Skip to main content
 

การสาธารณสุขไทยในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในชายแดนใต้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงที่ดำเนินมากว่าทศวรรษ คนทำงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนใต้ก็ยังคงขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาวะให้แก่คนในพื้นที่ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ เนื่องในโอกาส วันมหิดล วันที่ 24 กันยายนของทุกปี K4DS Post ร่วมรำลึกถึงหัวใจที่เด็ดเดี่ยวและมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้สืบสานพระราชปณิธานของพระราชบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทยในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในชายแดนใต้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

 

การจัดการความรู้ เพื่อการแก้ปัญหาชายแดนใต้

 

 

 

ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง “การสื่อสาร ความขัดแย้ง และกระบวนการสันติภาพ : ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 21-22 สิงหาคม ที่ผ่านมา K4DS มีโอกาสได้ร่วมจัดเวทีเสวนา “การจัดการความรู้ เพื่อการแก้ปัญหาชายแดนใต้” ที่ผู้เข้าร่วมเสวนากว่า 100 ชีวิต ทั้งนักวิชาการ นักศึกษา คนทำงาน และผู้แสวงหา “สันติภาพ” ในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงทัศนะที่น่าสนใจ ขณะที่นิทรรศการ “100 คน 100 เล่ม เติมเต็มความรู้ชายแดนใต้” K4DS Search และบูธหนังสือสาระความรู้ชายแดนใต้ ที่นำตัวอย่างหนังสือเก่าหายากเกี่ยวกับมลายูมุสลิมชายแดนใต้ ที่ K4DS จัดทำเป็น Special E-book Collection มาจัดแสดงในบริเวณลานกิจกรรมก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน


K4DS เปิดประตูความรู้ชายแดนใต้

การแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม บรรณาธิการโดย ยูซูป นิมะ และสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, 2551.

 

การแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม

 
หนังสือที่ทบทวนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ยึดโยงอยู่กับศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แล้วนำมาเรียบเรียงและถ่ายทอดอย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านที่แม้จะมิใช่บุคลากรทางการแพทย์เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่


เรื่องเล่าสิ่งดีดี การดำเนินงานสาธารณสุขชายแดนใต้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้ (ศบ.สต.) บรรณาธิการโดย จินตนา แสงพันธ์, 2553.

 

 
เรื่องเล่าสิ่งดีดี การดำเนินงานสาธารณสุขชายแดนใต้

ร้อยเรียง 20 เรื่องเล่าจากประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่แม้ “รสคำ” จากการอ่านจะมิอาจเทียบกับบทประพันธ์ชั้นเยี่ยม แต่ ”รสความ” จากเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนมุมมองของ “สิ่งดีดี” ที่บอกกล่าว จะเป็นทั้งแรงบันดาลใจและกำลังใจในการทำหน้าที่ของเพื่อนร่วมทางในพื้นที่นี้

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่