Santiparp Shinedantai
ทำความเข้าใจกรอบการเจรจาสันติสุขรอบใหม่กันนะครับ
ตามที่ทราบกันเค้าแบ่งกรอบอออกเป็น 3 ระดับ
ครั้งนี้นับว่าต่างจากครั้งที่ผ่านมาซึ่งไม่มีตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม (ตัวแทนรัฐบาลกับตัวแทน BRN only)
แต่ครั้งนี้ในระดับพื้นที่ เครือข่ายภาคประชาสังคม ตัวแทนประชาชนจะอยู่ในโครงสร้างของการพูดคุยด้วย
อำนาจหน้าที่คือสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดบรรยากาศที่ดีของการพูดคุย ประสานงานกับส่วนต่างๆ และประเมินสถานการณ์ความเป็นไปในการพูดคุยแต่ละรอบ
ในส่วนของกรอบระดับกลาง (ไม่ต้องพูดถึงระดับบนนะครับ เพราะรู้กันอยู่ว่า เป็นระดับนโยบาย) คือคณะพูดคุยหรือทีมเจรจา ซึ่งมีการตั้งผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ในบอร์ดครบถ้วน (รวมนักวิชาการด้วย)
ที่สำคัญในคณะพูดคุยนี้ มีการกำหนดผู้แทนจากระดับล่างหรือระดับพื้นที่ (ครเือข่ายภาคประชาสังคม) เข้าไปนั่งในคณะพูดคุยด้วย
ดูแล้วอย่างน้อยก็ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมพอสมควรนะครับ
ส่วนตัวผมเองมองว่า การพูดคุยจะไม่ก่อให้เกิดพัฒนาการใดๆ เลย หากไม่มีการสื่อสารไปยังประชาชนในพื้นที่ ว่าคณะพูดคุยจะทำอะไร จะดำเนินการปลดล็อคเรื่องอะไร เหมือนครั้งที่ผ่านมา การสื่อสารสะเปะสะปะ คนร่วมคณะจะกลับมาพูดมาเล่าอะไรก็ได้ มั่วไปหมด
(ครั้งนี้ควรอย่างยิ่งที่จะกำหนดโฆษกที่เป็นทางการของคณะพูดคุยไปเลย)
ครั้งนี้มีกลไกระดับพื้นที่ที่จะตอบโจทย์ในข้อนี้ได้
เรามารอดูแนวทางหรือรูปแบบของฝ่ายมาเลเซียว่า เค้ายังจะใช้แนวทางตามที่ดาโต๊ะซัมซามินทำไว้หรือเริ่มกันใหม่เลย