เมื่อวันที่ 13-15 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ทางสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในนามของ คณะทำงานสร้างพื้นที่สันติภาพจากคนใน (IPP) และศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ (PRC) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การติดตามตรวจสอบและการรายงานสันติภาพ (Peace Monitoring and Reporting Workshop) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนถกเถียงในประเด็นการวัด “สันติภาพ” ในบริบทของความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การประชุมครั้งนี้มีวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านกระบวนการและการวัดสันติภาพ ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเริ่มต้นการประชุมด้วยประเด็นการทำความเข้าใจสันติภาพและกระบวนการสันติภาพ โดย มาร์โค มาซเซอร์รา (Marco Mazzera) ที่ปรึกษาอาวุโสของศูนย์ทรัพยากรสันติภาพนอร์เวย์ (Norwegian Peacebuilding Resource Center, NOREF) ประเด็นหลักที่ถูกนำเสนอ มีดังนี้
การเข้าใจภูมิทัศน์และแนวโน้มความขัดแย้ง
การทำความเข้าใจสันติภาพและกระบวนการสันติภาพนั้น จะต้องมีความเข้าใจในภูมิทัศน์และแนวโน้มของความขัดแย้งด้วย คือ
1. จากความขัดแย้งในระดับนานาชาติ มีการส่งผลสู่ความขัดแย้งภายในประเทศ
2. กระบวนการสันติภาพและข้อตกลงต่างๆ มีความล้มเหลว จนนำไปสู่ความขัดแย้ง
3. วิกฤตของรัฐและกลุ่มตัวแทนขาดความชอบธรรม จนนำไปสู่ความขัดแย้ง
4. ความขัดแย้งมีแนวโน้มเกี่ยวกับการพัฒนารวมตัวกันเป็นภูมิภาค
การทำความเข้าใจในการสร้างสันติภาพ ซึ่งประกอบด้วย
-
การวัดความขัดแย้งง่ายกว่าการสร้างสันติภาพ เพราะการสร้างสันติภาพเป็นกระบวนการซับซ้อน เป็นกระบวนการที่ลอยตัว ไม่ใช่เป็นไปตามขั้นตอนที่เรียงลำดับได้ตามความต้องการ มีความทับซ้อนหลายเรื่องและปัญหาสามารถย้อนกลับมาใหม่ได้เสมอ
-
กระบวนการสร้างสันติภาพบางทีไม่สามารถทำนายได้ แต่หลายครั้งประชาคมนานาชาติอาจคาดหวังเรื่องเป้าหมายที่เกินกว่าที่จะบรรลุได้
-
มีคนหลายฝ่ายเข้ามาอยู่ร่วมในการดำเนินการ และมีการดำเนินการอย่างเป็นพลวัตร ความสนใจในประเด็นสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยตลอด
-
พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพทั้งกระบวนการ ไม่ใช้เพียงแต่วิธีการกระแสหลักเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา
-
ต้องมีการสร้างสภาวะในการสร้างพื้นที่ร่วมของการทำงาน
-
ต้องมีการวิเคราะห์การสร้างสมดุลย์ของการจัดการความขัดแย้ง
-
การสร้างสันติภาพเป็นการสร้างศักยภาพในกระบวนการทำงาน เพื่อตอบสนองทั้ง การทำงานเฉพาะหน้าและงานระยะยาว
ประเด็นในการพิจารณาของการวัดกระบวนการสันติภาพ
การวัดกระบวนการสันติภาพมีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้
-
การวัดกระบวนการสันติภาพสามารถมองผ่านจาก 5 เสาหลักในการสร้างสันติภาพของ UN (the UN’s 5 pillars of peacebileding) อันประกอบดวยเรื่อง 1) ความมั่นคงและความปลอดภัย 2)กระบวนการทางการเมือง 3) สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม 4) และมิติทางเศรษฐกิจ และ 5) พื้นฐานบริการต่างๆ
-
การวัดผลกระบวนการสันติภาพมีเครื่องมือที่มีความหลากหลาย แต่มีกรอบ 2 ส่วนที่ต้องเข้าใจ คือ กรอบในการวิเคราะห์บริบทเชิงสถาบัน และความจำเป็นในการทำความเข้าใจท้องถิ่น ที่ไม่ใช่เรื่องเชิงเทคนิคล้วนๆ
-
การประเมินกระบวนการสันติภาพผ่านสถานบันระหว่างประเทศกับสถาบันทวิภาคี
-
ทำการวิเคราะห์การเมือง ทั้งในในระดับประเทศ และโลก
-
การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างตัวชี้วัดแบบสากล และแบบเจาะจงสำหรับบริบทเฉพาะ แบบกว้างที่เป็นสากลข้อดีด้านบวกสามารถเปรียบเทียบกับทั่วโลกได้ แต่เชิงเจาะจง ดีแง่ในการเป็นลักษณะเฉพาะ และได้เลือกมาแล้วปรับเข้ากับท้องถิ่น
การประเมินผลการไกล่เกลี่ยด้านสันติภาพ
การทำงานในมุมการไกล่เกลี่ย หรือการเจรจาสันติภาพมีทิศทางเพิ่มขึ้นหลายเท่า โดยกระบวนการสันติภาพมีผลลัพธ์ที่ต้องการที่หลากหลาย ตั้งแต่สันติภาพเชิงลบที่ต้องการยุติความรุนแรง และเป้าหมายสันติภาพเชิงบวกที่สูงสุด มุ่งหมายให้แก้ไขที่รากเหง้าของความขัดแย้งด้วย โดยกรอบในการประเมินประสิทธิผลของการไกล่เกลี่ย โดยพิจารณา 3 ด้าน
-
การประเมินตั้งแต่ผลเชิงลบไปจนถึงผลเชิงบวก นิยามความสำเร็จของสันติภาพเชิงบวก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง ในระยะนั้นเราก็พัฒนาตัวชี้วัดในแต่ละขั้นตอน ตัวละคร เปลี่ยนท่าทีอย่างไร จากไม่คุยกัน เปิดเผยกับสื่อมากขึ้น และท่าทีอ่อนลงเป็นต้น
-
ตัวชี้วัดต้องดูว่ามีข้อตกลงสันติภาพหรือไม่่ ตั้งแต่หยุดยิงจนโดยมองครอบคลุมทุกเรื่อง การประเมินหลังความขัดแย้งด้วย มาตรฐานระดับโลกก็จะดูเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยว่ามีการปฏิบัติอย่างไร มุมมองภายนอกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
-
การให้ได้มากับสันติภาพเชิงบวก ในการเปลี่ยนผ่าน คือระยะในการนำข้อตกลงๆต่างมาปฏิบัติ การพลิกโฉมการเปลี่ยนโฉมเป็นงานระยะยาวที่ผู้มีส่วนได้เสียต้องเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้นในขั้นตอนนี้
การนำเสนอในส่วนนี้เป็นเพียงหนึ่งเสี้ยวของความรู้จากการประชุมครั้งนี้ ที่นำไปสู่การสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในบริบทของความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการสร้าง “สันติภาพเชิงลบ” (ความรุนแรงทางกายภาพและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง) แต่ยังหวังให้เกิด “สันติภาพเชิงบวก” (เช่น การสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม) อีกด้วย ซึ่งในโอกาสต่อไปจะได้นำเสนอให้เห็นถึงการวัดสันติภาพเชิงบวกและเชิงลบด้วย