Skip to main content

 

ความคืบหน้ากรณีกรมทหารพรานที่ 41 แจ้งความร้องทุกข์กล่าวหา
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเป็นคดีหมิ่นประมาท

 

จากกรณีที่เมื่อวันที่  24 สิงหาคม 2557 นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ในฐานะผู้อำนวยการมูลนิธิฯ และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้รับหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาจากพนักงานสอบสวนสภ.เมืองยะลา จังหวัดยะลา เนื่องจาก พ.ต.ลิขิต กระฉอดนอก ผู้แทนกรมทหารพรานที่ 41 แจ้งความร้องทุกข์ต่อนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ กรณีหมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงจากการออกจดหมายเปิดผนคก โดยกล่าวหาว่า “ได้กล่าวข้อความทำให้กรมทหารพรารที่ 41 จังหวัดยะลา ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง” ตามหมายดังกล่าวกำหนดให้ไปพลพนักงานสอบสวนในวันที่ 25 สิงหาคม 2557 แต่ทางมูลนิธิฯ ได้รับหมายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 จึงได้ทำหนังสือขอเลื่อนไปเป็นวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557 โดยจะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาพร้อมกับนายสมชาย หอมลออ ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในฐานะประธานและผู้แทนของมูลนิธิฯ ด้วยนั้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายน .2557 นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะทนายความได้รับการประสานงานจาก  ร.ต.ท. พงศ์ศักดิ์ พรหมเกตุ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองยะลา ว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของ สภ.เมืองยะลา แต่อยู่ในเขตอำนาจของ สภ.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา จึงแจ้งยกเลิกหมายเรียกดังกล่าวผ่านทนายความ เพื่อแจ้งให้มูลนิธิฯ และ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้ถูกล่าวหาทราบโดยถือว่าไม่ได้เรียกมาก่อน  

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กันยายน  2557 นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะทนายความและนายปรีดา นาคผิวทนายความของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้รับแจ้งจากพตท.พิสิษฐ์ ลมคำภา พนักงานสอบสวนสภ.ท่าธง ว่าทาง สภ.ท่าธงได้ออกหมายเรียกใหม่ และทางมูลนิธิขอกำหนดวันเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามวันนัดเดิมคือวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2557 เวลา 10.00 น.

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม จึงขอแจ้งให้ทราบความคืบหน้าว่าทางมูลนิธิฯ พร้อมที่จะไปพบพนักงานสอบสวนและต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุด มูลนิธิฯ ยังคงยืนหยัดที่จะทำงานด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อไป ตามวันและเวลาดังกล่าว

สรุปสาระสำคัญกรณีที่กรมทหารพรานที่ 41 ฟ้องร้องมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และนางสาวพรเพ็ญ  คงขจรเกียรติ กรณีหมิ่นประมาททำให้เสียชื่อเสียง

ประวัติมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ดำเนินการกิจกรรมด้านการส่งเสริมความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 โดยทำงาน ในการให้ความช่วยเหลือทางกฏมายต่อเหยื่อและผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานและปฏิบัติอย่งไร้มนุษยธรรม โดยใช้แนวทงกฎหมายและการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายพิเศษกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือทางคดีมีแนวทางเพื่อการค้นหาความจริง การเรียกร้องให้มีการรับผิดทางแพ่งและทางอาญาต่อหน่วยงานที่มีข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เช่น กรณีนายอิหม่ามยะผา กรณีนายอัสอารี สะมาแอ ซึ่งผู้ถูกควบคุมตัวที่เสียชีวิต ซึ่งมีพยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต

กรณีที่ผู้เสียหายร้องเรียนว่ามีการทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมก็ได้ดำเนินการทำหนังสือร้องเรียนขอให้ตรวจสอบโดยได้ปฏิบัติงนในการตรวจสอบข้อมูล ทำหนังสือร้องเรียน หนังสือเปิดผนึกและทำการเผบแพร่สื่อมวลชน เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อหลักการทางสิทธิมนุษยชนและกฎหมายเพื่อภายยุติการทรมาน โดยที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 7 ปี ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดของ กอรมน. และของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างดีในการปรับเปลี่ยนแนวทาง วิธีการปฏิบัติ การออกกฎระเบียบการควบคุมตัว  ทั้งนี้ยังคงมีช่องโหว่ให้มีการทรมานและการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งเกิดเรื่องร้องเรียนปรากฎในจดหมายเปิดผนึกถึงแม่ทัพภาค 4 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 ขอให้ตรวจสอบกรณีนายอาดิล เหตุเกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2557

กระบวนการการทำงานของมูลนิธิฯ ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและหลักกฎหมายในการเข้าถึงความยุติธรรม การร้องเรียนต่อหน่วยงานดังกล่าถือเป็นขั้นตอนตามกฎมายสามารตรวจสอบได้ และการส่งหนังสือขอให้ตรวจสอบกรณีนายอาดิล มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการปฏิบัติหน้าที่และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจสอบดำเนินการเพื่อร่วมกันแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ไม่ได้มีความประสงค์จะทำลายความน่าเชื่อถือของหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด  ทั้งนี้เนื่องจากรัฐมีพันธรกรณีตามอนุสัญญาการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีในการสอบสวนข้อต้องเรียนเรื่องการทรมานโดยพลัน และมีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และพยานให้ได้รับความคุ้มครองพ้นจากการประทุษร้ายหรือข่มขู่ให้หวาดกลัวอันเป็นผลจากการร้องทุกข์หรือการให้พยานหลักฐานของบุคคลนั้น

หากเมื่อทางหน่วยงานระดับสูงได้รับเรื่องร้องเรียนและหน่วยงานรัฐได้ทำการสอบสวนโดยพลันโดยปราศจากความลำเอียง หากหลักฐานปรากฎไม่ว่าผลการตรวจสอบจะเป็นเช่นใด สิทธิของประชาชนก็จะได้รับความคุ้มครองและประชาชนจะเชื่อมันต่อกระบวนการยุติธรรม หากการร้องเรียนเป็นผลให้ผู้ร้องทุกข์ ผู้ร้องเรียน หรือพยานต้องถูกดำเนินคดีก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมในสถานการณ์การฟ้องร้องคดีต่อมูลนิธิฯ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดกลไกอิสระในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ไม่เป็นธรรมในพื้นที่และทำให้ประชาชนหวาดกลัวในการใช้สิทธิมากยิ่งขึ้นอันเป็นผลร้ายแรงต่อกระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้

ลำดับเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับกรณีฟ้องร้องดำเนินคดี

ในวันที่ 26 เมษายน 2557 นายอาดิลถูกจับกุมและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ขณะที่ถูกจับมีรายงานว่ามีการมีการทำร้ายร่างกายจนสลบและมีการนำตัวส่งโรงพยาบาล ในเวลาเย็นวันเดียวกัน นายอาดิล ถูกควบคุมตัวจากบ้านไปควบคุมตัวที่ ฉก 41 ในวันที่ 27 เมษายน 2557 ทางมูลนธิผสานวัฒนธรรมได้รับเรื่องร้องเรียนจากมารดานายอาดิล หลังจากทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นทางมูลนิธิฯ ประสานกับหน่วยงานทางทหาร ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจควบคุมตัวนายอาดิลอยู่ในขณะนั้น คือทางกรมทหารพรานที่ 41 และได้รับความร่วมมือระดับหนึ่งในการอนุญาตให้เยี่ยมแต่ด้วยจำกัดเวลาเพียง 1-2 นาที และเป็นเพียงส่งอาหารเท่านั้น โดยทางญาติไม่สามารถพูดคุยกับนายอาดิล เป็นอิสระ มีเจ้าหน้าที่นั่งฟังการพูดคุยตลอดเวลา อีกทั้งทนายความและอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความไม่สามารถติดต่อขอเข้าพบได้ระหว่างวันที่ 27-28-29 เมษายน 2557 ทนายความของมูลนิธิฯ และอาสาสมัครทนายความได้ประสานกับหัวหน้าหน่วยซักถามในขณะนั้น

  • วันที่ 29 เมษายน 2557 นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่กรุงเจนีวา ได้รายงานกรณีนายอาดิลโดยวาจากกับผู้แทนฯ คณะกรรมการที่มารับฟังข้อคิดเห็นของภาคประชาสังคมที่ประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทรมานองค์การสหประชาชาติ  ในวันเดียวกันโดยมีข่าวที่ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ถูกอ้างถึงเกี่ยวกับการร้องเรียนให้ตรวจสอบเรื่องนายอาดิลปรากฎในข่าวที่  (http://www.deepsouthwatch.org/node/5648) และ  (http://www.isranews.org/south-news/talk-with-director/item/28974-yaha.html)จำนวนสองชิ้น

 

  • วันที่ 30 เมษายน 2557 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 มีการถ่ายทอดสดการพิจารณารายงานของประเทศไทยผ่านเวปไซค์ Deep South Watch และในวันที่ 30 เมษายน 2557 ได้เผยแพร่บันทึกเป็นคำถามที่ทางคณะกรรมการ CAT ถามกลับมายังตัวแทนรัฐบาลจำนวน 59 คำถามเผยแพร่ใน Blog www.voicefromthais.wordpress.com

 

  • ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 นายอาดิลได้รับการปล่อยตัวจากการควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกและได้ให้ข้อมูลเรื่องเหตุการณ์ในวันที่ 26 เมษายน 2557 ว่า “ตนถูกทำร้ายร่างกายโดยการชกทีท้องโดยมีผ้าวางรอง และการการรัดที่คอ และจากข้อเท็จจริงของมารดา “ได้ยินเสียงร้อยและขึ้นไปบนบ้านเห็นนายอาดิลน้ำลายฟูมปาก” และมีการนำตัวนายอาดิลที่สลบไปส่งโรงพยาบาลในวันเกิดเหตุ รวมทั้งมีการส่งภายถ่ายในใบรับรองแพทย์ลงวันที่ 26 เมษายน 2557 ว่า “กล้ามเนื่องบริเวณลิ้นปีอักเสบ” โดยมูลนิธิฯ จึงได้ส่งหนังสือเปิดผนึกไปทางโทรสารในวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 และฉบับจริงทางไปรษณีย์ขอให้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวในวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ถึงแม่ทัพภาค 4 เพื่อให้ตรวจสอบขอ้เท็จจริง ต่อมานายอาดิลถูกควบคุมตัวอีกครั้งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2557 ตามอำนาจพรก.ฉุกเฉินและถูกควบคุมตัวที่ศูนย์สัติ จ.ยะลา

ต่อมาศูนย์ทนายความมุสลิมได้ทำคำร้องคัดค้านการขยายการควบคุมตัวนายอาดิล เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 ต่อมาวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 ศาลจังหวัดยะลาได้ไต่สวนโดยเรียกให้ผู้ควบคุมตัวนายอาดิล มาให้การต่อหน้าศาลจังหวัดยะลา ยืนยันว่าตนถูกทำร้ายร่างกายจริงในวันที่ 26 เมษายน 2557 ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายอาดิลในวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 หลังหมดความจำเป็นในการซักถามตามอำนาจพรก.ฉุกเฉิน และนายอาดิลได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ

  • กรณีนายอาดิล สาแม เมื่ออายุ 14 ปี เคยตกเป็นผู้เสียหายจากการทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม มูลนิธิผสนวัฒนธรรมและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้ช่วยเหลือครอบครัวนายอาดิลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ในคดีที่พนักงนนอัยการจังหวัดทนายบกปัตตานีฟ้องเจ้าหน้าที่ทหารเป็นคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกายนายอาดิล และศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำพิพากษาโทษให้จำคุก 6 เดือน จำเลยสารภาพจึงให้รอลงอาญา 2 ปี และปรับเป็นจำนวนเงิน 2000 บาท
  • เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในภาค 4  (กอรมน ภาค 4) ได้จัดแถลงข่าวและเผยแพร่ข่าวเรื่องที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ทำหนังสือเปิดผนึกเรื่องขอให้ตรวจสอบกรณีนายอาดิล สาแม ได้รับบาดเจ็บขณะถูกจับกุมและควบคุมตัว ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 โดยทางกอรมน.ภาค 4 ได้แถลงหัวข้อชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีร้องเรียนซ้อมทรมานนายอาดิล สาแม โดยตอนท้ายของแถลงการณ์ว่า “ขอร้องเรียนให้มูลนิธิผสานวัฒนธรรมทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ตรงไปตรงมและตรวจสอบได้ และแสดงความรับผิดชอบต่อเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริงและนำเรื่องราวอันเป็นเท็จไปสู่การรับรู้ของสาธารณะ ดังเช่นเหตุการณ์ครั้งนี้และที่ผ่านๆ มา” 

หลังการแถลงข่าวของกอรมน.ได้มีการเผยแพร่ข้อความดังกล่าวอย่างกว้างขวางในสื่อโทรทัศน์

 

ประวัตินายสมชาย หอมลออ ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

  • ปัจจุบันเป็นกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย
  • อดีตกรรมการคณะกรรมการค้นหาความจริงและการปรองดองแห่งชาติ
  • อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  • อดีตประธานองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล ประเทศไทย

 

ประวัตินางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

  • ปัจจุบัน ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  • อนุกรรมการยุทธศาสตร์ภาคใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  • อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  • รองประธานองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล ประเทศไทย

==========