Asean Is Net@ฟิลิปปินส์
“หากทว่าพระเจ้ากำหนดให้เรามีชีวิตที่ดำเนินอยู่แบบใดบนโลกใบนี้สิ่งสำคัญคือเราต้องเดินต่อไปให้ได้ เพราะการรู้จักที่จะบริการเพื่อประโยชน์สุขของทุกคน คือ ส่วนหนึ่งของการสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นภายในตัวตน...”
แม้ฟิลิปปินส์จะเป็นที่เข้าใจของผู้คนทั่วไปว่าศาสนาประจำชาติคือศาสนาคริสต์ แต่การดั้นด้นค้นหาแก่นแท้ที่มากกว่าการเรียนรู้เพียงแค่เรื่องศาสนาประจำชาติบนฐานคิดนี้เพียงหยิบมุมเดียวคงไม่สามารถอธิบายการเรียนรู้ได้ ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ปราศจากอคติของการเรียนรู้ในการที่ศาสนาคริสต์ถูกกำหนดให้เป็นศาสนาประจำชาตินั้น มันคือการเรียนรู้การสร้างนักคิดผ่านกระบวนการต่างๆของกลุ่มชนภายใต้ตัวตนอันหลากหลายผ่าความวุ่นวายในความเป็นเมืองต่างๆทั้ง Manila Marawi และ Cotabatu จนปรากฏข้อค้นพบถึงวิถีคิดของการสร้างนักคิดมากมาย
เริ่มต้นจากบล็อกของความคิดแรกที่ Manila สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ของต้นขั้วทางความคิดที่น่าสนใจ ณ เมืองตากาล๊อกแห่งนี้คือ การสร้างมหาวิทยาลัยอย่าง University Of The Philippineเพราะเป็นพลังทางการก่อเกิดจากการเยียวยาที่ทางสหรัฐอเมริกาตอบแทนให้แก่ฟิลิปปินส์ได้อย่างยั่งยืนทางความคิดผ่าผ่านความรู้สึก เพราะเลือกหยิบการเยียวยาผ่านพลังการหนุนเสริมทางการศึกษา หากแม้นว่าการพูดถึง University Of The Philippines เพียงเท่านี้คงไม่เป็นการเพียงพอที่จะ สำเนียกเรียกขานถึงแนวความคิดของการสร้างคนที่น่าสนใจได้ หากทว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้กลับพบว่า มีคณะอิสลามศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้ถึงขั้นระดับปริญญาโท และปริญญาเอกที่น่าสนใจ กล่าวคือ มิได้จำกัดผู้แสวงหาความรู้ในสัจธรรมไว้เพียงแต่บุคคลที่ได้ขึ้นชื่อว่า “มุสลิม” หากในความเป็นจริงที่ปรากฏแล้วกลับพบว่ามีการเปิดโอกาสให้ทุกคนทุกชาติศาสนาได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ทางด้านอิสลามศึกษาได้อย่างเต็มที่ การเปิดพื้นที่ของการไขว่คว้าหาสัจธรรมของชีวิตแบบนี้หรือไม่ที่จะทำให้พื้นที่ของการเรียนรู้มีคุณค่ามากกว่าการปิดตัวเองอยู่แต่เพียงโลกของความเข้าใจที่เพี้ยนผิดถึงคำว่า “อิสลามศึกษา” เมื่อห้วงเวลาผ่านพ้นเลยผ่านสิ่งที่ตอกย้ำความคิดของการสร้างคน ณ พื้นที่แห่งนี้กลับเพิ่มคุณค่าเมื่อคณะผู้วิจัยเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของผู้คนที่นี่ ณ ที่แห่งนี้ คนที่เป็นชาวคริสต์จริงๆที่ดูแลคณะผู้วิจัยและทำเรื่องสันติภาพร่วมกับชาวมุสลิมตลอดระยะเวลาของห้วงเวลาที่พ้นผ่านวันวานมันทำให้เราเรียนรู้ว่าความท้าทายของโลกใบนี้กับการค้นหาคำตอบทางความคิดยังต้องก้าวเดินต่อไป
เมื่อเป็นเช่นนั้นการก้าวพ้นเลยผ่านจึงเกิดขึ้นด้วยการบินลัดฟ้าข้ามมหาสมุทรระหว่างเมืองManila สู่ Mindanao จึงเป็นเป้าหมายต่อไป เพราะหาไม่แล้วคำถามที่ค้างคาใจว่าทำไมฟิลิปปินส์ถึงเลือกที่จะสร้างคณะอิสลามศึกษาไว้ในมหาวิทยาลัยที่รายรอบด้วยผู้คนชนต่างๆที่มีมุสลิมส่วนน้อย แล้วผู้คนมุสลิมส่วนใหญ่ที่ปักหลักพักถิ่นเขากำลังสร้างฐานคิดอะไรเป็นที่มั่น
บล็อกความคิดถัดมาของคำตอบจึงปรากฏชัดขึ้น เมื่อคณะผู้วิจัยมาถึงเมือง Marawi ที่วิถีของการปรากฏข้อค้นพบ คือ การร้อยเรียงฐานความคิดของผู้คนระดับ Professor ที่พยายามให้การจัดการศึกษาคือการเชื่อมร้อยตั้งแต่ระดับประถม มัธยมสู่ระดับอุดมศึกษา ด้วยการเข้ามาให้การปรึกษาแก่ครูในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถม มัธยม เพื่อการอบรมบ่มเพาะการสร้างคนถึงขีดสุด ภาพของการจุดประกายบนฐานการสร้างคนบนพื้นฐานการศึกษาจึงเป็นฐานคิดที่น่าสนใจของผู้คนที่นี่ เพราะการไขว่คว้าให้ได้มาของเยาวชนสู่การมีพื้นที่เข้าไปศึกษาใน Mindanao State University มิได้จบลงตรงแค่การได้เข้าเรียนหรือไม่ได้เข้าเรียน ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ แต่ที่นี่ยังมีกระบวนการที่จะรองรับเยาวชนนักศึกษาที่พลาดจากการเข้ามหาวิทยาลัยที่คาดหวัง สู่การสร้างพลังหวังใหม่ด้วยการเข้าเรียนใน College ที่มีศักดิ์และศรีมิได้ลดน้อยถอยลงในคุณภาพเลยเมื่อเทียบกับ Mindanao State University สิ่งที่น่าสนใจตามมาคือการสร้างแรงจูงใจและการให้คุณค่าของการได้มาซึ่งหลักสูตรต่างๆที่เยาวชนนักศึกษาที่ได้ศึกษาที่นี่มีความภาคภูมิเมื่อจบหลักสูตรใดๆโดยการประกาศชื่อแสดงความยินดีตามปรากฏภาพบนป้ายไวนิลเมื่อเราคณะผู้วิจัยได้ผ่านพบ มันคงจะจบในคำตอบอีกเช่นกันของการสร้างคุณค่าผู้คนที่นี่หากจบการพรรณนาข้อค้นพบไว้เพียงเท่านี้ แต่การสำทับวิถีคิดในคำตอบของที่นี่ ณ เมือง Marawi แห่งนี้กับยืนยันมั่นในฐานคิดของการสร้างคุณค่าในความภาคภูมิแผ่ขยายไปถึงประชาชนทุกชนเผ่าที่มีการแสดงความยินดีต่อบุตรหลานที่ผ่านการจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้เล่าเรียนได้อย่างเต็มภาคภูมิสังเกตได้จากที่มีป้ายไวนิลติดเต็มทั่วท้องถิ่นอีกเช่นกัน สิ่งสำคัญคือ มหาวิทยาลัยแห่งนี้สร้างคนอย่างอธิการบดี มหาวิทยาลัย Mindanao State University แบบใดจึงทำให้รัฐบาลถึงกล้าทุ่มงบให้ถึงสองพันล้านบาทเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้จนกล้าประกาศว่าปี ๒๐๒๐ จะเป็นมหาวิทยาลัยที่จะติดระดับโลกให้ได้ หรือแนวคิดการให้นิยามคำว่า “สันติภาพ” แทรกซึมถึงทุกซอกทุกมุมอย่างมีขั้นมีตอนไม่เว้นแม้แต่ความคิดของบาทหลวงที่พยายามดึงวิชาของการอยู่ร่วมกันอย่างอิสลามศึกษาเข้าไปในชนชาวคริสต์ หรือสันติภาพมิได้มีความหมายครอบคลุมแค่เพียงพื้นที่แห่งนี้
บล็อกความคิดที่สามจึงไม่รีรอที่จะค้นหาคำตอบ เมื่อการพูดถึงถึงคำว่า “สันติภาพ” เราจะปฏิเสธพื้นที่อย่าง Bangsamoro ไม่ได้ ความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบภายใต้กรอบคิดของการสร้างนักคิดจึงต้องออกเดินทางค้นหาต่อไปชนิดที่เรียกว่า “ต้องไปให้ถึงซึ่งที่หมาย” การย่างกรายสู่เมือง Cotabatu แห่ง Mindanao จึงเป็นเป้าหมายต่อไปด้วยใจมุ่งมั่น แม้ความเป็นไปนั้นหนทางจะคดเคี้ยวเลี้ยวผ่านปรากฏการณ์แบบใดที่ผ่านพบระหว่างสองข้างทาง แม้ความต่างของเมืองเดียวกันแต่คนละพื้นที่นั้นจะต่างแตกเสมือนมีการแปลกแยกออกไปทางความคิดแต่การพิชิตในการค้นหาคำตอบไม่ได้สร้างความผิดหวังเลยให้แก่คณะผู้วิจัย เพราะจริงๆแล้ว Mindanao ในมายาคติของผู้คนมีอะไรที่เป็นแก่นแกนแผนการการทำงานที่น่าสนใจภายใต้กรอบคิดที่ว่า“Bangsamoro@Mindanaoพยายามเสนอให้เห็นถึงการเชื่อมร้อยในการสร้างสันติภาพด้วยการมิได้จำกัดแต่เพียงชาวมุสลิมหากหว่าได้พูดถึงสันติภาพที่หมายรวมถึงศาสนิกอื่นๆเข้าไปในนั้นด้วย...” หรือทั้งหมดเพราะการจัดการศึกษาอิสลามในทุกรูปแบบเข้าถึงแก่นแกนอย่างแท้จริง หรือ บนลูวิ่งบนถนนสายสันติภาพจะทิ้งการสร้างความเข้าใจในอิสลามภายใต้เขตคามของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมิได้...หรือฟิลิปปินส์ถิ่นนี้มีชาวคิดมากมายที่แสวงหาเส้นทางที่จะได้มาซึ่งสัจธรรมที่แท้จริง ...หรือผู้หญิงก็เป็นส่วนสำคัญของคำว่า “สันติภาพ”