สูตรสำเร็จของนักบูรพาคดีเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้พวกเขาสามารถทำให้ประเทศมุสลิมเกือบทั้งโลกเป็นประเทศใต้อาณานิคมของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซ๊ย หรืออินเดีย และประเทศอื่น ๆ อย่างอียิปต์ หรือ ปากีสถาน ทั้งหมดอยู่ใต้เงาปีกของอาณานิคมผู้ใช้เสาหลักในการศึกษาอิสลามในแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงหลัก ๆ นั่นก็คือ
๑.ศตวรรษที่ ๑๓ (๑๒๐๑-๑๕๐๐)
เริ่มต้นตั้งแต่ ศ.ที่ ๑๓ ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ได้รับรู้อะไรเกี่ยวกับอิสลาม พวกเขายังงุนงงกับมุสลิม โดยเฉพาะในสงครามครูเสดที่พวกเขาแปลกใจ เกี่ยวกับการพลีชีพของมุสลิมผ่านสงครามศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาจึงตั้งคำถามอย่างมากมายและเริ่มที่จะเรียนรู้อิสลาม ผ่านแนวคิดพวกเขาที่พยายามนำเสนอว่า อิสลามคือศาสนาแห่งการนองเลือดและการใช้ความรุนแรง ชีวิตของศาสนา คือ ผู้พยายามเรียกร้องให้ก่อเกิดสงครามและ มุสลิมนับเป็นอาณารยะชนที่ไร้อารยะธรรม
ศตวรรษที่ ๑๓ มหาวิทยาลัยในยุโรปได้เริ่มมีการก่อตั้งและเรียนสอนในวิชา ภาษาอาหรับ วรรณกรรมภาษาอาหรับและความสำคัญของภาษาอาหรับ จนกระทั่ง มหาวิทยาลัยในอังกฤษและฝรั่งเศส ได้เริ่มสอนภาษาอาหรับให้กับนักศึกษา งานเขียนชิ้นแรกที่ปรากฏใน ศตวรรษที่ ๑๒ ได้ศึกษาเกี่ยวกับอิสลามและศาสดาศึกษานั่นก็คือ งานที่ได้เขียนโดยใช้ภาษาลาติน จากนักวิชาการชื่อ โมเสส เซฟราดี้ (MOSES SEFRADI) และในช่วงเวลาเดียวกันที่เกิดพจนานุกรมภาษาอาหรับ-ลาติน(Arab-Latin Dictionary) อย่างแพร่หลาย
ในศตวรรษที่ ๑๓ เรมอน ลุล (RYMOND LULL)ได้เขียนงานชิ้นสำคัญที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลามและอารยะธรรมอิสลาม ซึ่งนักวิชาการผู้นี้ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งนักบูรพาคดี” (The Father of Orientalist) ในช่วงเวลาถัดมาได้เกิดการเรียนการสอนภาษาอาหรับและอิสลามศึกษาในประเทศสเปนและอิตาลี มีหนังสือหลายเล่มที่เขียนขึ้น เกี่ยวกับอิสลามศึกษา โดยเฉพาะงานแปลหนังสือจากภาษาอาหรับมาเป็นภาษาลาตินและภาษาอื่น ๆ ในสาขาวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ วรรณกรรม ศาสนา ผ่านนักวิชาการในยุคสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็น ดอน เรมอน ลุล (DON RYMOND LULL) โดเมนโก้ กูเซล (DOMANGO GOUZELS) มาคัส สเกน (MACACL SCANT) ตาลูบ แอนโตลี (TALOB ANTOLI) โมเสส ติบบอล (MOSES TIBBON) กอดเฟอร์รี่(GODFERRY) จนศตวรรษที่ ๑๓ ได้ชื่อว่า “ยุคแห่งการแปล” (The Period of Translation)
๒.ศตวรรษที่ ๑๖ (ตั้งแต่ ๑๕๐๑-๑๘๐๐)
นับเป็นช่วงที่สำคัญโดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในยุโรป (Renaissance) นับเป็น “ยุคแห่งสื่อสิ่งพิมพ์” โดยเฉพาะ หนังสือไบเบิลเล่มแรกได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอาหรับโดยนักบูรพาคดี ในปี ๑๕๙๐ และสำนักพิมพ์ภาษาอาหรับที่โด่งดังได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๑๖ เช่นกัน คือ “กุลลามี โพสเติ้น” (Guillavme Postle) ในประเทศอิยิปต์ ตุรกี และซีเรีย และได้ตีพิมพ์หนังสือมากมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอิสลาม
กระทั่งในปีศตวรรษที่ ๑๗ อิสลามศึกษาและภาษาอาหรับได้รับความสนใจอย่างยิ่งใน )ประเทศฮอลแลนด์,เยอรมณีและยุโรปตะวันตก พจนานุกรมเล่มโด่งดังได้จัดพิมพ์ขึ้นในปี ๑๖๑๓ ใต้ชื่อว่า “แลกซิกอล อาราบิกา” (Lexicon Arabica) นักวิชาการอิสลามศึกษาและผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับคนสำคัญในยุคนี้ คือ โจเซฟ สกาลิงเกอร์(JOSEPH SCALINGER), โทมัส อาร์พินัส(THOMAS ERPINUS),เจคอบ โกลิอุส (JACOB GOLIUS) พวกเขามีการรวบรวมหนังสืออิสลามศึกษาจากภาษาอาหรับ ตุรกี เปอร์เซีย เพื่อค้นคว้าและแปลเป็นภาษายุโรป
ที่โด่งดังกว่านั้น คือ การแปลอัลกุรอ่านเป็นภาษาฝรั่งเศส ในปี ๑๖๔๗ โดย แอนดรี ดูริเออร์ (ANDRE DURIER) นอกจากนี้ยังมีการแปลหลักการแพทย์ของ อิบนุซินา (Ibnu-Sina)อีกด้วย
๓.ช่วงศตวรรษที่ ๑๙
นับเป็นช่วงที่งานเขียนเกี่ยวกับอิสลามและภาษาอาหรับเป็นที่เฟื่องฟูและได้รับความสนใจอย่างมากในยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะประวัติศาสตร์อิสลาม ,วัฒนธรรมอิสลาม,หลักการศาสนาและหลักคำสอนอิสลาม ช่วงเวลานี้คือ การรุกคืบของชาวตะวันตกในการเข้ามาปกครองแผ่นดินตะวันออกและประเทศมุสลิมเกือบทั้งหมดได้กลายเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจตะวันตก เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านในช่วงที่นักบูรพาคดีได้ศึกษาอิสลามอย่างมากผ่านตำรับตำรา หนังสือ งานเขียน งานวรรณกรรม จนกระทั่ง พวกเขาเข้าใจ ชาวตะวันออกเป็นอย่างดี
จึงไม่แปลกที่โลกตะวันออกได้กลายเป็นเมืองขึ้นของพวกเขาอย่างง่ายดายและยาวนาน
http://images.amazon.com/images/P/0816054541.jpg
พวกเขาได้ทำการศึกษาอิสลามอย่างเข้มข้นและสนใจเป็นพิเศษด้วยการผลักดันให้ การศึกษาอิสลามได้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลอนดอน(London) ,ปารีส(Paris) ,ไลเดน (Leiden), อิดินเบิร์ค (Edinburgh) ,พีเตอร์เบิร์ค (Petersburg) ,เลบานอล (Lebanon) ,อิยิปต์ (Egypt),โมรอคโค(Morocco),ตูนิส(Tunis) ไคโร (Cairo),อิรัค (Irag) ทั้งหมดเน้นหนักด้วยการนำเสนออิสลามผ่านตำราเรียนและสื่อการสอนทั่วไป ในช่วงเวลานี้วิชาภาษาตุรกีก็กลายเป็นหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งโลกมุสลิมได้รับการปกครองโดยราชวงษ์อุสมานิยะ ไม่เว้นแม้กระทั่งอาณานิคมอังกฤษพยายามศึกษาอิสลามผ่านตำราต่าง ๆ เกี่ยวกับอารยะธรรมและประวัติศาสตร์อิสลามในอินเดีย
สารานุกรมเกี่ยวกับอิสลาม (Encyclopedia Of Islam)ได้นำเสนอจากเมืองไลเดิลและเนเธอร์แลนด์ กระทั่งอัลกุรอ่านศึกษา , ภาษาอาหรับ ,วรรณกรรม ,ประวัติศาสตร์อิสลาม,อารยะธรรมอิสลาม,กฎหมายอิสลาม ก็ได้มีการตีพิมพ์ในยุคเวลาดังกล่าวด้วย นักบูรพาคดีได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสลามศึกษาผ่านสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น อิกนาส โกลดไซเฮอร์ (IGNAC GOLDZIHER), โจเซฟ สคัส (JOSEPH SCHACHT)ได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักกฎหมายอิสลาม ฟิลิป เค ฮิตติ (FHILLIP K. HITTI) เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์อิสลามและประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์อาหรับ เอช เอ อาร์ กิบ (H.A.R. GIBB) เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอิสลาม
จึงไม่แปลกที่ เกิดนักบูรพาคดีคนสำคัญในศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ ไม่ว่าจะเป็น แอดวาร์ด เฮนรี พาลเมอร์(EDWARD HENRY PALMER;1840-1882,ENGLAND),จูเลียส เวลฮัวเซน (JULIUS WELLHAUSEN;1844-1919,GERMAN) , เดวิด ซามูเอล มาโกลิออส (DAVID SAMUEL MARGOLIOUTH;1858-1940,ENGLAND), อีซี บราวน์ (E C BROWNE;1862-1926,ENGLAND), โทมัส วอร์คเกอร์ อาโนล (THOMAS WALKER ARNOLD;1864-1930,BRITISH), อาร์ เอ นิโคลสัน (R.A. NICHOLSON;1868-1945,ENGLAND), คาร์ล บล็อกเคนแมน (CARL BLOCKELMANN;1868-1956,GERMAN), วิลเลี่ยม มอนโกโมรี วัต (WILLIAM MONTGOMERY WATT;1906-2006,EDINBURG), อาร์ค แลมป์ตัน (AKS LAMBTON;1912,BRITISH)
การศึกษาอิสลามของนักบูรพาคดีนั้น มีความชัดเจนอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ การพยายามนำเสนออิสลามไปในอีกแนวทางหนึ่งเสมอ ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน แตกต่างและไม่เหมือนเดิมด้วยการเปลี่ยนประเด็น
ประการแรก มูฮัมหมัดไม่ได้เป็นศาสดา นอกจากพวกนอกรีตที่กลายเป็นผู้กุเรื่องราวทั้งหมดขึ้นมาเอง ด้วยเหตุนี้ มูฮัมหมัดสมควรเป็น “คนลวงโลก” พวกเขาก็ได้ยกตัวอย่างในคัมภีร์อัลกุรอ่านที่พระเจ้าบอกกับท่านนาบีอีซาว่า จะมีศาสดาอีกคนมาเกิดชื่อ อะหมัด แต่ศาสดาคนนี้ มาผิดที่เพราะชื่อ มูฮัมหมัด ด้วยการอ้างอิงหลักฐานจากอัลกุรอ่าน
ประการที่สอง กุรอ่านเป็นสิ่งที่ปลอมแปลงขึ้นมาเพราะการคัดลอกและรับอิทธิพลจากคัมภีร์อื่น ๆ ที่มีมาก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้อัลกุรอ่านจึงมีแต่ประวัติศาสตร์อย่างศาสดามูซาและศาสดาอื่น ๆ เพราะเป็นคัมภีร์ที่ได้รับการคัดลอกมา และอัลกุรอ่านคือ การประพันธ์ขึ้นมาเอง สังเกตจากการใช้คำที่สละสลวยและเล่าเรื่องในแนวทางของบทกวี
ประการที่สาม อิสลามเป็นศาสนาเกี่ยวกับความรุนแรงและนำเสนอเฉพาะการฆ่าฟันกันผ่านสงครามศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาเรียกผู้เสียชีวิตในสงครามเหล่านั้นว่า “ชาฮีด” และพวกเขาได้นำเสนอ สงครามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอิสลาม ไม่ว่าจะเป็น ตะบูก มัวตะ อุฮุด คอยบัร คอนดัก ฮุแนน ทั้งหมดคือ สิ่งที่อิสลามได้สอน นั้นก็คือ การใช้ความรุนแรงกับเพื่อนมนุษย์ด้วยการอ้างถึงสงครามและการต่อสู้ครั้งดังกล่าว
ประการที่สี่ อิสลามมักนิยามการเชื่อแบบลอย ๆ ไร้ที่มาที่ไปเป็นผู้ทำตามการกำหนดของพระเจ้า ด้วยการเชื่อว่า ทุกอย่างมาจากพระเจ้า โดยเป็นความเชื่อที่งมงายและไร้เหตุและผล เช่นมุสลิมจะพูดเป็นประจำว่า “หากพระเจ้าทรงประสงค์” และยกตัวอย่างประกอบว่า “มุสลิมชอบมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์” นับเป็นความเชื่อที่ผิดพลาดและน่าตำหนิ
ประการที่ห้า อิสลามนิยมการมีเพศสัมพันธุ์และมุ่งเน้นเรื่องลามก โดยเฉพาะศาสดาและบรรดาซอฮาบะที่ทุกคนมีเมียกันหลายคน กระทั่งหลักการศาสนาได้เขียนไว้ชัดเจนว่า “ผู้ชายมีเมียได้ ๔ คน นั่นคือ หลักฐานที่บอกว่า อิสลามไม่ใช่ศาสนาอื่น นอกจากลัทธินิยมเรื่องกามารมณ์และความสนองราคะทางเพศ”
ประการที่หก อัลฮาดิษได้เขียนขึ้นมาเองและเป็นการกรุเรื่องขึ้นมาผ่านประวัติศาสตร์ตามอารมณ์ผู้นำเสนอด้วยการคิดค้นขึ้นไม่ได้เกี่ยวพันกับหลักการศาสนาแต่อย่างใด นอกจากเป็นการอุปโลภขึ้นมา
ประการสุดท้าย ผู้หญิงในอิสลามไม่ได้รับความเป็นธรรมและพวกเขาโดนกดขี่ด้วยการให้ปกปิดเรือนร่างจนมิดชิด ไม่อิสระเหมือนผู้ชาย และที่สำคัญ พวกผู้หญิงไม่ได้เกิดมาเพื่อเดินทางหรือไปไหน เพราะพวกเขาถูกควบคุมตัวให้อยู่ในบ้าน โดยบอกเล่าผ่านประวัติศาสตร์เพื่อนำมาเชื่อมโยง
ความโหดร้ายของนักบูรพาคดี นั่นก็คือ พวกเขาศึกษาทุกอย่าง เหมือนที่พวกเราศึกษาแต่พวกเขาศึกษาเพื่อทำลายล้างและนำเสนออีกมุมหนึ่งที่อิสลามไม่ได้เป็นแบบนั้น ด้วยการอ้างถึงหลักการต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เช่น สงคราม การแต่งงาน การเลี้ยงดูบุตร วิถีชีวิตสตรีมุสลิม ทั้งหมดล้วนได้นำเสนอในประวัติศาสตร์อิสลาม แล้ว สิ่งนี้คือ ตำราเรียนที่ชาวตะวันใช้สอนเยาวชนของพวกเขา ด้วยเหตุประการทั้งหมด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาเกลียดอิสลาม ตั้งแต่ยังไม่เจอมุสลิมและไม่รู้จักอิสลามในแบบฉบับที่เป็นจริง
http://islamicarticles.files.wordpress.com/2014/02/photocreditourprophetourhonour7.jpg
เป้าหมายของนักบูรพาคดีที่พวกเขาศึกษาอิสลามนั้น มีแค่ไม่กี่อย่างด้วยกัน นั่นก็คือ
๑.เป้าหมายทางการเมือง (Political Objectives)
พวกเขาต้องการรู้ความเป็นไปของสังคมตะวันออก วัฒนธรรมมุสลิมและหลักการทางภูมิศาสตร์เพื่อเข้าใจพื้นที่และอาณาบริเวณต่าง ๆ ที่มุสลิมได้ตั้งรกรากอาศัยอยู่เพื่อให้เกิดความง่ายดายของอาณานิคมในการเข้ามาโจมตีและยึดครองแผ่นดินมุสลิม ด้วยเหตุเพราะว่า ประเทศมุสลิมหรือตะวันออกทั้งหมดยังใหม่สำหรับพวกเขา ไม่มีความคุ้นชินทางด้านพื้นที่ ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีและสังคม การดำเนินชีวิตที่ค่อนข้างจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เพื่อให้เกิดความง่ายดายของพวกเขาในการเข้าใจและสามารถควบคุมประชากรที่มีความต่างกันได้ง่ายกว่าเดิม
จึงไม่แปลกที่พวกเขาได้พยายามนำเสนอวิชาตะวันออกหรืออิสลามศึกษาให้กับชาวยุโรปในโรงเรียน มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ต่าง ๆ ผ่านหลักสูตรการศึกษาและตำราเรียน โดยเฉพาะวิชาการอิสลาม ภาษาอาหรับ ภาษาตุรกี ภาษาเปอร์เซีย
๒ เป้าหมายทางเศรษฐกิจ (Economic Objectives)
สันดานที่แท้จริงของชาวยุโรปนั่นก็คือ การได้ไปเปิดสาขาและการลงทุนเพื่อค้าขายทั่วโลกเพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ เพราะพวกเขารู้ดีว่า เรื่องปากท้อง ย่อมสำคัญกว่าการเมืองการปกครองเป็นไหน ๆ ในโลกตะวันออกเป็นสังคมที่ง่ายต่อการค้าขาย พวกเขาจึงต้องการไปลงทุนและควบคุมตลาดการค้าทางด้านโลกตะวันออก
๓.เป้าหมายทางด้านศาสนา(Religious Objectives)
นับเป็นเป้าหมายหลักในการเผยแพร่ศาสนาของพวกเขา โดยเฉพาะ การนำเสนอความเป็นคริสต์ผ่านนักเทศนาธรรมหรือ ผู้เผยแพร่ให้กับสังคมมุสลิม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาได้ตีพิมพ์ “คัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับภาษาอาหรับ” ให้กับโลกมุสลิม
นี่คือสายตาของชาวตะวันตกที่พวกเขาพยายามศึกษาอิสลามและตอบโต้ผ่านแนวคิดเพื่อให้เท่ากันและเข้าใจมุสลิมอย่างถ่องแท้ อย่างน้อยตอนพวกเขาออกมาตอบโต้กับอิสลาม อารยะธรรมมุสลิม หรือ กระแสการขับเคลื่อนของโลกอิสลาม พวกเขาก็สามารถออกมาตอบโต้อย่างเป็นระบบและมีพลัง
กระนั้น ข้อดีของพวกเขานั่นก็คือ การศึกษาที่เป็นระบบ ทุ่มเท จริงจัง โดยใช้เวลาประมาณ ศตวรรษที่ ๑๓ ด้วยการเรียนภาษาอาหรับ ศตวรรษที่ ๑๖ เริ่มมีหนังสือแปลออกมาจากภาษาอาหรับเป็นภาษาลาติน ว่าด้วยการศึกษาแนวคิด สังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของมุสลิม พอเข้า ศตวรรษที่ ๑๗ ประเทศมุสลิมเกือบทั่วโลกเริ่มทยอยกลายเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก
http://ecx.images-amazon.com/images/I/51Mxjl1bizL.jpg
ซึ่งปรากฏการณ์ลักษณะนี้พอจะมองแบบกว้าง ๆ ได้ ๓ ประเด็นหลัก
ประเด็นแรก เกิดจากการทำงานเป็นระบบด้วยการแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจนในการลงลึกรายละเอียดและเก็บข้อมูล เรื่องประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง การศึกษา วัฒนธรรม
ประเด็นที่สอง การให้พื้นที่ในการคิด วิเคราะห์ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดและเอื้อต่อการค้นคว้า ด้วยการสนับการทำงานดังกล่าวซึ่งเป็นนโยหลักของรัฐบาลในการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาวิทยาการ
ประเด็นสุดท้าย สร้างเวทีให้แนวคิดทั้งหมดที่ได้รับการค้นคว้ามาถ่ายทอดอย่างทรงพลังผ่านสำนักพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ ต่าง ๆ ผ่านองค์กรหรือแม้กระทั่งสถาบันการศึกษา
มันไม่ใช่เรื่องแปลกกับการที่พวกเขาทุ่มเทมากว่า ๕๐๐ ปี เพื่อเข้าใจอิสลาม และไม่ใช่เรื่องผิดปกติเมื่อพวกเขามาปกครองโลกมุสลิมและควบคุมอย่างยาวนานเกือบ ๓๕๐ ปี อย่างที่เราต่างมีบทเรียนและความบอบช้ำพอ ๆ กัน
พวกเขาเรียนรู้เราอย่างละเอียดจนกล่าวได้ว่า
"รู้เขารู้เรา ชนะโดยไม่ต้องรบ"
http://press.princeton.edu/images/k9446.gif
อ่านเพิ่มเติม
Iain Mc Lean and Alistair Mc Millan, Oxford Concise Dictionary Of Politics, New York; Oxford University Press, 2009.
John l. Esposito, The Oxford Dictionary of Islam, New York; Oxford University Press, 2003.
Obaidullah Fahad, Islamic Policy and Orientalists, Institute of Islamic Studies ; Aligarh Muslim University.