Skip to main content
บันทึกโดย
ดันย้าล อับดุลเลาะ

วันที่ 18 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมากลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ (The Dream South youth) ได้ตั้งวงสนทนาสาธารณะ จิบชา ถอดบทเรียน 10 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ 

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมดังกล่าว มีดังนี้คือ

1.เพื่อสร้างบรรยากาศเชิงบวกในพื้นที่ที่มีภาวะความขัดแย้งและความรุนแรง

2.เพื่อกระตุ้นให้เกิดพื้นที่การพูดคุยและถกเถียงทางวิชาการในพื้นที่สาธารณะ

3.เพื่อกระตุ้นการตื่นตัวในการถกเถียงเชิงวิชาการแก่เยาวชน

4.เพื่อเปิดที่สาธารณะแก่เยาวชนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจในประเด็นที่เราได้ตั้งไว้ มีผู้เข้าร่วม 25 คน 

ประเด็นหลักๆในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ตลอด 10 ที่ผ่านมา เราเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์ตากใบ ในมุมมองของเยาวชน มีทัศนะต่างๆจากผู้เข้าร่วม โดยอาศัยทักษะจากที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมา ดังนี้ สาขาตะวันออกกลางศึกษา, สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขารัฐศาสตร์การปกครอง, สาขารัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, สาขากฏหมายอิสลาม, สาขานิเทศศาสตร์, สาขาชีววิทยา, สาขาพัฒนาสังคม และอาศัยประสบการณ์ทำกิจกรรมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และอื่นๆ

นายอัสรี จะมะจี ประกลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ ได้แสดงความเห็นว่า

"ผู้ที่กล่าวว่า การเยียวยาด้วยตัวเงินยังไม่พอ ส่วนใหญ่คือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง หรือกล่าวง่ายๆว่าคือผู้ที่ไม่ได้รับเงินในส่วนนั้นนั่นเอง 7.5 ล้าน หรือ 4.5 ล้าน หรือเท่าไหร่ก็ตาม ซื้อชีวิตได้หรือ และใครก็ตามที่ใช้ความรุนแรงถึงร่างกาย ชีวิต การลงโทษด้วยวิธีการใดๆก็ไม่คุ้ม "

มีการใช้กรณีตากใบ กรือเซะ ในกระบวนการผลิตซ้ำทางความคิดแม้แต่เหตุการณ์ ยุทธการบาเจาะ และผมคิดว่ามีการใช้ข้อผิดพลาดของกระบวนจัดการต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในหาผลประโยชน์"

"บางข้อมูลมีความชัดเจนว่ามีการปลุกระดม หากสมมติว่า รัฐชี้ว่าการชุมนุมที่ตากใบเป็นความผิด และการสลายการชุมนุมไม่ชอบโดยหลักการทางกฏหมาย และรัฐไม่จำเป็นต้องเยียวยาล่ะ มันจะเกิดอะไรขึ้น จะเกิดอะไรกับครอบครัวที่สูญเสียเสาหลัก เขาเหล่านั้นจะลุกขึ้นยืนอย่างไร ผมหมายถึงกรณีอื่นๆด้วย"

"บางอย่าง ในกระบวนการยุติธรรมในสมัยนั้น เราเข้าไม่ถึง เป็นเรื่องของศาลทหาร"

"หากมองในมุมของความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่ก็เล็งเห็นว่ามีการตายเกิดขึ้นจากการขนย้ายผู้ชุมนุม แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่แก้ไขต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"

นายอัลก็อฟฟาร์ ยือโร๊ะ สมาชิกกลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ ได้แสดงความเห็นว่า

"หากการเยียวยายังไม่พอ เมื่อเราเทียบกับการตายที่มีการเยียวยากับการตายแบบไม่มีการยื่นความช่วยเหลือเลย แบบไหนเป็นมุมบวกมากกว่ากัน สำหรับคนที่เหลืออยู่"

"ผู้ถูกกระทำจากเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง ในประเภทกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่งผลต่อร่างกายและชีวิต เข้าข่ายการถูกละเมิดตามกฏหมายระหว่างประเทศ การซ้อมทรมานในเหตุการณ์ต่างๆ หรือการถูกกระทำความรุนแรงจากเจ้าหน้ารัฐต่อพลเมือง แม้จะเป็นเรื่องภายใน เนื่องจากเกิดในประเทศ แต่เราก็เห็นว่า กลไกทางการเมืองระหว่างประเทศก็มีองค์กรระหว่างประเทศเข้ามากดดันในการสอบสวนไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้เป็นไปตามกรอบของข้อกฏหมายระหว่างประเทศ"

"การเข้ามาทักท้วงหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่ตากใบ ถือว่าเป็นการกดดันอย่างหนึ่งจากองค์กรระหว่างประเทศ"

"หากมองอีกมุมหนึ่งการสลายการชุมนุมที่ตากใบ ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า มีการสื่อสารที่ผิดพลาด และความผิดพลาด นัยหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด คิลลิ่งฟิล"(คิลลิ่งฟิลผู้จดบันทึกไม่อาจจะให้ความหมายและคำเขียนในภาษาอังกฤษได้"

นายวุฒิพงศ์ บอซู สมาชิกกลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ ได้แสดงความเห็นว่า

"แม้จะมีอนุสัญญาหรือกฏหมายระหว่างประเทศที่รัฐไทยได้ลงให้สัตญาบันไว้เป็นมาตรฐานเพื่ออกกฏหมายที่สอดคล้องกับบริบทของรัฐไทย แต่รัฐไทยไม่ได้ลงนามหรือเรียกว่ารัฐไยได้สงวนท่าทีในเรื่อง การไต่สวนในศาลอาญาระหว่างประเทศ เราไม่ได้ยินยอมให้มีการพิพากษาศาลอาญาระหว่างปนะเทศ"

"มีเอกสารที่ UNHCR ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลข้อเท็จจริง (ผู้บันทึกไม่สามารถแนบเอกสารมาด้วยได้) แต่รัฐไทยขอสงวนท่าทีบางข้อในอนุสัญญาการป้องกันการซ้อมทรมาน แม้จะอ้างถึงสนธิสัญญาเจนีวา แต่มีการใช้หลักเชอคุท (ผู้บันทึกไม่สามารถให้ความหมายและคำเขียนในภาษาอังกฤษได้) อีกทั้งยังมีการใช้หลักการรอนสิทธิ"

นายอิบรอเฮม แวอิบรอเฮม สมาชิกกลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ ได้แสดงความเห็นว่า

"ผมขอตีความว่า เรื่องราวของตากใบคือเรื่องใหม่ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านด้วย รวมไปถึงการเยียวยา ทำให้การจัดการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักการชุมนุม หลักการสลายการชุมนุม รวมไปถึงการเยียวยามีปัญหา เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมชายแดนใต้"

แม้จะมีลงนามในอนุสัญญาและสนธิสัญญาต่างๆ หลักการออกกฏหมายและการปฏิบัติย่อมต้องไม่ขัดต่อเหล่าอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาต่างๆที่รัฐไทยลงนามไว้"

"ผมรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก 10 ปีแล้วหรือที่เราอยู่กันในภาวะแบบนี้ หากย้อนไป 10 ปีที่แล้ว ผมยังเรียนประถมอยู่เลย เราอยู่แบบนี้มา 10 ปีแล้วหรือ"

นายดันย้าล อับดุลเลาะ เลขาธิการกลุ่มเยาวชนดรีมเซาท์ ได้แสดงความเห็นว่า

"ผมไม่อาจจะกล่าวได้ว่า ใครถูกใครผิด แต่เราเห็นว่า หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ เรามีประสบการณ์มากขึ้น ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และประขาชนคนธรรมดาทั่วไป เราจะเห็นว่า การชุมนุมในปี 2550 หน้ามัสยิดกลางปัตตานี ผู้ชุมนุมเลือกที่จะชุมนุมในสถานที่ที่มีสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง สถานที่ตั้งยากต่อการปิดล้อมหากเกิดการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐเอง ก็ยอมให้มีพื้นที่มนการเรียกร้องหรือการแสดงออกทางการเมือง แม้แต่การเลือกสถานที่ในการเคลื่อนไหว เราพบว่ามัใช้สถานเป็นกลาง ไม่มีสัญลักษณ์ความรุนแรง เช่น สถานศึกษา (พื้นที่ทางวิชาการ มหาวิทยาลัย) มัสยิด" 

"ผมมองว่าการเยียวยายังไงก็ไม่คุ้ม ไม่มีการตายใดๆที่คุ้มค่า ไม่สามารถประเมินค่าของชีวิตได้ แต่การเยียวยาเองก็ส่งผลในด้านบวกได้ บางครอบครัวขาดผู้นำครอบครัว สามารถตั้งต้นใหม่ แม้จะช้าไปก็ตาม "

ยังมีทัศนะที่ผู้ร่วมไม่ประสงค์ออกนามอีกด้วย

ผู้เข้าร้วมแสดงความเห็นว่า

"เราควรมองบทเรียนการเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขในอนาคต ไม่มีใครแก้ไขอดีตได้ เรามีบทเรียน เราต้องก้าวข้ามการมองเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์บนพื้นฐานของอารมณ์ และความรู้สึก แต่สิ่งสำคัญการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต้องมองถึงความรู้สึกของชาวบ้านด้วย"

ผู้เข้าร่วมอีกท่านแสดงความเห็นว่า

"ผมไม่อาจจะเดาได้ว่า ความรู้สึกของครอบครัวผู้สูญเสียจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญคิอการมองไปข้างหน้า ชีวิตที่ยืนหยัดได้ในวันนี้ หรือการหาหนทางที่ชีวิตจะดำเนินต่อไป"

ผู้เข้าร่วมอีกท่าน แสดงความเห็นว่า

"ผมคิดว่าในภาวะความขัดแย้งที่ผ่านมา มันทำให้พื้นที่ทางการเมืองแคบลง ทำให้การแสดงความเห็นทางการเมืองมักจะมีกำแพงกั้นทางความคิดอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างไร หากความเห็นนั้นไปเป็นมุมบวกหรือมุมลบ ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง ผู้แสดงความเห็นมักจะถูกผลักให้เป็นอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ ความเป็นกลางอาจจะไม่มีจริง แต่สิ่งสำคัญไม่ใช่การเลือกข้าง ความสำคัญอยู่ที่การนำเสนอข้อเท็จจริงว่ามีการบิดเบือนหรือไม่" 

ข้อเสนอของวงสนทนาสาธารณมีดังนี้

1.การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐจำเป็นต้องเป็นไปตามหลักกฏหมายสากล
 

2.เปิดพื้นที่สื่อสารเพื่อลดการเหมารวมจากคู่ขัดแย้ง
 

3.จะต้องมีการจัดตั้งพื้นที่ปลอดสัญลักษณ์ความขัดแย้ง
 

4.ภายใต้ภาวะความขัดแย้งที่ต้องการเปิดพื้นที่ทางการเมืองจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างพื้นที่เสรีในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การสนับสนุนการพูดคุยสันติภาพ
 

5.จำเป็นต้องเริ่มต้นการพูดคุยสันติภาพ ในเร็ววัน