Skip to main content

My Journey; Transforming Dreams into Actions 

http://img5a.flixcart.com/image/book/9/1/3/my-journey-400x400-imadmzzbwr3hufwg.jpeg

(ฝันของเด็กบ้านนอก)

"อย่าอ่านแค่เรื่องแห่งความสำเร็จ

เพราะคุณได้แค่ข้อมูลที่เขาอยากสื่อสาร

แต่จงอ่านเรื่องแห่งความล้มเหลว

เพราะคุณจะได้แนวคิดบางอย่างเพื่อมุ่งเป้าไปสู่ความสำเร็จ"

                 เด็กคนหนึ่งยังไม่ลืมพายุปี 1964 หมู่บ้านกลายเป็นเมืองผีและเรือหาย เขานอนผวาทุกค่ำคืนเพราะพายุคุกคาม เกิดและเรียนประถมศึกษาในชนบท เคยถูกไล่ไปนั่งหลังห้อง

                  เมื่อตอนอายุ 8 ขวบ เคยรับส่งหนังสือพิมพ์เวลา 1 ปีและเคยเขียนบันทึกว่า อยากไปเมืองมัดราส มุมไบและกัลกัตตา

                  จนอายุ 9 ขวบก็ไปกัลกัตตาด้วยตัวเองแต่ให้หักเงินค่าส่งหนังสือพิมพ์ตัวเองเดือนถัดไป หรือ เคยบันทึกว่า จะพูดอะไรหากได้เจอคานธีและเนห์รู ?

                 เขาอยากเป็นนักบิน แต่เคยถูกปฏิเสธผลงานออกแบบเครื่องบินลาดตระเวนโจมตี จนเกือบโดนตัดทุนศึกษาต่อและตกสัมภาษณ์ในการสอบเป็นนักบินจาก 25 คน ได้ที่ 9 แต่มีที่ให้ 8 ลำดับแรก

                    เขาซ่อมแซมบาดแผลด้วยคำแนะนำที่แสนจะง่ายดายของเพื่อนเก่าคือ “สบตากับความจริง แล้วเริ่มใหม่ ! ”

                แรงบันดาลใจจากท่อนไม้อู่ต่อเรือของพ่อจนอยากสร้างเครื่องบิน เรียนวิศวกรรมการออกแบบและสร้างยานบินและพี่เขยจบปี 4 จ่ายค่าเล่าเรียนแรกเข้าให้ 1 แสนรูปี เขาได้รับทุนฝึกงาน 6 เดือนเกี่ยวกับการสร้างจรวดที่องค์การนาซ่า

http://www.quotesworld.org/wp-content/uploads/2014/07/abdul2.jpg

                เด็กน้อยคนนี้เกิดเมื่อ 15 ตุลาคม 1931 ที่ราเมชวาราม รัฐทมิฬนาดู มีพี่น้อง 10 คน เรียนศาสนาในหมู่บ้าน อยากขับเครื่องบินจึงไปเรียนที่ MIT (Madras Institute of Technology) พ่อชื่อ ซัยนุลอาบีดีน เสียตอนอายุ 102 ปีมีหลาน 15 คน เป็นฮาฟิสอัลกุรอ่านและอิหม่ามประจำมัสยิดราเมชวาราม เลี้ยงชีพด้วยการทำประมง ทำสวนมะพร้าว ขับเรือจ้างและต่อเรือขาย  ชอบเดินเล่นออกกำลังกายในหมู่บ้านหลังซุบฮีจากมัสยิดไปยังสวนมะพร้าว

                แม่ชื่อ อาชิมมา มาจากครอบครัวฐานันดรศักดิ์อันทรงเกียรติ “บาฮาดูร”  เขาเรียนศาสนาในชุมชนเหมือนเด็กทั่วไป ชอบอ่านวรรณกรรมอังกฤษและวรรณกรรมรัสเซีย เขาไม่ชอบทานแกงรสเผ็ด ชอบกินบาราท่ามากกว่า 2 แผ่น คำพูดแรกที่ทักทายคือ ตอนนี้อ่านหนังสือเล่มไหน ?

http://hdwallpaperswala.com/wp-content/uploads/2014/02/apj_abdul_kalam_hd_wallpapers.jpg

                เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงเท่าที่อินเดียเคยมี  ได้รับรางวัลปัทมาบูจาน (1981) รางวัลปัทมาวาบูจาน (1990) รางวัลบาราทรัตนา(1997) รางวัลเจ้าชายชาลที่ 2 (2007) รางวัลวูสโรวินสัน(2008) รางวัลฮูเวอร์(2008) และรางวัลอินเตอร์ฯวอนกามาลวิง(2009)  ได้รับรางวัลดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์กว่า 45 มหาวิทยาลัยทั่วโลก เขียนหนังสือกว่า 14 เล่ม

                 และประธานาธิบดีคนที่ 11 ของประเทศอินเดีย  ปัจจุบันอายุ 83 ปีออกกำลังกายยามเช้าเพื่อฟังเสียงนกร้องใต้ต้นสมอเทศ(Arjuna Tree)ในกรุงนิวเดลี

 “ฝันที่เกิดขึ้นตอนหลับเป็นได้แค่ฝันลวง แต่ฝันตอนตื่น นั่นแหละคือ ความจริง”

           

   http://2.bp.blogspot.com/-mExDWpve61c/T60dRnjywiI/AAAAAAAABNo/bw6fA0lU_Vg/s1600/AbdulKalam.png

 

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวบางตอนจากหนังสือเล่มสำคัญที่เยาวชนต้องอ่าน  

เพราะเขาคือ ดร. อวุล ปากีร ซัยนุลอาบีดีน อับดุลกาลาม  (A.P.J. Abdul Kalam)

หมายเหตุ 

เขายังเขียนหนังสืออีกหลายเล่ม เพื่อให้พวกเราได้เข้าใจโลกอย่างที่พวกเราอาจยังไม่ตระหนักมาแลกเปลี่ยน  เช่น หนังสือเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 

Developments in Fluid Mechanics and Space Technology by A P J Abdul Kalam and Roddam NarasimhaIndian Academy of Sciences, 1988

India 2020: A Vision for the New Millennium by A P J Abdul Kalam, Y S Rajan; New York, 1998.

Wings of Fire: An Autobiography by A P J Abdul Kalam, Arun Tiwari; Universities Press, 1999.

Ignited Minds: Unleashing the Power Within India by A P J Abdul Kalam; Viking, 2002.

หรือเล่มอื่น ๆ อีกหลายเล่ม ภายใต้ ชื่อ A.P.J. Abdul Kalam