สงครามมหาเอเชียบูรพา The Greater East Asia War (สงครามโลกครั้งที่ ๒) ชื่อนี้ช่างไพเราะและดูยิ่งใหญ่เหลือเกิน ทว่ากลับเป็นชื่อที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้คนทั่วเอเชีย ...
โกโบริ เป็นเด็กหนุ่มในจินตนาการของคุณทมยันตีในนิยายเรื่อง "คู่กรรม" เขาถูกส่งมาทำการรบในประเทศไทย ที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าทำการยึดครองและขอแกมบังคับ ให้ไทยอนุญาติให้ญี่ปุ่นใช้เป็นทางผ่าน เพื่อขึ้นไปโจมตีพม่า เลยต่อเข้าไปยังอินเดีย จุดยุทธศาสตร์ที่ญี่ปุ่นหมายจะแย่งชิงมาจากอังกฤษให้ได้
ในครั้งนั้น คนไทยที่ไปเรียนต่อที่เมืองนอกทั้งที่อเมริกาและอังกฤษ ได้ก่อตั้งสมาคมลับขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และประสานกับคนไทยที่มีจิตใจรักประเทศชาติในนาม "เสรีไทย"
ในประเทศไทย เสรีไทยได้รับความช่วยเหลืออย่างยิ่งจากท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ และภายหลังได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากนายตำรวจระดับอธิบดีกรมตำรวจที่ชื่อ พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ "หลวงอดุล" บรรดาศักดิ์ที่ท่านได้ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อเสรีไทยติดต่อเข้ามาว่าจะโดดร่วมลงที่จุดไหน หลวงอดุลก็จะส่งนายตำรวจไปรับ และช่วยดูแลไม่ให้ตำรวจท้องที่ซึ่งไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเสรีไทยเข้ามาทำอันตราย จากนั้นท่านจะนำตัวเสรีไทยที่แทรกซึมเข้ามาไปพำนักยังสถานที่ปลอดภัยเพื่อรอการติดต่อจากภายนอกประเทศ
ภารกิจเกล่านี้ล้วนอันตรายและเสี่ยงต่อชีวิต อย่าลืมว่าสมัยนั้นญี่ปุ่นมีอำนาจเหนือรัฐบาลไทยเพียงใด
ในนิยายเรื่อง คู่กรรม ของทมยันตี เธอเขียนฉากตอนจบของเรื่องคู่กรรม โดยนำเหตุการณ์จริงมาเป็นฉาก ก็คือ กลางดึก วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับแจ้งจากหน่วยข่าวว่า ทหารญี่ปุ่นจะมีการขนส่งอาวุธครั้งใหญ่ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย จึงระดมฝูงบินเข้ามาทิ้งระเบิดบริเวณนั้นโดยรอบ
ในช่วงค่ำวันนั้น อังศุมาลินได้ไปพบกับคนรักเก่าที่อาสาไปเป็นเสรีไทย ซึ่งเขาได้ฝากบอกอังศุมาลินว่า อย่าให้โกโบริ สามีนายทหารญี่ปุ่นของเธออยู่ในบริเวณบางกอกน้อย เพราะคืนนี้จะมีการทิ้งระเบิด ...
ตอนนั้นย่านบางกอกน้อยเต็มไปด้วยเรือกสวนขงชาวบ้าน การเดินทางไปมาในยามค่ำคืนไม่ได้รวดเร็วสะดวกเหมือนวันนี้
และเมื่อเวลา ๒๔.๐๐ น. เสียงหวอเตือนภัยก็ดังขึ้น ชาวบ้านต่างวื่งหนีหลบลูกระเบิดกันจ้าละหวั่น ...
เสียงระเบิด ... แผดคำรามกึกก้องกัมปนาทไปทั่วบริเวณบางกอกน้อยและสถานีรถไฟ
ย่านท่าพระจันทร์ ได้รับความเสียหาย ศิริราชถูกระเบิดไปบางส่วน วัดอินทารามถูกระเบิดพังย่อยยับ เหลือรอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์คือ โบสถ์หลวงพ่อ โบสถ์น้อย และมณฑป
โศกนาฎกรรมครั้งนั้น ทำให้ชาวบ้านบุ ซึ่งเป็นชาวกรุงเก่าที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนั้นตั้งแต่สมัยย้ายมาที่กรุงธนบุรี ชาวบ้านบุ มีอาชีพที่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่นคือ การทำหินลงขัน
ในคืนนั้น ... ชาวบ้านบุต้องถูกสังเวยชีวิตไปกว่าร้อยศพ ..... ซาก เศษเนื้อมนุษย์ส่งกลิ่นเหม็นไหม้ไปทั่วบริเวณ ศพบางศพยังแขวนห้อยเป็นเศษเนื้ออยู่บนต้นไม้ ... ไม่มีพื้นที่ใดเลยที่จะรอดพ้นจากแรงระเบิดในครั้งนั้น กว่าเสียงระเบิดจะจบสิ้นก็รุ่งสาง ... ของวันใหม่
ทมยันตีเขีนบทให้เสรีไทยจำนวนหนึ่งซึ่งในนั้นคือ คนรัดเก่าของอังศุมาลินเป็นฝ่ายจุดไฟเพื่อชี้เป้าให้กองบินรู้จุดที่จะทิ้งระเบิด
เมื่อโกโบริเห็นเข้าจึงยิงคนไทยกลุ่มนั้น แม้เขาเองจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่กระสุนก็ไม่ได้ถูกจุดสำคัญถึงชีวิตก่อนที่ระเบิดลูกแรกจะตกลงมาใกล้กับจุดที่โกโบริยืนอยู่
นายทหารญี่ปุ่นถูกแรงระเบิดจนบาดเจ็บสาหัส
เมื่ออังศุมาลินมาถึง โกโบริก็เกือบสิ้นใจแล้ว ..
"เขาดับไฟหมดแล้วหรือ ทำไมมืดอย่างนี้" ...
โกโบริถามเมียสุดที่รักก่อนสิ้นใจ ....
ส่วนหนึ่งของบทละครไทย ที่มีผู้นิยมติดตามชมกันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะสร้างกันมากี่ครั้งต่อกี่ครั้ง เปลี่ยนพระเอก เปลี่ยนนางเอกมาแล้วหลายต่อหลายคน
ทำให้คิดได้ว่า เหตุการณ์ในละคร มันคือยุคสมัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้เฒ่าผู้แก่แถวบ้าน หลายๆคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เคยผ่านประสบการณ์การหลบหนีทหารญี่ปุ่นมาแล้วทั้งสิ้น คุณตาของผู้เขียนเอง ก็เคยเป็นทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นมา พี่น้องมลายูเองก็คิดว่า เคยผ่านช่วงแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือคนแถวปักษ์ใต้ เรียกกันว่า "สงครามญี่ปุ่น" มาแล้วเช่นกัน
ประวัติศาสตร์ชาติไทย ดินแดนสยามประเทศ ที่ใครๆ เรียกเราว่า ผู้รุกราน นักล่าอาณานิคม มันเป็นเพียงช่วงแห่งยุคสมัย .. หากแม้เรามาว่ากันด้วยประวัติศาสตร์กันอย่างจริงจัง ชนชาติใด ประเทศไหน เคยผ่านเข้าออกสยามประเทศมาแล้วบ้าง "ญี่ปุ่น" เองก็เป็นอีก 1 ประเทศที่ควรจะเข้าข่าย "นักล่าอาณานิคม" เข้าข่าย "ผู้รุกราน" โดยแท้จริง เช่นกัน
ที่ได้กล่าวอ้างมาข้างต้น เป็นแค่เพียงความคิดเปรียบเทียบ อาจจะผิด อาจจะถูก แต่ก็ไม่ได้คิดลบหลู่ผู้ใดทั้งสิ้น
เงาะป่า