนมาเป็นสิบๆ ปีไม่ประสบความสำเร็จ แม้อิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่สองในประเทศสวิส
มุสลิมที่รวมตัวกันในเมืองต่างๆ มีการเช่าโรงงานเก่า โกดัง หรือที่จอดรถเก่า ใช้เป็นมัสยิดชั่วคราวสำหรับการละหมาดญุม-อะฮฺ ละหมาดอิดิลฟิตรี อิดิลอัฎฮา ฯลฯ ทั่วประเทศสวิสเซอร์แลนด์มีมัสยิดหลายแห่ง แต่มัสยิดทั่วประเทศที่มีการก่อสร้างหออะซานแล้วมีเพียง 4 แห่งที่ได้มีการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิดแล้ว คือมัสยิดในเมือง Zurich ,เมืองGeneva ,เมืองWinterthur, และ ที่เมือง Wangen bei Olten ส่วนที่เมือง Berne เมืองหลวงสวิสเซอร์แลนด์ มีมัสยิดขนาดใหญ่ที่สุด ถูกสร้างขึ้นที่ชั้นใต้ดินของอาคารจอดรถและก็ยังไม่มีหออะซานแต่อย่างใด
ผลกระทบหลังผลการลงประชามติ
มัสยิดในนครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้จัดให้มีการลงประชามติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 ผลการลงประชามติ ของประชาชนชาวสวิสเซอร์แลนด์มีผลโดยมีผู้ลงประชามติผลการห้ามก่อสร้างหออะซาน ด้วยมติเสียงข้างมากของประชาชน 57.5 % จาก 22 ใน 26 แคนตอนทั่วประเทศหลังจากที่ได้มีผลการลงประชามติ กลุ่มขวาจัดออกมาแสดงความยินดีปรีดา ขณะที่รัฐบาลได้ออกมาแถลงว่า
“การห้ามก่อสร้างหออะซานไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธประชาคมมุสลิมในประเทศ รวมทั้งศาสนา และวัฒนธรรม รัฐบาลเคารพในการตัดสินใจของประชาชน และจะได้นำมติดังกล่าวในวาระ เพื่อดำเนินการตามกระบวนการการออกกฎหมายไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิดต่อไป”
ผลกระทบจากการลงประชามติ เป็นผลให้ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ประมาณ 400,000 คน จากประชากรทั้งประเทศประมาณ 7.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมเชื้อสายอดีตยูโกสลาเวีย ชาวตุรกี อพยพ รู้สึกซึ้งถึง”ความมุ่งร้ายที่แอบแฝง” พวกเขากล่าวว่า
“ความเจ็บปวดไม่ได้เกิดจากการที่ไม่ได้เห็นหออะซาน แต่ผลการลงประชามตินี้ สื่อ หรือส่อให้เห็นถึงความเกลียดชัง และการไม่ยอมรับในฐานะประชาชนของที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน”
“ชาวมุสลิมใน สวิตเซอร์แลนด์ ต่างวิตกกังวลกับผลการลงประชามติดังกล่าวโดยเห็นว่า เหตุการณ์นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสิ่งที่น่าเจ็บปวดที่สุดสำหรับพวกเขา ไม่ใช่เป็นการห้ามการก่อสร้างหออะซาน แต่กลับเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับในประเทศแห่งนี้ รวมทั้งคนมุสลิมอาจเริ่มรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการต้อนรับในฐานะพลเมืองที่แท้จริงของสังคมชาวสวิส”[7]
ศาสตรจารย์ Tariq Ramdon ชาวสวิสเซอร์แลนด์แต่กำเนิด กล่าวว่า “นับเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 เป็นต้นมาที่การใช้วิธีการริเริ่ม (initiative) ออกกฏหมายโดยชุมชนที่มีการแสดงออกถึงลักษณะของการเลือกปฏิบัติในสังคมของสวิสเซอร์แลนด์และหวังว่าข้อห้ามการก่อสร้างหออะซานนี้ จะถูกคัดค้านและปฏิเสธในระดับประชาคมยุโรป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยปราศจากสัญญาณเตือนมากก่อน”[8]
มีการประท้วงโดยสงบ สันติ หน้ารัฐสภาแห่งสมาพันธ์สวิส (Federal Assembly) ในกรุง Berne โดยกลุ่มหนุ่มสาวออกมาจุดเทียน และถือแผ่นไม้เป็นรูปหออะซาน พร้อมจำลองสภาพเป็นงานศพ หลายคนชูป้ายที่มีข้อความว่า “นี้ไม่ใช่สวิสเซอร์แลนด์ที่รู้จัก” ในเมือง Zurich โดยผู้ประท้วงถือหออะซานจำลอง
พรรค Free Democratic Party (FDP),ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าว และกล่าวว่า “เป็นการกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง เพียงเพื่อการต่อต้านมุสลิมเท่านั้น”
นางอีวอน เปอร์ริน รองหัวหน้าพรรค SVP เธอเป็นผู้หนึ่งที่ลงชื่อให้มีการลงประชามติ กล่าวว่า “ ได้รับชัยชนะโดยปราศจากความลำบากยากมากนัก “ เธอกล่าวในรายการวิทยุ Suisse Romande;ว่า “ชาวสวิสไม่ควรเกรงกลัวว่าจะได้รับการตอบโต้ จากประเทศโลกอิสลาม ตราบใดที่ประเทศสวิสยังคงผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีเยี่ยม เป็นที่ยอมรับในโลก”
ดิ๊ก มาร์ตี้ สมาชิกพรรค SVP หัวรุนแรงออกมากล่าวว่า “น่าตกใจที่ ยังต้องเขามาเกี่ยวข้องกันในเรื่องนี้ เพราะเป็นคุณค่าของประเทศที่ไม่ควรมาต่อรองกับมุสลิมจำนวน 350,000 คนในสวิสเลย”
ส่วนรัฐบาลสวิส ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการห้ามก่อสร้างหออะซาน โดยให้เหตุผลว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และเป็นการกีดกัน การเลือกปฏิบัติ (discrimination) และกระทบต่อชาวมุสลิมทั่วโลก
ปฏิกิริยาจากทั่วโลกต่อกรณีการลงประชามติ
ผู้นำศาสนาต่างๆ ทั่วโลกต่างออกมาประณามการลงประชามติการห้ามก่อสร้างหออะซานมัสยิดอย่างกว้างขวาง สำนักวาติกัน กล่าวประณาม การกำหนดข้อห้ามมีให้มีการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิดว่า “เสมือนเป็นการพลักพรากเสรีภาพในการนับถือศาสนา” และได้ออกแถลงการณ์ผลสรุปการประชุมของคณะบิชอป ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ จะเป็นการสร้างปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่าศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี”
หัวหน้าบาทหลวง คริสเตียนนิกายโรมันแคทอลิค ได้ออกมาเตือนว่า “การขัดวางการก่อสร้างหออะซานในมัสยิดจะเป็นการขัดหลักการประชาธิปไตยของประเทศ”
สภาแห่งศาสนา ซึ่งประกอบด้วยผู้นำประชาคมศาสนาต่างๆ เช่น ศาสนาคริสเตียน ศาสนาอิสลามและศาสนายูดาย ยิว ได้ออกแถลงการณ์ ของศาสนาโดยมีข้อความว่า “สมาชิกของประชาคมผู้ยึดมั่นในศาสนา การสร้างสิ่งปลูกสร้างในศาสนาย่อมเป็นสัญลักษณ์ อิงความศรัทธาของพวกเขาที่มีต่อพระเจ้า และสำหรับมุสลิม แล้ว ด้วยเหตุนี้ มัสยิดจึงจำเป็นต้องมีหออะซาน การขัดขวางดังกล่าวถือเป็นการทำลายเกียรติ และสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขาในการปฏิบัติศาสนกิจ “ ในตอนท้ายของแถลงการณ์สภาศาสนาเตือนว่า “ การขัดขวางการก่อสร้างดังกล่าวจะก่อให้เกิดกระแสความขัดแย้งไม่เห็นด้วยขึ้นในประเทศ ทุกคนมีสิทธิในประเทศนี้ในการใช้ชีวิตและปฏิบัติตามความเชื่อในศาสนา รวมถึงการก่อสร้าง ศาสนาสถานด้วย”
แกนนำมุสลิมในประเทศอินโดนีเซียและอียิปต์ ต่างกล่าวประณามการลงประชามติว่า “เสมือนเป็นการพรากเสรีภาพในการนับถือศาสนา”
มัสตูริ อับดิลลาฮฺ ประธานขบวนการนะฮฺฏอตุ้ลอูลามะฮฺ แห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า “ผลจากการลงประชามตินี้ได้แสดงออกถึงความเกลียดชัง ของชาวสวิสเซอร์แลนด์ที่มีต่อชาวมุสลิม ความที่ไม่ต้องการเห็นมุสลิมในประเทศนี้ รวมทั้งแสดงถึงความแล้งน้ำใจที่มีต่อคนต่างศาสนิก คนศาสนาอื่น อย่างไรก็ดี ท่านเรียกร้องว่า” ไม่ควรคิดแก้แค้นในเรื่องนี้”
ในอียิปต์ สำนักข่าว Mena ของรัฐบาลได้เผยแพร่ทัศนะของ Grand Mufti Ali Gomma กล่าวถึงการลงประชามติดังกล่าวเป็นการหยามความรู้สึกประชาคมมุสลิม เป็นการละเมิดเสรีภาพในการปฏิบัติตามความเชื่อถือในศาสนา และเป็นการดูหมิ่นมุสลิมทั่วโลก”
สมาชิกรัฐสภา จากพรรคอิสลามเพื่อความยุติธรรมและการพัฒนา ประเทศมอร๊อคโก แสดงความประหลาดใจในเรื่องนี้และว่า มุสลิมในสวิสและในประเทศสหภาพยุโรปจะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อสื่อสารถึงอิสลามที่แท้จริงให้สังคมเข้าใจ
สำนักข่าว AFP รายงานข่าวอ้างคำพูดของโมอัมมาร์ กัดดาฟี่ ผู้นำลิเบียแสดงความเห็นในพิธีเปิดงานทางวิชาการ ใน Zliten ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองทริโปลีไปทางตะวันออก 160 กิโลเมตรว่า “มติห้ามสร้างหออะซานในสวิส เป็นเสมือนการเชื้อเชิญให้อัล-กออิดะ เข้าจู่โจมยุโรปโดยใช้ข้ออ้างในการที่อิสลามถูกย่ำยี
กัดดาฟี่ขนานนามประเทศสวิสว่าเป็น “มาเฟียโลก” และว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้โลกมุสลิมเอาคืน โดยการห้ามสร้างโบสถ์คริสต์ในประเทศมุสลิม บ้าง
Bernard Kouchner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า “ รู้สึกตกใจ และยอมรับไมได้” กับการตัดสินใจของรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ และส่อให้เห็นการไม่ยอมผ่อนปรน ขาดความอดทน “ และท่านกล่าวเสริมว่า “มันเป็นภาพลบ” เพราะการห้ามการก่อสร้างหออะซานมัสยิดเป็น “การกดขี่ทางศาสนา”และท่านได้กล่าวทางสถานีวิทยุ RTL ฝรั่งเศสว่า “ผมหวังว่ารัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์จะกลับทบทวนในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว”
องค์การนิรโทษสากล (The Amnesty International) กล่าวว่า “การห้ามก่อสร้างหออะซานของสวิสเซอร์แลนด์ ถือเป็นพฤติกรรม กดขี่ กีดกันทางศาสนา การห้ามในการก่อสร้างหออะซานจะเป็นการทำลายพันธะสัญญาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา” องค์การฯ ได้กล่าวดังกล่าวก่อนหน้าที่จะมีการลงประชามติ เพี่อให้มีการแก้ไขกฎหมาย
กำหนดข้อห้ามในการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552และกล่าวว่า “ความ ทิฐิ ดื้อรั้นของบรรดาผู้ริเริ่มการลงประชามติในหลักการห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด จะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวสวิสเซอร์แลนด์ ที่นับถือศาสนาอิสลาม ในด้านสิทธิที่จะปฏิบัติความความเชื่อในทางศาสนา”
นาง Nicola Duckworth ผู้อำนวยการโครงการยุโรป และเอเชียกลาง แห่งองค์การนิรโทษสากล กล่าวว่า “ห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ในขณะที่มีการอนุญาตให้มีการก่อสร้างหอคอยยอดแหลม ของโบสถ์คริสเตียนยังดำรงอยู่ ก็จะเป็นการเลือกปฏิบัติ การ กดขี่บนพื้นฐานของศาสนาอย่างชัดเจน และแท้จริง”
กระแสการต่อต้านการห้ามการก่อสร้างหออะซานในอังกฤษ
ในขณะที่ชาวมุสลิมในสวิสเซอร์แลนด์ และประเทศต่างๆ ต่างพากันประณามการลงมติดังกล่าว ว่าเป็นเสมือนเป็นการต่อต้านอิสลามและมุสลิม เป็นการไม่ให้เกียรติ ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นคน เป็นการแสดงถึงความมีอคติกดขี่ทางเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ และละเมิดสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติตามความเชื่อ ในอังกฤษประชาชน พากันมารวมตัวกันและกล่าวประณามการลงประชามติการห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ของสวิสเซอร์แลนด์
Lord Nazir Ahmadจาก Rotherham สมาชิกสภาขุนนาง แห่งรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “ความเห็นของชุมชนมุสลิมที่มีต่อกรณีห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ต่างมีความเห็นสอดคล้องเป็นเอกฉันท์ว่า นับเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นความรุนแรงที่สร้างความตื่นตระหนก นับเป็นท่าทีของผู้ที่มีความก้าวร้าวของผู้ที่เป็นโรคกลัวอิสลามอย่างไร้เหตุผล (Islamophobia)
“ผมทราบดีว่าประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ มีพันธะสัญญากับ ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของพลเรือน สิทธิทางการเมือง และสวิสเซอร์แลนด์ ยังเป็นภาคีอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The International Covenant on Civil and Political Right และ The European Convention on Human Right ) “ ดังนั้น การห้ามการก่อสร้างหออะซาน ย่อมจะเป็นรอยด่าง เกี่ยวกับเสรีภาพของพลเมือง กับอนุสัญญาข้างต้นอย่างชัดเจน ทำให้สวิสเซอร์แลนด์ กลายเป็นปฏิปักษ์กับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ลอร์ด อะหมัด กล่าว
“การห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิดชี้ให้เห็นถึงรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้ใช้ประโยชน์เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองจากสถานการณ์ เผยแพร่ให้ ชาวสวิส ระแวง ตกใจกลัว โดยปราศจากพื้นฐานชองความเป็นจริง และแพร่กระจายความเกลียดชัง และสร้างความแตกแยกโดยไม่มีความจำเป็น
การกระทำของรับบาลสวิสเซอร์แลนด์ จะเป็นผลเบื้องตนในการทำลายความเชื่อถือ ศรัทธาที่มีมาในอดีตจากสายตามุสลิมทั่วโลก ในฐานะที่สมาชิกรัฐสภาแห่งราชอาณาจักร ในฐานะตัวแทนของชุมชนมุสลิม ผมพร้อมที่จะยืนยันรับรองการตัดสินใจใดๆ ที่ชุมชนมุสลิมต่างๆ ที่มีอำนาจ เกี่ยวกับการยกเลิกธุรกรรม ธุรกิจทางการเงินต่าง จากธนาคารต่างๆในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ลอร์ด อะหมัด เรียกร้องให้รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ ทบทวนการตัดสินใจที่อาจมีผลตามมาเป็นเรื่องสืบเนื่องกับความสัมพันธ์กับประชาชาติมุสลิมทั่วโลกกว่า 1.500 ล้านคน
Ken Livingstone อดีตนายกเทศมนตรีมหานครลอนดอน กล่าวว่า “การห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ซึ่งในประเทศนี้มีเพียง 4 แห่ง มิใช่เพียงเป็นการรุกรานมุสลิมเท่านั้น แต่เป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพพื้นฐานในสังคม ปล่อยให้การลงประชามติ เป็นการใช้สิทธิทางระบอบประชาธิปไตย กับสิ่งที่เราเผชิญกับการท้าทายอิสลามโมโพเบีย การแบ่งแยกเลือกปฏิบัติ หากเราสามารถยุติการละเมิดสิทธินั้น
Bruce Kent รองประธาน องค์กร Pax Christi กล่าวว่า “ผมตกใจกับการตัดสินใจที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์ หรือบนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติ หรือกีดกัน ในฐานะที่ผมเป็นชาวคริสต์คนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในย่านพื้นที่ที่มีมัสยิด มีหออะซานและไม่มีผู้ใดต่อต้าน ทั้งยังเป็นการสร้างเสริมสร้างทบทวย ภูมิทัศน์ ความสวยงามแก่ทัศนียภาพซะด้วยซ้ำไป”
Ahmad Abdul Bari เลขาธิการสภามุสลิมแห่งอังกฤษ (The Muslim Council of Britain: MCB) กล่าวว่า “ ผลของการลงประชามติของชาวสวิส เป็นผลที่จะนำส่งการส่งสัญญาณแก่ชาวยุโรปสู่การชี้นำ ด้วยทัศนะที่ผิดๆที่จะเป็นผลต่อการกำหนดนโยบายต่อชาวมุสลิม และกลุ่มชนส่วนน้อยอื่นๆในหลายๆเมือง หลายประเทศ ในยุโรป”
มัสยิด และหออะซานในเมืองต่างๆในยุโรปที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจของชาวมุสลิมดั้งเดิมในยุโรป นับเป็นโศกนาฏกรรม เป็นสิ่งเลวร้ายต่อการปล้นสิทธิเสรีภาพ ในการนับถือศาสนา เป็นการกระทำที่ทำลายมรดกความเชื่อของการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความศรัทธาต่อกัน การอยู่รวมกันของผู้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีความหลากหลายในยุโรป และมาแทนที่ด้วยทัศนะความรู้สึกกลัว และรังเกียจชาวต่างชาติ (Xenophobia) และกลายเป็นสนามรบทางความคิดในอนาคตของสังคมพหุนิยม[9]และความก้าวหน้าของยุโรป
Dr.Syed Aziz Pasha เลขาธิการสหภาพมุสลิมแห่งสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์(The Union of Muslim organization UK & Eire ) กล่าวว่า ชาวมุสลิมแห่งสหราชอาณาจักร รู้สึกช๊อค เมื่อทราบว่า ประชาชนชาว สวิสเซอร์แลนด์ ได้แสดงออกถึงความรู้สึกความเป็นปรปักษ์ด้วยมาตรการบางประการ ทั้งอคติที่เกิดจากความ อวิชา หรือความรู้สึกที่ถูกสร้างสมความรู้สึก”ขี้กลัว”ต่ออิสลามอย่างไร้เหตุผล ปรากฏการณ์ทั้งหมดเป็นปรากฏการณ์ที่น่าชิงชัง เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจในบรรยากาศของยุคเสรีภาพใหม่ที่กำลังที่เป็นที่แพร่หลายในชาติตะวันตก”
รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ ควรจะทบทวน หรือละเว้น หรือเพิกเฉยต่อผลประชามตินี้ เพราะจะเป็นการเริ่มต้นที่ผิด เพราะเป็นการละเมิด หรือฝ่าฝืนพันธะข้อตกลงตามสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชนแห่งยุโรปซึ่งสวิสเซอร์แลนด์ได้ลงนามในข้อตกลง “ดร.ปาชากล่าว
ผลประโยชน์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จะไม่กระทบหรือเป็นปรปักษ์ต่อความรู้สึก ความอ่อนไหวทางศาสนา ของชาวมุสลิมจำนวน 1.500 ล้านคนทั่วโลกและสวิสต้องเข้าใจว่า หออะซานเป็นสัญลักษณ์ของอธิปไตยของพระเจ้า และความเป็นภราดรภาพของมนุษยชาติที่ถูกวางไว้ในอัลกุรอาน”
Professor Tariq Ramadan ชาวสวิสแต่กำเนิด อาจารย์ประจำ คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด คอลัมนิสต์ วารสาร Guardian ได้เขียนบทความลงในฉบับวันที่ 21 ธันวาคม 2552 ว่า “ประเทศในยุโรปทุกประเทศ มีวาระพิเศษแอบแฝง เป็นวาระที่มีเป้าหมายต่อชุมชนมุสลิมในยุโรปในรูปแบบต่าง เช่น ในฝรั่งเศส มีวาระเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการคลุมฮิญาบ หรือ บุรคา ในประเทศเยอรมัน มีปัญหาเกี่ยวกับการก่อสร้างมัสยิด ในอังกฤษมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้กำลัง ความรุนแรง ในเดนมาร์คมีปัญหาเกี่ยวกับการ์ตูนล้อเลียนท่านนบีมุฮัมมัด ในประเทศเนเธอร์แลนด์เกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวล เป็นต้น และที่สำคัญต้องพิจารณาด้วยเบื้องหลัง และทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ศาสตราจารย์ ตาริกกล่าวว่า “ กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา อิสลามต้องเผชิญกับวิวาทะ การโต้เถียง การกล่าวหาใส่ร้ายว่า เป็นผู้ที่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาอย่างรุนแรง มีความคิดและมีพฤติกรรมสุดโต่ง ,สิทธิเสรีภาพในการพูด มีการกดขี่ทางเพศ มีการแต่งงานแบบถุงคลุมชน เหล่านี้มีการจัดการอย่างเห็นได้ชัดเจน ไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจ พวกเขาเป็นใคร? พวกเขาต้องการอะไร? และปัญหาที่เกิดจากความหวาดระแวง และหวาดวิตก เกรงว่าศาสนาอิสลามจะขยายครอบคลุม หรือเกรงว่าคนเหล่านี้ต้องการให้ประเทศกลายเป็นประเทศมุสลิม”
สำหรับทางออก ซึ่ง ศาสตราจารย์ ทาริก ได้เสนอว่า “ ผมเคยย้ำอยู่เสมอว่า ประชาชาติมุสลิมต้องแสดงออกถึงวิสัยทัศน์ที่ดีและจริยธรรมที่งดงาม เป็นผู้ที่มีความตื่นตัวอยู่เสมอ และมีบทบาทในเชิงรุก การให้เกียรติเคารพคุณค่าสังคมตะวันตก ในสวิสเซอร์แลนด์นั้น เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา มุสลิมชาวสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้มีการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง หลีกเลี่ยงการปะทะ และสร้างความสัมพันธ์ สร้างพันธมิตรกับองค์กรต่าง พรรคการเมือง และการรณรงค์ต่อสู้อย่างชัดเจนต่อกระบวนการการริเริ่มการเสนอกฎหมายด้วยการลงประชามติดังกล่าว”
บทบาทองค์การประชุมอิสลาม (Organization Islamic Conference:OIC)
ต่อกรณีการลงประชามติที่เกิดขึ้นในสวิสเซอร์แลนด์ เลขาธิการ OIC แถลงกล่าวอย่างไม่เห็นด้วยทันที่กับผลการลงประชามติ เมื่อวันที่29 พฤศจิกายน 2552 ว่า”เป็นความพยายามการใช้กระบวนการริเริ่ม (initiative) เพื่อตรากฎหมายห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์” ทันที
เลขาธิการ OIC กล่าวประณามว่า “การห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด เสมือนเป็นการทำลายภาพพจน์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้มัวหมอง จากประเทศที่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดความเคารพในความหลากหลาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพการนับถือศาสนา สิทธิมนุษยชน และกลับกลายเป็นประเทศที่ต่อต้านอิสลาม ที่ถูกยุยง กระตุ้นให้เกิดในยุโรป โดยกลุ่มพวกหัวขวาจัด ซึ่งมีอคติต่อต้านการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ของชนชาติต่างๆ ความรู้สึกเกลียดชิงชังพวกต่างชาติ (Xenophobia) กดขี่ทางเชื้อชาติ ชาตินิยม และการกุข่าวใส่ร้ายป้ายสีด้วยข้อกล่าวหาเกินความจริง ของนักการเมืองขวาจัดที่คุมบังเหียน ครอบงำ มีอิทธิพลเหนือสามัญสำนึก ภูมิปัญญา และคุณค่าที่เป็นสากล”
เลขาธิการ OIC ได้เรียกร้อง คณะกรรมาธิการ สหประชาชาติ(United Nation) พิจารณาเกี่ยวกับข้อห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด เพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐานในอนาคตต่อไปว่า นี้เป็นลักษณะพฤติกรรมการจะใช้อำนาจรัฐ ต่อการเลือกปฏิบัติ การกีดกัน และเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา
เลขาธิการ OIC ได้แสดงความรู้สึกเศร้าและเสียใจอย่างสุดซึ้ง ขณะที่โลกมุสลิม และชุมชมมุสลิมทั่วโลกได้มีการสร้างพันธกรณีในการต่อสู้กับความสุดโต่ง สังคมตะวันตกกลายเป็นตัวประกันของพวกจารีตนิยม พวกขวาจัดสุดโต่ง ซึ่งมีพฤติกรรมแสวงหาประโยชน์ในอิสลาม เป็นแพะรับบาป และจะเป็นกระดานกระโดด (springboard) สู่การพัฒนาการการมีวาระซ่อนเร้น การแอบแฝงประโยชน์ ทางการเมือง ซึ่งสนับสนุนในการกระจายความคิดและแบ่งแยกในสังคม
เลขาธิการ OIC ชี้ให้เห็นว่า “การพัฒนาการในเรื่องดังกล่าวจึงมีความจำเป็นในการสนับสนุนให้มีการพูดคุยกันในระดับรากหญ้าเพื่อขจัดความเข้าใจผิด การใส่ร้ายป้ายสี ที่จะนำสู่การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเกิดความเข้าใจที่เกิดจากการบิดเบือน” ท่านยังเรียกร้องและคาดหวังว่า บรรดาผู้นำทางการเมือง และผู้นำศาสนาชาวสวิสจากทุกภาคส่วน ควรออกมาแสดงจุดยืน ในการปฏิเสธความพยายามใดๆที่จะนำสู่การทำลายสิทธิ เสรีภาพของมุสลิมในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
การหยิบยกประเด็นปรึกษาหารือ ระหว่าง ศ.Dr. Ekmaeleddin Ihsanoqlu เลขาธิการ OIC กับนาง Micheline Calmy-Rey รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการโทรศัพท์ปรึกษาจากรัฐมนตรี หลังจากที่ได้มีผลประชามติอย่างเป็นทางการ เลขาธิการ OIC แสดงความคาดหวังบนพื้นฐานของการเคารพในอธิปไตยและช่องทางสิทธิตามกฎหมายของประชาชนชาวสวิส และหลักการประชาธิปไตย ซึ่งสมาพันธ์รัฐสวิสมีความชอบธรรมที่ จะปรับใช้มาตรการต่างๆในการตัดสินใจ ของประชาชนชาวสวิส ที่มีจุดยืนต่อกัน ทัศนคติ ความรู้สึกชิงชังต่อชาวต่างชาติ ความมีอคติ การกีดกันเลือกปฏิบัติ การต่อต้านละเมิดสิทธิมนุษยชนและความเป็นประเทศที่มีสถานภาพสังคมที่มีความก้าวหน้า
เลขาธิการ OIC กล่าวต่อผู้บริหารสวิส ให้ระมัดระวัง และดูการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดความสุดโต่ง ความเข้าใจผิด และการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น และการขาดความขันติ อดทนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในระหว่างชุมชน และคาดหวังว่าผู้นำทางการเมืองของสวิสเซอร์แลนด์ คงจะรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์ของประเทศ ที่เป็นประเทศที่ธำรงไว้ซึ่ง เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ดังทัศนะความเห็นทางสาธารณของมุสลิมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เลขาธิการ OIC เรียกร้องให้สังคมมุสลิมยึดมั่นในหลักการสันติภาพ และประชาธิปไตย ต่อการแก้ไขปัญหาและองค์การประชุมอิสลาม จะติดตามการพัฒนาการของสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
และนั้นหมายถึงการกระตุ้นให้เอกอัครราชทูตประเทศสมาชิก OIC ณ กรุงเจนีวา รวมกันลงนามในหนังสือถึงรัฐบาลสวิส เพื่อให้ยึดมั่นในการวินิจฉัย เกี่ยวกับการปฏิบัติที่มีลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติ การกำหนดข้อห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ที่สมควรได้รับการประณาม หนังสือที่ร่วมลงนามยื่นต่อรัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ ฉบับที่ตามมาลงวันที่ 3 ธันวาคม 2552 เพื่อย้ำว่า ประชามติดังกล่าวเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนต่อการรุกราน ละเมิดสัญลักษณ์แห่งอิสลามนั้น มีแต่จะเป็นการสร้างความเกลียดชัง สร้างความแตกแยก และการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น เหตุผลของผู้อื่นที่มีต่อชุมชนมุสลิมทั่วไป
เอกอัครราชทูตประเทศสมาชิก OIC ณ กรุงเจนีวา ร่วมแสดงความชื่นชมยินดีต่อ สำนักงานข้าหลวงเพื่อสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ (United Nation High Commissioner For Human Right) ได้มีคำแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552 กล่าวถึง การลงประชามติเป็นเสมือนเป็นกระบวนการการกีดกัน เลือกปฏิบัติ และไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และจะเป็นเหตุที่จะนำประเทศสวิสเซอร์แลนด์เข้าสู่ความเป็นปรปักษ์กับพันธะความผูกพันในเรื่องสิทธิมนุษยชนสากล และกล่าวว่า เนื่องจากการเมืองที่มีพื้นฐานของความชิงชังต่อชาวต่างชาติ และถือทิฐิ ที่จะส่งผลต่อความไม่สบายใจเป็นอย่างยิง และอาจนำสู่ความแตกแยกและเป็นอันตราย
เอกอัครราชทูตประเทศสมาชิก OIC ณ กรุงเจนีวา มีความเห็นสอดคล้องกับทัศนะเกี่ยวกับแนวโน้มความชิงชังต่อชาวต่างชาติ (Xenophobia) และ อิสลาโมโฟเบีย ในสังคมชาวตะวันตก การห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ของสวิสก็จะเป็นสัญญาณ และการปลุกสำนึกในบรรดาประเทศตะวันตกที่จะยึดถือปฏิบัติเป็นนโยบายเหมือนกัน หรือดำเนินการตามในลักษณะต่างที่เป็นการกีดกัน หรือเลือกปฏิบัติต่อชาวชุมชนมุสลิมในประเทศตนต่อไป เอกอัครราชทูตประเทศสมาชิก OIC ณ กรุงเจนีวา จึงได้มีบันทึกการคัดค้าน และตั้งความคาดหวังว่ารัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ จะดำเนินการทุกอย่างภายใต้กรอบของ อำนาจหน้าที่ ในการยกเลิกผลการลงประชามติ ทั้งด้วยวิธีการผ่านกระบวนการทางรัฐสภา และมาตรการทางสถาบันตุลาการต่อไป และหวังว่าการดำเนินการเพื่อให้รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกรวมกับประชาสังคมยืนหยัดต่อสู้ขบวนการกดขี่เลือกปฏิบัติ ความชิงชังชาวต่างชาติยิ่งสืบไป
บทสรุป
1.ในที่สุดรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly) สมาพันธ์รัฐสวิส ไม่รับญัตติคำร้องการห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด โดยสภามีการลงคะแนนชนะท้วมท้นไม่รับญัตติคำร้องของพรรค Swiss People’s Party (SVP), หลังจากพรรคยื่นขอให้พิจารณาร่างกฏหมายการห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด สภาลงมติด้วยคะแนนเสียง 36 ต่อ 3 เสียง นับเป็นความล้มเหลวในความพยายามของขบวนการต่อต้านอิสลามอีกครั้งหนึ่ง ที่จำต้องบันทึกเป็นบทเรียน
2.นาย Danial Streich ส.ส.พรรค Swiss People’s Party (SVP),[11] ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในการรณรงค์การริเริ่มการลงประชามติการห้ามการก่อสร้างหออะซานประจำมัสยิด ได้เข้ารับอิสลามแล้ว ก่อนหน้านี้นาย Danial Streich เป็นผู้ที่เผยแพร่ข่าวสารในการต่อต้านศาสนาอิสลามไปทั่วประเทศ และดูหมิ่นศาสนาอิสลาม และเมื่อได้หันมารับอิสลาม จากการต่อต้านอิสลามทำให้เขาเขาได้มาใกล้ชิดกับศาสนาอิสลามและหันมาเข้ารับอิสลามในที่สุด เขามีความรู้สึกอับอายในการกระทำของเขาที่ผ่านมา เขากล่าวว่าเขาปรารถนาที่จะสร้างมัสยิดที่สวยที่สุดของยุโรปในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ และหวังว่าอัลลอฮฺจะยกโทษในบาปที่เขาเคยได้กระทำก่อนหน้านี้ในการต่อต้านอิสลาม และการการห้ามการก่อสร้างหออะซาน ขณะนี้เขาได้ศึกษาอัลกุรอานและทำความเข้าใจในศาสนาอิสลามมากขึ้น