การประกอบพิธี “ฮัจญ์” ที่นครนครมักกะฮ์ เป็นการปฏิบัติศาสนกิจที่สําคัญสำหรับผู้ที่มีความพร้อมตาหลักศาสนาอิสลาม ก่อนไปต้องศึกษาวิธีการประกอบพิธีฮัจญ์อย่างละเอียด และเตรียมร่างกายให้พร้อม
เมื่อได้ยินว่าจะมีใครสักคนไปฮัจย์ ก็พาให้เรารู้สึกมีความยินดีไปกับเขาด้วย อยากมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้งแม้จะมีส่วนร่วมเล็กน้อยก็ตาม บางคนจะถือหนังสือดุอาอ์ไปให้ บางคนแวะไปอวยพรดูอาอ์ให้ และมีโอกาสให้ได้พูดคุยเล่าสู่กันฟังในฐานะที่ตัวเองเคยไปมาก่อน เมื่อรู้ว่าอุสตาสจะเดินทางวันไหนก็ยังได้เอาอาหารแห้ง หรือบริจาคเงินให้เขาไว้ใช้ในยามที่ต้องอยู่ไกลบ้าน เพราะนานถึง 45 วันที่เขาจะไปใช้ชีวิตอยู่ที่นครเมกกะห์ อย่างที่เราได้ไปบ้านอุสตาส หามะ เมื่อครั้งก่อน
อุสตาส หามะ สุหลง อายุ 54 ปี เป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนสุขสวัสด์วิทยา ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา เขามีความตั้งใจไปทำฮัจญ์มานานมาก เฝ้าเก็บออมเงินทีละเล็กทีละน้อยมากว่า 20 ปีแล้ว เช่นเดียวกับการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย เขาจะเดินออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพี่อความแข็งแรงสมบูรณ์จะได้ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ อุสตาสหามะได้เน้นว่า เขาจะขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ อยู่ตลอด โดยเฉพาะเมื่อเขาลุกขึ้นละหมาดกิยามุลลัยน์ ซึ่งเป็นการละหมาดในยามดึกสงัด ซึ่งเป็น ช่วงที่อัลลอฮ์จะตอบรับคำวิงวอนขอของบ่าวได้ดีที่สุด
หามะ สุหลงอุสตาสโรงเรียนมุสลิมบำรุงอ.ยะหา จ.ยะลากล่าวว่า มุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน รู้สึกตื้นตันใจมาก อย่างบอกไม่ถูก น้ำตาไหลอย่างไม่รู้ตัว ตั้งใจจะไปทำฮัจย์มาตั้งแต่เด็กแล้ว เมื่อได้บรรลุนิติภาวะแล้วตั้งเจตนาว่าจะไปโดยริสกีหรือปัจจัยยังชีพที่อัล ลอฮ ทรงประทานให้ ได้เก็บออมและใช้จ่ายอย่างประหยัด
หะมัด คอยา นักวิชาการอิสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี คำว่า ฮัจย์ นั้นหมายถึงว่า ความตั้งใจที่จะไปประกอบแล้วก็ไปเวียนรอบกะบ๊ะซึ่งเป็นศาสนกิจในข้อที่ 5 ของมุสลิมทุกคนในเมื่อจะเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์นั้นก็จะต้องประกอบพิธีฮัจย์แต่ก็สำหรับผู้ที่จะเดินทางอย่างเดียวได้
การได้ผ่านฮัจย์ เปรียบเสมือนเด็กที่เกิดใหม่ เหมือนผ้าขาว ที่ไม่มีบาปแปดเปื้อน ทำให้รู้สึกว่าตัวเราเล็กนิดเดียว เป็นแค่จุดเล็กๆ ณ ที่แห่งนี้ในฐานะบ่าวของพระองค์ คิดว่า เงินเป็นแสนที่ใช้จ่ายไปในการทำฮัจญ์นั้น เปรียบได้ดังใบไม้ที่ร่วงหล่นจากกิ่งแล้วกลายเป็นปุ๋ยที่บำรุงต้นให้เจริญงอกงามต่อไป และนี่คือความยิ่งใหญ่ของการได้ทำฮัจญ์