NOTE: บันทึกชิ้นนี้เป็นการสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ภูมิทัศน์งานวิจัยด้านการสื่อสารเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งและสร้างสันติภาพ” ที่จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 23 กันยายน 2557 ณ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยเป็นการระดมสมองของนักวิชาการและนักปฏิบัติการจำนวนหนึ่งตามรายชื่อข้างล่าง เนื้อหาที่อภิปรายนั้นมีความน่าสนใจควรค่าแก่การเผยแพร่ต่อเพื่อต่อยอดคิดและทำในวงกว้างต่อไป
สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง การสื่อสาร ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ : ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและภาคใต้ของไทย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ความเคลื่อนไหวทางวิชาการเพื่อขับเคลื่อนประเด็นการวิจัยด้านการสื่อสารสันติภาพจึงได้เริ่มก่อร่างขึ้น การประชุมครั้งนั้นก่อให้เกิดการเชื่อมต่อทั้งองค์ความรู้ ประเด็นการวิจัย รวมทั้งนักวิชาการและนักกิจกรรมด้านการสื่อสารเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งและหนุนเสริมสันติภาพทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพด้วยความรู้
ต่อมาได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ภูมิทัศน์งานวิจัยด้านการสื่อสารเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งและสร้างสันติภาพ” เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านการสื่อสารสันติภาพ ตลอดจนสำรวจองค์ความรู้ และประเด็นการวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อกำหนดทิศทางการวิจัยให้สอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ การประชุมยังมุ่งหมายให้เกิดเครือข่ายการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษา นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารสันติภาพ
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักเคลื่อนไหวด้านการสื่อสารและสันติศึกษาจากองค์กรต่าง ๆ ได้แก่
1. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
3. คณะวิชาและสถานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะวิทยาการสื่อสาร
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD)
- ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
สำรวจภูมิทัศน์องค์ความรู้และการวิจัยด้านการสื่อสารสันติภาพ
จากการสำรวจหัวข้อบทคัดย่อและบทความที่เสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ CCPP จำนวน 48 เรื่องพบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเด็นที่ศึกษาความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพในมิติด้านรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนประเด็นด้านการสื่อสารนั้น มีผู้นำเสนอบทความวิจัยในการประชุม จำนวน 5 เรื่องจากบทคัดย่อจำนวน 13 เรื่อง (รายละเอียดในภาคผนวก) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า องค์ความรู้ด้านการสื่อสารสันติภาพนั้นยังคงต้องมีการพัฒนาและจำเป็นต้องขยายขอบเขตการวิจัยด้านการสื่อสารในบริบทความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพให้มากขึ้น
ขอบเขตสาขาวิชา |
จำนวนบทคัดย่อ (48 เรื่อง) |
1. ด้านรัฐศาสตร์ ความมั่นคง ความขัดแย้งและสันติศึกษา |
25 เรื่อง |
2. ด้านสังคมศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมศึกษา |
14 เรื่อง |
3. ด้านการสื่อสาร วารสารศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ |
13 เรื่อง |
ประเด็นการวิจัยด้านการสื่อสารสันติภาพ
การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในกระบวนการสันติภาพ ขณะที่เป็นที่เข้าใจกันดีว่ากระบวนการสันติภาพเป็นกระบวนการที่มีความเปราะบางและไม่มีความต่อเนื่องในลักษณะเป็นเส้นตรง[1]ความก้าวหน้าในการพูดคุยสันติภาพและการแสวงหาทางออกด้วยการเจรจาหรือข้อตกลงสันติภาพนั้น อาจพบกับอุปสรรค ความชะงักงัน หรือล้มเหลวด้วยปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ สิ่งที่จะทำให้กระบวนการสามารถประคับประคองตัวหรือดำเนินต่อไปได้คือความร่วมมือร่วมใจกันของฝ่ายที่สามหรือฝ่ายประชาชนในการหนุนเสริมและยืนยันเจตนารมณ์สันติภาพ ผ่านกระบวนการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมืองที่เหมาะสม ดังนั้น ในการประชุมจึงได้มีการรวบรวมข้อเสนอประเด็นการวิจัยด้านการสื่อสารสันติภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลา แต่ละเงื่อนไขของสถานการณ์ความขัดแย้ง ดังนี้
ประเด็นการวิจัย |
ความถี่ |
---|---|
1. วารสารศาสตร์สันติภาพ (Peace Journalism) |
14 |
2. การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) |
8 |
3. การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา |
8 |
4. ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่า |
8 |
5. กลุ่มผู้เห็นต่างและการสื่อสาร |
8 |
6. สื่อใหม่(New Media) |
7 |
7. เศรษฐกิจการเมือง |
7 |
8. การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) |
4 |
9. การรณรงค์เคลื่อนไหวสันติภาพ |
3 |
10. การรับรู้ข่าวสาร |
3 |
11. ภาพถ่ายและสันติภาพ |
2 |
ประเด็นด้านการเรียนการสอน
นอกจากประเด็นการวิจัยแล้ว ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งคือการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการสื่อสารสันติภาพ จึงได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอเกี่ยวกับหัวข้อการเรียนการสอนด้านการสื่อสารสันติภาพ โดยในตารางแสดงให้เห็นว่า ประเด็นด้านวารสารศาสตร์สันติภาพและการสื่อสารในสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจมากที่สุด ควบคู่กับความรู้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการสันติภาพและการสร้างสันติภาพ
หัวข้อการเรียนการสอน |
ความถี่ |
---|---|
1. วารสารศาสตร์สันติภาพ การสื่อสารในสถานการณ์ความขัดแย้ง และการสื่อสารสันติภาพ Conflict & Peace Journalism/Communication |
11 |
2. กระบวนการสันติภาพและการสร้างสันติภาพ (Peace Process and Peacebuilding) |
7 |
3. ทักษะการสื่อสาร |
5 |
4. การสื่อสารและวัฒนธรรมสันติภาพ |
5 |
5. สื่อใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
4 |
6. เศรษฐศาสตร์ |
4 |
7. วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) |
3 |
8. การสื่อสารการตลาดเพื่อสันติภาพ |
3 |
9. การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movements) |
3 |
10. สื่อกับกลุ่มชาติพันธุ์ |
2 |
11. จริยธรรมสื่อ |
2 |
12. การสื่อสารแนวสุนทรียภาพ(Aesthetic Communication) |
2 |
13. การสื่อสารทางการเมือง |
2 |
14. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง |
1 |
15. ความขัดแย้งและสันติศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ |
1 |
ทิศทางการวิจัยด้านการสื่อสารสันติภาพ
ในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการวิจัยด้านการสื่อสารสันติภาพดังนี้
1. การวิจัยด้านสังคมศาสตร์ยังขาดการเชื่อมร้อยกัน ประเด็นการศึกษายังคงกระจุยกระจาย ทำให้ไม่มีพลังในทางยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงสังคม งานวิจัยต้องนำไปสู่การหาทางออกหรือวิธีคิดใหม่ ๆ ในที่นี้ จึงเสนอว่า การกำหนดประเด็นการวิจัยควรตอบโจทย์สำคัญคือ การเสริมสร้างพลังทางสังคมและการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (การสร้างสันติภาพ) ซึ่งแนวคิดหลัก (Core concept) ที่ควรนำมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ ได้แก่ แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การก่อรูปและปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive formation and Discursive Practice)
2. ควรมีการขยายขอบเขตหัวข้อการวิจัยและมีความหลากหลาย เช่น ประเด็นด้านศิลปะเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง สื่อจิตคดีในการสร้างความเข้าใจในสังคมพหุวัฒนธรรม ภาพข่าวเพื่อสันติภาพ (Peace Photojournalism)การสื่อสารประเด็นชาติพันธุ์ ฯลฯ
3. การวิจัยพื้นฐานยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์การสื่อสารและการทำงานของสื่อมวลชนในการรายงานข่าว เช่น การสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและพฤติกรรมการสื่อสารของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ การติดตามการรายงานข่าวสถานการณ์ภาคใต้และกระบวนการสันติภาพในสื่อแขนงต่าง ๆ ฯลฯ
4. การรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยด้านการสื่อสารและสันติศึกษา
5. การศึกษาสถาบันสื่อมวลชนและบทบาทของสื่อในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ โดยการศึกษาทั้งในเชิงโครงสร้างสถาบันหรือองค์กรสื่อ และในระดับหน่วยย่อยของผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวสาร ผู้สื่อข่าว การบรรณาธิการ กลไกทางอุดมการณ์และค่านิยม รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติและแนวทางการทำงานเพื่อสันติภาพของสื่อมวลชน เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการที่เป็นการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ
แนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการระหว่างสถาบัน
ความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการระหว่างนักวิจัยและนักวิชาการจากสถาบันต่าง ๆ ดำเนินการได้ใน 2 แนวทางคือ
แนวทางแรกคือ การทำวิจัยร่วมกันในรูปแบบของชุดโครงการวิจัยชุดใหญ่ หรือในรูปแบบของโครงการวิจัยย่อยตามความสนใจของแต่ละคน แต่ให้มีประเด็นที่เกี่ยวโยงกันตามกรอบหัวข้อวิจัยที่ได้เสนอไว้ในการประชุมครั้งนี้ ในเบื้องต้น มีผู้เสนอประเด็นการวิจัยได้แก่ วารสารศาสตร์สันติภาพ (ผศ.วลักษณ์กมล) การวิเคราะห์วาทกรรม (อ.สมัชชา) การศึกษาสนามการสื่อสารสันติภาพ (ผศ.กุสุมา) ภาพข่าว (Photojournalism) (ดร.พรรษาสิริ) สื่อจิตคดีในการสร้างความเข้าใจในสังคมพหุวัฒนธรรม (ดร.จิรยุทธ์)การสังเคราะห์งานวิจัยหรือถอดบทเรียนด้านการสื่อสารและกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้งต่าง ๆ (คุณฟารีดา)เป็นต้นสำหรับแหล่งทุนวิจัย นักวิจัยสามารถเสนอทุนไปยังคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สกว. หรือแหล่งทุนภายในของมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัด เช่น คณะ สถาบันวิจัยหรือสถานวิจัย
แนวทางที่สอง เป็นการสร้างพื้นที่การประสานงานกันทั้งในด้านประเด็นการวิจัย การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากการวิจัย การจัดกิจกรรมร่วมกัน และการจัดการเรียนการสอน เช่น การจัดเวทีเสวนาทางวิชาการ การร่วมมือกันจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาระหว่างสถาบัน การเปิดพื้นที่การสื่อสารและการติดต่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น บล็อกเผยแพร่บทความ ผลงานทางวิชาการ หรือกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจะมีการดำเนินการทั้ง 2 แนวทางควบคู่กันไป โดยแนวทางที่สอง สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนแนวทางแรกนั้นจะมีการประสานงานกันเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยภายในต้นปีงบประมาณ 2558 นี้
ตารางแสดงหัวข้อบทคัดย่อด้านการสื่อสารที่ส่งมายังการประชุมวิชาการนานาชาติ CCPP 2014 (21-22 สิงหาคม 2557)
หัวข้อบทคัดย่อด้านการสื่อสาร |
นักวิจัย |
---|---|
1. Social Issues Shared and Discussed in Social Networking Sites by College Youth* |
1. G. Balasubramania Raja, Manonmaniam Sundaranar University, Tirunelviel, Tamil Nadu, India 2. Jone Antony Raja, Rathinam Arts and Science College, Coimbatore, Tamil Nadu, India |
2. Negotiating Strategies and Relationship Marketing Implications |
Kuochung Chang, National Dong Hwa University, Taiwan |
3. Framework for Mobile Learning in the Conflict Area of the four Southernmost Provinces of Thailand* |
1. Sariya Binsaleh 2. Muazzan Binsaleh, PSU, Thailand |
4. Media Discourse on the Peace Process in Southern Thailand |
Samatcha Nilapathama, PSU, Thailand |
5. Perceptions of Patani-Melayuness and ‘KhwamPhen Thai’ among Patani Youth |
Pakkamol Siriwat, University of Cambridge, UK |
6. ‘We and They’. The Created Conflict in Turkish Society and Advertising as a Peacebuilding Instrument |
Mehmet Sinan Erguven, Anadolu University, Turkey |
7. The Role of Information Technology and its Application Guidelines to Contribute Peaceful Conflict Resolution |
Maruf Chebueraheng, Thammasat University, Thailand |
8. Beyond Conventional Professionalism: the Diverse Roles of Thai Journalism in the Southern Conflict* |
Phansasiri Kularb, Chulalongkorn University, Thailand |
9. Implications of Media Censorship on Ethnic Reconciliation in Post-War Sri Lanka |
1. Amali Wedagedara 2. Athulasiri Kumara Samarakoon Open University of Sri Lanka |
10. Media Construction of Violence in the South of Thailand: a Sociological Enquiry |
Panpimon Narknawa, CU, Thailand |
11. Cross Media Ownership and its Impact. A Comparative Study of Media Organization in India and Thailand in the Context of Conflict* |
1. Kanueng kwanNunkaew, PSU, Thailand 2. Raja Pokharapurkar, University of Pune, India |
12. Alternative Media as a Common Space for Peace in the Southernmost Provinces of Thailand |
1. Walakkamol Changkamol 2. Amornrat Chanakan, PSU, Thailand |
13. Hate Speech in the Media* |
Pirongrong Ramasoota, CU, Thailand |
*หัวข้อบทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุม CCPP
ภาพแสดงรายละเอียดเนื้อหาการประชุม
ภาพ 1 ประเด็นหัวข้อการวิจัยที่สอดคล้องกับกระบวนการสันติภาพแต่ละห้วงเวลา และสอดคล้องกับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสันติภาพ
ภาพ 2 การจัดกลุ่มประเด็นหัวข้อการวิจัยการสื่อสารสันติภาพ (1)
ภาพ 3 การจัดกลุ่มประเด็นหัวข้อการวิจัยการสื่อสารสันติภาพ (2)
ภาพ 4 การจัดกลุ่มประเด็นหัวข้อการเรียนการสอน (1)
ภาพ 5 การจัดกลุ่มประเด็นหัวข้อการเรียนการสอน (2)
รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
หน่วยงาน |
1 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล |
คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี |
2 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี |
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.อ. ปัตตานี |
3 |
อาจารย์ ดร. จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
4 |
อาจารย์ ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ |
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
5 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา กูใหญ่ |
คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี |
6 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภีรกาญจน์ไค่นุ่นนา |
คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี |
7 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แวอาซีซะห์ดาะยี |
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา |
8 |
อาจารย์ ดร.คนึงขวัญ นุ่นแก้ว |
คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี |
9 |
อาจารย์สมัชชา นิลปัทม์ |
คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี |
10 |
อาจารย์ ดร.วารุณี ณ นคร |
คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี |
11 |
อาจารย์เชาวน์เลิศ ล้อมลิ้ม |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
12 |
อาจารย์มูฮำหมัดสูใฮมี ยานยา |
คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี |
13 |
นายรอมฎอน ปันจอร์ |
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ |
14 |
นางฟาริดา ปันจอร์ |
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ม.อ. ปัตตานี |
[1]จอห์น พอลเลเดอรัค, เขียน. สดใส ขันติวรพงศ์, แปล. (2555) พลังธรรมแห่งจินตนาการ ศิลป์และวิญญาณการสร้างสันติภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.; David Chandler. (2013) Peacebuilding and the politics of non-linearity: rethinking ‘hidden’ agency and ‘resistance’. Peacebuilding, vol.1, no.1, 17-32.