Skip to main content

สรุปเนื้อหาและกิจกรรมในการอบรมเชิงปฏิบัติการ
พลังวิทยุชุมชนกับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี
วันที่ 10 สิงหาคม 2557
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

10 เเนวคิดพื้นฐานเพื่อเข้าใจกระบวนการสันติภาพเเละการนำเสนอผ่านสื่ออย่างได้ผล  

โดย ดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

 

กระบวนการ:

  • จัดที่นั่งกลุ่มละ: 4 - 5 คน ต่อกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีสมาชิกผสมกัน จัดที่นั่งเเบบนั่งทานอาหาร
  • เเต่ละกลุ่มกำหนดผู้อำนวยความสะดวกและผู้เขียนบัตรอย่างละ 1 คน 
  • การบรรยาย: เเต่ละหัวข้อมีการบรรยายประมาณ 10 นาที  
  • หลังจากการบรรยายแต่ละกลุ่มอภิปรายเพื่อหาคำตอบคำถามปลายเปิดที่กำหนดภายในกลุ่ม หากไม่สามารถหาคำตอบให้เสนอความคิดเห็นที่ควรอภิปรายให้ละเอียดขึ้น โดยเขียนไว้ในบัตร 
  • ผู้อำนวยความสะดวกและทีมงานจัดกลุ่มบัตรต่างๆ บนกระดานติดบัตร
  • หากผู้อำนวยความสะดวกคิดว่ามีประเด็นที่เป็นจุดสำคัญมาก ที่ควรได้รับการชี้แจงทันที ให้เเจ้งผู้บรรยาย

 

(1) แนวคิดพื้นฐานที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับความขัดเเย้ง ความรุนเเรง เเละสันติภาพ

  • แนวโน้มเกี่ยวกับความรุนแรงและสันติภาพจากทั่วโลก
  • สันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก
  • สันติภาพระหว่างรัฐ 
  • สันติภาพภายในรัฐ  
  • สถานการณ์ที่มิใช่ทั้งสงครามเเละสันติภาพ

 

(2) สิ่งที่ทำให้ความขัดแย้งอยู่ในภาวะยืดเยื้อเรื้อรังคืออะไร?

  • เมื่อกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ของกลุ่มร่วมกัน (จากวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษา ศาสนา) รู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเป็นระยะเวลานาน
  • เมื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของระเบียบทางการเมือง การเข้าถึงเเละการควบคุมทรัพยากรของรัฐ 
  • เมื่อความขัดแย้งมีมิติข้ามชาติหรือมิติระหว่างประเทศ 
  • เมื่อความขัดเเย้งกลายเป็นความรุนแรง เพราะความรุนแรงได้ผลิตและให้กำเนิดความรุนแรงซ้ำไปซ้ำมา

 

(3) ทำไมทุกฝ่ายเชื่อว่าตนเป็นฝ่ายถูกในความขัดแย้ง

  • การจัดการความขัดแย้งให้คลี่คลายลงไปได้นั้นสามารถดำเนินการผ่านการใช้อำนาจครอบงำจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือผ่านการจัดการการเจรจาต่อรองรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองวิธีการร่วมกัน 
  • ผู้คนที่มีอัตลักษณ์ร่วมสั่งสมชุดของประสบการณ์ร่วมผ่านประวัติศาสตร์ของกลุ่มตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความทรงจำต่อเรื่องราวทั้งที่เป็น "ความรุ่งโรจน์" หรือ "บาดแผล" ในการเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ร่วมกัน 
  • บ่อยครั้งที่มีเพียงเรื่องเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับจากทางการ 
  • ตัวอย่างเช่น อังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์, เซอร์เบีย โครเอเชียและบอสเนีย เเละประวัติศาสตร์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี

 

(4) สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เพื่อจะเข้าใจความขัดแย้งคืออะไร?

  • ใครเป็นตัวแสดงและผู้มีส่วนได้เสีย และพวกเขาเหล่านั้นมีคความสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่าไร?
  • อะไรคือจุดยืน จุดสนใจ ความต้องการ และความกลัว ของบรรดาตัวแสดงและฝ่ายต่างๆ เหล่านั้น
  • อะไรคือแรงขับเคลื่อนความขัดแย้ง: ความรุนแรงและการต่อต้านด้วยการใช้ความรุนแรง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความไม่เท่าเทียมกัน ความไม่ไว้วางใจ อิทธิพลจากภายนอก การศึกษา เป็นต้น

 

(5) เราจำเป็นต้องมีกระบวนการสันติภาพเพื่อที่จะบรรลุถึงสันติภาพใช่หรือไม่?

  • ชาวปาเลสไตน์: เราเบื่อหน่ายกระบวนการสันติภาพเเล้ว เราต้องการสันติภาพ
  • ข้อตกลงสันติภาพ" จะได้มาง่ายขึ้น เมื่อมีผู้ชนะและผู้แพ้ที่ชัดเจน (ดูตัวอย่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 - แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าข้อตกลงสันติภาพจะมีความยั่งยืน
  • ความขัดแย้งยืดเยื้อเรื้อรัง" ให้กำเนิด "กระบวนการสันติภาพยืดเยื้อเรื้อรัง
  • ตัวอย่างเข่น ทัศนะของ จอร์จ มิทเชลส์ (George Mitchells) ต่อกระบวนการสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ ... 
  • กระบวนการที่พอเหมาะพอควร = ใช้เวลา 5 - 6 ปี และไม่มีทางออก" (resolution) ที่ชัดเจน  จะมีก็เพียง "การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง" (transformation)

 

(6)  การสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนนั้นต้องการคนทำงานแบบไหน?

  • ปิรามิดตัวเเสดงของเลอเดอรัค (Lederach)
  • ต้องการการแรงสนับสนุนที่มากพอ เมื่อเทียบกับจำนวนนักวิจารณ์และ "ตัวป่วนสันติภาพ" (spoilers)
  • ผู้นำที่สามารถยอมรับความเสี่ยงและเอื้อมไปแตะมือฝ่ายอื่นๆ ได้ พร้อมทั้งสามารถทำให้ฝ่ายของตัวเองให้การสนับสนุนได้  ตัวอย่างเช่น: โทนี่ แบลร์ ในกรณีไอร์แลนด์เหนือ (ไม่ใช่กรณีอิรัก) และประธานิธิบดีเบนิโนนอยนอยอาควิโนที่สาม ในกรณีมินดาเนา, ฟิลิปปินส์
  • ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพและมวลชนผู้สนับสนุนสันติภาพที่ไม่หวั่นเกรงต่อการปรากฏตัวสู่สาธารณะ 
  • คนที่มีความสามารถในการสร้างช่องทางประตูหลังบบ้านที่สามารถทำงานอย่างได้ผล

 

(7) บทเรียนที่สำคัญจากความสำเร็จและความล้มเหลวในกระบวนการสันติภาพคืออะไร?

  • ภาษามีความสำคัญ: เเต่ละฝ่ายพูดถึงฝ่ายอื่นๆ อย่างไร
  • กระบวนการสันติภาพต้องมี (1) “โรดแมปหรือแผนที่นำทางเพื่อสันติภาพที่สมเหตุสมผล (2) การประสานเกี่ยวโยงกับคู่สนทนาสำคัญๆ ของแต่ล่ะฝ่ายอย่างยั่งยืนเเละจริงใจ (3) โครงสร้างการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับมือกับประเด็นสำคัญต่างๆ (4) ตาข่ายนิรภัยหนุนเสริมกระบวนการสันนติภาพของแทร็ค 1.5 ของแต่ละฝ่าย  (5) การมีส่วนร่วมของสาธารณชนอย่างมีนัยสำคัญในแทร็ค 2” และแทร็ค 3” (6) การดำเนินการของสื่อควบคู่กับกระบวนการสันติภาพด้วยความรับผิดชอบ
  • กระบวนการสันติภาพต้องการผู้สนับสนุนจากบรรดา "ชนกลุ่มน้อย" ในพื้นที่ที่อยู่ภายใน "คนกลุ่มใหญ่" ในพื้นที่
  • ดูตัวอย่างความคืบหน้ากระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี 
  • ท้ายที่สุด กระบวนการสันติภาพที่ยั่งยืนต้องอาศัยความตั้งใจจริงที่จะประนีประนอมและการยอมโอนอ่อนจากทั้งสองฝ่าย 

 

(8) เหตุใดฝ่ายที่สามจึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับกระบวนการสันติภาพ

  • ฝ่ายที่สามมีความสำคัญในการสำรวจอย่างระมัดระวังว่าคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายเปิดกว้างต่อการพูดคุยสันติภาพหรือไม่เพียงใด?
  • ฝ่ายที่สามสามารถเป็นที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย ด้านข้อดีและข้อเสียจากผลการตกลงเจรจาต่อรองและวิธีการที่เหมาะสมบางประการของข้อเสนอ
  • ฝ่ายที่สามสามารถให้การรักษาความปลอดภัยสำหรับบุคคลที่มีความหวาดกลัวที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับฝ่ายอื่น
  • ฝ่ายที่สามสามารถช่วยสร้างการเชื่อมโยงกับองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพและจัดการแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายเพื่อนมิตรที่ผ่านประสบการณ์ที่คล้ายกันมาก่อน 
  • ผู้คนสามารถกล่าวโทษฝ่ายที่สามได้ถ้าข้อตกลงสันติภาพไม่ประสบความสำเร็จ 

 

(9) เหตุใดจึงจำเป็นต้องมีพื้นที่สาธารณะและสื่อสารมวลชนสันติภาพเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน 

  • กระบวนการสันติภาพที่มีสัมฤทธิผลจำเป็นต้องมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากประชาชน
  • พื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้เพื่อเข้าใจคนอื่นๆ เข้าใจเรื่องเล่าที่แตกต่างกันและเข้าใจเรื่องราวความขัดแย้ง 
  • พื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการสร้างและหารือวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันและการจัดการความขัดเเย้งโดยสันติ ท่ามกลางจุดสนใจเเละความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 
  • ความท้าทายพื้นฐานสำหรับสื่อมวลชนคือ การหลีกเลี่ยงจากการตกหลุมพรางในการรายงานข่าวเกี่ยวกับความพยายามเพื่อสันติภาพจากมุมมองของ "ผู้ชนะและผู้แพ้
  • รายงานข่าวที่สะท้อนมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย 
  • เปิดช่องทางให้เสียงของประชาชนจากในพื้นที่ได้ส่งเสียงออก และสะท้อนความเป็นมนุษย์ของบรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

 

(10) คำถามสำหรับการอภิปรายในกลุ่มย่อยช่วงบ่าย

(จะกำหนดในช่วงพักกลางวัน - โดยคำนึงถึงคำถามและหัวข้อที่ผู้เข้าร่วมหยิบยกขึ้นมาในช่วงเช้า

  • สื่อสามารถรักษาเเรงเหวี่ยงของกระบวนการสันติภาพในระดับแทร็ค 1” เพื่อให้การพูดคุยสันติภาพยังคงเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร
  • เรื่องราวส่วนตัวของผู้คนแบบใดที่จะเป็นเนื้อหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานสื่อสารวิทยุเพื่อระดมการสนับสนุนและขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง?